มืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2

การเสด็จประพาสยุโรปและหัวเมืองของรัชกาลที่ 5


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง  ได้แก่  ใน พ.ศ. 2440  และ พ.ศ. 2540  เพื่อการเจรจาทางการเมืองกับมหาอำนาจตะวันตก  เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน  เพื่อศึกษาความเจริญก้าวหน้าด้านต่าง ๆ ของตะวันตก  เพื่อให้ชาวต่างชาติได้รู้จักไทยดีขึ้นและเพื่อแสวงหามิตรประเทศ

1.  การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2440  นับเป็นครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ในภูมิภาคนี้ที่เสด็จประพาสยุโรป  โดยมีจุดประสงค์สำคัญ  คือ  เพื่อทำความเข้าใจกับชาติที่คุกคามไทย  เพื่อเจรจาโดยตรงกับผู้นำของฝรั่งเศสเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในกรณีที่สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)  รวมทั้งเพื่อแสวงหาชาติพันธมิตรมาช่วยส่งเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ  การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียในรัชสมัยซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งราชวงศ์โรมานอฟ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถไปศึกษาที่ประเทศรัสเซียด้วย  และในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้ได้ทรงเจรจาและปรับความเข้าใจกับฝรั่งเศส  ซึ่งคุกคามไทยอย่างหนัก  รวมทั้งมีจุดประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  คือ  เพื่อทอดพระเนตรความเจริญของยุโรป  จะได้นำมาเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงบ้านเมือง

2.  การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2450  ทรงมีจุดประสงค์สำคัญ  คือ  เพื่อรักษาพระอาการประชวรเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและพระวักกะ (ไต)  และเพื่อเจรจาราชการบ้านเมืองกับชาติตะวันตกต่าง ๆ ทั้งเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  ปัญหาเรื่องคนในบังคับฝรั่งเศส  อำนาจการปกครองเหนือดินแดนเมืองหลวงพระบางบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงและเขตปลอดทหาร (ไทย)  ระยะ 25 กิโลเมตรบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตลอดแนวชายแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส  ปัญหาภาษีร้อยชัก 3  เป็นร้อยชัก 10  และโครงการสร้างทางรถไพสายใต้  ทรงให้สัตยาบันในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส  พ.ศ. 2449  การเจรจากับปลัดกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษซึ่งส่งผลให้เกิดสนธิสัญญาแลกเปลี่ยน 4 รัฐมลายูในเวลาต่อมา  และการเสด็จพระราชดำเนินทรงรับปริญญาด็อกเตอร์ออฟลอว์  (Doctor of Law)  ณ  บ้านของอธิการบดีมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

นอกจากนี้ทรงมีลายพระราชหัตถเลขาพระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้านิภานภดล  วิมลประภาวดีเล่าเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่สภาพดินฟ้าอากาศ  สภาพบ้านเมือง  การรักษาพระองค์  สังคมและวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของคนในประเทศที่เสด็จพระราชดำเนินเยือน  พระราชภารกิจ  พระราชดำริ  และพระราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ที่ทรงมีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ลายพระราชหัตถเลขานี้ต่อมาพิมพ์เป็นหนังสือ  "ไกลบ้าน"

ในการเสด็จประพาสหัวเมือง  รัชกาลที่ 5  โปรดประพาสตามมณฑลหัวเมืองเพื่อดูสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร  มีทั้งที่เสด็จไปตรวจราชการอย่างเป็นทางการและเสด็จประพาสเป็นการส่วนพระองค์  หรือ  "เสด็จประพาสต้น"  ทั้งเสด็จทางเรือ  เสด็จทางรถไฟอย่างสามัญชน  ทรงแต่งพระองค์อย่างคนธรรมดา  เช่น  เป็นคหบดี  ทำให้ได้พบปะพูดคุยกับชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านบางคนไม่รู้ว่าพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน  บางครั้งทรงได้รับเลี้ยงอาหารจากชาวบ้าน  ซึ่งการคบหาสมาคมกับราษฎรอย่างใกล้ชิด  ทำให้พระองค์ทราบทุกข์สุขและความเป็นไปของราษฎรตลอดจนทางปฏิบัติงานของข้าราชการในส่วนท้องถิ่น

     การเสด็จประพาสต้นทั้ง ๒ ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชการที่ ๕ เมื่อรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๓ หรือ พุทธศักราช ๒๔๔๗ และ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ หรือ พุทธศักราช ๒๔๔๙ ถือเป็นเหตุการณ์ที่พลิกประวัติศาสตร์ และนำไปสู่การพลิกแผ่นดินปฏิรูปบ้านเมืองนับเป็นการวางรากฐานสำหรับการพัฒนาประเทศ ที่ส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน 

        หลายต่อหลายท่านสงสัยว่า "เสด็จประพาส" และ "เสด็จประพาสต้น" ต่างกันอย่างไร

        ความจริงแล้วตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ มีการเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆมากมาย ทั้งในและต่างประเทศและคำว่า "ต้น" ที่ต่อท้ายการเสด็จประพาส 

        มาจากเหตุที่ว่าหลักฐานจากหนังสือของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ให้ คำตอบเรื่องที่มาของการเสด็จประพาสต้นในแง่ขำขันว่าที่เรียกว่าเสด็จประพาสต้น 

