คุณค่า เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะ ห มังกุ ห นิง

คุณค่าด้านแนวคิดและคติชีวิต

สะท้อนภาพชีวิตของบรรพบุรุษ

–  การแบ่งชนชั้นวรรณะ  เช่น  การไม่ยอมไปเกลือกกลั้วกับวงศ์ตระกูลอื่นนอกจากวงศ์เทวาด้วยกัน  ทำให้เกิดการแต่งงานระหว่างพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
–  ไม่มีสิทธิ์เลือกคู่ครองด้วยตนเอง  ต้องปฏิบัตตามความพอใจของผู้ใหญ่
–  สภาพความเป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข  มีการละเล่นต่าง ๆ มากมาย
–  มีความเชื่อทางไสยศาสตร์  เช่น  การแก้บน  การใช้เครื่องรางของขลัง  การดูฤกษ์ยาม
–  ด้านกุศโลบายการเมือง  มีการรวบรวมเมืองที่อ่อนแอกว่าเข้ามาเป็นเมืองบริวาร

ความเข้าใจธรรมชาติมนุษย์

–  ธรรมชาติในเรื่องความรักของคนวัยหนุ่มสาว  มักขาดความยั้งคิด  เอาแต่ใจตนเองเป็นใหญ่  ไม่คำนึงถึงความทุกข์ใจของพ่อแม่
–  ธรรมชาติของอารมณ์โกรธ  มักทำให้วู่วามตัดสินใจผิดพลาดอันจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้

อิเหนา  เป็นวรรณคดีที่เป็นมรดกของชาติที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานตามเนื้อเรื่อง  ความไพเราะของรสวรรณคดี  และสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนที่ได้ถ่ายทอดสภาพของสังคมไทย  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี  ความคิด  ความเชื่อแบบไทย ๆ สอดแทรกไว้ได้อย่างมีศิลป์  ทั้งยังแฝงด้วยข้อคิด  คติธรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตอีกด้วย

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องอิเหนา 

๑. การเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้

จากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา และคนอื่นๆ ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ดังเช่นในตอนที่อิเหนาได้เห็นนางบุษบาแล้วเกิดหลงรัก อยากได้มาเป็นมเหสีของตน กระนั้นแล้ว อิเหนาจึงหาอุบายแย่งชิงนางบุษบา แม้ว่านางจะถูกยกให้จรกาแล้วก็ตาม โดยที่อิเหนาได้ปลอมเป็นจรกาไปลักพาตัวบุษบา แล้วพาไปยังถ้ำทองที่ตนได้เตรียมไว้ ซึ่งการกระทำของอิเหนานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว พิธีที่เตรียมไว้ก็ต้องล่มเพราะบุษบาหายไป อีกทั้งเมืองยังถูกเผา เกิดความเสียหายเพียงเพราะความเอาแต่ใจอยากได้บุษบาของอิเหนานั่นเอง

๒. การใช้อารมณ์

ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห หรือทำให้อารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเวลาเราโมโห เราจะขาดสติยั้งคิด เราอาจทำอะไรตามใจตัวเองซึ่งอาจผิดพลาด และพลอยทำให้เกิดปัญหาตามมาอีก ฉะนั้นเราจึงต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และเมื่อเรามีสติแล้วจึงจะมาคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งภายในเรื่องอิเหนาเราจะเห็นได้จากการที่ท้าวดาหาได้ประกาศยกบุษบาให้ใครก็ตามที่มาสู่ขอ โดยจะยกให้ทันที เพราะว่าทรงกริ้วอิเหนาที่ไม่ยอมกลับมาแต่งงานกลับบุษบาตามที่ได้หมั้นหมายกันไว้ การกระทำของท้าวดาหานี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาและความวุ่นวายหลายอย่างตามมา และท้าวดาหานั้นยังกระทำเช่นนี้โดยมิได้สนใจว่าบุตรสาวของตนจะรู้สึกเช่นไร หรือจะได้รับความสุขหรือความทุกข์หรือไม่

๓. การใช้กำลังในการแก้ปัญหา

โดยปกติแล้ว เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น ซึ่งถ้าเราใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา และอาจเป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ท้าวกะหมังกุหนิงที่ได้ส่งสารมาสู่ขอบุษบาให้กับวิหยาสะกำบุตรของตน เมื่อทราบเรื่องจากท้าวดาหาว่าได้ยกบุษบาให้กับจรกาไปแล้ว ก็ยกทัพจะมาตีเมืองดาหาเพื่อแย่งชิงบุษบา ซึ่งการกระทำที่ใช้กำลังเข้าแก้ปัญหานี้ก็ให้เกิดผลเสียหลายประการ ทั้งทหารที่ต้องมาต่อสู้แล้วพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก สูญเสียบุตรชาย และในท้ายที่สุดตนก็มาเสียชีวิต เพียงเพราะต้องการบุษบามาให้บุตรของตน

