ริยสัจ4 ข้อใดที่เราควรบรรลุ

ความจริงข้อนี้คือสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ที่เราประสบ ข้อนี้เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องการเกิดใหม่มาอธิบายว่าความแต่อย่างใด แต่เราพยายามที่จะเข้าใจถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนอธิบายอย่างง่ายๆ เป็นเหตุผล เราพูดถึงความทุกข์และความสุขในทางโลก และสิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุ แต่พระพุทธองค์สนใจถึง “สาเหตุที่แท้จริง” เราอาจจะคิดว่าความสุขและความเจ็บปวดเป็นผลมาจากรางวัลหรือการลงโทษ หรืออะไรทำนองนั้น แต่พระพุทธเจ้าตรัสถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นทั้งคุณและโทษ  

การกระทำที่เป็นโทษมีความหมายอย่างไร คือการทำร้ายเบียดเบียนอย่างนั้นหรือ การทำร้ายเบียดเบียนมีความหมายทั้งสองแบบคือ ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นและทำร้ายเบียดเบียนตนเอง ผลลัพธ์ที่เราไปทำกับคนอื่น ยากที่จะรู้ได้ว่ามันไปทำร้ายหรือไปช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจให้เงินใครบางคนก้อนใหญ่ แต่ผลออกมาว่ามีคนคิดอยากจะขโมยเงินได้ฆ่าเขาตาย เราต้องการจะช่วยเหลือเขา แต่ผลลัพธ์มันไม่เป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่เป็นจริงแน่ๆ คือ การกระทำนั้นเป็นโทษต่อตัวเราเอง ไม่เป็นคุณ นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้ความหมายของการกระทำที่เป็นโทษ คือ การทำลายตนเอง 

แล้วมาดูกันว่า ในทางกลับกัน กรรมทั้ง 3 คือ มโนกรรม กายกรรมและวจีกรรมที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ขุ่นมัว อารมณ์ขุ่นมัวมาทำใจให้ขุ่น! ใจก็ไม่สงบ ขาดการควบคุมตน นำมาซึ่งความโกรธ ความโลภ การยึดมั่นถือมั่น ความอิจฉาริษยา ความเย่อหยิ่งถือดี ความไร้เดียงสา ความเขลา เมื่อใจเราถูกรบกวนจากอารมณ์เหล่านี้แล้ว เราจะพูดและกระทำภายใต้อิทธิพลสิ่งเหล่านี้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น แม้อาจจะไม่เกิดโดยทันที แต่ในระยะยาว ความทุกข์จะเกิดขึ้น เพราะว่ามีแน้วโน้มไปในทางนั้น 

แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อเรากระทำดี เป็นการกระทำที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ขุ่นมัวเหล่านี้นั้น แต่เกิดจากอารมณ์ทางบวก เช่นความรัก ความกรุณาหรือความอดทนอดกลั้น 

การกระทำในทางที่ดีจะนำความสุขมาให้ ใจของเราจะสบายและสงบมากขึ้น เราสามารถควบคุมตนเองได้ดียิ่งขึ้น จึงไม่ทำหรือพูดอะไรที่ดูโง่เขลาเบาปัญญา อันจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา  เเละเช่นเดียวกัน อาจจะยังไม่เห็นผลทันตา แต่ระยะยาว ความสุขจะพึงมี นั่นเป็นคำอธิบายอย่างง่ายๆถึงการมีอยู่ของเราและของผู้อื่นว่าเป็นอยู่แบบใด รวมถึงความจริงโดยทั่วไป

ความสุขและความทุกข์ทางโลกไม่ได้เกิดจากมีใครมาทำหน้าที่คล้ายผู้พิพากษา มาให้รางวัลหรือลงโทษ ผลดีหรือผลเลวร้ายนั้นนั้นเกิดขึ้นเหมือนกลไกหรือกฏทางฟิสิกส์ เหตุและผลจากการกระทำตั้งอยู่บนฐานอะไร ก็อยู่บนฐานของความสับสน ความไม่รู้ โดยเฉพาะความสับสนในตนเอง เราคิดทำนองว่า “ฉันเป็นคนที่สำคัญที่สุด ฉันควรมีหนทางของตนเอง ฉันควรยืนอยู่หัวแถวที่ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉันควรเป็นคนแรก” เรากระหายอยากเป็นคนแรก เราจึงโกรธคนที่อยู่หน้าเรา เราอดทนรอคนที่อยู่หน้าเราไม่ได้ เพราะเขาช่างเชื่องช้ามาก ใช้เวลาก็นาน ในหัวเราคิดแต่สิ่งไม่ดีเกี่ยวกับเขา ถึงแม้ว่าเราจะทำดีแล้วก็ตาม แต่ยังมีความสับสนในตัวฉันที่อยู่ลึกลงไป เช่นเราให้ความช่วยเหลือคนอื่น เพราะเราต้องการให้เขามาชื่นชอบเรา หรือทำอะไรตอบแทนเรา หรือทำไปเพราะอยากให้ตนเองรู้สึกมีค่ามีราคาขึ้นมา หรืออย่างน้อยสุดก็เพื่อหวังจะได้รับคำขอบคุณตอบกลับมา! 

