การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับให้ความคุ้มครองอะไร

       ขอดู พ.ร.บ. หน่อยครับ… ใครเคยถูกตำรวจเรียกตรวจ พ.ร.บ. ไหม ? แล้วคุณหยิบอะไรให้ตำรวจดู สารภาพมาซะดี ๆ ว่าใครชี้ให้ตำรวจดูป้ายภาษีที่หน้ากระจกรถ ถ้าใครที่เคยทำแบบนี้ก็คงรู้แล้วว่าป้ายแสดงการเสียภาษีมันคนละอันกับ พ.ร.บ. ซึ่ง พ.ร.บ. ก็คือชื่อที่ใช้เรียก การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี 2535 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ทุกคนที่มีรถจะต้องมี พ.ร.บ.นี้ไว้ในครอบครองทุกคัน ซึ่งมันก็คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ Mrkumka.com จะพาไปรู้จักกับสิ่งนี้ให้มากขึ้นกัน

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ มีไว้เพื่ออะไร

  • เหตุผลของการตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมาก็เพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากภัยทางรถ เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที หรือเป็นค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต

  • เป็นหลักประกันว่า ประชาชนที่ประสบเหตุทางรถยนต์จะไม่ถูกปฏิเสธการรักษาจากสถานพยาบาลทุกแห่งในกรณีฉุกเฉิน เนื่องจาก พ.ร.บ. นี้จะเป็นหลักประกันว่าสถานพยาบาลจะได้รับค่ารักษาพยาบาลชดเชยจากรัฐ

  • เป็นการรับประกันว่า ประชาชนที่ประสบเหตุจากรถจนเป็นอันตรายถึงแก่ทุพพลภาพ จะได้รับสวัสดิการสงเคราะห์ตลอดเวลาที่ได้รับความเสียหาย

  • เป็นการดึงประกันภัยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ประสบภัย

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับให้ความคุ้มครองอะไร

ใครบ้างที่มีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. นี้

เรียกได้ว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องกับรถ ล้วนมีผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียกับ พ.ร.บ. นี้ทั้งหมด ตั้งแต่เจ้าของรถที่มีหน้าที่จะต้องมีประกันรถยนต์ภาคบังคับนี้ไว้ในครอบครอง เพื่อที่จะเป็นการประกันว่าเวลาเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไม่ว่าตัวเองหรือคู่กรณี บริษัทประกันที่รับประกันไว้จะเอามาจัดการเรื่องค่าเสียหายค่าดูแลตามกฎหมาย

ซึ่งคู่กรณี ในที่นี้จะหมายถึงเจ้าของรถอีกคันหรือประชาชนธรรมดาที่ไม่ได้ใช้รถแต่ได้รับผลกระทบไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง และส่วนสุดท้ายที่เป็นส่วนสำคัญคือ บริษัทประกันที่จะทำหน้าที่เป็นตัวรับประกันและจ่ายค่าสินไหมทดแทน

เมื่อมี พ.ร.บ. แล้วทำไมยังต้องมีการขายประกันรถยนต์อีก ?

พ.ร.บ. ถือเป็นการประกันพื้นฐานที่รถทุกคันต้องมี แต่เนื่องจากเป็นกฎหมายที่บังคับให้ต้องทำ เพื่อคุ้มครองบุคคลและผู้ประสบเหตุจากอุบัติเหตุ จึงไม่สามารถจะมีเบี้ยประกันที่แพงได้ ทำให้มีข้อจำกัดในความคุ้มครองที่จะอยู่ในระดับพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งก็คือเมื่อเกิดเหตุบริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องสืบสาเหตุภายใน 7 วัน มีเพดานค่าใช้จ่ายที่กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และหากทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะใด ๆ ก็จ่ายเพิ่มเป็น 35,000 ต่อคน ถ้าหลังจากรักษาพยาบาลแล้วปรากฏว่าพิการ บริษัทก็จะจ่ายไม่เกิน 65,000 เช่นเดียวกับเสียชีวิตก็จะไม่เกินนี้เช่นกัน

การคุ้มครองจาก พ.ร.บ. แก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถ กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน หากสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรจะคุ้มครอง 200,000-800,000 บาทต่อคน และถ้าเสียชีวิตจะชดใช้สินไหมทดแทนให้ 500,000 บาทต่อคน จากตัวเลขข้างต้นจะเห็นว่า พ.ร.บ. จะคุ้มครองบุคคลโดยยังไม่ได้คุ้มครองรถยนต์ที่เกิดความเสียหายด้วย

ทำประกันรถ เพิ่มติดไว้ “อุ่นใจกว่า”

ลองคิดดูว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมาแล้วเรามี พรบ .แค่อย่างเดียวจะเกิดอะไรขึ้น หากมีคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตทุกคนจะได้รับเงินส่วนแรก 30,000 บาท ภายในเจ็ดวัน คิดว่ามันจะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดรึเปล่า แล้วค่าซ่อมรถล่ะนี่ยังไม่นับค่าประกันตัวจากกระบวนการทางกฎหมาย ในกรณีเราเป็นฝ่ายผิดและเป็นต้นเหตุให้เกิดความสูญเสีย
ดังนั้นบริษัทประกันจึงมีบริการประกันความเสียหายจากอุบัติเหตุรถยนต์เพิ่มเติมโดยทั้งหมดนี้ไม่ได้ถูกบังคับไว้ตามกฎหมาย ใครจะไม่ซื้อก็ได้ เพราะค่าเบี้ยประกันจะเป็นหลักหลายพันไปจนถึงหลายหมื่นตามข้อเสนอของกรมธรรม์