        เนื่องมาจากการเสด็จแบบนี้ในครั้งแรกได้ทรงเรือมาดไปแต่ลำเดียว แต่เรือไม่พอบรรทุกเครื่องครัวจึงทรงซื้อเรื่อมาดประทุนอีกลำหนึ่งที่แม่น้ำอ้อมแขวง จังหวัดราชบุรี แล้วทรงโปรดให้เจ้าหมื่นใจราชเป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือลำนั้น ด้วยเหตุว่าเจ้าหมื่นใจราชมีชื่อจริงว่า "ค้น" จึงทรงตรัสเรียกเรือลำนั้นว่า "เรือตาค้น" ซึ่งถ้าเรียกขานเร็วๆ ก็จะฟังได้ยินว่า "เรือต้น" และต่อมาจึงโปรดให้นำเรือต้น มาเรียกชื่อเรือพระที่นั่งทรง แล้วเรียกการเสด็จแบบนี้ว่า "ประพาสต้น"

• วัดป่าโมก


ที่นี่พระองค์ได้พบกับผู้ที่ได้พูดกับพระนอนวัดป่าโมก พระองค์ทรงให้หลานของพระครูวัดป่าโมก ลองพูดกับพระนอนให้พระองค์ทอดเนตร แต่พระนอนไมได้พูดตอบแต่อย่างใด พระครูได้นำลิขิต เรื่องพระพูดและตำรับยา มาให้พระองค์ทรงทอดเนตร 

(ที่มา : ตอนที่ ๗ ลิขิต เรื่องพระนอนพูดได้) 

• วัดชะลอนพรหมเทพาวาส


พระองค์ได้เสด็จไปถ่ายรูปวัดชะลอนพรหมเทพาวาส ทรงทอดพระเนตรต้นโพธิ์ที่พระองค์ โปรดให้นำกิ่งตอนมาจากวัดนิเวศน์ธรรมประวัติมาปลูกที่วัดชะลอน 

(ที่มา : ตอนที่ ๘ เหยียบฉ่า)

• วัดโบสถ์


ในวันที่ 10 สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประพาสที่ว่าการอำเภอมโนรมย์ จากนั้นทรงลงเรือเข้าคลอง สะแกกรัง ทรงแวะเยี่ยมพระครูจันที่วัดโบสถ์ ที่วัดโบสถ์แห่งนี้ปัจจุบันยังคงมีพระบรมฉายาลักษณ์ ของ ร.5 ที่พระครูจัน นำไปแห่รับเสด็จคราวที่พระองค์ท่านเสด็จประพาสกลับจากยุโรป 

(ที่มา : ตอนที่ ๘ เหยียบฉ่า)

• พระตำหนักคำหยาด


ทรงเสด็จประพาสวัดต่าง ๆ ในเมืองอ่างทอง รวมทั้งพระตำหนักคำหยาด เมืองอ่างทอง และทรงมีพระราชวิจารณ์ถึงพระตำหนักคำหยาดไว้อย่างละเอียด 

(ที่มา : ตอนที่ ๑๖ พระตำหนักคำหยาด)

๐๗.๐๐ น. 

ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่ จ.ชัยนาท

๑๐.๐๐ น.

เดินทางถึง วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีทิวทัศน์ที่สวยงามน่ารื่นรมย์ และซึ่ง "พระครูวิมลคุณากร (ศุข)" อดีตเจ้าอาวาสหรือที่ชาวบ้านรู้จักในนาม "หลวงปู่ศุข" เกจิอาจารย์ชื่อดังจากอดีต ในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาของกองทัพเรือไทย พระราชโอรสแห่งรัชกาลที่ ๕ จากนั้นเดินทางต่อสู่ วัดธรรมามูลวรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่งของชัยนาท ภายในวัดมีพระวิหาร ที่เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปปางห้ามญาติ นอกจากนี้ยังมีใบเสมาศิลาทรายสีแดง ที่ตั้งรายล้อมพระอุโบสถ ที่สลักลวดลายต่างๆ ไว้อย่างสวยงาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์เคยเสด็จมามนัสการหลวงพ่อธรรมจักร ๓ ครั้ง คือ พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ.๑๒๑), ๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) และ ๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๘)

๑๒.๐๐ น. 

รับประทานอาหารกลางวัน

บ่าย 

เดินทางต่อสู่ วัดแค จ.สุพรรณบุรี วัดเก่าแก่ ที่มีชื่อปรากฏในวรรณคดี เรื่อง “ขุนช้างขุนแผน”  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จประพาสวัดแค เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๓... เสด็จเมืองสุพรรณ(๓)คราวนี้เป็นที่น่าเสียดายอยู่อย่างหนึ่ง ด้วยไม่ถูกฤดูเหมาะ ในเวลานี้น้ำแม่น้ำยังน้อยจะไปเที่ยวทางเรือก็ขัดข้อง ส่วนทางบกฝนก็ตกพอแผ่นดินเป็นหล่มเป็นโคลน จะไปไหนก็ยาก เพราะฉะนั้นจึงเสด็จประพาสได้ใกล้ๆในบริเวณเมือง ในวันที่ ๔ นั้นเสด็จไปประพาสเหนือน้ำประทับเสวยที่วัดแค...

