สาเหตุของการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งคืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 บนเว็บไซต์ pridi.or.th


ภาพ: ปกด้านหน้าของ สนธิสัญญาเบาว์ริง
พร้อมตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4
ที่มา: The Nation Archives, UK

สนธิสัญญาเบาว์ริงคืออะไร

“สนธิสัญญาเบาว์ริง” หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ “หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม” ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ซึ่งคนไทยมักจะเรียกว่าอังกฤษกับประเทศไทยหรือสยามในเวลานั้น[1]

ส่วนชื่อ สนธิสัญญาเบาว์ริง นั้น มาจากข้อความบนปกสมุดไทย (สมุดข่อย) ซึ่งใช้ชื่อว่า “หนังสือสัญญาเซอร์ยอนโบวริง”[2] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้าและพาณิชย์เพื่อเปิดการค้าเสรีระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักร

สนธิสัญญาฉบับนี้ไม่ใช่สนธิสัญญาการค้าและพาณิชย์ระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักรเป็นฉบับแรก โดยก่อนหน้านั้น สยามได้เคยทำสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักรขึ้นแล้วในช่วงปี พ.ศ. 2369 คือ “สนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรสยามกับสหราชอาณาจักร” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” ซึ่งตั้งตามชื่อของ ‘เฮนรี เบอร์นีย์’ พ่อค้า-นักเดินทาง-นักการทูตของบริษัท บริติช อีสอินเดีย ซึ่งทำขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


ภาพ: สำเนาสนธิสัญญาเบอร์นีย์
ที่มา: วิกิพีเดีย

ความแตกต่างระหว่างสนธิสัญญาเบาว์ริงกับสนธิสัญญาฉบับอื่น

ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับประเทศยุโรปตะวันตก จะเห็นได้ว่าสยามและประเทศทางแถบยุโรปตะวันตกมีความสัมพันธ์กันมาเป็นเวลานาน จากเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น ในสมัยอยุธยาได้มีการทำการค้ากับโปรตุเกส ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) หรือเคยรับคณะทูตจากราชอาณาจักรสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นต้น ซึ่งในสนธิสัญญาเบาว์ริงนั้นก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกับสนธิสัญญาเบอร์นีย์ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของแต่ละประเทศที่ผ่านมานั้น มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น กรณีของโปรตุเกสกับฮอลันดา มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อทำการค้ากับสยามเท่านั้น หรือ กรณีของฝรั่งเศส ที่มุ่งจะเผยแพร่ศาสนาตามพันธกิจและคตินิยมของกษัตริย์ผู้อุปถัมภ์คริสตศานาในเวลานั้น เป็นต้น

เป้าหมายของการทำสนธิสัญญาในช่วงรัตนโกสินทร์นั้นเปลี่ยนแปลงไป การค้าขายกับพระคลังสินค้าสร้างความยากลำบากให้กับประเทศยุโรปตะวันตก เนื่องจากพระคลังสินค้าคอยเอาเปรียบและโก่งราคาสินค้า อีกทั้งยังเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้ราคาสินค้าที่ต้องซื้อจากสยามมีราคาแพง

ในขณะเดียวกัน บริบทของการค้าในเวลานั้น ต่างถูกควบคุมด้วย “พระคลังสินค้า” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคา เนื่องจากในเวลานั้นพระคลังสินค้าได้ทำการผูกขาดการค้าระหว่างประเทศเอาไว้กับพระคลังสินค้า[3] และพ่อค้ายุโรปตะวันตกไม่สามารถเลือกที่จะทำการค้าโดยไม่ผ่านพระคลังสินค้าได้

แม้ความตั้งใจแรกของสหราชอาณาจักรเมื่อเข้ามาตกลงทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับสยามจะมีความตั้งใจที่จะให้สยามเปิดเสรีการค้า โดยยกเลิกบทบาทการผูกขาดทางการค้าโดยพระคลังสินค้า และแก้ไขปัญหาภาษีดังได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ทว่า ในท้ายที่สุดความตั้งใจในเวลานั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 

อย่างไรก็ตาม ผลของการเจรจาในครั้งนั้นก็คือ หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยามฉบับแรก ซึ่งประกอบด้วยความตกลงร่วมกันทั้งหมด 14 ข้อ โดยเนื้อหาในข้อ 1 – 4 จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรในเรื่องเขตแดนและคนในบังคับของสหราชอาณาจักร และในข้อ 5 – 14 จะเป็นเรื่องในทางการค้า ด้วยเหตุที่เจรจาในครั้งนั้นยังไม่สำเร็จสมความตั้งใจรัฐบาลสหราชอาณาจักรในเวลาต่อมาจึงได้ติดต่อเข้ามาเพื่อทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