ต่างกับ พ.ร.บ. ที่มีราคาไม่เกินหนึ่งพันสำหรับรถทั่วไป แต่ข้อดีของประกันรถยนต์คือ บริษัทประกันจะดูแลค่ารักษาพยาบาลของทั้งเราและคู่กรณี ค่าซ่อมรถทั้งของเราและคู่กรณี ช่วยดูแลกระบวนการทางกฎหมาย ค่าปรับและค่าประกันตัว เพราะช่วงเวลาที่เกิดเหตุร้ายแรงเราอาจไม่มีสติดีพอที่จะจัดการปัญหาต่าง ๆ บริษัทประกันทั้งหลายจึงอาสาเข้ามาดูแลกระบวนการนี้

ประกันรถยนต์ มีอะไรบ้าง

นอกจาก พ.ร.บ. แล้ว บริษัทประกันมักจะมีข้อเสนอประกันรถยนต์ไว้ให้เราได้เลือกทำ โดยแบ่งตามรูปแบบการดูแลและราคาเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย

  • ประกันรถยนต์ชั้น 1 เป็นประกันที่ได้รับความนิยมที่สุด ถึงแม้จะมีราคาสูงหลักหมื่นขึ้นไป แต่เป็นเพราะมันมีการคุ้มครองที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คนมีรถทุกคนต้องการนั่นก็คือ คุ้มครองการซ่อมรถของเรา ซึ่งมีเพียงประกันชั้น 1 เท่านั้นที่มี เราไม่ต้องเสี่ยงว่าถ้าชนแล้วคู่กรณีหนีแล้วต้องจ่ายค่าซ่อมเอง นั่นเป็นข้อดีที่แลกมากับเบี้ยประกันที่สูง จึงเหมาะกับรถราคาแพงและรถใหม่ป้ายแดง

  • ประกันรถยนต์ชั้น 2+, 3+ กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะทุกอย่างเหมือนประกันชั้น 2 และ 3 เพียงแต่จะเพิ่มการซ่อมรถที่ต้องเป็นกรณีรถยนต์ชนกับรถยนต์และมีคู่กรณีเข้ามา และค่าเบี้ยก็ไม่สูงมากเหมือนประกันชั้น 1

  • ประกันรถยนต์ชั้น 2 เป็นประกันที่ค่าเบี้ยกลาง ๆ ไม่แพงมากประมาณแค่ สี่ถึงห้าพัน ส่วนใหญ่จะคุ้มครองเหมือนประกันชั้น 2+ ต่างกันแค่ ประกันชั้นสองจะไม่คุ้มครองการซ่อมรถของเรา ซ่อมให้เพียงแต่รถของคู่กรณีเท่านั้น

  • ประกันรถยนต์ชั้น 3 ค่าเบี้ยถูกที่สุด เหมาะกับรถเก่าอายุหลายปีและรถที่ไม่ค่อยได้ขับออกถนนเพราะมีค่าเบี้ยแค่สองสามพันเท่านั้น โดยคุ้มครองอุบัติเหตุความเสียหายชีวิตและทรัพย์สินคู่กรณีเท่านั้น รถเราก็ต้องซ่อมเองเช่นกัน

       รู้จักประกันรถยนต์ภาคบังคับกันแล้วว่าต่างกับประกันรถยนต์ปกติยังไง MrKumka.com อยากย้ำว่า “อย่าวางใจ” ใช้รถโดยไม่ทำประกัน เพราะเราต่างรู้ดีว่าเรื่องอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ มีคนช่วยดูแลในเวลาที่ไม่เป็นใจน่าจะดีกว่า ด้วยตัวเลือกของประกันรถยนต์ที่มีให้เลือกหลากหลายในปัจจุบัน แต่ร้อยคนก็ใช้รถไม่เหมือนกัน หาประกันที่เหมาะกับคุณที่สุดอาจไม่ง่ายนัก ลองเปรียบเทียบกรมธรรม์กับ MrKumka.com ดูสิ แล้วคุณจะพบแพคเกจประกันภัยรถยนต์ที่ถูกใจ ตรงใจกับคุณพร้อมกับความคุ้มค่าได้มากที่สุด คลิกเลย !

ประกันภัยภาคบังคับให้ความคุ้มครองอะไร

สาระสำคัญการประกันภัยรถภาคบังคับ.
เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต.
เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ.

ประกันภาคบังคับ มีอะไรบ้าง

ประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. คือ.
ค่ารักษาพยาบาลตามจริงกรณีบาดเจ็บ คุ้มครองสูงสุด 80,000 บ. ต่อคน.
ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ* คุ้มครอง 200,000 – 500,000 บ..
ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร คุ้มครอง 500,000 บ. ต่อคน.
ค่าชดเชยรายวันกรณีนอนโรงพยาบาล 200 บ. ต่อวัน (สูงสุดรวมไม่เกิน 20 วัน).

ประกันภัยภาคบังคับเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร

พรบ รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) เป็นการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เมษายน 2536 โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงาน ...

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจคุ้มครองอะไรบ้าง

1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย 1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ 1.4 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์