ข้อใดเป็นคำกล่าวของคำว่า จิตสาธารณะ ได้ถูกต้อง

"จิตอาสา"...คืออะไร...สมัยก่อน ได้ยินแต่คำว่า "อาสาสมัคร" พอมาสมัยนี้...มีคำว่า "จิตอาสา"...

เมื่อกล่าวถึง "อาสาสมัคร" จะมีอีกคำหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึงควบคู่กันเสมอ นั่นคือ คำว่า "จิตอาสา" ที่นี้มาดูกันว่าคำสองคำนี้ มีความสำคัญและความหมายแตกต่างกันอย่างไร

หมายถึง ผู้ที่สมัครใจและอาสาเข้ามาเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม โดยสมัครใจ เพื่อการดูแล ป้องกัน แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งอื่นใด ผลตอบแทนที่อาสาสมัครได้รับคือ ความสุข ความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ

 คุณลักษณะของอาสาสมัครคือ มีความคิดเป็นอิสระในการเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ (ตามพรสวรรค์/ความสนใจ) มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล และส่วนรวม ไม่หวังรางวัล หรือผลตอบแทนเป็นเงินทอง และไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่ ในด้านสภาวะจิตใจของบุคคลที่จะเป็นอาสาสมัครนั้น ต้องมีความรักความปรารถนาที่จะให้ และมีจิตใจที่จะทำความดี เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึงยอมเสียสละเวลา โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ

หมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์ โดยเต็มใจ สมัครใจ อิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ ในการทำกิจกรรม หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบเห็นปัญหา หรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดี และเห็นน้ำตาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย "บุญ" คือความสงบเย็น และพลังแห่งความดี อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัวเป็นตนของตนเองลงได้บ้าง

สำหรับ กระบวนการสร้างจิตอาสา ต้องประกอบด้วยการปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตอาสา การเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ และการติดต่อสื่อสาร การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คุณลักษณะของผู้มีจิตอาสาคือ มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม การทำงานทุกอย่างเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนในรูปของอามิส สินจ้าง หรือรางวัล ตลอดจนการอุทิศกาย กำลังใจ และเวลาให้แก่ส่วนรวม

นอกจากนี้ อาสาสมัคร 
ควรจะต้องมีการสื่อสารที่ดี 

มีมโนกรรม 
คิดดี คิดทางบวก :

Positive thinking

มีวจีกรรม (ปิยวาจา) 
ฝึกขอบคุณ ฝึกแสดงความยินดี ฝึกให้กำลังใจ 
ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสา หรือจิตสาธารณะ


จิตอาสางานที่เพิ่มค่าความเป็นมนุษย์

เรื่องโดย อิสระพร บวรเกิด

ท่ามกลางการบริโภคจนมีแนวโน้มว่ามนุษย์โลกจะต้องแย่งชิงทรัพยากรกันในอนาคตอันใกล้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนเราจะเริ่มหวง ห่วง และตั้งหน้าตักตวงทรัพยากรโลกเพื่อตัวเองมากขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านมาแล้วหลายปี โลกได้บอกเราเป็นนัยๆว่า การดำรงชีวิตแบบ “ตัวใครตัวท่าน” ยังไม่ใช่ทางออกและทางรอดอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ลุกขึ้นเดินสวนกระแส โดยเปลี่ยนจากชีวิตแบบ “เอาแต่ได้” มาใช้ชีวิตแบบ “มีแต่ให้” และวิถีชีวิตเช่นนี้เองที่นับเป็นแสงสว่าง ณ ปลายอุโมงค์ที่ทำให้เห็นว่า การแบ่งปันและการให้คือทางออกที่ใช่สำหรับโลกของเราในวันนี้และวันหน้า

จิตอาสาคือยาวิเศษ

แม้คำว่า เมตตา-กรุณา จะบัญญัติไว้ในพจนานุกรมมาเป็นเวลานานแล้ว แต่หลายคนก็เพิ่งจะสัมผัสถึงความหมายที่จริงแท้ของ จิตใจที่ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข (เมตตา) และ การลงมือช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ (กรุณา) ก็เมื่อคลื่นยักษ์สินามิถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันเมื่อราวห้าปีก่อน

แม้ด้านมืดของเหตุการณ์จะสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนอย่างมหาศาล แต่ด้านสว่างของเหตุการณ์ดังกล่าวกลับเผยให้หลายคนมีโอกาสได้รู้จักคำว่า “จิตอาสา” อันเกิดจากการไม่อาจทนเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ เมื่อน้ำทะเลลด สิ่งที่ไหลมาแทนที่คือน้ำใจ อาสาสมัครจำนวนมากต่างสละกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างแข็งขัน แม้จะต่างถิ่นฐาน ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ทว่าผู้เสียหายเหล่านั้นต่างมีจิตดวงเดียวกันคือ “จิตอาสา”

