สังฆคุณ 9 ข้อใด ที่หมายถึง การปฏิบัติเพื่อให้รู้ธรรมซึ่งเป็นหนทางหลุดพ้นจากทุกข์

บาลีน่ารู้
เรื่อง : ธรรมรักษ์ ป.ธ.๙

สังฆคุณ 9 ข้อใด ที่หมายถึง การปฏิบัติเพื่อให้รู้ธรรมซึ่งเป็นหนทางหลุดพ้นจากทุกข์

สังฆคุณ ๙ ประการ
หนฺท มยํ สงฺฆาภิถุตึ กโรม เส

ขอเชิญพวกเรามาสวดสรรเสริญคุณของพระสงฆ์กันเถิด

           สังฆคุณมี ๙ ประการ : ๔ ประการแรกเป็นเหตุ และ ๕ ประการหลังเป็นผล ได้แก่

           ๑. โย โส สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด เป็นผู้ปฏิบัติดี คือ ปฏิบัติตามเส้นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
           ๒. อุชุปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่ลวงโลก ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ตรงต่อหนทางพระนิพพาน
           ๓. ญฺายปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ คือ ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ เอาความถูกต้องเป็นหลัก และมุ่งปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การบรรลุธรรม
           ๔. สามีจิปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพยกย่องที่สุด
           ๕. อาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย เพราะท่านมีคุณสมบัติ ๔ ประการ ดังกล่าวข้างต้น
           ๖. ปาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ คือ เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ไปที่ไหนก็ถือว่าเป็นบุคคลผู้ทรงเกียรติที่สมควรให้การต้อนรับ
           ๗. ทกฺขิเณยฺโย : เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน คือ เป็นทักขิไณยบุคคลผู้ควรรับทาน ที่โยมน้อมนำมาถวายเพื่อการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
           ๘. อญฺชลีกรณีโย : เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คืออยู่ในฐานะที่ใคร ๆ ควรแสดงความเคารพกราบไหว้ เพราะทำให้ผู้ไหว้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ
           ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส : เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักษิณาที่ถวายแด่พระสงฆ์ย่อมมีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนนามีดินดีและน้ำดี พืชที่หว่านไปย่อมให้ผลไพบูลย์ พระสงฆ์จึงเป็นที่บำเพ็ญบุญของพุทธศาสนิกชน     ทั้งหลาย..

 ความหมายและคุณค่าของสังฆคุณ 9

         พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสำคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี 9 ประการ เรียกว่า “สังฆคุณ” คือ
1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสนดา ไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
2. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง หมายถึง ไม่ปฏิบัติเป็นคนลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติมุ่งตรงต่อข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนพระสาวกด้วยกัน ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพรางไว้ในใจ
3. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หมายถึง ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของพระศาสดา ไม่ผิดไปจากธรรมเนียมอันดีงาม ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแบบแผน
4. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึง สมควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในสังวร ปฏิบัติเป็นผู้ตื่นอยู่ คือรู้ถึงเหตุการณ์อันเป็นไปอยู่ ไม่งมงาย รู้จักประพฤติกิริยาทางกาย และวาจาต่อผู้อื่นโดยไม่ทะนงตนมีใจหนักแน่นเผื่อแผ่ มีใจกว้างไม่คับแคบ
5. อาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย หรือผู้ควรแก่ของคำนับ หมายถึง เป็นผู้ที่สมควรได้รับของถวายและได้รับการแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ 


6. ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ หมายถึง พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ผู้เลื่อมใสจึงเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความปีติ ที่ได้พบเห็นอันถือเป็นมงคลในชีวิตอย่างหนึ่ง
7. ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน (ทักษิณาทาน) และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน
8. อญฺชลิกรณีโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทำอัญชลีคือการกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง
9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร และเป็นผู้บริสุทธิ สมควรได้รับการกราบไหว้บูชาแล้วการบริจาคทานแก่ท่านย่อมมีอานิสงส์มาก ดุจผืนนาที่มีดินดีสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอันเป็นธาติอินทรีย์ เมล็ดพืชที่หว่านหรือปลูกลงบนผืนดินนี้ย่อมผลิตผลอย่างสมบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย พระสงฆ์สาวกเหล่านี้จึงเป็นปฏิคาหก (ผู้รับ) ที่ยอดเยี่ยม เป็นที่ปลูกฝังความดีงามและเป็นที่รักษาไว้ซึ่งความดีงามทั้งปวง
พระสงฆ์สาวกที่มาในบทสังฆคุณ 9 บทนี้ ท่านหมายเอาพระอริยบุคคล 4 คู่ 8 บุคคล ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่ในมรรคผลทั้งสิ้น คือ

ในสังฆคุณ 9 ประการ ข้อใดที่หมายถึง “เป็นผู้แก่การกราบไหว้

อัญชะลีกะระณีโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทาอัญชลี คือ การกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ แปลว่า เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า

สังฆคุณ 9 หมายถึงข้อใด

สังฆคุณ 9 หมายถึง คุณของพระสงฆ์ ความดีได้รับยกย่องมาตังแต่ครังพุทธกาล คือ และ 5 ประการหลังเป็นผลดังต่อไปนี 1. สุปฏิปนฺโน: เป็นผู้ปฏิบัติดี ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติได้ดีเท่าเดิม หรือ พระพุทธเจ้า

ข้อใดคือความหมายของคำว่า สังฆคุณ *

พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสำคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนาซึ่ง ได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี 9 ประการ เรียกว่า 'สังฆคุณ' คือ

ญายะปะฏิปันโนสอดคล้องกับข้อใด

ญายปฏิปันโน แปลว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุญายธรรม, ผู้ดำเนินไปในหนทางที่ถูกต้อง ญายปฏิปันโน หมายถึงผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความจริง ความถูกต้อง, ผู้ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ในวัฏฏะ, ผู้ปฏิบัติไปตามปฏิปทาที่ถูกต้องคือมุ่งตรงไปเพื่อบรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นญายธรรมสูงสุด