ข้อใด คือ กลวิธีในการสร้างแนวร่วมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน

ข้อใด คือ กลวิธีในการสร้างแนวร่วมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน

ความหมายของสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพ

สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์และความสมดุลของบุคคลทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม รวมทั้งสภาวะที่ปราศจากโรคและความพิการ และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างปกติสุข

การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) 

  ตามความหมายขององค์กรอนามัยโลกหมายถึงกระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี

การป้องกันโรค (Disease prevention)

  หมายถึงการกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคและการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้ว

การควบคุมและป้องกันโรค ได้มีการพัฒนามาโดยต่อเนื่องการค้นคว้า ศึกษา และวิจัยในส่วนที่เกี่ยวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค คน สัตว์ และภาวะสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาการควบคุมและป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถกำจัดและกวาดล้างโรคติดต่อที่ร้ายแรงบางโรคให้หมดไปได้

สามารถแบ่งการควบคุมและป้องกันโรคออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 การป้องกันโรคล่วงหน้า

การป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิด เป็นวิธีการที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การปรับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ หรือการปรับปรุงภาวะสิ่งแวดล้อมหรือทั้งสองร่วมกัน เพื่อให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดหรือคงอยู่ได้ เพื่อป้องกัน ไม่ให้มีพาหะและสื่อนำโรค ทั้งนี้เพื่อทำให้การแพร่กระจายของเชื้อที่เป็น สาเหตุทำให้เกิดโรค
ระดับที่ 2 การป้องกันในระยะมีโรคเกิดขึ้นแล้ว

คือการป้องกันโรคล่วงหน้าระดับที่ 2 ในกรณีที่การดำเนินงานระดับที่ 1 ยังไม่ได้ผล ทำให้มีโรคเกิดขึ้น ดังนั้น การป้องกันโรคในระยะมีโรคเกิด คือการระงับกระบวนการดำเนินของโรค การป้องกันการแพร่เชื้อและระบาดของโรคไปยังบุคคลอื่นในชุมชน และการลดการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชนให้น้อยลงและหายไปให้เร็วที่สุด
ระดับที่ 3 การป้องกันภายหลังจากการเกิดโรค

คือ การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการให้หายโดยเร็ว เพื่อลดผลเสียและโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการเกิดโรค รวมทั้งการติดตามสังเกตและให้การป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ การป้องกันในระดับนี้จะรวมถึงการบำบัดความพิการและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วย

ข้อใด คือ กลวิธีในการสร้างแนวร่วมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน

แนวร่วมของคนในชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

การทำงานร่วมกันหรือความร่วมมือของกลุ่มคนสามารถทำให้เกิดสิ่งต่างๆที่ดีขึ้นและง่ายขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า “การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นกระบวนการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินให้เกิดเป็นชุมชนที่สุขภาพดี”

กลวิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดในชุมชนนั้น ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนให้มากที่สุดของกระบวนการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ดังนี้

1.การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ร่วมกันเสนอและความต้องการทางด้านสุขภาพของชุมชน

2.การมีส่วนร่วมในการวางแผน สมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ วางแผนการแก้ไขปัญหาสุขภาพต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกโดยร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ช่วยกัน

3.การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพที่กำหนดไว้ โดยสมาชิกในชุมชนต้องร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนของโครงการ หรือกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้

4.การมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น ร่วมกันตรวจสอบผลการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพของชุมชน ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน

5.การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาชิกในชุมชนนำผลการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนอยู่เสมอ

การทำงานร่วมกันหรือความร่วมมือกันของกลุ่มคนสามารถทำให้เกิดสิ่งต่าง ที่ดีขึ้นและง่ายขึ้นดังแนวคิดการมส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับและการนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ รวมทั่งการพัฒนาด้านสุขภาพของชุมชน

กลวิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชนนั้น ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนให้มากที่สุดของกระบวนการพัฒนาสุขภาพในชุมชนดังนี้

1.การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ร่วมกันเสนอแนะความต้องการทางด้านสุขภาพของชุมชน

2.การมีส่วนร่วมในการวางแผน สมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ วางแผนการแก้ไขปัญหาสุขภาพต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกโดยส่วนรวม โดยร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหาสุขภาพ ช่วยกำกำหนดกิจกรรมหรือโครงการสุขภาพของชุมชนรวมทั้งช่วยกันระดมทรัพยากรด้านกำลังคน กำลังทรัพย์ และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย

3.การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพที่กำหนดไว้ โดยสมาชิกในชุมชนต้องร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนของโครงการ หรือกิจกรรมสุขภาพที่ได้วางแผนไว้

4.การมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น ร่วมกันตรวจสอบผลการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพของชุมชน ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน

5.การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาชิกในชุมชนนำผลการทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนอยู่เสมอ

ข้อใด คือ กลวิธีในการสร้างแนวร่วมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน

อ้างอิงจาก http://www.vimanloy.com/lesson/lesson7.php