๔. การไม่รู้จักประมาณตนเอง

เราทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมมีในสิ่งที่แตกต่างกัน เราก็ควรรู้จักประมาณตนเองบ้าง พอใจในสิ่งที่ตนมี เราควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นด้วย ถ้าเรารู้จักประมาณตนเองก็จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักประมาณตนเอง ก็อาจทำให้เราไม่มีความสุข เพราะไม่เคยสมหวังในชีวิต เช่นกับ จรกาที่เกิดมารูปชั่ว ตัวดำ อัปลักษณ์ จรกานั้นไม่รู้จักประมาณตนเอง ใฝ่สูง อยากได้คู่ครองที่สวยโสภา ซึ่งก็คือบุษบา เมื่อจรกามาขอบุษบา ก็ไม่ได้มีใครที่เห็นดีด้วยเลย ในท้ายที่สุด จรกาก็ต้องผิดหวัง เพราะอิเหนาเป็นบุคคลที่เหมาะสมกับบุษบาไม่ใช่จรกา

๕. การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด

หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา การจะทำอะไรลงไป เราควรจะคิดทบทวนหรือ ชั่งใจเสียก่อนว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอะไรบ้าง  เมื่อเรารู้จักคิดทบทวนก่อนจะกระทำอะไรนั้น จะทำให้เราสามารถลดการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที จากเรื่องอิเหนาในตอนที่อิเหนาได้ไปร่วมพิธีศพของพระอัยกีแทนพระมารดาที่เมืองหมันหยา หลังจากที่อิเหนาได้พบกับจินตะหราวาตี ก็หลงรักมากจนเป็นทุกข์ ไม่ยอมกลับบ้านเมืองของตน ไม่สนใจพระบิดาและพระมารดา ไม่สนใจว่าตนนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้คำนึงถึงผลที่จะตามมาจากปัญหาที่ตนได้ก่อขึ้น

คุณค่าด้านเนื้อหา

         - เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่งตัวตายก็ยอม

         - ฉากตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย การใช้อาวุธ และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ

         - ปมปัญหาในเรื่องเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริงและสมเหตุสมผล  เช่น

                > ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา

                > ท้าวดาหาขัดเคืองอิเหนา  ยกบุษบาให้จรกา  ทำให้ท้าวกุเรปันและพระญาติทั้งหลายไม่พอพระทัย

                > อิเหนาจำเป็นต้องไปช่วยดาหา  จินตะหราคิดว่าอิเหนาจะไปอภิเษกกับบุษบา  จึงหวั่นใจกับสถานภาพของตนเอง 

                ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ  แต่ท้าวดาหายกให้จรกาไปแล้ว  จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น แม้ระตูปาหยังและ     ท้าวปะหมันผู้เป็นอนุชาจะทัดทานว่าดาหาเป็นเมืองใหญ่เลื่องลือในการสงคราม แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ฟังคำทัดทานเพราะรักลูกมากจนไม่อาจทนเห็นลูกทุกข์ทรมานได้  แม้จะรู้ว่าอาจสู้ศึกไม่ได้  แต่ก็ตัดสินใจทำสงครามด้วยเหตุผลที่บอกแก่อนุชาทั้งสองว่า

                    แม้วิหยาสะกำมอดม้วย                  พี่ก็คงตายด้วยโอรสา

                ไหนไหนจะตายวายชีวา                    ถึงเร็วถึงช้าก็เหมือนกัน

                ผิดก็ทำสงครามดูตามที                    เคราะห์ดีก็จะได้ดังใฝ่ฝัน

                พี่ดังพฤกษาพนาวัน                         จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา

        - ตัวละครมีบุคลิกลักษณะนิสัยที่โดดเด่นและแตกต่างกัน  เช่น

                ท้าวกุเรปัน ถือยศศักดิ์ไม่ไว้หน้าใคร  ไม่เกรงใจใคร  เช่น  ในราชสาส์นถึงระตูหมันหยา  กล่าวตำหนิระตูหมันหยาอย่างไม่ไว้หน้าว่าเป็นใจให้จินตะหราแย่งคู่หมั้นบุษบา สอนลูกให้ยั่วยวนอิเหนา เป็นต้นเหตุให้บุษบาร้างคู่ตุนาหงัน

                 ในลักษณ์อักษรสารา                       ว่าระตูหมันหยาเป็นผู้ใหญ่

            มีราชธิดายาใจ                                    แกล้งให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย

            จนลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน                        ไปหลงรักผูกพันมั่นหมาย

            จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดดาย                   ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน

            บัดนี้ศึกประชิดติดดาหา                       กิจจาลือแจ้งทุกแห่งหน

            เสียงงานการวิวาห์จลาจล                    ต่างคนต่างข้องหมองใจ

            การสงครามครั้งนี้มีไปช่วย                    ยังเห็นชอบด้วยหรือไฉน

            จะตัดวงศ์ตัดญาติให้ขาดไป                 ก็ตามแต่น้ำใจจะเห็นดี

        ในพระราชสาส์นของท้าวกุเรปันถึงอิเหนาได้ยกความผิดให้จินตะหรา จึงมีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ  แต่ไม่มีเมตตา  ถือยศศักดิ์  และที่ต้องช่วยดาหานั้น เพราะถ้าดาหาแพ้หมายถึงกษัตริย์วงศ์เทวาพ่ายแพ้ด้วย  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอายอย่างยิ่ง

