วิธีการสังคมสงเคราะห์มีกี่ประเภท

การปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์อนาคตสังคมไทยกับงานด้านสวัสดิการสังคมเนื่องจากนักสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่ให้การสงเคราะห์ แก่ผู้รับบริการแก้ไขปัญหาสังคม และพัฒนาสังคม ฉะนั้น จึงมีวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุถึงปรัชญาที่ว่า ช่วยให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ ด้วยวิธีทำงานกับเขา มิใช่ทำงานเพื่อเขา เพื่อที่เขาจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติได้ วิธีการดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

    ๑. การทำงานกับบุคคล เรียกว่า การ สังคมสงเคราะห์เฉพาะราย หรือการทำงานระดับบุคคล เป็นการทำงานกับผู้มีปัญหา เป็นรายบุคคล ปัญหาดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาทางครอบครัว ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านสุขภาพและอื่นๆ ทั้งนี้ โดยการที่นักสังคมสงเคราะห์ พยายามดึงความสามารถของผู้รับบริการเป็นหลักสำคัญ ในการแก้ไข และป้องกันปัญหานั้นๆ

    ๒. การทำงานกับกลุ่ม เรียกว่า การสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน หรือการทำงานระดับกลุ่ม เป็นวิธีการและกระบวนการ ที่นักสังคมสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือสมาชิกกลุ่ม ในสถาบัน หรือองค์การต่างๆ แต่ละคน ให้สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น มีประสบการณ์ในการพัฒนาที่ดี โดยนักสังคมสงเคราะห์ ให้ความช่วยเหลือสมาชิกแต่ละคนในการพัฒนาบุคลิกลักษณะ เพื่อการพัฒนาสังคม โดยใช้ปฏิกิริยาโต้ตอบภายในกลุ่มเป็นเครื่องมือ

    ๓. การจัดระเบียบ และการพัฒนาชุมชน เรียกว่า การทำงานระดับชุมชน เป็นการทำงานกับชุมชน เพื่อการแก้ไข ป้องกันปัญหา ความเดือดร้อน ซึ่งกระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ การศึกษา สุขภาพอนามัยและอื่นๆ โดยนักสังคมสงเคราะห์ จะใช้วิธีการกระตุ้นให้คนในชุมชนมองเห็นปัญหา สาเหตุของปัญหา และร่วมมือร่วมแรงกันวางแผน และดำเนินการป้องกัน และแก้ไข ซึ่งอาศัยทรัพยากรต่างๆ ในชุมชน อันได้แก่ คน วัสดุอุปกรณ์ ทุนทรัพย์ แรงงาน หน่วยงานต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ถ้านักสังคมสงเคราะห์พบว่า ชุมชนขาดบริการ หรือมีบริการไม่เพียงพอ นักสังคมสงเคราะห์ก็จะหาทางส่งเสริม หรือสนับสนุนให้คนในชุมชนนั้นร่วมกัน จัดการทรัพยากรภายนอกเข้าไปเพิ่มเติม

    ๔. การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ คือ การที่นักสังคมสงเคราะห์ศึกษาสภาพต่างๆ ในสังคม เพื่อประกอบการพิจารณาการวางนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ อันช่วยบรรเทา หรือขจัดปัญหา ทางสังคม ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การบริหารองค์การ จะช่วยในการแก้ไข และปรับปรุง หรือริเริ่มบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

    ๕. การบริหารงานสังคมสงเคราะห์ เป็นการบริหารองค์การทางสังคมสงเคราะห์ ให้มีประสิทธิภาพสูง โดยรวมถึงการวางนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรขององค์การให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ นอกจากนั้น ยังรวมถึงความสามารถ ในการประสานงาน ร่วมมือกันทำงานกับนักวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

วิธีการปฏิบัติงานในข้อ ๑, ๒ และ ๓ รวม เรียกว่า การสังคมสงเคราะห์ระดับจุลภาค ซึ่งเป็นวิธีการให้บริการโดยตรง กับผู้รับบริการระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และ ชุมชน เป็นการช่วยเหลือบุคคลแต่ละคนในฐานะ เป็นปัจเจกชน หรือในฐานะสมาชิกในกลุ่มเล็กๆ

