ผู้แต่ง เรื่อง มัทนะ พาธา รัชกาล ใด

          ����Ҫ�Ծ����Ӥѭ㹾�кҷ���稾�����خ���������������ա������˹�� ��� ��������ء�����ѡ�ҵԷ���ô����Ҫ�ҹ�ŧ�˹ѧ��;���������˹ѧ��;���쩺Ѻ���� �� ����ͧ�¨�����Դ�, ��ѷ��������ҧ�, ��ǡ�����觺�þ��Ȕ ��੾�о���Ҫ�Ծ�������ͧ ��Ź�Դ��͔ ��� ���ռ�������ҡ����� ���蹴Ӕ [�] �ʴ����������駼�ҹ�ҧ˹��˹ѧ��;�����ا෾�������㹺��������� ���͵Դ�Ź� ��觹͡�ҡ�����ç����ɼ�����ʴ����������駹������ �ѧ���ô����Ҫ�ҹ����ͧ�Ҫ��������ó���оҹ�ͧ����ͧ������繺��˹稤����ͺ�繡óվ�����ա���� �֧�Ѻ�繾�ҹ�Ӥѭ��� ��Ѫ��Ź�������Ҫ�ҹ�����Ҿ㹡���ʴ������Դ�����ǧ���˹ѧ��;�������ҧ������

    ใน พ.ศ.2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก



ประวัติผู้แต่ง : 

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๖  มีพระนามเดิมว่ามหาวชิราวุธ  เป็นโอรสองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕   ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่  ๑  มกราคม  ๒๔๒๓

    ทรงศึกษาในประเทศไทยจนพระชนมายุได้  ๑๔  พรรษา  ก็เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ  ต่อมาเสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อวันที่  ๑๖  มกราคม  ๒๔๓๘ เพื่อรับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร  ( ผู้ที่จะได้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป ) และทรงกลับไปศึกษาวิชาทหาร  ณ  โรงเรียนทหารบกที่แซนด์เฮิซต์ เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๔๓  ได้เข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และวิชากฎหมาย  ณ  มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด  แต่ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นพิเศษ  จนแต่งบทละครเป็นภาษาอังกฤษได้  เมื่อสำเร็จการศึกษา  พระองค์ทรงเสด็จประพาสยุโรปก่อน  แล้วจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่  ๒๓  ตุลาคม  ๒๔๕๓  ขณะมีพระชนมายุ  ๓๐  พรรษา สวรรคตเมื่อวันที่  ๒๕  พฤศจิกายน  ๒๔๖๘  ( ครองราชย์  ๑๕  ปี พระชนมายุ  ๔๕  พรรษา) วัตถุประสงค์ในการพระราชนิพนธ์ เรื่อง  มัทนะพาธา  ทรงตั้งพระทัยเพื่อเป็นหนังสืออ่านกวีนิพนธ์ที่สนุกสนานในด้านเนื้อหา  และเป็นคติสอนใจให้เห็นถึงอานุภาพของความรัก


ผลงานพระราชนิพนธ์  :
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นเลิศ   จึงทรงมีพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง กว่า ๒๐๐ เรื่อง เช่น เรื่องศกุนตรา รามเกียรติ์ บทละครเรื่องเวนิสวานิช เป็นต้น ในงานพระราชนิพนธ์ทรงใช้นามปากกาว่า  อัศวพาหุ  รามจิตติ  พันแหลม  ศรีอยุธยานายแก้วนายขวัญ  พระขรรค์เพชร  นายแก้ว  ณ  อยุธยา  น้อยลา  ท่านราม ณ  กรุงเทพ   สำหรับบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง  มัทนะพาธา  ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจ้าอยู่หัวยังทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า “พระมหาธีรราชเจ้า”  ซึ่งมีความหมายว่า “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่”