แม้ว่าการช่วยเหลือคนอื่นในลักษณะนี้จะช่วยให้ตนมีความสุข แต่ลึกไปแล้ว มันเป็นเรื่องไม่สบายใจเท่าไหร่ ความสุขทำนองนี้เรายังรู้สึกไม่ยั่งยืน มันเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นที่ไม่น่ายินดีนัก สิ่งนี้ก็ดำเนินไปตลอดชั่วชีวิตเรา และสืบต่อไปในชีวิตหน้าในทัศนะพุทธศาสนา 

เมื่อพินิจให้ลึกซึ้งกว่าเดิม จะเห็นว่าเราสับสนในทุกเรื่อง เช่น เรารักคนหนึ่งมากเหลือเกิน รักมากจนมองไม่เห็นข้อเสียของคนที่เรารัก มองเห็นข้อดีของเขาเกินความเป็นจริง แต่เมื่อเราไม่ชอบใครบางคนเป็นอย่างมาก เราก็มองเห็นข้อเสียของคนที่เราไม่ชอบเกินความเป็นจริง และมองไม่เห็นข้อดีของเขาเอาเลย ยิ่งเราสืบค้นมากเท่าไหร่ เรายิ่งพบว่าตนเองยิ่งสับสนมากขึ้นทุกที 

เมื่อสืบค้นให้ลึกลงไป เราจะเห็นได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจากข้อจำกัดของเราเอง ในร่างกายเราที่ประกอบด้วยรูปและนาม มีข้อจำกัด เมื่อเราหลับตา มันเหมือนกับว่าโลกทั้งหมดไม่มีอยู่ มีสิ่งเดียวที่มีอยู่คือ ตัวเราเอง ในหัวเราจะได้ยินเสียงแต่ว่า “ฉัน” เหมือนกับว่าฉันอยู่ภายในตัวฉัน เป็นเรื่องแปลก อย่างไรก็ตามเราได้สร้างอัตลักษณ์ให้กับมันเพราะว่ามีมันเพียงเสียงเดียว คนเดียวเท่านั้นที่บ่นกรนตลอด “ฉันต้องนำหน้า ฉันต้องทำสิ่งนี้” เจ้าสิ่งนี้มีเรื่องกังวลตลอด ดูราวกับว่าเสียงนี้อยู่ในหัวเรา อยู่เป็นเอกเทศ ไม่ขึ้นอยู่กับใครเพราะว่าเราหลับตา และไม่มีสิ่งใดเลยเว้นไว้แต่ “ตัวเรา” เพียงคนเดียว 

การคิดแบบนี้มันช่างสับสน เพราะความเป็นจริงแล้ว การมีอยู่ของเราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่น เราไม่อาจดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นได้ เราแต่ละคนก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ เราทั้งหมดเป็นคนเหมือนๆกัน ลองนึกคิดเปรียบเทียบดูว่านกเพนกิวเป็นหมื่นๆตัวกำลังเบียดเสียดกันอย่างหนาวสั่นบริเวณทวีปแอนตาร์กติก อะไรทำให้ตัวนี้พิเศษกว่าตัวอื่นๆ จริงๆแล้ว ทุกตัวเหมือนกันหมด และมนุษย์เราก็เป็นเช่นนั้น มีความเหมือนคล้ายๆกัน จากวิธีคิดแบบนี้ที่คิดว่า “ฉันเป็นคนพิเศษและเป็นอิสระกว่าคนอื่นๆ” ฉันต้องมีทางของตนเอง และเราคงจะโกรธไม่พอใจเป็นแน่หากว่าไม่เป็นไปตามนั้น 

โดยพื้นฐานแล้ว กายและจิตนำไปสู่ความสับสน มันอาจดูแปลกๆ แต่พวกเราได้มีประสบการณ์รับรู้จากตาทั้งสองข้างที่อยู่ข้างหน้า ฉันไม่อาจเห็นว่าอะไรอยู่ข้างหลัง แต่เห็นได้ในสิ่งที่อยู่ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ฉันไม่อาจแลเห็นอะไรที่มาก่อน อะไรที่มาทีหลัง เพราะมีข้อจำกัด และเราก็แก่ลงไปเรื่อยๆ หูไม่ดี ฟังอะไรก็ไม่ค่อยได้ยิน ใครบางคนอาจจะพูดบางสิ่งบางอย่าง และเราก็ได้ยินไม่ชัด เข้าใจไปเองว่าเขาพูดเรื่องอื่น และเราก็ถือโทษโกรธขึ้นมา เหมือนกับว่าเราเจ็บป่วยทางใจ เมื่อคิดทำนองแบบนั้น 

ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าเรามีการเกิดอยู่ทุกขณะทั้งกายและใจ ยิ่งเพิ่มความสับสน และไอ้เจ้าตัวสับสนนี้ทำให้เราประพฤติตนในทางเป็นโทษ หรือไม่ก็ประพฤติปฏิบัติเป็นไปในทางคุณแบบโลกๆ ส่งผลให้ชีวิตไม่มีความสุข หรือไม่ก็เป็นความสุขแบบโลกๆ

หากเราถลำตัวไปมากยิ่งขึ้น ก็จะยุ่งยาก ทำให้เราเกิดภพแล้วภพเล่าเพราะความสับสนนี้ นี้คือเหตุแห่งทุกขสัจจะ ความสับสน การขาดสติ มักถูกเรียกว่า “อวิชชา” ข้าพเจ้าไม่อยากใช้คำอวิชชานี้ เพราะสื่อว่าเราโง่เขลาเบาปัญญา แม้จะเป็นปัญหา แต่ปัญหานี้ก็แก้ไขได้ และเราก็ไม่ต้องการแบกปัญหานี้เอาไว้ คำว่า ขาดสติ เป็นคำที่เหมาะสมกว่าเพราะสื่อว่าเราไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆมันดำเนินอย่างไร มักคิดเอาว่าตนเองสำคัญที่สุด เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งความจริงมันผิด ความจริงก็คือว่าเราทั้งผองอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่เพราะเราโง่ แต่ที่ทำอย่างนั้นเพราะเกิดจากกายและใจที่ทำให้เราคิดและทำแบบนั้น 

นั่นคือเหตุผลที่เราเรียกว่า “ความจริงอันประเสริฐ” ใครที่เห็นความจริงนี้ ก็จะเห็นไม่เหมือนคนอื่น ความสับสนและการปรุงแต่งของจิตเกี่ยวเนื่องจากการเห็นความจริง เราเชื่อว่ามันเป็นความจริง ขาดการไตร่ตรอง เชื่อตามสัญชาตญาณที่บอกเราว่า “ฉันเป็นคนที่สำคัญที่สุด มีแนวทางของตนเอง คนทุกคนรักฉัน” หรือมีบางคนคิดแบบเดียวกัน แต่ในทางตรงกันข้าม “ฉันไม่ใช่คนดีพอ สมควรแล้วที่คนทุกคนเกลียดฉัน” อันนี้เรียกว่าเหตุแห่งทุกข์

อริยสัจ 4 ข้อใดจัดเป็นธรรมที่ควรบรรลุ

นิโรธ หมายถึงธรรมที่ว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละ ตัณหา เมื่อความทุกข์เกิดจากสาเหตุ ถ้าเราดับสาเหตุเสีย ความทุกข์นั้นย่อมดับไป ด้วย สภาพที่ความทุกข์หมดสิ้นไปหรือปราศจากทุกข์เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติ ธรรมของชาวพุทธ นิโรธจึงเป็นธรรมที่ควรบรรลุ ที่เราจะได้ศึกษา คือ หลักธรรม สุข 2.

อริยสัจ 4 ข้อใดเป็นผล

องค์ประกอบต่างๆ ในอริยสัจ 4 ดำรงอยู่ในรูปแบบของความสัมพันธ์แบบเหตุและผล ในความสัมพันธ์คู่แรกก็คือ สมุทัยเป็นเหตุแห่งทุกข์ กล่าวคือ ความทุกข์ หรือสภาวะแห่งความไม่สบายกายและใจ ย่อมเป็นผลมาจากความไม่เข้าใจในความเป็นไปของโลกว่า มีได้ย่อมมีเสีย มีพบย่อมมีพรากตามหลัก “โลกธรรม 8” และไม่เข้าใจในลักษณะร่วมกัน 3 ประการของสรรพ ...

อริยสัจ 4 ในข้อใดเปรียบได้กับพระนิพพาน

นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . .

อริยสัจ 4 มีความหมายว่าอย่างไร

ดังนั้นอริยสัจ 4 จึงมองไปในทางมุมมองของปัญหา คือ1. ทุกข์คือ ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ว่าตัวทุกข์ คืออะไร 2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหามาจากอะไร เป็นสิ่งที่ควรละ 3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา เพื่อให้หลุดพ้น จากทุกข์ เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง 4. มรรค คือ วิธีแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรอบรมบำเพ็ญให้เกิดมี ซึ่งแบ่งเป็นการ แก้ปัญหาระดับ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน