อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใดไม่ควรใช้กับปลั๊กพ่วง

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมชี้แจงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา กรณีมีกระแสข่าวปลั๊กไฟมีฟิวส์ ผิดกฎหมาย ห้ามซื้อ-ขาย ว่าเป็นข้อมูลจริง

Advertisment

จากกรณีการโพสต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องชุดสายพ่วงนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริง ชุดสายพ่วง เป็นสินค้าที่ สมอ. ควบคุม ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2432 – 2555 ซึ่งผู้ทำ หรือนำเข้า จะต้องได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. ก่อน โดยในข้อกำหนดของ มอก.ดังกล่าว จะมีการระบุว่า “ห้ามใช้ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน” ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มอก. 2432 – 2555 เลือกซื้อ ชุดสายพ่วง อย่างไร จึงปลอดภัย ได้จากกองส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) http://pr.tisi.go.th/16770/

อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใดไม่ควรใช้กับปลั๊กพ่วง

Advertisement

ด้านอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่ข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า 

“มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” ได้สอบถามไปยัง เฟซบุ๊กเพจ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (https://www.facebook.com/fconsumerthai/posts/3897709847019215/) สรุปได้ว่า

“ปลั๊กไฟพ่วงที่มีฟิวส์ผิดกฎหมาย เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ เมื่อเกิดการใช้ไฟเกิน และต่อมาเกิดความร้อน จะทำให้ฟิวส์ละลาย และไม่สามารถใช้งานได้อีก”

“ในขณะที่ปลั๊กไฟพ่วงในขณะนี้ที่ถูกกฎหมาย จะใช้ระบบเบรกเกอร์ ซึ่งจะทำการตัดไฟเมื่อเกิดการใช้กระแสไฟเกินได้”

สำหรับ “การเลือกซื้อชุดสายพ่วงอย่างไร จึงปลอดภัย
#การเลือกซื้อชุดสายพ่วงที่ได้มาตรฐาน มีข้อสังเกตดังนี้

1. สังเกตว่ามีเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. บนผลิตภัณฑ์ แสดงถึงผลิตภัณฑ์ได้มีการรับรองคุณภาพได้ตามมาตรฐาน

Advertisement

2. ที่เต้ารับมีตัวปิดช่อง และมีขั้วสายดิน ป้องกันเด็กเอานิ้วมือแหย่รูปลั๊ก

3. เต้าเสียบต้องเป็นแบบขากลม 3 ขา ซึ่งเป็นเต้าเสียบ 2 ขั้วพร้อมขั้วสายดิน มีฉนวนกันกระแสไฟฟ้าที่โคนขาปลั๊กไฟ เพื่อป้องกันการสัมผัสโคนขาปลั๊กไฟ

4. เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องเสียบพอดีกัน ไม่แน่น และไม่หลวม

5. มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกิน ในชุดพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป

6. สวิตช์เปิดปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากจากการถอดปลั๊กเต้าเสียบ เป็นอุปกรณ์เสริม ที่จะมีหรือไม่มีก็ได้

อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใดไม่ควรใช้กับปลั๊กพ่วง
#ข้อแนะนำในการใช้ชุดสายพ่วงให้ปลอดภัย

1. ใช้ด้วยความระมัดระวัง ควรปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเสียบปลั๊กพ่วง

2. ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อตัดกระแสไฟและป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

3. ไม่ใช้ชุดสายไฟเกินพิกัดขนาดกระแสไฟฟ้าที่ระบุไว้บนฉลาก และไม่ควรเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลายเครื่อง รวมถึงต่อพ่วงกันหลายชั้น

4. ไม่ใช้ชุดสายพ่วงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานต่อเนื่องยาวนาน หรือต้องใช้กระแสไฟฟ้าตลอดเวลา เช่น ตู้เย็น และเครื่องทำน้ำเย็น เพราะอาจทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้