พระไพศาล วิสาโล ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ จิตอาสา ” ไว้ในหนังสือ เมื่อดอกไม้บานสะพรั่งทั้งแผ่นดินว่า “จิตอาสาคือจิตที่พร้อมจะสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดายเมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากเกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดีและเห็นน้ำตาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือความสงบเย็นและพลังแห่งความดี”

กล่าวได้ว่า จิตอาสาหรือแห่งการเสียสละเปรียบเสมือนยาวิเศษ ที่ช่วยลดอาการของโรคเห็นแก่ตัว ( selfish ) อีกทั้งยังช่วยลดทอนตัวตนหรืออัตตาของคนเราลงได้เป็นอย่างดี

จิตอาสา ทำแล้วได้อะไร

เมื่อพูดถึงงานอาสาสมัคร หลายคนที่ไม่เคยลองอาจมีคำถามว่า “อุทิศตนทำเพื่อผู้อื่น แล้วตัวเองจะได้อะไร” ฉบับนี้มีคำตอบจากผู้อุทิศตนเพื่องานอาสา “ตัวจริง” มายืนยันการันตีสรรพคุณของยาวิเศษขนานนี้

การเป็น “ผู้ให้” คือความสุขแบบใหม่ของชีวิต

เดิมที ชิว สู เฟิน อาสาสมัครชาวไต้หวัน (เธอมีชื่อไทยว่าเมตตา) เคยฟุ้งเฟ้อในวัตถุจนคิดว่า ความสุขคือการได้สวมสร้อยเพชรเม็ดโตกว่าใคร แต่ในวันนี้เมื่อมีโอกาสได้เรียนรู้การเป็นอาสาสมัคร มูลนิธิฉือจี้ แล้ว นอกจากสร้อยเพชรจะไม่ปรากฏบนเรือนกาย ความสุขของเธอก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

“เมื่อก่อนนี้ดิฉันซื้อเสื้อผ้าที่ฝรั่งเศส ซื้อกระเป๋าที่ฮ่องกง แล้วก็คิดว่านั่นคือความสุข ดิฉันร้อนใจทุกครั้งที่เห็นคนอื่นใส่เพชรเม็ดใหญ่กว่า แต่หลังจากที่ได้รู้จักและทำงานเป็นอาสาสมัครมูลนิธิฉือจี้ ดิฉันได้พบกับความทุกข์ของผู้อื่น ได้เดินบนเส้นทางของพระโพธิสัตว์คือเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง ให้ทั้งเวลา แรงกาย แรงทรัพย์ ตลอดจนให้ความเป็นตัวเรา ดิฉันสามารถนวดศีรษะให้ผู้ป่วยที่ไม่ได้สระผมโดยไม่นึกรังเกียจ เพื่อทำให้เขาคลายทุกข์ได้ ดิฉันมีความสุขเหลือเกิน นอกจากนี้ดิฉันยังได้ช่วยทำความสะอาดบ้านคนป่วย ช่วยอาบน้ำให้คนวิกลจริตด้วย

“ที่สำคัญ งานอาสาสมัครที่ฉือจี้สอนให้ อ่อนน้อมถ่อมตน แม้จะอยู่ในฐานะผู้ให้ก็ไม่ถือตนว่าเหนือกว่า หนำซ้ำยังต้องขอบคุณคนที่เราช่วยเหลือ เพราะเขาคือคนที่เปิดโอกาสให้เราได้รู้จักความสุขที่เกิดจากการให้

“ทุกวันนี้ดิฉันใช้ชีวิตแบบกินง่ายอยู่ง่าย ไม่ต้องใส่เครื่องเพชรแล้วกลัวว่าจะถูกปล้น เมื่อไม่ต้องวิ่งไล่ตามความสุขที่เกิดจากวัตถุเงินทอง ดิฉันก็มีเวลาทำประโยชน์ให้ผู้อื่นมากขึ้น

จิตอาสา เปลี่ยนสายตาของสังคม

ท่ามกลางข่าวทะเลาะวิวาทของนักเรียนช่างกล อาจกล่าวได้ว่า แมน- เกียรติศักดิ์ สีอ่อน นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตอุเทนถวาย คือ “ปลาดี” ตัวหนึ่งที่ถูกเหมารวมว่าเป็น “ปลาเน่า” ไปด้วย แต่แทนที่จะหันมาคว้าอาวุธห้ำหั่นคู่อริ แมนและเพื่อนๆ บอกว่าสู้หันมาคว้าจอบ เสียม และเกรียงไม้ แล้วไปออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทดีกว่า