แบบทดสอบหลังเรียน(ก่อนสอบกลางภาค) วิชาวรรณกรรมปัจจุบัน

นักเรียนเลือกคำตอบข้อที่ถูกเพียงข้อเดียว

๑. วรรณกรรม หมายถึงข้อใด

ก. หนังสือทั่วไป ข. หนังสือที่แต่งดี

ค. หนังสือที่เป็นแบบอย่างได้ ง.หนังสือที่ได้รับการยกย่อง

๒. วรรณคดีหมายถึงข้อใด

ก. หนังสือทั่วไป ข. หนังสือร้อยแก้ว

ค. หนังสือร้อยกรอง ง. หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี

๓. สมัยใดนิยมการเขียนร้อยแก้วมากกว่าร้อยกรอง

ก. สุโขทัย ข. อยุธยาตอนต้น

ค. อยุธยาตอนกลาง ง. อยุธยาตอนปลาย

๔. สมัยใดนิยมการแต่งโคลงมากกว่าสมัยอื่นๆ

ก. สุโขทัย ข. อยุธยาตอนต้น

ค. อยุธยาตอนกลาง ง. อยุธยาตอนปลาย

๕. วรรณกรรมปัจจุบันนับตั้งแต่สมัยรัชกาลใด

ก. รัชกาลที่ ๓ ข. รัชกาลที่ ๔

ค. รัชกาลที่ ๕ ง. รัชกาลที่ ๖

๖. วรรณกรรมต่อไปนี้ข้อใดเน้นบันเทิงคดี

ก. ข่าว ข. สารคดี

ค. เรื่องสั้น ง. บทความ

๗. วรรณกรรมต่อไปนี้ข้อใดมีทั้งบันเทิงคดีและสารคดี

ก. ข่าว ข. สารคดี

ค. เรื่องสั้น ง. บทความ

๘.นิตยสารรายปักษ์ เป็นอย่างไร

ก. นิตยสารที่มีกำหนดวางจำหน่าย ๑๕ วัน/ครั้ง ข. นิตยสารที่มีกำหนดวางจำหน่าย ๒ วัน/ครั้ง

ค. นิตยสารที่มีกำหนดวางจำหน่าย ๑ เดือน/ครั้ง ง. นิตยสารที่มีกำหนดวางจำหน่าย ๒ เดือน/ครั้ง

๙. เรื่องใดไมใชวรรณคดีประเภทบทละคร

ก.อิเหนา ข. รามเกียรติ์

ค. ขุนชางขุนแผน ง.มัทนะพาธา

๑๐. ขอใดไมใชวิธีการจำแนกประเภทของวรรณคดี

ก.การจําแนกตามลักษณะคําประพันธ ข.การจําแนกตามสมัยที่แตง

ค.การจําแนกตามหลักฐาน ง.การจําแนกตามเนื้อหา

๑๑. วรรณคดีเรื่องใดมีลักษณะคำประพันธแตกตางจากขออื่น

ก.ไซฮั่น ข.สามกก

ค. ราชาธิราช ง.ศิลาจารึกพอขุนรามคําแหง

๑๒. ขอใดจัดเปนวรรณคดีมุขปาฐะ

ก.คาวี ข.เงาะปา

ค.นิทานเวตาล ง.นิทานตามองลาย

๑๓.ข้อใดคือชนิดของวรรณกรรมไทย

ก.ร้อยแก้ว ข.ร้อยกรอง

ค.กลอน ง.ถูกทุกข้อ

๑๔.หนังสือปัจจุบันมีกี่ประเภท

ก.๒ประเภท ข.๓ประเภท

ค.๔ประเภท ง.๕ประเภท

๑๕.ลักษณะสําคัญขอใดที่ทําใหวรรณกรรมแตกตางจากวรรณคดี

ก.เนื้อหาสาระ ข.รูปแบบคําประพันธ

ค.ศิลปะการประพันธ ง.ชื่อเสียงของกวี

๑๖.ข้อใดคือวรรณกรรม

ก.สังข์ทอง ข.รามเกียรติ์

ค.ความสุขของกะทิ ง.พระอภัยมณี

๑๗.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสารคดีและบันเทิงคดี

ก.บันเทิงคดี คือ เรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเรื่องสมมุติ

ข.สารคดีและบันเทิงคดีเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม

ค.สารคดี คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น

ง.ผิดทั้ง ก. และ ค.

