ผู้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

METEOR 16 ม.ค. 52 เวลา 11:49 น. 3

มีหลายท่านค่ะ พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระพุธเลิศหล้านภาลัย,

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์,

สุนธรภู่, ครูแจ้ง และผู้แต่งที่ไม่ปรากฏนามอีกหลายท่าน

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงเดชานุภาพก็ทรงนิพนธ์ในตอนที่ขาดหายไปด้วย

0 0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

คนเคยเขียน 27 ธ.ค. 53 เวลา 21:08 น. 4

เราก็ว่านะมีหลายคน
แต่ที่ได้ยิน มี สุนทรภู่
แต่เขาบอกว่าคนแต่งขุนช้างขุนแผน
เป็นคนที่อยู่ในสมัย กรุวศรีอยุธยา
แต่สุนทรภู่อยู่ในกรุงรัตนโกสิทร์ไม่ใช่หรอ

ผู้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

0 1

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

วีด้า 16 มี.ค. 65 เวลา 22:27 น. 4-1

แต่งเรื่อย ๆ ครับ

0 0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ

ตราชู 19 ก.พ. 56 เวลา 08:57 น. 6

ขุนช้างขุนแผนเป็นพระราชนิพนธิ์ของรัชการที่ 2 คือสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและทรงมอบให้สุนทรภู่เป็นผู้ช่วยในการแต่งโคลงประกอบทุกเรื่องเนื่องพระราชกิจมีมากมายในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน

0 0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

ผ่านมาเจอเลยแวะมาตอบ 23 พ.ย. 63 เวลา 17:24 น. 9

ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องเล่าจากปากตั้งแต่สมัยอยุธยาฯ ครับ แล้วไปปรากฏในจดหมายเหตุของประเทศพม่านู่น ร.2 เลยรับสั่งให้ สุนทรภู่ และนักกวีทุกท่านในสมัยนั้นร่วมกันช่วยกันแต่งเรื่องจากเค้าโครงขึ้นมา แต่ด้วยความเป็นสุนทรภู่พลายแก้วเลยดูเป็นเจ้าชู้ๆ สังเกตในบางตอนที่ท่านอื่นแต่ง เนื้อเรื่องมันจะไปอีกแนว 55

0 0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

ไอ้สอง 26 ก.ค. 64 เวลา 05:29 น. 10

1. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ที่ 2

( เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ )

มี 4 ตอน คือ

- พลายแก้วได้นางพิม

- พลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง

- ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกิริยา

- ขุนแผนพานางวันทองหนี

2. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 มี 2 ตอน คือ

- ขุนช้างขอนางพิม

- ขุนช้างตามนางวันทอง

3. สำนวนของสุนทรภู่ มี 1 ตอน คือ

- กำเนิดพลายงาม

4. สำนวนของครูแจ้งมี 5 ตอน คือ

- กำเนิดกุมารทอง

- ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ

- ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่

- ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ

- จระเข้เถรขวาด

0 0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีนิทาน  แต่งเป็นกลอน  สันนิษฐานว่าน่าจะได้ใช้ขับเล่าเรื่องด้วยทำนองร้องต่าง ๆ โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  ในกฎหมายตราสามดวงมีข้อความระบุถึงพระราชานุกิจว่า “หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี” แสดงว่าการเล่าเรื่องด้วยการขับร้องมีมานานแล้ว และกรับที่ใช้ประกอบการขับนั้น ก็น่าจะเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ดั้งเดิมที่แพร่มาแต่อินเดียหรือตะวันออกกลางพร้อม ๆ กับการเล่านิทานเรื่องรามเกียรติ์

เนื้อเรื่องขุนช้างขุนแผนแปลกกว่านิทานพื้นบ้านทั่วไป  เนื่องจากเป็นเรื่องรักสามเส้าแบบสมจริงของคนธรรมดา  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องของคนที่มีชีวิตอยู่จริงในราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แต่มีผู้นำมาเล่าสืบกันมาอย่างนิยายและเป็นที่นิยมกันแพร่หลายจนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์  สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายท่านช่วยกันแต่งต่อเติมขึ้นเป็นฉบับหลวง  และทรงพระราชนิพนธ์เองบางตอน  เช่น  ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมถึงตอนแต่งงาน  ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างถึงเข้าห้องนางแก้วกิริยา  นางวันทองทะเลาะกับลาวทอง  และเท่าที่รู้จากตำนานหรือสันนิษฐานได้จากสำนวน บางตอนโปรดเกล้าฯ ให้ผู้อื่นแต่ง เช่น  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์ตอนขุนช้างขอนางพิม  และขุนแผนพานางวันทองหนี  ส่วนสุนทรภู่แต่งตอนกำเนิดพลายงาม  เป็นต้น  ในระยะเดียวกันนั้นกวีเชลยศักดิ์ก็แต่งและขับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นมหรสพชาวบ้านกันทั่วไป  แต่มักมิได้จดฉบับลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างฉบับหลวง  

ศิลปากร, กรม. ขุนช้างขุนแผน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของครุสภา, 2532.

สุนทรภู่แต่งขุนช้างขุนแผนกี่ตอน

เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นคาประพันธ์ประเภทกลอน เสภา ๔๓ ตอน ซึ่งมีอยู่ ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดียอดเยี่ยม จากวรรณคดีสมาคม อันมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระยาดารงรา ชานุภาพ ทรงเป็นประธานโดยลงมติเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ และตอน ขุนช้าง ถวายฎีกา เป็นหนึ่งในแปดตอนที่ได้รับการยกย่อง ลักษณะคาประพันธ์

สุนทรภู่แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนใด

ขุนช้างขุนแผน
ประเภท
นิทาน/ตำนาน/ มหากาพย์
คำประพันธ์
กลอนสุภาพ/กลอนแปด
ยุค
รัตนโกสินทร์ตอนต้น
ปีที่แต่ง
ไม่ทราบ
ขุนช้างขุนแผน - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › ขุนช้างขุนแผนnull

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนแต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด

เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นคำประพันธ์ ประเภทกลอนเสภา ๔๓ ตอน ซึ่งมีอยู่ ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดียอดเยี่ยมจากวรรณคดีสมาคม อันมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นประธานโดยลงมติเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ และตอน ขุนช้างถวายฎีกาเป็นหนึ่ง ในแปดตอนที่ ได้รับการยกย่อง