การทำ สนธิสัญญาเบาว์ริง นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากความตั้งใจที่ยังไม่บรรลุสมใจหมายของรัฐบาลสหราชอาณาจักร  ฉะนั้น เมื่อสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคตแล้ว และรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้รับสัญญาณจากสยามว่าอยากให้มีการเจรจาทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่ รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงได้แต่งตั้งให้ ‘เซอร์จอห์น เบาว์ริง’ ณ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งข้าหลวงเกาะฮ่องกงเดินทางมายังราชอาณาจักรสยามเพื่อทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่


ภาพ: เซอร์จอห์น เบาว์ริง

การทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่นั้นมีการลงนามกันใน วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2399 ณ ราชอาณาจักรสยาม เนื้อหาของสนธิสัญญาฉบับนี้คือ การผนวกรวมเอาเนื้อหาของสนธิสัญญาฉบับก่อน (เบอร์นีย์) ประกอบเข้ากับเนื้อหาของสนธิสัญญาฉบับใหม่ โดยมีจุดเน้นย้ำสำคัญที่แตกต่างจากสนธิสัญญาฉบับก่อนคือ การกำหนดให้สยามต้องเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งทำให้บทบาทของพระคลังสินค้าหมดลง และกำหนดสินค้าควบคุมไว้เฉพาะฝิ่นเท่านั้นที่จะต้องขายให้กับรัฐบาล และมีการเจรจาตกลงกันในเรื่องภาษีโดยกำหนดห้ามมิให้สยามเก็บภาษีซ้ำซ้อนและเก็บภาษีไม่เกินร้อยละ 3


ภาพ: เนื้อหาบางส่วนในสนธิสัญญาเบาว์ริง

อย่างไรก็ตาม ผลสำคัญที่เป็นผลพลอยเกิดขึ้นไปด้วยก็คือ ภายใต้สนธิสัญญาฉบับนี้รัฐบาลสยามต้องยอมรับเขตอำนาจศาลของอังกฤษเหนือเขตอำนาจศาลไทยในบุคคลภายใต้บังคับของสหราชอาณาจักร ซึ่งคนทั่วไปอาจเรียกกันว่าเป็น การเสียเอกราชทางการศาล หรือ เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

ด้วยเหตุว่าในเวลานั้นกฎหมายที่สยามใช้ มีลักษณะเป็นจารีตนครบาลซึ่งในมุมของประเทศยุโรปตะวันตกมองว่า วิธีการดังกล่าวนั้นล้าสมัยและไม่ส่งเสริมการขยายตัวทางการค้า การขอยกเว้นเขตอำนาจศาลไทยเหนือคนในบังคับของสหราชอาณาจักรจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ซึ่งผลประการหนึ่งจากการยกเว้นเขตอำนาจศาลไทยเหนือคนในบังคับของสหราชอาณาจักรถูกถ่ายทอดมาสู่ประเทศไทยและกลายเป็นรากฐานธรรมเนียมทางการค้าของไทยในเวลาต่อมา

ผลของสนธิสัญญาเบาว์ริง

ผลของสนธิสัญญาเบาว์ริงนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายลักษณะ ทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจและทางการเมือง  (อ่าน: ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริงในทางเศรษฐกิจของสยาม)

อย่างไรก็ตาม ในแง่สำคัญที่สุดก็คือ สนธิสัญญาเบาว์ริงกลายเป็นต้นแบบของการทำสนธิสัญญาอีกหลายฉบับที่ประเทศยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นได้เจรจาขอเข้ามาทำกับประเทศไทยในลักษณะเดียวกัน ซึ่งนักวิชาการบางคนเรียกสนธิสัญญาในลักษณะดังกล่าวว่าเป็น สนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค โดยรวมแล้วรัฐบาลสยามได้ทำสนธิสัญญาไว้ทั้งสิ้น 12 ฉบับ ดังนี้[4]

ประเทศวันที่ (นับแบบเก่า)การทำหนังสือสัญญาสหรัฐอเมริกา29 พฤษภาคม พ.ศ. 2399ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานครฝรั่งเศส15 สิงหาคม พ.ศ. 2399ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานครเดนมาร์ก29 พฤษภาคม พ.ศ. 2401ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานครโปรตุเกส10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2401ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานครสันนิบาตฮันเซอ (รัฐอิสระในเยอรมนี)25 ตุลาคม พ.ศ. 2403ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานครเนเธอร์แลนด์29 ธันวาคม พ.ศ. 2403ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานครปรัสเซีย7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404ส่งทูตมายังกรุงเทพมหานครนอร์เวย์18 พฤษภาคม พ.ศ. 2401ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ (เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)เบลเยียม29 สิงหาคม พ.ศ. 2401ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ(เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)อิตาลี29 พฤษภาคม พ.ศ. 2401ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ
(เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)โปรตุเกส3 ตุลาคม พ.ศ. 2401ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ
(เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี17 พฤษภาคม พ.ศ. 2402ทำสัญญาโดยผ่านทางพระยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ
(เอกอัครราชทูตไทยประจำยุโรป)

