ข้อใดเป็นตัวอย่างของ กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน

น้องๆที่กำลังเรียนฟิสิกส์ หรือที่เคยเรียนผ่านไปแล้ว น่าจะเคยได้ยินเรื่อง “กฎของนิวตัน” กัน แล้วเคยสงสัยไหมว่า กฎของนิวตัน เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราอย่างไร?  วันนี้มีตัวอย่างกฎของนิวตัน ที่เราพบในชีวิตประจำวันมาให้ดูกัน

กฎข้อที่ 1 ΣF = 0 หรือกฎของความเฉื่อย

“วัตถุจะรักษาสภาพหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ในทิศทางเดิมก็ต่อเมื่อ แรงลัพธ์ที่มากระทำ ต่อวัตถุมีค่าเท่ากับศูนย์”
กฎข้อที่สามของนิวตัน
ข้อใดเป็นตัวอย่างของ กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน

             นิวตันอธิบายไว้ว่าเราไม่ได้ออกแรงกระทำต่อวัตถุเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น เมื่อวัตถุหนึ่งออกแรง กระทำกับอีกวัตถุหนึ่งวัตถุที่สองก็จะออกแรงกระทำกลับไปยังวัตถุแรกโดยที่แรงกระทำกลับนี้จะมีขนาด เท่ากันแต่มีทิศตรงกันข้ามกับแรงแรก ซึ่งนิวตันเรียกแรงทั้งสองนี้ว่าเป็น แรงกิริยา ( Action ) และ แรงปฏิกิริยา ( Reaction ) กฎข้อที่สามของนิวตันได้กล่าวไว้ว่า ถ้าวัตถุหนึ่งออกแรงกระทำกับ อีกวัตถุหนึ่ง วัตถุที่ถูกกระทำจะออกแรงที่มีขนาดเท่ากันแต่มีทิศทางตรงกันข้ามกระทำกลับ ต่อวัตถุแรก
           เท่ากันแต่ตรงกันข้าม นักเรียนอาจคุ้นเคยกับตัวอย่างกฎข้อที่สามของนิวตันมาบ้าง นักเรียนอาจเคยเล่นสเกต และเห็นว่าเมื่อนักสเกตคนหนึ่งผลักนักสเกตอีกคนหนึ่ง ส่งผลให้ไม่ใช่คนที่โดนผลักเท่านั้นที่เคลื่อนที่ แต่ทั้งสองคนมีการเคลื่อนที่ นักสเกตที่เป็นคนผลักก็ถูกผลักด้วยแรงที่เท่ากัน แต่มีทิศตรงกันข้าม
           อัตราเร็วที่ทั้งสองคนเคลื่อนที่ขึ้นกับมวลของนักสเกตแต่ละคน ถ้าทั้งสองคนมีมวลเท่ากัน ทั้งสองคนก็จะมีอัตราเร็วเท่ากัน แต่ถ้าคนหนึ่งมีมวลมากกว่า คน ๆ นั้นก็จะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าคนที่มีมวลน้อยกว่า เพราะถึงแม้ว่าแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาจะมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงข้ามกัน แต่จากกฎข้อที่สองของนิวตัน เมื่อแรงเท่ากันกระทำกับมวลที่มากกว่าก็จะทำให้มวลนั้นมีความเร่งน้อยกว่า

แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
           กฎข้อที่สามของนิวตันเกิดอยู่ตลอดเวลารอบตัวนักเรียน เวลานักเรียนเดิน นักเรียนดันพื้นด้วยเท้า ดังนั้นพื้นก็ดันเท้าของนักเรียนกลับด้วยแรงที่เท่ากัน แต่ทิศทางตรงข้าม ซึ่งทำให้นักเรียนเดินไปข้างหน้า นกบินไปข้างหน้าได้ด้วยปีกของมันออกแรงกระทำต่ออากาศ แล้วอากาศก็ผลักปีกของนกกลับด้วยแรงที่เท่ากัน ทำให้นกบินไปข้างหน้าได้
           กฎข้อที่สามของนิวตัน กล่าวถึงแรงที่กระทำต่อวัตถุสองชิ้นที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น นักเรียนนั่งบนเก้าอี้ที่มีล้อเลื่อน แล้วใช้มือออกแรงกิริยาผลักกำแพง กำแพงก็จะออกแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศตรงข้ามกลับ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ถอยหลัง แรงแรกนั้นกระทำต่อกำแพง แต่แรงหลังนั้นกระทำต่อตัวนักเรียน ดังนั้นแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาจึงไม่สามารถรวมกันได้ เพราะแรงแต่ละแรงกระทำกับวัตถุที่ต่างกัน แรงจะสามารถรวมกันได้ก็ต่อเมื่อมันกระทำต่อวัตถุเดียวกันเท่านั้น