วันที่สอง สุพรรณบุรี – สิงห์บุรี – อ่างทอง - กรุงเทพฯ

๐๘.๐๐ น.

เดินทางสู่ วัดป่าเลไลย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร หน้าบันของพระวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎ อยู่ระหว่างฉัตรคู่ บอกให้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยเสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วได้ทรงมาปฏิสังขรณ์ กราบนมัสการ "หลวงพ่อโต"ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารที่สูงเด่นเห็นได้แต่ไกล...

วันที่ ๕ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๓... เสด็จทอดพระเนตรที่ว่าการเมือง  วัดมหาธาตุ หลักเมืองและวัดป่าเลไลยก์ เวลาบ่ายออกกระบวนล่องลงมาประทับแรมที่บางปลาม้า ถึงยังวันอยู่ จึงทรงเรือพระที่นั่งเล็กล่องลงมาประพาสข้างใต้ ประทับเสวยเย็นที่วัดบางยี่หน...

จากนั้น เดินทางต่อสู่ วัดโบสถ์ จ.สิงห์บุรี เป็นพระอารามหลวง เดิมเป็นวัดร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระอุโบสถเป็นเพียงแห่งเดียว ที่สร้างโดยใช้รางรถไฟเป็นแกนกลางข้างล่าง และที่ น่าสนใจคือ การแกะสลักบานประตูหน้าต่างโบสถ์ทั้งหลัง โดยช่างที่มีฝีมือแกะสลักของเมืองสิงห์บุรี คือ ช่างชื่น หัตถโกศล ภายในโบสถ์มีพระประธานที่เก่าแก่ พุทธลักษณะที่งดงามมาก จากนั้นเดินทางสู่ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในตำบลจักรสีห์ สันนิษฐานว่าวัดนี้ สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาด ใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย ที่มีความงดงามมาก นอกจากนี้ยังมี พระกาฬเป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และพระแก้วพระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์ และมีพระพุทธลักษณะงดงาม ทั้งพระกาฬและพระแก้วสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นพระประทานในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ

๑๒.๐๐ น. 

รับประทานอาหารกลางวัน

บ่าย 

เดินทางต่อสู่ จ.อ่างทอง วันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๕ เช้า ๒ โมงออกเรือ ๔ โมงเช้าถึงอ่างทอง แวะที่ตลาดถ่ายรูป และซื้อของบ้าง...บ่าย ๒ โมงออกเรือ บ่าย ๔ โมงเศษ จอดที่ไชโย ขึ้นไปนมัสการพระแลถ่ายรูป มีคนมาก ทั้งตาเกด มหาพุทธพิมพาและมหาอิ่ม.. นายเกดเปรียญเมื่อบวช ได้เป็นพระราชาคณะที่พระมหาพุทธพิมพาภิบาล เจ้าอาวาส วัดไชโย...

วัดไชโยวรวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโทในสมัย รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จฯมานมัสการและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ มีองค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่าวิหารแห่งอื่นๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่างๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย ติดกับด้านหน้าของพระวิหาร มีพระอุโบสถหันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามเช่นกัน ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๕

จากนั้น นำท่านสู่ วัดขุนอินทประมูล เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ มีชื่อว่าพระศรีเมืองทอง พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯในปี พ.ศ.๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จฯมาถวาย ผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๑๘

ตามรอยเสด็จมายัง วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของชาวป่าโมก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายองค์  ได้เสด็จมายังวัดป่าโมกเเห่งนี้  นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จมาถวายพระกฐินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟ  และโปรดเกล้าให้สถาปนาวัดป่าโมกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นใน  รัชกาลที่  ๕  ได้เสด็จมาที่วัดป่าโมกหลายครั้ง   ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๒๑ -๒๔๔๙

• บ้านเจ๊กฮวด มหาดเล็ก


• วัดโชติทายการาม


ในวันที่ 16 ก.ค.รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๓ เสด็จเข้าคลองดำเนินสะดวกประมาณบ่าย ๒ โมง จึงหยุด ประทับวัดโชติทายการาม เวลาบ่ายพายเรือประพาสทุ่งน้ำท่วม ได้เจอ เจ๊กฮวด กับยายผึ้ง กำลัง ตากหอม กระเทียมอยู่บนหลังคาบ้าน จนมีเรื่องราวที่น่าประทับใจ ทำให้เจ๊กฮวดได้กลายเป็น มหาดเล็ก และเป็นเพื่อนคนแรก ของการเสด็จประพาสต้น

(ที่มา : ตอนที่ ๒ เจ๊กฮวด มหาดเล็ก)

• ตลาดราชบุรี 


• วัดประดู่


การประพาส ตลาดราชบุรี ได้เจอเมียเจ้าของเรือที่จำพระองค์ได้ ซื้อเสบียงที่ตลาดปากคลอง  วัดประดู่ ทอดพระเนตรลิเกหน้าโรงบ่อนเสวยเช้าวัดประดู่ ที่วัดนี้ได้เจอการรักษาโรคผีเข้าและอื่นๆ ด้วยน้ำมนต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ 

(ที่มา : ตอนที่ ๔ ประพาสสมุทรสงคราม)