5. ไม่นำชุดสายพ่วงที่อยู่ในสภาพชำรุดมาใช้งานโดยเด็ดขาด

6. ชุดสายพ่วงออกแบบมาเพื่อใช้งานชั่วคราว จึงไม่ควรนำรางปลั๊กของชุดสายพ่วง หรือชุดสายพ่วง ไปติดตั้งบบถาวร

7. หยุดใช้งาน หากพบสิ่งผิดปรกติขณะใช้งาน พร้อมปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าทันที

อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใดไม่ควรใช้กับปลั๊กพ่วง
#เลือกชุดสายพ่วงที่มีเครื่องหมาย มอก. ดียังไง

1. ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากชุดสายพ่วงที่ได้มาตรฐานจะมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกิน ทำให้ไม่เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะชุดสายพ่วงที่ได้มาตรฐานจะมีอายุการใช้งานยืนยาว ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยครั้งเพราะใช้สินค้าไม่ได้มาตรฐาน

3. คุณภาพผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพราะ สมอ. จะตรวจติดตามระบบการผลิตอย่างสม่ำเสมอ

4. ประหยัดเวลาในการเลือกซื้อ เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้ มอก. ผ่านการตรวจสอบจาก สมอ. แล้ว ทำให้มั่นใจได้ทันที

ปลั๊กพ่วง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่ถือว่ามีความจำเป็นในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะกับที่บ้านหรือที่ทำงาน เนื่องจากเราต้องใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชิ้น การเลือกปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเพราะจะช่วยป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ และเมื่อเลือกซื้อปลั๊กได้แล้วก็ควรที่จะต้องใช้อย่างถูกต้องด้วยเพราะไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อะไรก็ตามย่อมมีข้อพึงระวังและข้อจำกัดในการใช้งาน ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่อง “5 ไม่” จำให้ขึ้นใจ เมื่อต้องใช้งานปลั๊กพ่วง  พร้อมแล้วไปดูกันเลย

ไม่ควรใช้ปลั๊กพ่วงเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าเยอะจนเกินไป

ข้อแรกเลยที่หลายคนอาจจะทำกันบ่อยๆ ก็คือการใช้ปลั๊กพ่วงเกินกำลังด้วยการนำอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มาเสียบจนแน่นและเต็มทุกรูที่ให้มา ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอะไรที่ไม่ควรทำเอามากๆ เพราะหากเกินกำลังที่ปลั๊กพ่วงจะรับได้ย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการชำรุดหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ซึ่งในทางปฏิบัติถ้าจะให้มาสังเกตว่าปลั๊กตัวไหนรับกำลังไฟได้เท่าไหร่ เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟแค่ไหนก็ดูจะยุ่งยากจนเกินไป

สิ่งที่เราควรทำก็คือไม่เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะเข้าไว้ในปลั๊กพ่วงตัวเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องปิ้งขนมปัง, กระทะไฟฟ้า, กระติกน้ำร้อน, ไมโครเวฟ, เตารีด หรือตู้เย็นเป็นต้น ควรแยกปลั๊กต่างหากไม่ควรเสียบรวมกันหรือใช้งานพร้อมกัน ทางที่ดีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูงๆ ให้เสียบกับปลั๊กไฟบ้านจะดีที่สุด เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟลัดวงจรจนนำมาซึ่งเพลิงไหม้ได้

