ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

การโฆษณาถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยโปรโมตสินค้าและบริการเพื่อให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าและกลุ่มธุรกิจมากยิ่งขึ้น การโฆษณาถือเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่สำคัญอย่างมาก โดยจะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกสนใจในตัวสินค้าและการบริการ รวมถึงกระตุ้นพฤติกรรมในการซื้อของลูกค้า โดยการสร้างโฆษณาและปลูกฝังลงในความคิดของลูกค้า ยิ่งลูกค้าเห็นโฆษณามากเท่าไหร่ ก็มีแนวโน้มที่ลูกค้าจะซื้อหรือใช้บริการของเรามากขึ้นเท่านั้น

ในปัจจุบัน การโฆษณาสามารถถูกจำแนกได้เป็นหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจำแนกโฆษณาเหล่านี้อย่างไร (เช่น ออฟไลน์ vs. ออนไลน์, ในสถานที่ vs. นอกสถานที่) สำหรับบทความนี้ เราได้เขียนถึง “โปสเตอร์” การโฆษณาออฟไลน์แบบหนึ่งที่ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการโฆษณาผ่านทางโปสเตอร์มักจะพบเห็นได้ในการใช้ประกาศโฆษณางานอีเว้นต่างๆ อาทิเช่น งานเทศกาลดนตรี หรืออีเว้นลดราคาต่างๆ เป็นต้น

ภายในบทความนี้ เราได้รวบรวม 5 เคล็ดลับสำคัญในการออกแบบโปสเตอร์ ที่จะช่วยให้การออกแบบโปสเตอร์ของคุณง่ายมากยิ่่งขึ้นและสามารถออกแบบโปสเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโปสเตอร์ที่ดีจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบครันแก่ลูกค้าและมีดีไซน์ที่น่าสนใจ

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

1. 5 องค์ประกอบสำคัญ

โปสเตอร์ที่ดีจะต้องประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1. พาดหัว เปรียบเสมือนชื่อโปสเตอร์ 2. พาดหัวรอง คือส่วนขยายของพาดหัว 3. ข้อมูลรายละเอียด คือรายละเอียดของโปสเตอร์ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรและวันเวลาของกิจกรรม 4. ภาพประกอบ คือส่วนตกแต่งให้โปสเตอร์มีความน่าใจมากยิ่งขึ้น 5. ข้อมูลติดต่อ มีไว้สำหรับคนที่สนใจเข้ากิจกรรมสามารถติดต่อผู้ดูแลได้

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

2. ความสำคัญหรือจุดเด่น

เป็นการสร้างจุดศูนย์กลางที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าและทำให้ผู้รับสารรับรู้ข้อมูลของเราได้อย่างครบถ้วน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การพาดหัวจะเป็นจุดสำคัญที่ว่านี้ในการออกแบบโปสเตอร์ เปรียบเสมือนหัวกับข้อหลักที่ช่วยให้ผู้ที่เห็นโปสเตอร์รับรู้ได้ทันทีว่าโปสเตอร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

3. ขนาดของตัวอักษร

เป็นสิ่งที่ทำให้จุดเด่นของโปสเตอร์เด่นชัดมากยิ่งขึ้นโดยการใช้ขนาดของตัวอักษรที่ต่างกันเพื่อเรียงลำดับใจความสำคัญของข้อมูล เช่น พาดหัวหลักจะใช้ขนาดตัวอักษรที่ใหญ่ที่สุดเพื่อเน้นว่าโปสเตอร์นี่มีวัตถุประสงค์อะไร ต่อมาคือพาดหัวรองซึ่งสำคัญรองลงมา จะใช้ตัวอักษรขนาดกลางเพื่อไม่ให้เด่นชัดจนเกินไปโดยพาดหัวรองจะมีหน้าที่ช่วยขยายความของพาดหัวหลัก สุดท้ายก็คือรายละเอียดของข้อมูลที่จะใช้ตัวอักษรขนาดเล็กเนื่องจากมีความยาวมากที่สุดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกค้ารับข่าวสารที่ครบถ้วน

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

4. โทนสีของโปสเตอร์

การใช้โทนสีในการออกแบบโปสเตอร์ เราต้องคำนึงถึงองค์กรและชนิดของสินค้าของเราว่าภาพลักษณ์ของบริษัทเราเป็นเช่นไร เช่น บริษัทเราเป็นโรงเรียนสอนภาษา โปสเตอร์ของเราก็ควรใช้โทนสีที่เรียบง่ายไม่ฉูดฉาดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น ข้อควรระวังก็คือสีของตัวอักษรและสีของพื้นหลังควรใช้สีที่ตรงข้ามกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะสามารถอ่านโปสเตอร์ของเราได้

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

5. ความสมดุล

ดุลยภาพจะช่วยให้ผู้อ่านรู้สึกสบายตาและสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างไหลลื่น โดยโปสเตอร์ที่ดีนอกจากจะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนแล้ว รายละเอียดทุกอย่างต้องมีสัดส่วนสมดุลกัน การออกแบบโปสเตอร์ให้มีความสมดุลนั้นเราจะต้องออกแบบโดยกำหนดให้องค์ประกอบทุกอย่างมีสัดส่วนที่พอดี เช่น ภาพของโปสเตอร์จะต้องมีขนาดที่พอดี ไม่ใหญ่จนบังข้อความ เป็นต้น

และนี่ก็คือ “5 เคล็ดลับสำคัญในการออกแบบโปสเตอร์ให้น่าสนใจ” เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ และที่สำคัญเลย อย่าลืมช่วยกันแชร์บทความดีๆแบบนี้กันด้วยนะคะ ติดตามเราได้อีกในบทความหน้าค่ะ