• ตลาดคลองอัมพวา


• บ้านกำนันจัน


ทรงเสด็จไปประพาสตลาดคลองอัมพวา คลองอัมพวานี้ถ้ามีเรือคนแปลกหน้าเข้ามา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะต้องเข้ามาถามว่าเป็นใครทำให้เกิดความไม่สะดวกในการประพาส เพราะต้องคอยหลบหลีกชาวบ้านที่คอยมาล้อมรอบ เสร็จแล้วได้แจวเรือไปยังบางน้อย ประพาสบ้านกำนันจันปัจจุบันมีเรื่องเล่าต่อกันมาถึงสาเหตุที่พระองค์ท่านไปเสด็จขึ้นประพาสบ้านกำนันจัน

(ที่มา : ตอนที่ ๔ ประพาสสมุทรสงคราม)

วันแรก กรุงเทพฯ–วัดเขาวัง – วัดโชติทายการาม

บ้านเจ๊กฮวดมหาดเล็ก - บ้านกำนันจัน - วัดประดู่

๐๘.๓๐ น.

ออกเดินทางสู่ จ.ราชบุรี

๑๐.๐๐ น.

เดินทางถึงวัดเขาวัง อ.เมือง จ.ราชบุรี  ซึ่งตั้งอยู่บนเขาสัตตนาถ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังบนเขานี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ แต่พระองค์เคยเสด็จไปประทับเพียงครั้งเดียว เมื่อ ร.ศ.๙๖ (พ.ศ.๒๔๒๐) เพื่อออกรับราชทูตโปรตุเกส หลังจากนั้นไม่ได้เสด็จไปประทับอีกเลยจนตลอดรัชกาล

๑๐.๓๐ น.

เดินทางสู่  วัดโชติทายการาม  รัชกาลที่ ๓ เสด็จประพาสต้น  เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๓ ได้ทรงโปรดฯ ให้นำเรือพระที่นั่งเทียบหน้าวัดหลวงพ่อช่วง (พระอธิการช่วง เจ้าอาวาส) ได้ทราบว่าในหลวงเสด็จ จึงนำพระลูกวัด ๔-๕ รูป มาสวดชัยมงคลต้อนรับ ได้ทรงถวายเงินบูรณะวัด ๑๐ ชั่ง และถวายพระสงฆ์รูปละ ๑ ตำลึง และโปรดเกล้าฯ ให้มหาดเล็กจัดที่ประทับแรมบนศาลาการเปรียญ ให้พนักงานเครื่องต้นประกอบพระกระยาหารสำหรับเสวย ณ ศาลาท่าน้ำ ชมศาลาการเปรียญการเสด็จประพาสต้น และพลับพลาที่ประทับ

๑๒.๐๐ น. 

รับประทานอาหารกลางวัน

บ่าย

นั่งเรือไปบ้านเจ๊กฮวดมหาดเล็ก ที่พระองค์

ท่านเคยพายเรือประพาสทุ่งน้ำท่วม และได้เจอกับเจ๊กฮวด และนางผึ้งผู้เป็นมารดา กำลังตากหอม กระเทียมบนหลังคาบ้าน จนมีเรื่องราวน่าประทับใจ ทำให้เจ๊กฮวดได้กลายเป็นมหาดเล็ก และเป็นเพื่อนคนแรกของการเสด็จประพาสต้น ชมชุดเครื่องถ้วย ชามทรงเสวย

๑๕.๐๐ น.

ล่องเรือกลับจากบ้านเจ๊กฮวด  ไปตามลำคลองดำเนินสะดวก  เดินทางไปเยี่ยมชม  บ้านกำนันจัน

ที่ตลาดน้ำท่าคา ที่พระองค์ท่านได้เสด็จขึ้นประพาสบ้านกำนันจัน คราวเสด็จประพาสทางชลมารค เขตอัมพวา โดยใช้เส้นทางเข้าสู่พื้นที่ทางแม่น้ำอ้อม โดยพระองค์ทรงเยือนบ้านกำนันจัน ในวันที่สอง ของการเสด็จประพาสต้น กำนันจันเป็นกำนัน ต.ท่าคา ในช่วงเวลานั้น บ้านของ กำนันจันตั้งอยู่ริมคลอง ศาลาลักษณะเป็นเรือนไทย มีอยู่ด้วยกันหลายหลัง การเสด็จในครั้งนั้น รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงแต่งตั้งกำนันจันให้เป็น “หมื่นปฏิคมคุณวัติ”

๑๖.๐๐ น. 

เดินทางสู่วัดประดู่ เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จ ประพาสต้น พระองค์ได้ทรงแวะทำครัวเสวยพระกระยาหารเช้าที่วัด และทรงมีพระราชศรัทธา ถวายสิ่งของให้แก่หลวงปู่แจ้ง ผู้เป็นเจ้าอาวาสมากมาย เช่น เรือเก๋งพระที่นั่ง พระแท่นบรรทม ตาลปัตร ปิ่นโต สลกบาตร ฯลฯ ชมพิพิธภัณฑ์พระราชศรัทธา ที่เก็บรักษาไว้เครื่องราชศรัทธาที่สำคัญอันทรงคุณค่าไว้อย่างดี สักการะรูปร.๕ ที่แกะสลักจากไม้หอม

วันที่สอง วัดเพชรสมุทรวรวิหาร – วัดพวงมาลัย – วัดอัมพวันเจติยาราม 

ตลาดน้ำอัมพวา - กรุงเทพฯ

๐๖.๓๐ น.