วิธีการปฏิบัติงานในข้อ ๔ และ ๕ รวมเรียกว่า การสังคมสงเคราะห์ระดับมหภาค เป็นวิธีการให้บริการทางอ้อม มุ่งการปฏิบัติงานในระดับชุมชน หรือในระดับสังคม เพื่อที่จะก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคม รวมทั้ง การยกระดับทรัพยากรในสังคมมาให้แก่บุคคลแต่ละคนภายในชุมชนอย่างเพียงพอ ฉะนั้น จะเห็นว่า การปฏิบัติงานแบบนี้ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายนอกของสมาชิกภายในกลุ่ม

วิธึการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห็

เนื่องจากนักสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ผู้รับบริการแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนาสังคม จึงมีวิธีการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุถึงปรัชญาที่ว่า ช่วยให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ ด้วยวิธีทำงานกับเขามิใช่ทำงานเพื่อเขา วิธีการดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

1. การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย เป็นการทำงานระดับบุคคล เป็นการทำงานกับผู้มีปัญหา เป็นรายบุคคล ปัญหาดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาที่ครอบครัว ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านสุขภาพและอื่นๆ ทั้งนี้ โดยการที่นักสังคมสงเคราะห์จะต้องม่งให้ผู้ใช้บริการเข้าใจถึงปัญหาของตนเองเพื่อที่จะได้แก้ไขปัยหาด้วยตนเองได้ โดยนักสังคมสงเคราะห์มีหน้าที่แค่ชี้แนวทางให้

2. การสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน การทำงานระดับกลุ่ม เป็นวิธีการและกระบวนการที่นักสังคมสงเคราะห์นำผู้ใช่บริการที่มีปัญหาเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับมารวมกลุ่มกันเพื่อที่จะได้ง่ายแก่การช้วยเหลือและเพื่อที่จะได้เข้าใจและผู้ใช้บริการจะได้รู้สึกว่าเขาไม่ได้มีปัญหาแบบนั้นคนดียว หรือเรียกอีออย่างว่า "เพื่อนช่วยเพือน" ให้ความช่วยเหลือสมาชิกกลุ่ม องค์การต่างๆ แต่ละคน ให้สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น มีประสบการณ์ในการพัฒนาที่ดี โดยนักสังคมสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือสมาชิกแต่ละคนในการพัฒนาบุคลิกลักษณ เพื่อการพัฒนาสังคม โดยใช้ปฏิกิริยาโต้ตอบภายในกลุ่มเป็นเครื่องมือ

3. การจัดระเบียบ และการพัฒนาชุมชน เรียกว่า การทำงานระดับชุมชน เป็นการทำงานกับชุมชน เพื่อการแก้ไข ป้องกันปัญหา ความเดือดร้อน ซึ่งกระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ การศึกษา สุขภาพอนามัยและอื่นๆ โดยนักสังคมสงเคราะห์ จะใช้วิธีการกระตุ้นให้คนในชุมชนมองเห็นปัญหา สาเหตุของปัญหา และร่วมมือร่วมแรงกันวางแผน และดำเนินการป้องกัน และแก้ไข ซึ่งอาศัยทรัพยากรต่างๆ ในชุมชน อันได้แก่ คน วัสดุอุปกรณ์ ทุนทรัพย์ แรงงาน หน่วยงานต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ถ้านักสังคมสงเคราะห์พบว่า ชุมชนขาดบริการ หรือมีบริการไม่เพียงพอ นักสังคมสงเคราะห์ก็จะหาทางส่งเสริม หรือสนับสนุนให้คนในชุมชนนั้นร่วมกัน จัดการทรัพยากรภายนอกเข้าไปเพิ่มเติม

4. การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ คือ การที่นักสังคมสงเคราะห์ศึกษาสภาพต่างๆ ในสังคม เพื่อประกอบการพิจารณาการวางนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ อันช่วยบรรเทา หรือขจัดปัญหา ทางสังคม ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การบริหารองค์การ จะช่วยในการแก้ไข และปรับปรุง หรือริเริ่มบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

5.การบริหารงานสังคมสงเคราะห์ เป็นการบริหารองค์การทางสังคมสงเคราะห์ ให้มีประสิทธิภาพสูง โดยรวมถึงการวางนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรขององค์การให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ นอกจากนั้น ยังรวมถึงความสามารถ ในการประสานงาน ร่วมมือกันทำงานกับนักวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

จะได้เห็นได้ว่าการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์มีหลายวิธีการแต่ละวิธีการก้สอดแทรกกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ทั้งหมด และทุกวิธีการมุ้งเน้นให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ใช่ศักยภาพของตนเองในการแก้ไขปัญหาก่อน ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ย่างเป้นปกติสุข