ข้อใดตรงกับความเห็นของคณะกรรมการ

  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการบริษัท
  • คณะกรรมการอิสระ
  • คณะกรรมการตรวจสอบ
  • คณะกรรมการทรัพยากรบุคคล และกำหนดค่าตอบแทน
  • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
  • คณะกรรมการกลั่นกรองการลงทุน
  • คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • คณะผู้บริหาร

บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบทั้งคณะประกอบด้วยกรรมการอิสระ ซึ่งมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณสมบัติตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ตามรายชื่อข้างท้ายนี้ และให้ นางสาวกมลกาญน์ หินวิมาน ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่เลขานุการ

ข้อใดตรงกับความเห็นของคณะกรรมการ

วันที่เริ่มดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท

6 เมษายน 2560

คุณวุฒิทางการศึกษา

  • บัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

  • หลักสูตร Advanced Audit Committee Program (AACP 31/2018)
  • หลักสูตร Director Certification Program (DCP 223/2016)

ประวัติการอบรม/สัมมนาที่สำคัญอื่นๆ

  • หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง ปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
  • หลักสูตรบริหารการคลัง มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
  • หลักสูตร Infrastructure Financial Analysis & Tariff Setting: Essential Skills for Financial Analysis, The Institute for Public-Private Partnerships
  • หลักสูตร Financial Statement Analysis Workshop สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
  • หลักสูตร Advanced Mini MBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หลักสูตร Project Feasibility Analysis, Mahidol Management Education Center of College of Management
  • หลักสูตร Privatizing Power in Emerging Economies: Structuring & Financing Public/Private Partnerships through BOT Schemes and Divestiture, INTRADOS/International Management Group
  • หลักสูตรการบริหารการเงินขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
  • หลักสูตรการวิเคราะห์การลงทุนในตลาดทุนและตลาดเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • EGAT Senior Executive Program (ESEP)

ประสบการณ์การทำงานย้อนหลัง 5 ปี (2560-2564) และ/หรือ ตำแหน่งสำคัญ

  • 2561 - 2564 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
  • 2558 - 2559 กรรมการบริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  • 2557 - 2559 รองผู้ว่าการบัญชีและการเงิน ทำหน้าที่ผู้บริหารใหญ่ด้านการเงิน (Chief Financial Officer) กฟผ.
  • 2556 - 2557 ผู้ช่วยผู้ว่าการสำนักตรวจสอบภายใน กฟผ.

การดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นในปัจจุบัน

  • ไม่มี

การดำรงตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน

  • ไม่มี

หมายเหตุ: กฟผ. ย่อมาจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ข้อใดตรงกับความเห็นของคณะกรรมการ

วันที่เริ่มดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท

13 เมษายน 2562

คุณวุฒิทางการศึกษา

  • รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

  • หลักสูตร Financial Statements for Government Executives (1/2007)

ประวัติการอบรม/สัมมนาที่สำคัญอื่นๆ

  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 5 สถาบันวิทยาการพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • หลักสูตรผู้ตรวจราชการระดับกระทรวง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)
  • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง: ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1) รุ่นที่ 39 สำนักงาน ก.พ.
  • หลักสูตรผู้ตรวจราชการระดับกระทรวง ปี 2552 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.

ประสบการณ์การทำงานย้อนหลัง 5 ปี (2560-2564) และ/หรือ ตำแหน่งสำคัญ

  • 2554 - 2557 กรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
  • 2554 รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • 2552 - 2554 ผู้ตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน

การดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นในปัจจุบัน

  • ไม่มี

การดำรงตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน

  • ไม่มี

ข้อใดตรงกับความเห็นของคณะกรรมการ

วันที่เริ่มดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท

23 กุมภาพันธ์ 2561

คุณวุฒิทางการศึกษา

  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการบริหาร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

  • หลักสูตร Ethical Leadership Program (ELP 25/2022)
  • หลักสูตร Financial Statement for Directors (FSD 42/2020)
  • หลักสูตร Director Certification Program (DCP 281/2019)
  • หลักสูตร Advanced Audit Committee Program (AACP 34/2019)
  • หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 154/2018)

ประวัติการอบรม/สัมมนาที่สำคัญอื่นๆ

  • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 60 ปี 2560 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 14 สถาบันวิทยาการพลังงาน
  • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง: ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1) รุ่นที่ 83 สำนักงาน ก.พ.
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 14 สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) รุ่นที่ 7 สถาบันวิทยาการการค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • หลักสูตรนักบริหารการงบประมาณระดับสูง (นงส.) รุ่นที่ 4 สำนักงบประมาณ

ประสบการณ์การทำงานย้อนหลัง 5 ปี (2560-2564) และ/หรือ ตำแหน่งสำคัญ

  • 2560 - 2562 รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • 2558 - 2560 ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัยธุรกิจน้ำมัน กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • 2557 - 2558 ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • 2556 - 2557 ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

การดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นในปัจจุบัน

  • ไม่มี

การดำรงตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน

  • 2562 - ปัจจุบัน รองปลัดกระทรวงพลังงาน

คณะกรรมการตรวจสอบรับผิดชอบต่อคณะกรรมการฯ โดยตรง และมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และ ตลท. ดังนี้

  1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
  2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
  3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
  4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
    • ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
    • ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท
    • ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
    • ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
    • ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  7. สอบทานงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน ในเรื่องดังต่อไปนี้
    • พิจารณาขอบเขตการปฏิบัติงาน แผนการตรวจสอบประจำปี และงบประมาณ รวมทั้งบุคลากรว่าเหมาะสม สอดคล้องกับขอบเขตการปฏิบัติงาน และเพียงพอที่จะสนับสนุนงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
    • พิจารณาการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือ เลิกจ้าง ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน
    • พิจารณาการเสนอรายงานผลการปฏิบัติงาน
    • พิจารณาความเป็นอิสระของฝ่ายตรวจสอบภายใน
  8. พิจารณาและทบทวนหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอยู่เสมอ
  9. สรุปภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการทราบ
  10. รายงานสิ่งที่ตรวจพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร
    • รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
    • การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน
    • การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

    หากคณะกรรมการของบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาตาม วรรคหนึ่ง กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่ามีรายการหรือการกระทำตามวรรคหนึ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  11. ดำเนินการตามข้อ 1-10 ข้างต้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการของบริษัทย่อย เท่าที่ได้รับการมอบหมายหรือ ร้องขอจากบริษัทย่อยและเท่าที่อำนาจหน้าที่จะเปิดช่องให้ดำเนินการได้
  12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจในการดำเนินการต่างๆ ได้แก่ การเชิญกรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทฯ มาร่วมประชุมหารือ ชี้แจง หรือตอบข้อซักถามในเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ การปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาของบริษัทฯ (ถ้ามี) หรือจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นครั้งคราวในกรณีจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ การขอให้พนักงานของบริษัทฯ ส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับกิจการของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ การตรวจสอบหรือสอบสวนในเรื่องต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การมอบหมายให้พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ คนหนึ่งหรือหลายคนกระทำการใดๆ ภายในขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ รวมถึงการดำเนินการต่างๆ ที่กล่าวแล้ว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทย่อย เท่าที่ได้รับมอบหมายหรือร้องขอจากบริษัทย่อย และเท่าที่อำนาจหน้าที่จะเปิดช่องให้ดำเนินการได้