ทำบุญใส่บาตรพระ ที่พายเรือมาบิณฑบาตยามเช้า ด้วยอาหารคาวหวานน้ำและดอกไม้

๑๐.๐๐ น.

เดินทางสู่ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือวัดบ้านแหลม วัดที่สำคัญที่สุดใน จ.สมุทรสงคราม ตั้งอยู่ใน ตัวเมือง กราบนมัสการ "หลวงพ่อบ้านแหลม"พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นมาของหลวงพ่อบ้าน แหลมนั้น  เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏ  ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขาว่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๗  พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี   แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรี ได้อพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลแม่กลอง เหนือวัดศรีจำปาขึ้นไป และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแหลม" ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชร ได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาแล้วเรียกวัดศรีจำปาว่า "วัดบ้านแหลม" ชาวบ้านแหลมพวกนี้เป็นชาวประมง มีอาชีพจับปลาในทะเล คราวหนึ่งได้ออกไปลากอวนในอ่าวแม่กลอง ได้พระพุทธรูปติดอวนขึ้นมา ๒ องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน สำหรับพระพุทธรูปนั่ง ได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา" สำหรับ พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร สูงประมาณ ๑๖๗ เซนติเมตร แต่บาตรนั้นสูญหายไปในทะเล ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม เรียกว่า "หลวงพ่อบ้านแหลม"

๑๒.๐๐ น. 

รับประทานอาหารกลางวัน

บ่าย

เดินทางสู่  วัดพวงมาลัย  ที่พระองค์ท่านเคยไปเสด็จทอดพระเนตร  วัดนี้ตั้งแต่อยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ  แม่กลอง สร้างในสมัยรัชกาลที่๕ แห่งราชวงศ์จักรี ระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๕ - ๒๔๓๐ โดยท่านสัสดีพ่วง และนางมาลัยภรรยา ได้มีศรัทธาถวายที่ดินของตนให้สร้างเป็นวัดได้ชื่อว่า"วัดพาวงมาลัยสุนทราราม" ต่อมาภายหลังเรียกชื่อสั้นๆว่าวัดพวงมาลัย จนกลายมาเป็นวัดพวงมาลัยมาถึงทุกวันนี้ เมื่อสร้างวัดเสร็จแล้วได้อาราธนา "พระครูวินัยธรรม"มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นเจ้าอธิการวัดช่องลม ต.บ้านปรก อ.เมือง พระครูวินัยธรรมหรือหลวงพ่อแก้ว เป็นพระธุดงค์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีคนนับถือมาก เชื่อกันว่าท่านสำเร็จญาณวิเศษ สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆได้ ทั้งปัจจุบัน  อดีต  อนาคต  เหรียญหลวงพ่อแก้วที่ท่านสร้างขึ้นเอง  เป็นเนื้อทองเหลืองที่เรียกว่า "เนื้อลงหิน" มีรูปหลวงพ่อแก้วอยู่ด้วย พร้อมด้วยตะกรุด ผ้ายันต์  และลูกอมนั้นมีคนนิยมกันมากว่า  คงกระพันชาตรีดีนักแล ปัจจุบันมีราคาแพงมาก

๑๕.๐๐ น. 

เดินทางโดยเรือผ่านคลองอัมพวาสู่  วัดอัมพวันเจติยาราม  สถานที่ประพาส  ในวันที่ ๒๓ ก.ค.   ร.ศ.๑๒๓ หลังจากเสด็จทอดพระเนตรที่ว่าการเมือง จนกลับมาถึงที่ประทับเวลาค่ำหลังจากนั้นเดินเที่ยวชม ตลาดน้ำอัมพวา สัมผัสบรรยากาศริมน้ำเลือกซื้อสินค้าตามอัธยาศัยคลองอัมพวาแห่งนี้ รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จประพาส เมื่อวันที่ ๒๒ ก.ค.ร.ศ.๑๒๓ โดยในอดีตคลองอัมพวานี้ถ้ามีเรือคนแปลกหน้าเข้ามา กำนันผู้ใหญ่บ้านจะต้องเข้าไปถามว่าเป็นใคร ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการประพาส เพราะต้องคอยหลบหลีกชาวบ้านที่มาล้อมรอบ ที่สุดพระเจ้าอยู่หัวต้องเสด็จลงเรือต้นแยกไปประพาสแต่ลำเดียว

๑๗.๓๐ น. 

เดินทางกลับกรุงเทพฯ

• เป็นการเสด็จประพาสไทรโยค

เป็นการเสด็จประพาสไทรโยค  เมืองกาญจนบุรี   การเสด็จครั้งนี้ใช้เวลา ๒๓ วัน เส้นทางเสด็จ   เริ่มต้นจากพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินเข้าเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยทรงแวะนมัสการพระแท่นดงรังเป็นแห่งแรก ก่อนที่จะเสด็จประพาสตามสถานที่สำคัญในเมืองกาญจนบุรีหลายแห่ง

(ที่มา : ตอนที่ ๒o ประพาสไทรโยค ตอน ๑)

วันแรกของการเดินทาง

๘.๓๐ น. 

