การทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง

����ª��ͧ��÷ӡ�÷Ӹ�á������Թ������
1. ����ö��Ҷ֧������ԡ����ء���
2.����ö�����Թ������Ẻ �� ��ҹ�ѵ��ôԵ �к�����͹�Թ��ҹ��Ҥ��
3. �պ���ѷ�Ѵ���Թ��ҷ����š
4. ����ö���ʹ��Թ���������š��ҹ���͢���
5. ��ǹ�Ҫ�������ö�Դ��� ��Ъ�����ѹ��ͧ��� ���˹��§ҹ�ͧ���ͧ
6. Ŵ�ѭ�ҡ�����д��
7.Ŵ�ѭ�ҡ���Թ�ҧ��С�è�Ҩ�
8.����ѷ��ҧ��ҹ����ö�š����¹��������С����觫����Թ�����ٻẺ����硷�͹ԡ��
9. Ŵ������������� ��������Է���Ҿ��ô��Թ���

9.5 รูปแบบการทำธุรกิจของ E-Commerce


1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ หรือผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้าผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสำคัญมากที่สุด ตัวอย่าง Website เช่น
บริษัทไมโครซอฟต์เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (www.micorsoft.com) บริษัทซิสโกเป็นบริษัทขายอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายอื่นๆ โดยขายผ่านเว็บแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (www.cisco.com) ขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (http://www.tesco.co.th/th/index.html) ขายสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(http://www.value.co.th/th/main.asp) และ ตลาดซื้อขายออนไลน์ (http://www.b2bthai.com/) เป็นต้น


2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) เพียงอย่างเดียว, การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) สามารถสั่งซื้อได้, การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) สามารถชำระเงินได้, การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) สามารถจัดส่งและบริการหลังการขายได้ และ การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) สามารถทำการแลกเปลี่ยนได้ ตัวอย่าง Website เช่น
บริการผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยทำการขายหนังสือไปทั่วโลก (www.amazon.com) บริการการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทยผ่านเว็บไซต์ (www.thaiair.com) ขายเครื่องประดับ (http://www.abcjewelry.com/) และ ขายอาหาร(http://www.pizza.co.th/) ขายหนังสือ (http://www.se-ed.com)เป็นต้น


3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจำปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น
การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอในพิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th)


4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง Website เช่น
เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขายและผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์ (www.ebay.com) ประกาศขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถจัดส่งสินค้าได้ (www.pantipmarket.com) และขายของมือสอง (http://www.thaisecondhand.com) เป็นต้น

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตัวอย่างการทำธุรกรรมเช่น การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการซื้อขายสินค้าแบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจในรูปแบบดั่งเดิมลง เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้

คนไทยสามารถสั่งชื้อของที่ประเทศอเมริกาโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคที่ต้องใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการรุ่นใหม่จึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความรู้ทางด้านอินเทอร์เน็ต และต้องมีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจอย่างรอบด้าน ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างตราสินค้าเพื่อทำให้ลูกค้ารู้จัก ถ้าไม่เช่นนั้นสินค้าก็จะเป็นสินค้าประเภท Commodity ทำให้ต้องสู้กับผู้ผลิตรายอื่นเฉพาะค่าแรงและราคาเท่านั้น เพราะว่าผู้คนส่วนมากจะยึดติดกับตราสินค้า และจ่ายเงินซื้อสินค้าจากตราสินค้ามากกว่าการคำนึงถึงราคา ดังนั้นการสร้างตราสินค้า จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญในการแข่งขันในตลาดในยุคปัจจุบัน
เพื่อการทำธุรกิจให้อยู่รอด เรื่องของการตลาดจะเป็นหนทางทำให้เงินเข้าสู่บริษัท และนักการตลาดในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องเป็นพวกรู้มากและรู้ทุกอย่าง หรืออย่างที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Jack of All Trade มีกฎของการบริการง่ายๆ 2 ข้อเท่านั้น คือ ลูกค้าถูกเสมอ และ ถ้าลูกค้าทำผิดให้กลับไปดูกฎข้อแรกใหม่ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบธุรกิจในโลกไร้พรมแดนต้องการจะประสบความสำเร็จ ต้องเน้นที่ 4C คือ  Consumer Cost Convenience และ Communication
จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น นักการตลาดส่วนใหญ่จึงหันมาให้ความสำคัญเรื่อง Customer Relationship Management

นอกเหนือจากส่วนการผลิตสินค้าที่ต้องคำนึงถึงการลดต้นทุนให้ได้ เพราะการขึ้นราคาสินค้าต้องคำนึงถึงคู่แข่งที่อยู่ในตลาดระดับเดียวกันที่มีเป็นจำนวนมาก เพราะทันทีที่ราคาสินค้าของเราเพิ่มขึ้น ลูกค้าอาจหันไปหาผู้ผลิตรายอื่นได้ ฉะนั้นยุคปัจจุบันผู้ผลิตจึงให้ความสำคัญเรื่อง การจัดการโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Management เพราะกระบวนการจัดการโซ่อุปทานนั้น สามารถทำให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนการผลิตได้
การจัดจำหน่ายสินค้านั้น แต่เดิมเราก็ขายสินค้าผ่านร้านค้าส่ง และร้านค้าปลีก

ปัจจุบันมีการจัดจำหน่ายแบบ Modern Trades เกิดขึ้นมากมาย เพราะคำนึงถึงการให้ความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น Home Delivery หรือการทำธุรกรรมทางธนาคารที่บ้าน ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น และสุดท้ายการทำโปรโมชั่น ต้องเป็นแบบการสื่อสารครบวงจรเพื่อทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี 2 รูปแบบคืออะไรบ้าง

ลักษณะของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์.
การทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีผลทางสัญญา เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล การให้ข้อมูลระหว่างกัน การรับส่งข้อมูลด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ftp โดยผู้รับส่งไม่ต้องการให้มีผลทางสัญญา.
การทาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลทางสัญญา การทาธุรกรรมในลักษณะนี้ย่อมก่อให้เกิดสัญญาและใช้เป็นหลักฐานได้.

การทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การ ...

E

e-Commerce คือ การดำเนินธุรกิจโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย การชำระเงิน และอื่น ๆ ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือให้บริการ มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีกี่ฉบับ

พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562.