พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

การกอบกู้เอกราชของพระเจ้าตากสินมหาราช

        ในช่วงที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น พระยาวชิระปราการ (ตำแหน่งสุดท้ายของพระยาตาก) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถูกเรียกตัวมาช่วยรักษากรุง เห็นว่าจะรักษากรุงไว้ไม่ได้ จึงรวบรวมผู้คนได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าแนวรบของทหารพม่าออกไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก  เมื่อผ่านเมืองใดก็จะส่งทหารเข้าไปชักชวนให้เจ้าเมืองมาร่วมมือกัน ถ้าเมืองใดไม่ยอมก็จะใช้กำลังเข้าโจมตี ทำให้พระยาตากมีกำลังมากขึ้น

        พระยาตากเห็นว่าการจะกู้ชาติบ้านเมืองให้สำเร็จนั้นจะต้องมีบารมีเป็นที่นับถือยำเกรงของคนทั้งหลาย จึงประกาศตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองระยอง  ด้วยความเห็นชอบของบรรดาทหารและประชาชน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังจันทบุรี แต่ได้รับการต่อต้าน พระเจ้าตากจึงทรงแสดงความสามารถใช้กลวิธีปลุกใจทหารและสร้างแรงบันดาลใจโดยให้ทหารทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนเข้าตี หวังจะไปกินอาหารมื้อต่อไปในเมือง ซึ่งได้ผลเพราะทหารเกิดกำลังใจที่จะต้องตีเมืองจันทบุรีให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีอาหารกิน การตีจันทบุรีจึงสำเร็จ และพระเจ้าตากสินจึงใช้เมืองจันทบุรีเป็นศูนย์กลางในการกู้เอกราช การยกทัพของพระเจ้าตากสินที่ตีฝ่าพม่าออกไปมีเส้นทางเดินทัพผ่านไปตามเมืองต่าง ๆ ถ้าพิจารณาตามสถานที่ของจังหวัดในปัจจุบันก็จะผ่าน อยุธยา—-นครนายก—–ปราจีนบุรี—–ฉะเชิงเทรา—–ชลบุรี—–ระยอง—–จันทบุรี

        เมื่อพระเจ้าตากสินมีกำลังไพร่พลมากขึ้น จึงได้ยกทัพมาตีธนบุรีเป็นด่านแรก ได้ปะทะกับกำลังของนายทองอิน คนไทยที่พม่าแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษากรุง พระยาตากสินชนะจับนายทองอินประหารชีวิต จากนั้นจึงเดินทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาในค่ำวันเดียวกันนั่นเอง

        ศึกกู้ชาติอย่างแท้จริงได้เริ่มขึ้นในเช้าวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ณ ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งอยู่เหนือกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปเล็กน้อย มีกองกำลังของพม่าคุมเชิงอยู่ มี สุกี้พระนายกองเป็นผู้บังคับบัญชา พระเจ้าตากสินรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชคืนจากพม่าได้สำเร็จโดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนเศษเท่านั้นนับจากเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310  ปีต่อมาพระเจ้าตากได้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปอยู่ที่กรุงธนบุรีซึ่งมีชื่อเต็มว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

        เมื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ยังมิได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จครอบคลุมอาณาจักรไทยทั้งหมด เพราะว่าหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว แผ่นดินว่างกษัตริย์ บ้านเมืองระส่ำระสาย คนไทยแตกแยกออกเป็นชุมนุมใหญ่น้อยมากมายแต่ละชุมนุมต่างรบราฆ่าฟันกันเองเพื่อแย่งชิงเสบียงอาหารและปล้นสะดมทรัพย์สินหรือเสริมสร้างอำนาจ ซึ่งพระเจ้าตากได้ทรงวางแผนการที่จะรวบรวมชุมนุมต่างๆการปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ เป็นความจำเป็นทางการเมือง เพราะชุมนุมเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความได้เปรียบพระเจ้าตากทั้งสิ้น ทั้งนี้พิจารณาได้จากชาติกำเนิดอำนาจวาสนาของผู้นำชุมนุม นอกจากชุมนุมของสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว ยังมีชุมนุมขนาดใหญ่อีก 4 ชุมนุม ดังนี้

        1. ชุมนุมเจ้านคร ตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีหลวงสิทธินายเวร(หนู) เป็นผู้นำหลวงสิทธินายเวรเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีอำนาจสิทธิขาดในเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในภาคใต้ มีผู้คนมาก มีกำลังเข้มแข็งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกจึงถือโอกาสตั้งตัว เป็นอิสระ