ออกเดินทางสู่ จ.นครปฐม

๙.๐๐ น.

เดินทางถึง  วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ตั้งอยู่ที่   ต.พระประโทน

อ.เมือง จ.นครปฐม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประทับเรือเล็กล่องมาจากพระปฐม เจดีย์ตามคลองเจดีย์บูชา เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๓ ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เล่าไว้ในบันทึกว่า

“...แล้วลงเรือล่องมาประพาสที่พระประโทน มาพบมิวเชียมใหญ่ซึ่งโจษกันว่ามีอยู่นั้นคือท่านสมภาร วัดพระประโทน เป็นผู้เก็บรวบรวมสะสมของโบราณที่ขุดได้ในแถวพระปฐมพระประโทนไว้มาก แต่ข่าวว่าเก็บซุกซ่อนมิได้ยอมให้ผู้หนึ่งผู้ใดดูเป็นอันขาด ครั้นเสด็จไปถึงไปถามถึงเรื่องของเก่า ท่านสมภารก็ยินดีเชิญเข้าไปในกุฏิ แล้วยกหีบห่อของโบราณที่ได้สะสมไว้ มาถวายให้ทอดพระเนตร และยอมให้ทรงเลือกแล้วแต่จะพอพระราชประสงค์ ทรงเลือกได้เครื่องสัมฤทธิ์ของโบราณ คือพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งเป็นของแปลกดีหลายอย่าง...”

๑๑.๐๐ น.

เดินทางถึงพระปฐมเจดีย์ กราบสักการะพระร่วงโรจนฤทธิ์ อันเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป   ในสมัยรัชกาลที่ ๕  พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จฯ  มายกยอดพระปฐมเจดีย์  เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ และโปรดให้ประดับกระเบื้องเคลือบสีทองพระมหาเจดีย์ทั้งองค์ หลังจากนั้นพาท่าน เข้าชมโบราณวัตถุที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์

๑๒.๐๐ น. 

รับประทานอาหารกลางวันที่ จ.นครปฐม

๑๓.๐๐น.

ออกเดินทางสู่ จ.กาญจนบุรี (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเมืองกาญจนบุรี ๕ ครั้ง )

๑๔.๐๐น. 

เดินทางถึงวัดพระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี วัดโบราณที่รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จประพาส มีแท่นหินขนาดใหญ่ ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานที่นี่

๑๕.๐๐น

จากนั้นไปชม วัดอินทาราม ที่บ้านหนองขาว วัดโบราณที่รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จประพาสในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวถึงบ้านหนองขาวว่า

“...ตั้งแต่บ้านน้อยนามาตลอด 

เพราะต้นไม้ที่ใหญ่ใหญ่ไม่ใคร่มี

บ้านแห่งใดรั้วไม้รวกสูงสูง

อีกอย่างหนึ่งกลัวเสือนั้นเหลือทน

ไม่แต่เรือนเรือกสวนสิ้นทั้งนั้น

พวกชาวบ้านมาดูอยู่นองเนือง 

วัดหนองขาวคราวนี้ดีนักหนา

อยู่ข้างขัดข้องเข็ญเห็นฝืดเคือง

ถูกแดดทอดนี้อ่อนด้วยร้อนจี๋

จนถึงที่หนองขาวที่หมู่คน

ด้วยกลัวฝูงขโมยจะมาปล้น

แต่ก่อนมาวิ่งวนจนในเมือง

แต่บ่อน้ำก็กั้นคอกเขื่องเขื่อง

ต่างตั้งเครื่องบูชาหน้าบ้านเรือน

เกิดปัญหาอย่างดีไม่มีเหมือน

ดำเนินเรื่องปัญหาว่าดังนี้ …”

ภายในวัดนี้ มีพิพิธภัณฑ์บ้านหนองขาว ชมภาพถ่ายของรัชกาลที่ ๕ เลือกซื้อผ้าทอมือ ผ้ามัดย้อม จากกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองกลุ่มชาวบ้านหนองขาว

๑๖.๓๐น.

เดินชม ถนนคนเดินปากแพรก “๑๗๗ ปี ปากแพรก ถนนเก่าเล่าเรื่องเมืองกาญจน์” บ้านเรือนต่างๆ ตามถนนปากแพรกสายนี้ ได้สร้างขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่สวยงามเต็มไปด้วยกลิ่นอาย  แบบตะวันตกผสมผสานตะวันออก   พร้อมด้วยประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า  เพื่อให้

คนรุ่นหลังที่มาเที่ยวชมมีโอกาสได้ศึกษาวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และชื่นชมสินค้าพื้นเมือง การขับกล่อมดนตรีของศิลปินทุกกลุ่ม รวมถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านบนถนนสายนี้

๑๗.๓๐น.

ล่องแพตามรอยเสด็จประพาสลำน้ำแควน้อย รำลึกเส้นทางสายธารแห่งประวัติศาสตร์

วันที่สองของการเดินทาง

๙.๐๐ น.

