เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2

สยามประเทศมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่ามกลางความระส่ำระสายที่ลุกลามไปทั่วภูมิภาคจากการรุกคืบไล่ล่าอาณานิคมของมหาอำนาจชาติตะวันตก แต่ด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สยามก็สามารถธำรงรักษาเอกราชและอธิปไตยมาได้ตราบชั่วลูกชั่วหลาน  นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก  ขอเชิญคุณผู้อ่านร่วมชื่นชมพระบารมีในภาพถ่ายชุด เสด็จประพาสต้น ที่หาดูได้ยากยิ่ง

เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
พระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉายที่พลับพลาปากแพรก เมื่อครั้งเสด็จประพาสไทรโยค เมืองกาญจนบุรี พุทธศักราช 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองกาญจนบุรีต่างวาระกันถึงห้าครั้ง

ตลอดรัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจบริหารราชการแผ่นดินอย่างไม่เคยว่างเว้น และแม้จะมีเจ้านายและข้าราชการตามหัวเมืองทำงานต่างพระเนตรพระกรรณ แต่พระองค์ก็มิได้ทรงทอดทิ้งราษฎร กลับเสด็จพระราชดำเนินอย่างเป็นทางการเพื่อทอดพระเนตรสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรอยู่เนืองนิจ และทรงหาทางพัฒนาบ้านเมืองในด้านต่างๆอย่างทั่วถึง

เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
พสกนิกรจากทั่วทุกสารทิศแห่แหนลอยเรือมารอรับเสด็จ และเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อชื่นชมพระบารมี ที่ท่าน้ำศาลาวัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นต้นทางในการเสด็จประพาสต้นทางชลมารค
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองราชบุรี พุทธศักราช 2447 ด้านหลังมีป้ายผ้าเขียนข้อความภาษาอังกฤษเพื่อรับเสด็จ

นอกจากนี้ ยังได้เสด็จประพาสต้นเป็นการส่วนพระองค์ถึงสองครั้งสองครา เพื่อฟื้นฟูพระพลานามัย และสำราญพระอิริยาบถ ตามคำแนะนำของแพทย์หลวง การเสด็จประพาสต้นครั้งแรกเกิดขึ้นในปีรัตนโกสินทรศก 123 (พุทธศักราช 2447) และครั้งที่สองในปีรัตนโกสินทรศก 125 (พุทธศักราช 2449) ทำให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง

ครั้นเมื่อสยามได้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทรศก 124 ให้ทาสทุกคนเป็นไทแก่ตัวทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ครั้งนั้น พสกนิกรได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง พระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์เยี่ยงสามัญชน ประทับแรม และเสวยพระกระยาหารอย่างเรียบง่าย หลายโอกาสได้ทรงคลุกคลีปะปนไปกับราษฎรโดยไม่แสดงพระองค์ ทำให้ทรงเข้าพระทัยถึงความยากลำบากในการปรับตัวของพสกนิกรหลังการเลิกทาส ตลอดจนได้ทรงสัมผัสกับประเพณีท้องถิ่นและวิถีชีวิตของไพร่ฟ้าทุกหมู่เหล่าด้วยพระองค์เอง

เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
พระบรมฉายาลักษณ์ (ประทับหัวแถว ซ้ายสุด) ทรงฉายร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์  เจ้านาย และข้าราชบริพาร ระหว่างการเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง เมืองกำแพงเพชรพุทธศักราช 2449
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงพระมาลา) ประทับบนเรือชะล่า ลอยเคียงเรือพระที่นั่งสุวรรณวิจิก มณฑลนครสวรรค์ พุทธศักราช 2449
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2
ราษฎรเมืองนครศรีธรรมราชรำมโนราห์ถวายให้ทอดพระเนตร ในวันสมโภชพระบรมธาตุ พุทธศักราช 2444

ตลอดระยะเวลากว่าสี่ทศวรรษแห่งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสทั่วทุกสารทิศ ทั้งในพระราชอาณาจักรและต่างประเทศ เพื่อยังคุณูปการสู่แผ่นดินสยามให้ก้าวทันทัดเทียมนานาอารยประเทศในทุกด้าน สมแล้วที่มหาชนชาวสยามพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาภิไธยว่า “พระปิยมหาราช” พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งและประทับอยู่ในดวงใจของปวงชนตราบนิรันดร์

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงการเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) ซึ่งเป็นการเสด็จประพาสต้นครั้งแรก และครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2449 (ร.ศ.125) ความบางตอนว่า

“พระพุทธเจ้าหลวงไม่ใคร่จะทรงสบาย...แพทย์หลวงเห็นว่า จะต้องเสด็จประพาสไปให้พ้นความรำคาญโดยไม่ต้องกังวลเรื่องธุระใดๆ สักคราวหนึ่ง...การเสด็จเช่นนั้น ห้ามไม่ให้จัดการรับเสด็จเป็นทางราชการใดๆ เพราะประสงค์จะไปเงียบๆ ได้ทรงออกเดินทางจากบางปะอินเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ร.ศ. 123... จากนั้นในระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ร.ศ. 125 เสด็จขึ้นไปประพาสเมืองสระบุรี แล้วขึ้นทางลำแม่น้ำใหญ่จนถึงเมืองกำแพงเพชร”

 

เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2

"คนงามเมืองกำแพงเพชร" ถ่ายเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ร.ศ. 125 เข้าใจว่าเป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในรัชกาลที่ 5

 

วารสารเมืองโบราณได้อัญเชิญภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้านายที่ตามเสด็จ เมื่อคราวเสด็จประพาสต้นยังเมืองกำแพงเพชรมาให้รับชมในบทความเรื่อง “เสด็จประพาสต้นที่กำแพงเพชร”  โดยได้รับความอนุเคราะห์อัดจากต้นฉบับฟิล์มกระจกให้นำมาเผยแพร่ได้จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ติดตามอ่านบทความนี้ได้ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (ธันวาคม 2523-มีนาคม 2524) หน้า 19-26 คลิก https://issuu.com/muangboranjournal/docs/0701-2524/20

เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น ครั้งที่

รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร (ภาพจากหอจดหมายเหตุ) ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2537. ผู้เขียน

ข้อใดคือการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ ๕

หรือที่เรียกกันว่า “การเสด็จประพาสต้น” เป็นการเสด็จเพื่อทรงพักผ่อนพระราชอิริยาบถตามคำแนะนำของหมอหลวง โดยใช้เรือพลับพลาพ่วงเรือไฟไป ถ้าจะประทับแรมที่ไหนก็จอดเรือพลับพลาประทับแรมที่นั่น ทรงต้องการเสด็จประพาสอย่างเงียบๆ โดยไม่ให้ราษฎรรู้จักพระองค์ จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดกระบวนเรือที่เรียกกันว่า “กระบวนประพาสต้นคือทรง ...

เพราะเหตุใดร.5จึงเสด็จประพาสต้นตามที่ต่างๆ

สาเหตุของการเสด็จประพาสต้น เกิดจากสถานภาพ และบทบาทของพระเจ้าแผ่นดิน ที่ทรงมีทศพิธราชธรรม รัก เป็นห่วงประชาชน ประชาชน และประเทศชาติประสบกับปัญหา เรื่องพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2508-2525) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ความยากจน ขาดการคมนาคม การท าลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยการเผาป่า ท าไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น และความยากจน ...

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสประเทศอิตาลีครั้งแรกเมื่อใด

เป็นที่ทราบกันว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2440 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศในภูมิภาคยุโรปเนื่องด้วยพระราชประสงค์นำความเจริญกลับมาสู่บ้านเมืองและปกป้องเอกราชของประเทศ