        2. ชุมนุมเจ้าพิมาย ตั้งอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ผู้นำคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งเป็นโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีผู้คนมาเข้าด้วยเป็นอันมากเพราะถือว่าเป็นเจ้านายอาวุโสในราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นผู้ที่เหมาะสมจะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้องตามทำนองครองธรรม

        3. ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ผู้นำชื่อ เรือง ปกครองหัวเมืองเหนือ พิษณุโลกเป็นชุมนุมใหญ่มีกำลังมาก ผู้นำมีความสามารถในการรบ เป็นความหวังของคนทางเหนือว่าจะเป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมือง ชุมนุมนี้จึงแข็งแกร่งกว่าชุมนุมใด ๆ 

        4. ชุมนุมเจ้าพระฝาง ตั้งอยู่ที่สวางคบุรี อุตรดิตถ์ ผู้นำเป็นพระชื่อ เรือน เป็นพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี อยู่ที่วัดพระฝางเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์วิชาอาคม มีผู้คนศรัทธามาก จึงมีคนมาเข้าด้วยจำนวนมาก


พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

        ทั้ง 4 ชุมนุมมีข้อได้เปรียบสมเด็จพระเจ้าตากสินตรงที่มีอำนาจอยู่ในหัวเมืองของตนเองอยู่แล้ว ผู้คนเคารพยำเกรงมาก่อนไม่ต้องแสดงความ สามารถในการรบ เพื่อสร้างศรัทธาเพียงแต่อาศัยชาติกำเนิดและอำนาจที่มีอยู่ และยังมีฐานที่มั่นที่มั่นคงแข็งแรง มีกำลังคนมากมายในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีชาติกำเนิดเป็นคนธรรมดาสามัญ ลูกครึ่งไทย-จีน ตำแหน่งเดิมเป็นพระยาตาก เจ้าเมืองตาก ซึ่งเป็นเมือง เล็ก ๆ ไม่สำคัญ ฉะนั้น เมื่อคิดตั้งตนเป็นใหญ่ ก็ต้องแสดงความสามารถหลายด้านให้ประจักษ์ ทั้งการรบการตัดสินใจที่เด็ดขาดและวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ด้วยความสามารถโดยแท้เท่านั้น จึงจะทำให้ผู้คนมาเข้าด้วย แม้แต่ที่มั่นศูนย์อำนาจก็ต้องใช้ความสามารถในการตีหักเอาเมืองมา เช่น ระยอง จันทบุรี และธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีแนวคิดที่จะรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงโดยเร็ว เพราะเชื่อว่าอย่างไรเสียพม่าก็คงจะต้องกลับมารุกรานไทยอีกในไม่ช้า ถ้าไทยยังไม่เป็นปึกแผ่นมั่นคง ต่างคนต่างอยู่ ก็คงไม่แคล้วเสียทีแก่พม่าอีก ในขั้นต้น ทรงคิดที่จะปราบชุมนุมใหญ่ที่เข้มแข็งก่อน เพื่อให้ชุมนุมอื่นๆเห็นความสามารถ จะได้ยำเกรง และยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี โดยไม่ต้องใช้กำลังปราบปราม

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

ปราบปรามชุมนุมเจ้าพิษณุโลกเป็นชุมนุมแรก……

แต่ไม่สำเร็จ !

        สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพิษณุโลกก่อนเป็นชุมนุมแรก ในปี พ.ศ.2311 เพราะเห็นว่าเป็นชุมนุมใหญ่เข้มแข็ง เจ้าพิษณุโลก ทราบข่าวว่าทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินยกมา จึงให้แม่ทัพยกกำลังไพร่พลมาตั้งรับที่ด่านจอหอ นครสวรรค์ การรบถึงขั้นตะลุมบอน แต่ทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินไม่พร้อมรบจึงเพลี่ยงพล้ำ และพระองค์ถูกปืนยิงที่พระภุชงค์(แข้ง)บาดเจ็บ ต้องยกทัพกลับไปธนบุรี เจ้าพิษณุโลกเข้าใจว่าตนเองมีบารมีเหนือพระเจ้าตาก จึงตั้งตนเป็นกษัตริย์แต่ราชาภิเษกได้เพียง 7 วันก็เกิดเป็นฝีที่ลำคอถึงแก่พิราลัย เมื่อสิ้นผู้นำเมืองพิษณุโลกก็ระส่ำระสาย พระฝางจึงถือโอกาสยกทัพมาตีพิษณุโลกได้โดยง่าย ทำให้พระฝางมีอำนาจเข้มแข็งมากขึ้น