ชมปราสาทเมืองสิงห์ ที่อุทยานปราสาทเมืองสิงห์ บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย อ.ไทรโยค สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรมของปราสาท คล้ายคลึงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จากนั้นไปชม ถ้ำกระแซ ตัวถ้ำติดกับเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี–น้ำตก ภายในถ้ำโปร่ง และมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากหน้าถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟ จะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามมาก เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเส้นทางโค้งเลียบเขา เบื้องล่างเป็นแม่น้ำแควน้อย และไปเที่ยวเล่นน้ำตก ชมธรรมชาติที่ น้ำตกไทรโยคน้อย

๑๒.๐๐ น. 

รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ น. 

ลงล่องเรือไปตามลำน้ำแควน้อย ตามรอยเส้นทางเสด็จรัชกาลที่ ๕ ชมทิวทัศน์ งดงามตระการตา สองฝั่งน้ำแห่งนี้ แวะขึ้นเที่ยว ถ้ำละว้า เขากินนอน (กินรี) ถ้ำผี และน้ำตกไทรโยคใหญ่ สถานที่ เสด็จประพาส...สรงสนานตำนานเพลง...เขมรไทรโยค

๑๗.๐๐ น. 

แวะซื้อของฝาก แล้วออกเดินทางกลับด้วยความอิ่มเอมใจ

• เมืองกำแพงเชรเก่า ศาลพระอิศวร


ในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ฝนยังคงตกประปราย พระองค์จึงต้องเสด็จทั้งที่มีฝนไปประพาสเมืองกำแพงเพชรเก่า วัดพระแก้ว วัดช้างเผือก ศาลพระอิศวร พระราชวังเก่า ในพระราชนิพนธ์พระองค์ได้อธิบายถึงลักษณะของสถานที่เหล่านี้ 

(ที่มา : ตอนที่ ๑๑ ประพาสเมืองกำแพงเพชร ตอน ๑)

•คลองสวนหมาก


ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ทรงเสด็จประพาสคลองสวนหมาก เป็นคลองที่ไหลเชี่ยวแต่น้ำใส พระองค์ได้เจอกับพะโป๊ กะเหรียงซึ่งเป็นคนในบังคับของอังกฤษ ได้สัมปทานทำไม้ 

(ที่มา : ตอนที่ ๑๒ ประพาสเมืองกำแพงเพชร ตอน ๒)

•วัดเขาดิน หรือ วัดพระหน่อธรณินทรใกล้วารินคงคา


จากนั้นเสด็จมาประพาสวัดเขาดิน หรือ วัดพระหน่อธรณินทรใกล้วารินคงคา และได้ฟังเรื่องตำนานลับแล 

(ที่มา : ตอนที่ ๑๓ คำพิพากษา)

วันแรกของการเดินทาง วัดวังพระธาตุ-อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

๐๗.๐๐ น.

ออกเดินทางสู่ จ.กำแพงเพชร

๑๐.๐๐ น.

ชมวัดวังพระธาตุ เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้เสด็จประพาสต้น  พร้อมกับนมัสการองค์พระธาตุที่มีขนาดใหญ่ และ

แปลกตา เป็นลักษณะพุ่มข้าวบิณฑ์ของสมัยสุโขทัย แต่มีปล้องไฉนของสมัยอยุธยาและเชื่อกันว่าี่เป็นเมือง ไตรตรึงษ์ ที่เกี่ยวข้องกับตำนานท้าวแสนปม

นั่งรถรางเที่ยวชม อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประตูเมือง  กำแพงเมือง  วัดพระแก้ว  วัดช้างรอบ  ศูนย์ข้อมูล

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดอาวาสใหญ่ วัดพระสี่อิริยาบถ  วัดพระนอน  และโบราณสถานอีกมากมายในอุทยาน

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแห่งนี้  ล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นมาแล้ว พร้อมกับมนต์ขลังของเมืองเก่าที่สวยงาม และน่าชื่นชมในบรรพบุรุษของชาติไทย

๑๕.๓๐ น. 

ออกเดินทางสู่ จังหวัดอุทัยธานี

วันที่สองของการเดินทาง ล่องเรือชมวิถีชีวิตสองฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง

สองฟากฝั่งเรือนแพ วัดท่าซุง วัดปากคลองมะขามเฒ่า

๐๖.๓๐ น.

ทำบุญตักบาตรพระ ยามเช้าเพื่อเป็นสิริมงคล

๐๙.๓๐ น.

ตามรอยเสด็จประพาสต้นทางเรือ ล่องเรือชมวิถีชีวิตเรือนแพ  สองฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า  เจ้าอยู่หัว ได้ถ่ายภาพเป็นที่ขึ้นชื่อของชาวจังหวัดอุทัยธานี ผ่าน วัดอุโบสถสถาราม ที่พระองค์ได้เสด็จไปกราบพระประธานใน   อุโบสถวัดนี้ ชมวัดท่าซุง ชมปราสาทแก้ว ปราสาททองที่งดงาม ราวกับสวรรค์บนดิน

๑๒.๐๐ น. 

รับประทานอาหารกลางวัน

บ่าย

เดินทางสู่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ระหว่างทางแวะซื้อของฝาก ขึ้นชื่อของอุทัยธานี  ขนมปังสังขยา และออกเดินทางต่อไปยัง  วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชมชีวประวัติของหลวงปู่ศุข พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของหัวเมืองฝ่ายเหนือ ที่พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธา และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับท่าน

๑๕.๓๐ น. 