ดังนั้น หากเราพิจารณาต่อสนธิสัญญาเบาว์ริงในมิติของความมั่นคงแต่เพียงถ่ายเดียว การเกิดขึ้นของสนธิสัญญาที่ราชสำนักสยามจำยอมต้องลงนามตามข้อตกลง เพราะครั่นคร้ามต่ออิทธิพลของชาติมหาอำนาจใหม่จากดินแดนตะวันตก ที่กำลังแผ่ขยายอำนาจเหนือรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการคุกคาม ให้สยามต้องสูญเสียการควบคุมสิทธิการค้าที่แต่เดิมถูกผูกขาดไว้เฉพาะเพียงชนชั้นนำ ผ่านกลไกการควบคุมของ “พระคลังสินค้า”เปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบการค้าเสรี ที่บริษัทตัวแทนของชาติมหาอำนาจสามารถเข้าถึงสินค้าและเปิดโอกาสของสินค้าเข้าสู่สยามได้อย่างเสรี และนำมาสู่การเปิดทางให้สยามจำต้องลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคต่อประเทศอื่นๆ อีก 12 ฉบับในเวลาต่อมา นั้นว่าเป็นผลเสียต่อผู้ปกครองสยาม แต่หากเราพิจารณาถึงคุณูปการของสนธิสัญญาเบาร์ริง ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สยามได้รับความเปลี่ยนแปลงจากการเปิดประตูเข้าสู่ตลาดเสรีที่ส่งผลต่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของสยามอย่างไม่อาจเปลี่ยนแปลงย้อนกลับไปครั้งก่อนการลงนามได้อีกต่อไป

อ่าน: “สนธิสัญญาเบาว์ริง” ต้นฉบับจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (The National Archives, United Kingdom) จัดทำเอกสารและถ่ายภาพโดย อาจารย์พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

อ่าน: ทวิภพ The Siam Renaissance 2547: ภาพสะท้อนของประวัติศาสตร์และจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์ตีตราสนธิสัญญาเบาว์ริง โดย เขมภัทร ทฤษฎิคุณ

หมายเหตุ: จัดรูปแบบอักษรโดยบรรณาธิการ

[1] สนธิสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นในวันที่ 6 เมษายน 2399 ในรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่กับ (สยาม) และสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย (สหราชอาณาจักร).

[2] ปรามินทร์ เครือทอง, พระจอมเกล้า “King Mongkut” พระเจ้ากรุงสยาม (มติชน 2547) 169.

[3] เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, ‘ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริงในทางเศรษฐกิจของสยาม’ //pridi.or.th/th/content/2021/07/774 สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564.

[4] ชัย เรื่องศิลป์, ประวัติศาสตร์ไทย สมัย พ.ศ. 2352 – 2453 ด้านเศรษฐกิจ (โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ 2527) 181.

บทความที่เกี่ยวข้อง

Blogs

ทวิภพ The Siam Renaissance 2547: ภาพสะท้อนของประวัติศาสตร์และจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์ตีตราสนธิสัญญาเบาว์ริง

“ทวิภพ” วรรณกรรมมีชื่อเสียงของทมยันตี ที่บอกเล่าเรื่องเรื่องราวของจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

กรกฎาคม 22, 2021พฤศจิกายน 29, 2022

Political Economy

ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริงในทางเศรษฐกิจของสยาม

สนธิสัญญาเบาว์ริงจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้สยามกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก

กรกฎาคม 27, 2021ธันวาคม 2, 2021

Other Laws

การแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชอันสมบูรณ์โดยมีอำนาจอธิปไตยของตนอย่างเต็มเปี่ยม

ผลประการหนึ่งของการเข้าทำสนธิสัญญาเบาว์ริงนั้น แม้จะมีผลเป็นการทำให้สยามเปิดตลาดเข้าสู่ตลาดโลกผ่านการค้ากับสหราชอาณาจักร แต่ก็ทำให้สยามมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามเนื้อหาของสนธิสัญญาโดยจำกัดอำนาจศาลไทยเหนือคนในบังคับของอังกฤษ เนื่องมาจากกฎหมายไทย ไม่สอดคล้องกันกับระเบียบของโลกในเวลานั้นที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ยุโรป และการเติบโตของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน