มัทนะพาธาสะท้อนการรับอิทธิพลต่างประเทศได้อย่างไร

              บทละครพูดคำฉันท์  เรื่อง  มัทนะพาธาถือเป็นวรรณคดีเรื่องเยี่ยมและได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นแบบอย่างของบทละครพูดคำฉันท์  โดยวรรณคดีเรื่องนี้ให้ความเพลิดเพลินจากเนื้อหาที่ชวนติดตาม  และวรรณศิลป์อันไพเราะแล้วยังให้ข้อคิดเกี่ยวกับความรักอย่างน่าสนใจ  จึงควรศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้อย่างพินิจพิเคราะห์  เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการอ่านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

สาระสำคัญ : มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีประเภท “บทละครพูด” พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์ของพระองค์

บทละครเรื่องนี้ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า “เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์”ด้วยการเลือกถ้อยคำที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้ดีเยี่ยม ตลอดจนมีการวางโครงเรื่องที่ชวนให้ติดตาม ทั้งยังสอดแทรกคติสอนใจเรื่องความรักได้อย่างซาบซึ้งกินใจอีกด้วย

๒. ความเป็นมา

ความเป็นมา : มัทนะพาธา แปลว่า “ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนเพราะความรัก”
บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา หรือ ตำนานดอกกุหลาบ มีลักษณะเป็นบทละครพูดคำฉันท์ จำนวน ๕ องค์ (ตอน) แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน เป็นบทพระราชนิพนธ์จากจินตนาการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)

นางเอกของเรื่องมีนามว่า “มัทนา”ซึ่งมีความหมายว่า “ความลุ่มหลง หรือความรัก”แทนคำว่า “กุพชกะ” ที่แปลว่าดอกกุหลาบ บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๖๖ ณ พระราชวังพญาไท และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ปีเดียวกัน ( ๑ เดือน ๑๖ วัน ) เมื่อพระราชนิพนธ์เสร็จก็พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีพระวรชายา

แนวคิดของเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรัก ความลุ่มหลง ความเจ็บร้าวระทมเพราะความรัก ซึ่งตัวละครทุกตัวจะต้องได้รับรสดังกล่าวนี้

๓. ประวัติผู้แต่ง

ประวัติผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระนามเดิมว่ามหาวชิราวุธ เป็นโอรสองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๒๓
ทรงศึกษาในประเทศไทยจนพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา ก็เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ต่อมาเสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๓๘ เพื่อรับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ( ผู้ที่จะได้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป ) และทรงกลับไปศึกษาวิชาทหาร ณ โรงเรียนทหารบกที่แซนด์เฮิซต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และวิชากฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แต่ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นพิเศษ จนแต่งบทละครเป็นภาษาอังกฤษได้ เมื่อสำเร็จการศึกษา พระองค์ทรงเสด็จประพาสยุโรปก่อน แล้วจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย

เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ ขณะมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษา สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ( ครองราชย์ ๑๕ ปี พระชนมายุ ๔๕ พรรษา) วัตถุประสงค์ในการพระราชนิพนธ์ เรื่อง มัทนะพาธา ทรงตั้งพระทัยเพื่อเป็นหนังสืออ่านกวีนิพนธ์ที่สนุกสนานในด้านเนื้อหา และเป็นคติสอนใจให้เห็นถึงอานุภาพของความรัก

ผลงานพระราชนิพนธ์ : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์เป็นเลิศ จึงทรงมีพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง กว่า ๒๐๐ เรื่อง เช่น เรื่องศกุนตรา รามเกียรติ์ บทละครเรื่องเวนิสวานิช เป็นต้น ในงานพระราชนิพนธ์ทรงใช้นามปากกาว่า อัศวพาหุ รามจิตติ พันแหลม ศรีอยุธยานายแก้วนายขวัญ พระขรรค์เพชร นายแก้ว ณ อยุธยา น้อยลา ท่านราม ณ กรุงเทพ สำหรับบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจ้าอยู่หัวยังทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า “พระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่”