ปราบชุมนุมเจ้าพิมาย………..สำเร็จเป็นชุมนุมแรก

        หลังจากที่ปราบชุมนุมเจ้าพิษณุโลกไม่สำเร็จ และต้องบาดเจ็บกลับมาเมื่อทรงหายจากการประชวรก็ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะเลือกปราบชุมนุม ที่อ่อนที่สุดก่อน และเห็นว่าชุมนุมเจ้าพิมายน่าจะอ่อนแอที่สุด พระองค์จึงทรงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพิมาย ที่นครราชสีมา ในปีเดียวกันคือปี พ.ศ.2311 เมื่อตีพิมายได้สำเร็จ ได้ทรงเกลี้ยกล่อมให้เจ้าพิมายคือกรมหมื่นเทพพิพิธยอมอ่อนน้อมแต่โดยดีแต่เจ้าพิมายไม่ยอมอ่อนน้อม จึงรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิต

โปรดฯให้ยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้านคร…….ถึงสองครั้ง ! 

        ปี พ.ศ.2312 ทรงโปรดฯให้ยกทัพใหญ่ไปตีนครศรีธรรมราช โดยมีเจ้าพระยาจักรี(หมุด)เป็นแม่ทัพใหญ่พระยายมราช(บุญมา) 

และพระอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) เป็นแม่ทัพยกไป การยกทัพไปครั้งนี้ต้องล้มเหลว เพราะแม่ทัพนายกองต่างชิงดีชิงเด่นไม่ปองดองกันจึงเสียทีแก่ชุมนุมเจ้านคร พระยายมราชจึงมีใบบอกเข้ามาแจ้งต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกล่าวโทษเจ้าพระยาจักรี(หมุด)ว่าเป็นกบฏละเลยราชการสงคราม สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงต้องเสด็จยกทัพเรือไปด้วยพระองค์เอง เมื่อไปถึงทำให้ทหารของพระองค์มีวินัยมากขึ้นสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ในเดือนตุลาคม เจ้าเมืองนครหนีไปหลบซ่อนที่ปัตตานีเจ้าเมืองปัตตานีเกรงพระเจ้าตากจะยกทัพเลยไปตีเมืองปัตตานีด้วย จึงรีบอ่อนน้อมและนำตัวเจ้านครมาถวาย เจ้าเมืองพัทลุง และเจ้าเมืองสงขลาเข้ามาขอสวามิภักดิ์ เจ้านครยอมอ่อนน้อมแต่โดยดีจึงไม่ประหารชีวิต แต่ปลดออกจากการเป็นเจ้าเมืองแล้วตั้งให้พระเจ้าหลานเธอเจ้านราสุริยวงศ์ไปครองเมืองนครศรีธรรมราชแทน และยกฐานะเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเป็นประเทศราชและดูแลหัวเมืองทางภาคใต้

ยกไปตีพิษณุโลกและชุมนุมเจ้าพระฝาง…..ในเวลาเดียวกัน

        สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบเรื่องที่เจ้าพระฝางยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกได้และเริ่มมีอำนาจมากขึ้นถึงกับส่งกองทัพออกลาดตระเวนแย่งชิงข้าวปลาอาหารของชาวบ้านลงมาถึงชัยนาทและเมื่อมีความพร้อมจึงโปรดฯให้ยกทัพใหญ่ทัพบกทัพเรือยกขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางและพิษณุโลกในปี พ.ศ.2313 โดยมีพระยายมราช(บุญมา)เป็นแม่ทัพหน้า สมเด็จพระเจ้าตากสินคุมทัพเรือเป็นทัพหลวงทัพหน้าของพระยายมราชและพระยาพิชัยราชายกเข้าตีเมืองพิษณุโลกด่านหน้าของเจ้าพระฝาง ซึ่งมีหลวงโกษา(ยัง)คุมกำลังรักษาเมืองพิษณุโลกอยู่ได้ภายในคืนเดียว แล้วให้ทัพบกยกขึ้นไปตีสวางคบุรีซึ่งเป็นที่มั่นของเจ้าพระฝาง เจ้าพระฝางพยายามสู้อยู่ได้ 3 วัน ก็ต้านทานไม่ไหวถูกตีแตกเจ้าพระฝาง พาพรรคพวกที่เหลือหลบหนีออกไปได้ หลังเสร็จศึกสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พระยายมราชเป็น เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชครองเมืองพิษณุโลกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

        การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ได้สำเร็จเท่ากับสามารถรวบรวมแผ่นดินที่เคยเป็นของอยุธยาทั้งหมดกลับคืนมาอีกครั้ง ทำให้คนไทยที่เคยแตกแยกกัน ได้กลับมารวมกันได้อีก อาณาจักรไทยยังมีกรุงธนบุรีเป็นศูนย์อำนาจแห่งใหม่ เริ่มมีขอบเขตแน่ชัดขึ้นมีความมั่นคง เข้มแข็งขึ้น และขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพทางการเมืองภายในของไทยรวมเวลาที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน ใช้ในการปราบปรามชุมนุมต่างๆเพื่อรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ปี

        นอกจากนี้ ยังเป็นจุดที่ทำให้จีนซึ่งเดิมไม่ยอมรับสถานะกษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้เปลี่ยนนโยบายมายอมรับสถานะของพระองค์ โดยยอมรับเครื่องราชบรรณาการตามแบบแผนธรรมเนียมการจิ้มก้อง ที่พระองค์ได้ส่งพระราชสาส์นไป เพื่อขอความสนับสนุนจากจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2311 และเมื่อพระองค์ส่งทูตไปเมืองจีนอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2324 ก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระเจ้ากรุงจีน

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

ข้อมูลเพิ่มเติม : 

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่
 ตากสินมหาราช บุรุษผู้นำชาติกับสู่เอกราชอีกครั้ง > คลิก 
พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่
 การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี > คลิก 
พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่
 พระราชประวัติก่อนขึ้นครองราชย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี > คลิก 

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่
 28 ธันวาคม วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช > คลิก 

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่
 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี > คลิก 

พราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

เพราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่ทัพพม่ากำลังล้อมเมืองอยู่ 1 คะแนน

สาเหตุของการหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกันอยู่นั้น พระยาตาก (สิน) เกิดความท้อใจ และมองไม่เห็นหนทางที่จะเอาชนะข้าศึกได้เลย ทั้งนี้ เพราะพระยาตาก (สิน) ขาดความคล่องตัวในการตัดสินใจ ดังเช่นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์คับขันจำเป็นต้องยิงปืนใหญ่ทำลายข้าศึกก็ต้องขออนุญาตเสียก่อน เพราะนโยบายประหยัด ...

เพราะเหตุใดพระยาตากสินพร้อมพรรคพวกจึงตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมพม่าไปทางทิศตะวันออกในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

จากการศึกษาวิเคราะห์ ว่าทำไมพระเจ้าตากจึงเลือกที่จะตีฝ่าวงล้อมออกจากกรุงศรีอยุธยาไปในวันนั้น สรุปได้ว่า เพราะพระเจ้าตากทรงวิเคราะห์อนาคตของกรุงศรีอยุธยาแล้วว่า กรุงศรีอยุธยาจะต้องเสียเมืองแก่กองทัพฝ่ายพม่าอังวะอย่างแน่นอน

เพราะเหตุใดพระยาตาก (สิน) จึงเลือกจันทบุรีเป็นฐานที่มั่นในการกอบกู้เอกราช

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จันทบุรี เป็นเมืองที่มีชุมชนชาวแต้จิ๋วเข้ามาตั้งรกรากอยู่หนาแน่น ย่อมมีความคุ้นเคยกับพระยาตาก ในฐานะที่เป็นจีนเชื้อสายเดียวกัน การเดินทางไปเมืองจันทบุรีก็คือ การเดินทางกลับไปสู่ดินแดนที่ตนรู้จัก และรู้สึกปลอดภัยในหมู่คนที่รู้จักมักคุ้นและไว้ใจ

เมื่อพระยาตาก(สิน) ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากอยุธยาแล้ว ทรงเดินทางผ่าน จังหวัดใด

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังเป็นพระยาตากหรือพระยาวชิรปราการ ตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าออกจากพระนครศรีอยุธยาในระหว่างสงครามครั้งสุดท้ายที่กำลังแตกสลายลงไปเพื่อไปทางด่านเมืองนครนายกและเลียบชายดงศรีมหาโพธิเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง แล้วมุ่งสู่หัวเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในช่วงก่อนพระนครสูญเสียต่อทัพพม่า ...