                  ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว            แต่เขาก็รู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่

             อันองค์ท้าวดาหาธิบดี                       นั้นมิใช่อาหรือว่าไร

             มาตรแม้นเสียเมืองดาหา                   จะพลอยอายขายหน้าหรือหาไม่

                ท้าวดาหา  หยิ่งในศักดิ์ศรี ใจร้อน เช่น ตัดสินใจรับศึกกะหมังกุหนิงโดยไม่สนใจว่าจะมีใครมาช่วยหรือไม่  ดังคำประพันธ์

                 คิดพลางทางสั่งเสนาใน                เร่งให้เกณฑ์คนขึ้นหน้าที่

             รักษามั่นไว้ในบุรี                               จะดูทีข้าศึกซึ่งยกมา

             อนึ่งจะคอยท่าม้าใช้                          ที่ให้ไปแจ้งเหตุพระเชษฐา

             กับสองศรีราชอนุชา                          ยังจะมาช่วยหรือประการใด

             แม้จะเคืองขัดตัดรอน                        ทั้งสามพระนครหาช่วยไม่

             แต่ผู้เดียวจะเคี่ยวสงครามไป              จะยากเย็นเป็นกระไรก็ตามที

                   เป็นคนรักษาสัจจะ รักษาเกียรติยศชื่อเสียง ปฏิเสธที่จะยกบุษบาให้กะหมังกุหนิงเพราะยกให้จรกาไปแล้ว  ดังที่ว่า

                 อันอะหนะบุษบาบังอร                    ครั้งก่อนจรกาตุนาหงัน    อะหนะ แปลว่า ลูก   

            ได้ปลดปลงลงใจให้มั่น                       นัดกันจะแต่งการวิวาห์

            ซึ่งจะรับของสู่ระตูนี้                            เห็นผิดประเพณีหนักหนา

            ฝูงคนทั้งแผ่นดินจะนินทา                    สิ่งของที่เอามาจงคืนไป

        อิเหนา  รอบคอบ มองการณ์ไกล ตอนที่สังคามาระตารบกับวิหยาสะกำ อิเหนาได้เตือนสังคามาระตาว่าไม่ชำนาญกระบี่ อย่าลงจากหลังม้า และให้ใช้ทวนเพราะมีความชำนาญ จะเอาชนะได้ง่ายกว่า

                 เมื่อนั้น                                        ระเด่นมนตรีใจหาญ

            จึงตอบอนุชาชัยชาญ                         เจ้าจะต้านต่อฤทธิ์ก็ตามใจ

            แต่อย่าลงจากพาชี                            เพลงกระบี่ยังหาชำนาญไม่

            เพลงทวนสันทัดจัดเจนใจ                  เห็นจะมีชัยแก่ไพรี

    มีอารมณ์ละเอียดอ่อน เมื่อจากสามนางมาเห็นสิ่งใดก็คิดถึงนางทั้งสาม คำประพันธ์ความตอนนี้มีความไพเราะมาก

               ว่าพลางทางชมคณานก                  โผนผกจับไม้อึงมี่

           เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                       เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา

           นางนวลจับนางนวลนอน                     เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา

           จากพรากจับจากจำนรรจา                   เหมือนจากนางสการะวาตี

                                                                                      

อิเหนาคิดถึงจินตะหรา มาหยารัศมีและสการะวาตี 

คุณค่าด้านเนื้อหา ในเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง คือข้อใด

คุณค่าด้านเนื้อหา - เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่งตัวตายก็ยอม - ฉากตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย การใช้อาวุธ และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ - ปมปัญหาในเรื่องเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริงและสมเหตุสมผล เช่น

อิเหนาสะท้อนคุณค่าอะไร

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่เป็นมรดกของชาติที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานตามเนื้อเรื่อง ความไพเราะของรสวรรณคดี และสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนที่ได้ถ่ายทอดสภาพของสังคมไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อแบบไทย ๆ สอดแทรกไว้ได้อย่างมีศิลป์ ทั้งยังแฝงด้วยข้อคิด คติธรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตอีกด้วย

แนวคิดสําคัญของบทละครเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงคืออะไร

แนวคิด เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่วตัวตายก็ยอม ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย การใช้อาวุธ และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ

สิ่งใดจัดเป็นคุณค่าพิเศษของบทละครเรื่องอิเหนา

คุณค่าพิเศษของบทละครเรื่องอิเหนาซึ่งเป็นวรรณคดีมรดกนี้คือ ความบันเทิงอย่างสมบูรณ์ที่ได้จากบทละครร้อยกรองประเภทละครรำ ทุกองค์ประกอบของบทละคร เช่น ท่ารำและทำนองเพลงมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน บทชม โฉมก็สัมพันธ์กับการทรงเครื่อง ทุกอย่างสามารถกำหนดได้บนเวทีละครอย่างสมเหตุสมผล ก่อให้เกิดประเพณีการละคร โดยเฉพาะละครใน การ ...