ไม่นำปลั๊กพ่วงมาต่อกันหลายๆ ตัว

ข้อต่อมาที่เราไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งก็คือการนำปลั๊กพ่วงมาต่อกันหลายๆ ตัว บางคนเคยชินหรือเห็นแก่ความสะดวกเป็นหลักจึงใช้งานพ่วงต่อปลั๊กหลายตัวเพื่อให้มาถึงยังจุดที่ตัวเองต้องการใช้งาน และแต่ละจุดที่พ่วงมาก็เสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เอาไว้ทุกตัว ซึ่งการทำแบบนี้อาจทำให้เกิดการสะสมความร้อนในสายไฟมากจนเกินไปจุดทำให้เกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นและนำไปสู่การชำรุดเสียหายได้ง่ายได้ นอกจากนี้เราควรหมั่นสังเกตและตรวจตราปลั๊กพ่วงแต่ละตัวหากพบว่าเริ่มชำรุดเช่นมีการฉีกขาด หรือมีรอยไหม้ควรเลิกใช้ปลั๊กนั้นทันที การซ่อมแซมอาจประหยัดแต่เรื่องไฟฟ้าไม่ควรเสี่ยงจะดีที่สุดครับ

ไม่เสียบปลั๊กค้างไว้ตลอดเวลา

ข้อนี้ก็ถือว่าสำคัญแต่มักโดนละเลยเช่นเดียวกันนั่นก็คือการไม่ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อออกจากบ้านไม่ว่าจะออกไปนานแค่ไหนก็ตาม บางคนไปเที่ยวต่างจังหวัดหลายวันแต่เสียบปลั๊กทิ้งเอาไว้จนเกิดไฟไหม้บ้านตามข่าวที่เรามักเห็นกันบ่อยๆ ตามสื่อต่างๆ เพราะการเสียบปลั๊กทิ้งเอาไว้กรณีที่สายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ทั้งสิ้น รวมถึงยังเปลืองค่าไฟโดยใช่เหตุอีกด้วย           

ไม่ติดตั้งปลั๊กพ่วงถาวร

ปลั๊กพ่วงนั้นเป็นอุปกรณ์สำหรับการใช้งานชั่วคราวเท่านั้นจึงไม่ควรนำมาติดตั้งถาวรด้วยการเดินเป็นสายไฟหลักเพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน เช่นเดินสายไปไว้บนเพดานเพื่อเสียบหลอดไฟ เดินสายเอาไว้ใต้พรมหรือเสื่อน้ำมันในบริเวณห้อง เพราะเมื่อใช้งานไปสักพักจะเกิดการชำรุดขึ้น ยิ่งในจุดที่เรามองไม่เห็นด้วยแล้วยิ่งไม่ควรใช้ปลั๊กพ่วงไปเดินสายเอาไว้ใช้งานเลยล่ะ

ไม่เห็นแก่ของถูก

สุดท้ายเลยที่เราอยากจะย้ำกับคุณหลายๆ ครั้งหากทำได้ก็คือ ไม่เห็นแก่ของถูก รู้หรือไม่ว่าในปัจจุบันยังมีปลั๊กไฟที่ไม่ได้มาตรฐานจำนวนมากถูกนำมาวางขายด้วยราคาที่ถูกเพื่อระบายของให้หมดจากสต็อกเพราะไม่ผ่าน มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด และเป็นปลั๊กที่ถือว่าผิดกฎหมาย รวมถึงยังมีปลั๊กคุณภาพต่ำหรือปลั๊กสวม มอก. อีกไม่น้อยที่ถูกสั่งมาหลอกขายให้ผู้ใช้ ซึ่งผลเสียจากการเห็นแก่ปลั๊กไฟราคาถูกนั้นบอกเลยว่าหากเกิดขึ้นแล้วประเมินค่าไม่ได้เลยทีเดียวครับ เช่นบางรุ่นมีรูสายดินแต่ไม่มีการเดินสายดินจริงจนอาจทำให้เกิดไฟดูดหรือไฟช็อตคนในบ้านเราได้

และนี่ก็คือ “5 ไม่” ที่เราอยากให้คุณจำให้ขึ้นใจ เมื่อต้องใช้งานปลั๊กพ่วง โดยไม่เพียงแค่ใช้งานปลั๊กที่ได้มาตรฐานเท่านั้น ยังควรต้องใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณใช้งานปลั๊กพ่วงได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นและช่วยป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