ความพอเพียงในระดับกิจการหรือบริษัทหรือระดับครัวเรือน

การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจจะนำพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้า อย่างสมดุลใน 4 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ขณะเดียวกันภายใต้กลยุทธ์การพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร บริษัทไทยเบฟเชื่อมั่นว่า จะสามารถ พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนและสร้างโอกาสที่ไร้ขีดจำกัด ให้แก่ธุรกิจและสังคมโดยรวมได้ต่อไป

นอกเหนือจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บริษัทยังแสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการขององค์การสหประชาชาติตามที่ได้ระบุไว้ในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยนำมาผสานกันเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทในหลายด้าน และช่วยผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศและระดับสากล หลักการทั้งสองยังมุ่งเน้นการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความคิด ในการสร้างความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคง ส่งเสริมการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล แต่อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจ จะยั่งยืนได้นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจอย่างมีเหตุผล และ ยึดหลักการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมเป็นสำคัญ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ 2020 ของบริษัทไทยเบฟ โดยมีจุดมุ่งหมายก้าวสู่การเป็น “ผู้นำ ธุรกิจเครื่องดื่มในภูมิภาคอาเซียนอย่างมั่นคงและยั่งยืน” และมุ่งเน้นไปที่ การมีส่วนร่วมและการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ยั่งยืน ไปพร้อมกับการเติบโตขององค์กร

ทั้งนี้บริษัทไทยเบฟเชื่อมั่นว่า กลยุทธ์การพัฒนาสู่ความยั่งยืนที่มีรากฐานสำคัญมาจากการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ จะเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า ที่สมดุลให้แก่บริษัทตลอดห่วงโซ่คุณค่า และส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขององค์กร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี    
 

 

ความพอประมาณ

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจทำการพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์ การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้ เช่น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ รวมไปจนถึงการแบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคม ไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

จะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักการปฏิบัติไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตการทำงาน และการดำรงชีวิตครับ

​       หากพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารธุรกิจ ผู้ประกอบการหลายท่านอาจส่ายหน้าว่าสวนทางไม่สามารถไปด้วยกันได้ เนื่องจากการทำธุรกิจทุกคนต่างก็มุ่งหวังกำไรและความก้าวหน้า แต่ไม่ได้คำนึงถึงความมั่นคงในระยะยาวของธุรกิจ จึงทำให้เป็นการเติบโตที่ตั้งอยู่บนความเสี่ยง แต่หากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้พิจารณาถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ลึกซึ้งจะพบว่าเป็นสัจธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตหรือการทำธุรกิจ โดยมีหลักการสำคัญ 3 ข้อที่ต้องยึดให้มั่นดังนี้

       1. พอประมาณ หมายถึง ความพอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตัวเองและคนอื่น ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้นอาจจะคิดว่าการทำยอดขายให้ได้มากๆ คือสิ่งสำคัญที่สุด จึงทุ่มเทแรงกายแรงใจทั้งหมดทำทุกทางเพื่อให้ได้ยอดขายมา โดยไม่คำนึงถึงความเป็นไปได้หรือต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเกินพอดี หรือแม้กระทั่งความโลภจนทำให้เกิดการทุจริต อย่างนี้เรียกว่าไม่พอดี ผู้ประกอบการควรวางแผนการผลิตและแผนการขาย ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน สามารถบริหารจัดการได้ ทั้งยังมีเวลาเหลือให้ครอบครัว รวมถึงเวลาในการออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองด้วย

       2. มีเหตุผล หมายถึง ทุกครั้งที่ตัดสินใจต้องทำอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล อย่าใช้อารมณ์เป็นตัวนำในการตัดสิน ควรคิดว่าหากตัดสินใจทำอะไรลงไปแล้ว ผลกระทบที่ตามมาจะมีอะไรบ้าง เช่น ในการผลิตสินค้าขึ้นมาอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องศึกษาโอกาสทางการตลาดมาอย่างดีแล้ว ไม่ใช่ตัดสินใจสั่งผลิตเพียงเพราะตัวเองชอบ หรือแค่มองว่าน่าจะขายได้แต่ไม่มีข้อมูลมารองรับ นอกจากนี้ต้องฟังเสียงจากพนักงานหรือเพื่อนร่วมงานบ้าง เพราะเป็นเหมือนเสียงสะท้อนจากความหวังดีที่ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้

       3. มีภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยผู้ประกอบการต้องมีแผนสำรองในการทำธุรกิจ แม้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นมาจริงๆ แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดเช่นนี้ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ลูกค้าหลักยกเลิกคำสั่งซื้อ ผู้ประกอบการจึงควรมีทางออกฉุกเฉินให้กับธุรกิจ หากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมาจะได้มีทางประคับประคองให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้

       จะเห็นได้ว่าแก่นของความพอเพียงนั้นไม่ได้สอนให้ใครจน แต่สอนให้เรารู้จักพอดีอย่างมีความรู้และมีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ และอดทน ซึ่งเป็นแนวคิดที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยสัจธรรมที่ลึกซึ้ง ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปเช่นไรก็ยังสามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่มีคำว่าตกยุคหรือล้าสมัย

สินเชื่อที่เกี่ยวข้อง :สินเชื่อและบริการยอดฮิต​​