๑๘.ข้อใดเป็นวรรณกรรม

ก.นวนิยาย ข.กาพย์

ค.กลอน ง.ถูกทุกข้อ

๑๙.ข้อใดให้ความหมายของวรรณคดีไม่ถูกต้อง

ก. วรรณคดี คือ วรรณกรรมที่มีผู้นิยมชมชอบ

ข. วรรณคดี คือ ผลงานที่เกิดจากการนึกคิดของมนุษย์และสืบต่อกันมาช้านาน

ค. วรรณคดี คือ วรรณกรรมของคนปัจจุบัน

ง. วรรณคดี คือ ศิลปะอย่างหนึ่งที่ใช้ภาษาเป็นสื่อ

๒๐.ข้อใดเป็นประเภทวรรณกรรมแบ่งตามจุดมุ่งหมาย

ก.สารคดี ข.ร้อยแก้ว

ค.ร้อยกรอง ง.อธิบาย

อ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๒๑ - ๒๔

อย่าเกียจคร้านการเรียนเร่งอุตส่าห์ มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน

จะตกถิ่นฐานใดคงไม่แคลน ถึงคับแค้นก็พอยังประทังตน

อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล

อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์ ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี

เกิดเป็นชายชาวสยามตามวิสัย หนังสือไทยก็ไม่รู้ดูบัดสี

ต้องอับอายขายหน้าทั้งตาปี ถึงผู้ดีก็คงด้อยถอยตระกูล

๒๑.บทร้อยกรองนี้ผู้แต่งต้องการสอนผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องใด

ก. เรื่องการเรียน ข. เรื่อง การประกอบอาชีพ

ค. เรื่องที่นักเรียนควรนำไปเป็นแนวปฏิบัติ ง. ให้แนวคิดเกี่ยวกับการนำความรู้ไปประกอบอาชีพ

๒๒.เหตุใดผู้แต่งจึงเปรียบการมีวิชาว่าเหมือนกับการมีทรัพย์

ก. เพราะกว่าจะเรียนจบต้องลงทุนในการศึกษาเล่าเรียนมาก

ข. ค่าเล่าเรียนที่จ่ายไปเหมือนกับการสะสมทรัพย์ไว้

ค. เพราะสามารถใช้วิชาหารายได้เลี้ยงตัวเองได้ตลอดชีพ

ง. เพราะสามารถใช้วิชาหารายได้ให้ตัวเองครั้งละเป็นแสนๆ

๒๓.“จะตกถิ่นฐานใดคงไม่แคลน ถึงคับแค้นก็พอยังประทังตน” ข้อความนี้หมายถึงข้อใด

ก. คนที่มีความรู้ดีอยู่ที่ไหนก็ไม่ลำบาก

ข. คนที่มีความรู้ดีไม่มีวันตกอับหรือลำบาก

ค. คนมีความรู้ดีแม้ชีวิตต้องตกอับก็สามารถใช้วิชาที่มีหาเลี้ยงชีพได้

ง. คนมีความรู้ดีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือลำบากอย่างไรก็ใช้วิชาที่มีหาเลี้ยงชีพได้

๒๔. “เกิดเป็นชายชาวสยามตามวิสัย หนังสือไทยก็ไม่รู้ดูบัดสี” ข้อความนี้หมายถึงข้อใด