“นอกจากการออกค่ายจะเป็นการทำประโยชน์เพื่อสังคมแล้ว การไปสร้างห้องสมุดหรือโรงอาหารให้โรงเรียนที่ขาดแคลน นอนฟังเสียงโม่ปูนแทนเสียงเพลงร็อค สิ่งที่เราได้กลับมาไม่ใช่เพียงอาคารขนาด 6/12 เมตร แต่เหนือกว่านั้นคือ เรายังได้ยินประโยคที่ว่า “นี่น่ะหรือนักศึกษาอุเทนถวายที่มีข่าวตีกันบ่อยๆ คนละเรื่องกับในข่าวเลยนะ ตัวจริงของเด็กพวกนี้เป็นเด็กดี อารมณ์ดี ร่าเริง ไม่เห็นจะก้าวร้าวอย่างในข่าวเลย”

“ประโยคเหล่านี้ทำให้พวกเราคลายความรู้สึกกดดันลงได้มาก งานอาสาคือกิจกรรมที่ช่วยเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบที่ผู้คนมีต่อพวกเรา และทำให้ตระหนักว่า การทำความดีสามารถทลายกำแพงที่สังคมสร้างมาขวางกั้นพวกเราได้

ผู้ให้ย่อมถือไพ่เหนือกว่า

คุณสุวรรณา พลอยสุทธิ เดิมเธอคืออาสาสมัคร แต่ปัจจุบันเธอขยับมาเป็นตัวตั้งตัวตีในการทำงานอาสาเสียเอง ล่าสุดเธอและเพื่อนกำลังถักหมวกไหมพรมเพื่อถวายพระ และเพื่อเตรียมไว้แจกจ่ายเด็กๆ ในภาคเหนือและภาคอีสาน พวกเขาจะได้มีเครื่องมือสู่ลมหนาวที่กำลังจะมาเยือน ด้วยความที่เห็นคุณค่าของงานอาสาสมัครมาโดยตลอด ทุกครั้งที่ไหว้พระ คุณสุวรรณาจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอเป็นผู้ให้ไปตลอดชีวิต

“การทำงานอาสาสมัครอันดับแรกเราต้องรู้จักเป็นผู้ให้ก่อน ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วเราให้ไปนิดเดียว แต่เราได้รับกลับมามหาศาล ดิฉันเคยอาสาไปสอนเด็กในหมู่บ้าน และทำตุ๊กตาหุ่นมือเพื่อใช้สอนเขาแค่แป๊บเดียว แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้เปิดโลกทัศน์และเห็นแง่มุมใหม่ๆ ทุกชีวิตที่พบเจอไม่ว่าลูกเด็กเล็กแดงหรือผู้เฒ่าผู้แก่ แต่ละคนเป็นครูแห่งชีวิตของเราทั้งสิ้น

“ทุกครั้งที่ขอพรจากคุณพระคุณเจ้า ดิฉันจะขออธิษฐานขอให้ตัวเองได้เป็นผู้ให้ไปตลอดกาล ที่อธิษฐานอย่างนี้เพราะดิฉันคิดว่า คนเราจะเป็นผู้ให้ได้ก็ต่อเมื่อเราเป็นผู้มี เสียก่อน คำว่า “มี” ในที่นี้มิได้เจาะจงถึงสิ่งของเงินทอง แต่ละคนเป็นครูแห่งชีวิตของเราทั้งสิ้น

“ทุกครั้งที่ขอพรจากคุณพระคุณเจ้า ดิฉันจะอธิษฐานของให้ตัวเองได้เป็นผู้ให้ไปตลอดกาล ที่อธิษฐานอย่างนี้เพราะดิฉันคิดว่า คนเราจะเป็นผู้ให้ได้ก็ต่อเมื่อเราเป็นผู้มีเสียก่อน คำว่า “มี” ในที่นี้มิได้เจาะจงถึงสิ่งของเงินทอง แต่ยังหมายถึงว่าเรามีความสุขและความรักด้วย

“ดิฉันมองว่าคนเราจะเป็นผู้รับได้ก็ต่อเมื่อมีคนมาให้อะไรแก่เราเท่านั้น ในทางกลับกัน โอกาสแห่งการเป็นผู้ให้นั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราจะเป็นผู้ให้เมื่อไรก็ได้ คุณลองหันไปยิ้มให้คนข้างๆเดี๋ยวนี้ คุณก็เป็นผู้ให้ได้ทันทีทันใด เห็นไหมล่ะว่าเป็นผู้ให้ถือไพ่เหนือกว่าจริงๆ”