เดินทางกลับกรุงเทพฯ

• ประพาสหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก


เป็นเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก  รวม ๓ ครั้งด้วยกัน โดยครั้งที่ ๑  พระองค์ทรงแวะสัดหีบ  แหลมสารภี  แหลมสิงห์ เมืองเก่า เกาะช้าง อ่างสลักเพชร และเกาะหมาก ครั้งที่ ๒ พระองค์เสด็จทอดพระเนตรปากน้ำ เมืองแกลง ปากน้ำประแส โรงทหาร หลังป้อม เมืองจันทบุรี และแหลมสิงห์ ครั้งที่ ๓ เสด็จไปประพาสเมืองแกลง แหลมสิงห์ เมืองจันทบุรี เกาะกง เกาะเสม็ด เมืองตราด เกาะช้าง แสมสาร และเกาะสีชัง 

(ที่มา : ตอนที่ ๑๘-๑๙ ประพาสชายฝั่งทะเลตะวันออก ตอน ๑-๒)

เส้นทางตามรอยเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงสู่ดินแดนตะวันออกที่เต็มไปด้วยสีสันและเรื่องราวมากมาย

ที่น่าชวนติดตาม   จากแหล่งท่องเที่ยวที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสไป  และแหล่งท่องเที่ยวที่มี   ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ที่เกี่ยวข้องกับเกียรติภูมิของทหารเรือไทย   รวมถึงทรัพยากรชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์

วันแรก

๐๗.๐๐ น.

ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ปลายทางพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

๑๐.๓๐ น.

ถึงปากน้ำประแสร์ เยี่ยมชมชุมชนประมงปากน้ำประแสร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชุมชนปากน้ำ ที่ผูกพันอยู่กับอาชีพประมง

๑๒.๐๐ น.

รับประทานอาหารกลางวันในชุมชน จากนั้นเดินทางสู่เมืองจันทบุรี

๑๔.๓๐ น.

นำสู่น้ำตกพลิ้วแห่งเทือกเขาสระบาป สถานที่ที่พระพุทธเจ้าหลวง เคยเสด็จประพาสในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์

เพลิดเพลินกับสายน้ำตกพลิ้ว ที่ใสสะอาด เย็นชุ่มฉ่ำ หลังจากนั้นเดินทางสู่ WETLAND WELU ศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ ชมความสมบูรณ์ของผืนป่าที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชน

๑๙.๓๐ น.

เดินชมแสงมหัศจรรย์ของหิ่งห้อยสองข้างทาง

วันที่สอง

๐๘.๐๐ น.

ออกเดินทางสู่จังหวัดตราด

๐๙.๓๐ น.

ถึงแหลมงอบ เยี่ยมชมอนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง

รำลึกถึงอดีตทหารกล้าที่ต่อสู้กับกองเรือรบของฝรั่งเศส

เรือรามอสปิเก้กับเรือหลวงธนบุรีของไทย

๑๐.๓๐ น.

ข้ามสู่เกาะช้างโดยเฟอรี่

๑๒.๐๐ น. 

รับประทานอาหาร พร้อมกับเยี่ยมชุมชนที่เก่าแก่ที่สุดของเกาะช้าง และวัดที่สลัดคอกที่ ร.5 พระราชทานชื่อให้

๑๔.๓๐ น.

นำชมน้ำตกธารมะยม ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จมาถึง 9 ครั้ง

วันที่สาม

๑๐.๐๐ น. 

เดินทางสู่ท่าเรือเฟอรี่ ข้ามจากเกาะช้างสู่แหลมงอบ

๑๓.๓๐ น. 

แวะซื้อของฝาก และเดินทางกลับกรุงเทพ

เมืองใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น ครั้งที่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ประทับนั่งขวาสุด) ขณะเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 พ.ศ. 2449 ที่เมืองกำแพงเพชร ที่มา

ข้อใดคือการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ ๕

หรือที่เรียกกันว่า “การเสด็จประพาสต้น” เป็นการเสด็จเพื่อทรงพักผ่อนพระราชอิริยาบถตามคำแนะนำของหมอหลวง โดยใช้เรือพลับพลาพ่วงเรือไฟไป ถ้าจะประทับแรมที่ไหนก็จอดเรือพลับพลาประทับแรมที่นั่น ทรงต้องการเสด็จประพาสอย่างเงียบๆ โดยไม่ให้ราษฎรรู้จักพระองค์ จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดกระบวนเรือที่เรียกกันว่า “กระบวนประพาสต้นคือทรง ...

เพราะเหตุใดร.5จึงเสด็จประพาสต้นตามที่ต่างๆ

สาเหตุของการเสด็จประพาสต้น เกิดจากสถานภาพ และบทบาทของพระเจ้าแผ่นดิน ที่ทรงมีทศพิธราชธรรม รัก เป็นห่วงประชาชน ประชาชน และประเทศชาติประสบกับปัญหา เรื่องพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2508-2525) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ความยากจน ขาดการคมนาคม การท าลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยการเผาป่า ท าไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น และความยากจน ...

การประพาสต้น มีกี่ครั้ง

สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายความหมายของการเสด็จประพาสต้น ใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับได้มีจ านวน 3 ครั้ง (สมเด็จกรมพระยาด ารง ราชานุภาพ, 2560)