ก. เกิดเป็นผู้ชายไทยต้องอ่านหนังสือให้ออก

ข. เกิดเป็นผู้ชายไทยถ้าอ่านหนังสือไทยไม่ออกก็น่าอาย

ค. เกิดเป็นคนไทยถ้ายังอ่านหนังสือไทยไม่ออกก็น่าอับอาย

ง. เกิดเป็นคนไทยอย่างไรเสียก็ต้องอ่านหนังสือไทยออกอยู่แล้ว

อ่านข่าวต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๒๕ - ๒๖

นักเตะพม่าชวดมาค้าแข้งในประเทศไทยคณะกรรมการโอลิมปิกเบรค เลยอดมาร่วมทีมโล่เหล็ก

๒๕.ข้อความนี้จัดอยู่ในประเภทใด

ก.โฆษณา ข. พาดหัวข่าว

ค. ประกาศ ง. บทความ

๒๖.“ ค้าแข้ง ” หมายถึง อาชีพใด

ก. นักวิ่ง ข. นักมวย

ค. นักตะกร้อ ง. นักฟุตบอล

๒๗.เรื่องใดเป็นวรรณกรรมประเภทร้อยกรอง

ก.สายโลหิต ข.ฉากหนึ่งของชีวิต

ค.จันทร์เจ้า ง.จดหมายถึงเพื่อน

๒๘. เรื่องใดเป็นวรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว

ก.ลำนำภูกระดึง ข.ซอยสวนพลู

ค.จันทร์เจ้า ง.เทวัญบันทึก

๒๙. เรื่องใดเป็นวรรณกรรมประเภทสารคดี

ก.บ้านทรายทอง ข.ใต้เงาจันทร์

ค.อาทิตย์ถึงจันทร์ ง.ฉากหนึ่งของชีวิต

๓๐.เรื่องใดเป็นวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี

ก.ลำนำภูกระดึง ข.อาทิตย์ถึงจันทร์

ค.วัฒนธรรมสุโขทัย ง.บ้านทรายทอง

๓๑.เรื่องใดเป็นวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี

ก.ลำนำภูกระดึง ข. อาทิตย์ถึงจันทร์

ค.นิราศรอนแรมไปรอบโลก ง.เลือดมังกร

๓๒. เรื่องบทละครเรื่องโพงพางเป็นวรรณกรรมประเภทใด

ก.ร้อยแก้ว ข.ร้อยกรอง

ค.สารคดี ง .นิทาน

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ๓๓-๓๘

“ คนสูบได้รับพิษ คนใกล้ชิดได้รับภัย”

๓๓.ข้อความที่อ่านกล่าวถึงสิ่งใด
ก. บุหรี่ ข.กัญชา
ค. เฮโรอีน ง.ยาบ้า

๓๔.ผู้กล่าวต้องการอะไร
ก. อบรม ข. ตักเตือน
ค.สั่งสอน ง.อธิบาย

๓๕.จากข้อความ “พิษ" เป็นอันตรายโดยตรงต่อสิ่งใด
ก. ปอด ข.ตับ
ค. หัวใจ ง.ไต

๓๖.“คนใกล้ชิดได้รับภัย" น่าจะเป็นภัยจากสิ่งใด
ก.ควันจากท่อไอเสีย ข.ควันจากบุหรี่
ค. ควันจากโรงงาน ง.จากฝุ่นละออง

๓๗.ข้อความนี้จัดเป็นประเภทใด
ก.ข่าว ข. ประกาศ
ค. คำขวัญ ง.บทความ

๓๘.เมื่ออ่านข้อความนี้แล้วนักเรียนควรทำอย่างไร
ก.เลิกสูบบุหรี่ ข.ไม่ทดลองสูบบุหรี่
ค. บอกตำรวจจับคนสูบบุหรี่ ง.บอกให้คนสูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่

“ พระสอนว่า หัวใจเศรษฐี คือ ขยัน ประหยัด อดทน ”

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๓๙- ๔๑

๓๙.ใครมีโอกาสเป็นเศรษฐี

ก. แดง ร่ำรวยแต่ไม่ประหยัด ข. ดำ ยากจนแต่ชอบซื้อของราคาแพง

ค. ดาว ยากจนแต่ขยันทำงาน ง. ดี ร่ำรวยเกียจคร้านการทำงาน

๔๐.พฤติกรรมของใครสอดคล้องกับคำสอนนี้

ก. ดี ชอบดูโทรทัศน์ ข. ดาว ชอบเที่ยวกลางคืน

ค. ดำ ชอบเที่ยวห้างสรรพสินค้า ง. แดง ชอบอ่านหนังสือพิมพ์

๔๑.ข้อความนี้มุ่งสอนให้ทำอะไร

ก. การเอาชนะตนเอง ข. การสร้างฐานะตนเอง

ค. การขยัน ง. การประหยัด

๔๒.“ ต่อไปคุณต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับรถผมขอบอกคุณไว้เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น

จะทำให้หนักเป็นเบาได้ คุณโปรดเข้าใจด้วย ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ผมยังไม่ปรับคุณ”

ผู้พูดมีวัตถุประสงค์อย่างไร

ก. ตักเตือน ข. สั่งสอน

ค. แนะนำ ง. อธิบาย