ถ้าวัตถุที่หยุดนิ่งถูกแรงมากระทำ จะมีสภาพเป็นอย่างไร
            ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 และ 2 ของนิวตันเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุ นอกจากนี้นิวตันยังพบว่าในขณะที่มีแรงกระทำต่อวัตถุ วัตถุจะออกแรงโต้ตอบต่อแรงที่มากระทำนั้นโดยทันทีทันใด เช่น ถ้าเรายืนบนสเก็ตบอร์ดหันหน้าเข้าหาผนังแล้วออกแรงผลักฝาผนัง เราจะเคลื่อนที่ออกจากฝาผนัง การที่เราสามารถเคลื่อนที่ได้แสดงว่าจะต้องมีแรงจากฝาผนังกระทำต่อเรา ถ้าเราผลักฝาผนังด้วยขนาดแรงมากขึ้น แรงที่ฝาผนังกระทำกับเราก็มากขึ้นตามไปด้วย โดยเราจะเคลื่อนที่ออกห่างจากผนังเร็วขึ้น หรือเมื่อเราออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริง เราจะมีความรู้สึกว่าเครื่องชั่งสปริงก็ดึงมือเราด้วย และถ้าเราดึงเครื่องชั่งสปริงด้วยแรงมากเท่าใด เครื่องชั่งสปริงก็จะดึงเรากลับด้วยแรงที่มีขนาดเท่ากับแรงที่เราดึงแต่มีทิศตรงกันข้าม จากตัวอย่างและลักษณะการเกิดแรงกระทำระหว่างวัตถุที่กล่าวไว้ด้านบน ทำให้สามารถสรุปได้ว่า เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นจะออกแรงโต้ตอบในทิศตรงกันข้ามกับแรงที่มากระทำ แรงทั้งสองนี้เกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ เราเรียกแรงที่มากระทำต่อวัตถุว่า "แรงกิริยา" (Action Force) และเรียกแรงที่วัตถุโต้ตอบต่อแรงที่มากระทำว่า
"แรงปฏิกิริยา" (Reaction Force) และแรงทั้งสองนี้รวมเรียกว่า
"แรงคู่กิริยา - ปฏิกิริยา" (Action – Reaction Pair)
          จากการศึกษาพบว่า แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยามีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้ามเสมอ นิวตันได้สรุปความสัมพันธ์ระหว่างแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาไว้เป็นกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน ซึ่งมีใจความว่า "ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้ามกันเสมอ" ตามความสัมพันธ์ต่อไปนี้

ข้อใดเป็นตัวอย่างของ กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน

ข้อใดเป็นตัวอย่างของ กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน
แรงคู่กิริยา – ปฏิกิริยาที่กระทำระหว่างคนและโลก เมื่อคนยืนอยู่บนผิวโลก
จากรูปสามารถสรุปได้ว่า
1. แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาจะเกิดพร้อมกันเสมอ
2. แรงคู่กิริยา – ปฏิกิริยาเป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุคนละวัตถุกัน ดังนั้นแรงคู่นี้จึงรวมกันไม่ได้
3. แรงคู่กิริยา - ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่วัตถุสัมผัสกันหรือไม่สัมผัสกันก็ได้
ข้อใดเป็นตัวอย่างของ กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน

ข้อใดเป็นตัวอย่างของ กฎข้อที่ 3 ของนิวตัน

              https://sites.google.com/site/physicmechanics/klsastr/bth-thi3
              http://www.thaigoodview.com/node/18129

กฎของนิวตันข้อที่ 3 คือข้อใด

กฎข้อที่ 3 (แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา) “แรงกิริยา-แรงปฏิกิริยาเป็นแรงที่มีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้าม และกระทำกับวัตถุคนละชนิด” ( Action = Reaction )

ข้อใดเป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ 3 ของนิวตัน

กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตันกล่าวว่า “ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันแต่มีทิศตรงข้ามกันเสมอ กฎข้อนี้เรียกว่า กฎของกิริยาและปฏิกิริยา (Law of action and reaction) แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาหมายถึง แรงกระทำและแรงกระทำตอบ โดยเป็นแรงซึ่งกระทำต่อมวลที่ต่างกัน และเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นคู่เสมอ โดยที่มวลอาจไม่ ...

ข้อใดคือกฎพื้นฐานของนิวตัน

ภาพที่ 1 เซอร์ไอแซค นิวตัน กฎข้อที่ 1 กฎของความเฉื่อย (Inertia) "วัตถุที่หยุดนิ่งจะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน"

กฏของนิวตันมีกี่ข้อ มีอะไรบ้าง

กฎของนิวตัน 3 ข้อ