๔. ลักษณะคำประพันธ์
ลักษณะคำประพันธ์ : บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ประกอบด้วยคำประพันธ์หลายชนิดดังนี้

๑. กาพย์ ๓ ชนิด คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

๒. ฉันท์ ๒๑ ชนิด เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุปชาติฉันท์ ๑๑ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นต้น

หมายเหตุ : ตัวเลขที่ตามหลังชื่อฉันท์ หมายถึงจำนวนคำใน ๑ บาท 


มัทนะพาธาสะท้อนการรับอิทธิพลต่างประเทศได้อย่างไร

๕. เรื่องย่อ
ภาคสวรรค์ : กล่าวถึงสุเทษณ์เทพบุตร ซึ่งในอดีตกาลเป็นกษัตริย์ครองแคว้นปัญจาล มัทนาเป็นพระธิดากษัตริย์ของแคว้นสุราษฎร์ สุเทษณ์ได้ส่งทูตไปสู่ขอนาง แต่ท้าวสุราษฎร์พระบิดาของนางไม่ยอมยกให้ สุเทษณ์จึงยกทัพไปรบทำลายบ้านเมืองของท้าวสุราษฎร์จนย่อยยับ และจับท้าวสุราษฎร์มาเป็นเชลยและจะประหารชีวิต แต่มัทนาขอไถ่ชีวิตพระบิดาไว้ โดยยินยอมเป็นบาทบริจาริกาของสุเทษณ์ ท้าวสุราษฎร์จึงรอดจากพระอาญา จากนั้นมัทนาก็ปลงพระชนม์ตนเอง และไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์นามว่า มัทนา ส่วนท้าวสุเทษณ์ก็ทำพลีกรรมจนสำเร็จ เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ไปบังเกิดบนสวรรค์เช่นกัน ด้วยผลกรรมที่เคยได้นางมาเป็นคู่ทำให้มีโอกาสได้พบกันอีกบนสวรรค์ แต่นางมัทนาก็ยังไม่มีใจรักสุเทษณ์เทพบุตรเช่นเดิม
ณ วิมานของสุเทษณ์ ได้มีคนธรรพ์เทพบุตร เทพธิดาที่เป็นบริวารต่างมาบำเรอขับกล่อมถวาย แต่ถึงกระนั้นสุเทษณ์เทพบุตรก็ไม่มีความสุข เพราะรักนางมัทนา แต่ไม่อาจสมหวังเพราะผลกรรมที่ทำไว้ในอดีต จึงให้วิทยาธรชื่อมายาวินใช้เวทมนตร์คาถาไปสะกดให้นางมายังวิมานของสุเทษณ์เทพบุตร ฝ่ายมัทนาเมื่อถูกเวทย์มนตร์สะกดมา สุเทษณ์จะตรัสถามอย่างไรนางก็ทวนคำถามอย่างนั้นทุกครั้งไป จนสุเทษณ์เทพพระบุตรขัดพระทัย รู้สึกเหมือนตรัสกับหุ่นยนต์ จึงให้มายาวินคลายมนตร์สะกด เมื่อนางรู้สึกตัวก็ตกใจกลัวที่ล่วงล้ำเข้าไปถึงวิมานของสุเทษณ์เทพบุตร สุเทษณ์เทพบุตรถือโอกาสฝากรัก มัทนาแสดงความจริงใจว่านางไม่ได้รักสุเทษณ์เทพบุตรจึงไม่อาจรับรักได้ เมื่อได้ยินดังนั้นสุเทษณ์เทพบุตรรู้สึกกริ้วนางมัทนาเป็นที่สุด จึงสาปให้มัทนาจุติจากสวรรค์ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบในป่าหิมาวันในโลกมนุษย์ และเปิดโอกาสให้นางกลายร่างเป็นมนุษย์ได้เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเพียงหนึ่งวันกับหนึ่งคืนเท่านั้นเมื่อใดที่นางมีรักเมื่อนั้นจึงจะพ้นคำสาปและกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อย่างปกติ หากเมื่อใดที่นางมีทุกข์เพราะความรักก็ให้นางอ้อนวอนต่อพระองค์จึงจะยกโทษทัณฑ์ให้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสาเหตุของปมขัดแย้งในเรื่อง คือ สุเทษณ์รักนางมัทนาแต่นางไม่รักตอบ
ภาคพื้นดิน : พระฤๅษีได้ขุดเอาดอกกุหลาบจากป่าหิมาวันไปปลูกไว้กับอาศรม เมื่อคืนวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง นางจะปรากฏโฉมเป็นมนุษย์มาปรนนิบัติรับใช้พระฤๅษี วันหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งนครหัสดิน เสด็จประพาสป่ามาถึงอาศรมพระฤๅษี ตรงกับคืนวันเพ็ญที่มัทนากลายร่างเป็นมนุษย์ และได้พบกับท้าวชัยเสนและเกิดความรักต่อกัน พระฤๅษีจึงจัดพิธีอภิเษกให้ ชัยเสนได้พานางกลับนครหัสดิน ท้าวชัยเสนหลงใหลรักใคร่นางมัทนามาก ทำให้นางจัณฑีมเหสี หึงหวง และอิจฉาริษยา จึงทำอุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจผิดว่ามัทนาเป็นชู้กับนายทหารเอก นางมัทนาจึงถูกสั่งประหารชีวิต แต่เพชฌฆาตสงสารจึงปล่อยนางไป
นางมัทนากลับไปยังอาศรมพระฤๅษีและวิงวอนให้สุเทษณ์เทพบุตรช่วย สุเทษณ์เทพบุตรได้ขอความรักนางอีกครั้งหนึ่งแต่นางปฏิเสธ สุเทษณ์เทพบุตรจึงสาปให้นางเป็นดอกกุหลาบตลอดไป

บทวิเคราะห์

๑. คุณค่าด้านเนื้อหา
๑. โครงเรื่อง เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดโครงเรื่องเอง ไม่ได้ตัดตอนมาจากวรรณคดีเรื่องใด แก่นสำคัญของเรื่องมีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑) ทรงปราถนาจะกล่าวถึงตำนานดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สวยงาม แต่ไม่เคยมีตำนานในเทพนิยาย จึงพระราชนิพนธ์ให้ดอกกุหลาบมีกำเนิดมาจากนางฟ้าที่ถูกสาปให้จุติลงมาเกิดเป็นดอกไม้ชื่อว่า "ดอกกุพฺชกะ" คือ "ดอกกุหลาบ"
๒) เพื่อแสดงความเจ็บปวดอันเกิดจากความรัก ทรงแสดงให่เห็นว่าความรักมีอนุภาพอย่างยิ่ง ผู้ใดมีความรักก็อาจเกิดความหลงขึ้นตามมาด้วย ทรงใช้ชื่อเรื่องว่า "มัทนะพาธา" อันเป็นชื่อของตัวละครเอกของเรื่อง ซึ่งมีความหมายว่า "ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนอันเกิดจากความรัก" มีการผูกเรื่องให้มีความขัดแย้งซึ่งเป็นปมปัญหาของเรื่อง คือ
๒.๑ สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางมัทนา แต่นางไม่รับรักตอบจึงสาปนางเป็นดอกกุพฺชกะ (กุหลาบ)
๒.๒ นางมัทนาพบรักกับท้าวชัยเสน แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคเพราะนางจันทีมเหสีของท้าวชัยเสนวางอุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจนางมัทนาผิด สุดท้ายนางมัทนาได้มาขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์เทพบุตร และสุเทษณ์เทพบุตรขอความรักนาง อีกครั้งแต่นางปฏิเสธช่นเคย เรื่องจึงจบลงด้วยความสูญเสียและความเจ็บปวดด้วยกันทุกฝ่าย

๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑. การใช้ถ้อยคำและรูแบบคำประพันธ์เหมาะสมกับเนื้อหา ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เกิดความประทับใจอยากติดตามอ่าน เช่น เมื่อมายาวินเล่าเรื่องราวในอดีตถวายสุเทษณ์ว่าเหตุใดมัทนาจึงไม่รักสุเทษณ์ กวีเลือกใช้อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ที่มีท่วงทำนองเร็วเหมาะแก่การเล่าความ หรือบรรยายเรื่อง ส่วนเนื้อหาตอนสุเทษณ์ฝากรักนางมัทนานั้นใช้วสันตดิลกฉันท์ ซึ่งมีท่วงทำนองที่อ่อนหวาน เมื่อสุเทษณ์กริ้วนางมัทนาก็ไช้ กมลฉันท์ ซึ่งมีคำครุลหุที่มีจำนวนเท่ากันแต่ขึ้นต้นด้วยคำลหุ จึงมีทำนองประแทกกระทั้นถ่ายทอดอารมณ์โกรธเกรี้ยวได้ดี ดังตัวอย่าง
มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชิช่างจำนรรจา,....
....................................
ก็และเจ้ามิเต็มจิต จะสดับดนูชวน,
ผิวะให้อนงค์นวล ชนะหล่อนทนงใจ.
บ่มิยอมจะร่วมรัก และสมัครสมรไซร้,
ก็ดะนูจะยอมให้ วนิดานิวาศสวรรค์,....
๒. การใช้โวหาร กวีใช้อุปมาโวหารในการกล่าวชมความงามของนางมัทนาทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพความงามของมัทนาเด่นชัดขึ้น ดังตัวอย่าง
งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ
งามแก้มแฉล้มฉัน พระอรุณแอร่มละลาน
งามเกศะดำขำ กลน้ำ ณ ท้องละหาน
งามเนตรพินิจปาน สุมณีมะโนหะรา
งามทรวงสล้างสอง วรถันสุมนสุมา-
ลีเลิดประเสริฐกว่า วรุบลสะโรชะมาศ
งามเอวอนงค์ราว สุระศิลปชาญฉลาด
เกลากลึงประหนึ่งวาด วรรูปพิไลยพะวง
งามกรประหนึ่งงวง สุระคชสุเรนทะทรง
นวยนาฏวิลาศวง ดุจะรำระบำระเบง
ซ้ำไพเราะน้ำเสียง อรเพียงภิรมย์ประเลง,
ได้ฟังก็วังเวง บ มิว่างมิวายถวิล
นางใดจะมีเทียบ มะทะนา ณ ฟ้า ณ ดิน
เป็นยอดและจอดจิน- ตะนะแน่ว ณ อก ณ ใจ

๓. การใช้ลีลาจังหวะของคำทำให้เกิดความไพเราะ กวีมีความเชี่ยวชาด้านฉันทลักษณ์อย่างยิ่ง สามารถแต่งบทเจรจาของตัวละครให้เป็นคำฉันท์ได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งการใช้ภาษาก็คมคาย โดยที่บังคับฉันทลักษณ์ ครุ ลหุ ไม่เป็นอุปสรรคเลย เช่น บทเกี้ยวพาราสีต่อไปนี้ แต่งด้วยวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มีการสลับตำแหน่งของคำ ทำให้เกิดความไพเราะได้อย่างยอดเยี่ยม
สเทษณ์ : พี่รักและหวังวธุจะรัก และบทอดบทิ้งไป

มัทนา : พระรักสมัครณพระหทัย ฤจะทอกจะทิ้งเสีย?

สุเทษณ์ : ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย

มัทนา : ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ

๔. การใช้คำที่มีเสียงไพเราะ อันเกิดจากการเล่นเสียงสัมผัสคล้องจอง และการหลากคำทำให้เกิดความำพเราะ เช่น ตอนมายาวินร่ายมนตร์