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์


คำว่า โปสเตอร์ นั้นหลายคนคงได้ยินกันอย่างคุ้นหูมานาน แต่มีใครบ้างที่ทราบความหมายและประโยชน์ที่แท้จริงของโปสเตอร์คืออะไร 

โปสเตอร์ (Poster) คือภาพขนาดใหญ่ที่พิมพ์บนกระดาษ มีการออกแบบเพื่อใช้ติด แขวนบนผนัง หรือกำแพง โปสเตอร์อาจจะเป็นภาพพิมพ์หรือภาพเขียนก็ได้ หรืออาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ และมีจุดประสงค์เพื่อทำให้สะดุดตาผู้รับสารและสามารถสื่อสารข้อมูลออกไปได้ ข้อบ่งใช้ของโปสเตอร์นั้นอาจใช้สอยได้หลายประการ แต่ส่วนใหญ่ที่พบเห็น คือ มักจะใช้ในการเผยแพร่เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการโฆษณางานแสดงศิลปะ งานดนตรี ภาพยนตร์ การโฆษณาชวนเชื่อ หรือการสื่อสารต่อความเชื่อของคนส่วนใหญ่

นอกจากนั้นโปสเตอร์ยังใช้ในการพิมพ์ภาพจิตรกรรมของศิลปินคนสำคัญ หรือภาพถ่าย เพื่อใช้ในการตกแต่ง ซึ่งกลายเป็นศิลปะการค้าที่ทำรายได้ดีให้ทั้งพิพิธภัณฑ์ บริษัทการค้า หรือร้านทางอินเทอร์เน็ต  เช่นภาพเขียนของ โคลด โมเนท์ หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี หรืองานของช่างภาพอเมริกัน โรเบิร์ต เมเปิลธอร์พ (Robert Mapplethorpe)

งานศิลปะการสร้างโปสเตอร์เริ่มเมื่อราวคริสต์ศตวรรษ 1890 โดยจิตรกรชาวฝรั่งเศสและเผยแพร่ไปทั่วยุโรป ศิลปินคนสำคัญที่สุดที่ริเริ่มความนิยมในการสร้างโปสเตอร์ก็คือ อองรี เดอ ทูลูส-โลเทรค และ จูลส์ เชเรท์ 
เชเรท์ถือกันว่าเป็นบิดาแห่งการโฆษณาด้วยป้าย

คนส่วนใหญ่ที่สะสมโปสเตอร์ และโปสเตอร์ที่มีชื่อเสียง นักสะสมโปสเตอร์จะเก็บโปสเตอร์เก่าโดยมักจะใส่กรอบรูปและมีแผ่นรองหลังด้วย ขนาดโปสเตอร์ที่นิยมกันโดยทั่วไปอยู่ที่ 24x35 นิ้ว แต่โปสเตอร์ก็มีหลายขนาดหลากหลาย และโปสเตอร์ขนาดเล็กที่มีไว้โฆษณาจะเรียกว่า แฮนด์บิลล์ หรือ "ใบปลิว" (flyer)

ประเภทของโปสเตอร์
สามารถแบ่งประเภทโปสเตอร์ได้ดังนี้
1.โปสเตอร์นอกสถานที่ ได้แก่ โปสเตอร์ขนาดใหญ่เรียกว่าบิลบอร์ด (billboard)


ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์


2.โปสเตอร์ประเภทเคลื่อนที่ ได้แก่ โปสเตอร์ติดตามข้างรถเมล์ (bus-side), ท้ายรถเมล์ (bus-back) โปสเตอร์ติดบริเวณที่สาธารณะทั่วไป
 

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์


3.โปสเตอร์ติดภายใน ได้แก่ โปสเตอร์ติดตามสำนักงานหรือห้างสรรพสินค้า
 

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์


4.โปสเตอร์ประเภท 3 มิติ เป็นลักษณะสื่อผสม อาจนำคนเข้ามาผสม เน้นสื่อเพื่อสาธารณะโดยตรง หรือบิลบอร์ดที่มีส่วนยื่นออกมาได้แก่ 
 

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์

ข้อใดไม่ใช่หลักการออกแบบโปสเตอร์


จุดประสงค์ของโปสเตอร์
โดยทั่วไปแล้วจะต้องแสดงหน้าที่และบทบาทต่อไปนี้คือ
1.นำสิ่งที่ผู้ต้องการโฆษณาออกมาเผยแพร่ให้โดดเด่นและสะดุดตา
2.สามารถสื่อสารและปลุกเร้าความสนใจของผู้พบเห็นได้
3.ต้องสามารถเล่าเรื่องราวจากภาพได้ เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นโปสเตอร์สามารถเข้าใจได้ในทันที แล้วเกิดการรับรู้และปลุกเร้าความสนใจต่อไป
4.ภาพในโปสเตอร์จะต้องมีลักษณะปลอดโปร่ง เน้นเฉพาะเรื่องที่จะโฆษณา ช่วยให้แลเห็นง่าย และที่สำคัญที่สุด คือ รายละเอียดและส่วนประกอบต่างๆ จะประสานกลมกลืนกันตามคุณค่าของศิลปะประยุกต์ (applied art) ด้วยเหตุนี้ ภาพโปสเตอร์จึงมิได้เป็นศิลปะในตัวของมันเอง
5.ต้องสะท้อนถึงเรื่องราวที่จะโฆษณาออกมาให้ได้ทั้งทางสภาพสังคม  เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม เป็นต้น

ที่มา : อ.มนูญ ไชยสมบูรณ์