ข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ตคืออะไร

ข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมากและบางครั้งก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นในสังคม เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการโฆษณาชวนเชื่อหรือหลอกลวงผู้ใช้บริการให้หลงเชื่อทำให้ต้องสูญเสียเงิน ถูกล่วงเกินทางเพศหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต การมีเว็บไซต์ขายบริการทางเพศและการที่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดเกมส์ออนไลน์จนเสียการเรียน เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจึงควรตระหนักถึงพิษภัยจากการนำเสนอ โฆษณาชวนเชื่อ และการขายบริการทุกประเภทผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ทราบแหล่งที่มาหรือตัวบุคคลที่แน่ชัด ซึ่งผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ควรให้ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ติดต่อหรือไปพบกับบุคคลแปลกหน้า ที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามลำพัง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ผิดปกติหรือมีบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจมาติดต่อให้ออกไปพบนอกสถานที่ ควรแจ้งให้บิดามารดาหรือบุคคลใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลอกลวงไปสู่อาชญากรรมต่อไป สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการเล่นเกมส์ของเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี จำกัดไม่เกิน 3 ชั่วโมง ผู้ปกครองจึงควรกวดขันลูกหลานและชี้ให้เห็นโทษของการเล่นเกมส์เป็นเวลานานติดต่อกันให้ลูกหลานทราบด้วย
ด้วยความปราถนาดีจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
หรือแจ้งที่โดยตรงรวดเร็ว http://www.mict.go.th ที่ร้องเรียนICT

ชมวีดีโอ ติดคุกง่ายๆ ถ้าไม่รู้กฏหมาย ICT YouTube

4 วิธีของเด็ก - 6 วิธีสำหรับผู้ใหญ่ ป้องกันอันตรายจากเน็ต

อินเตอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและอยู่ใกล้ชิดเยาวชนมากที่สุด ช่วยให้เยาวชนสามารถค้นคว้าหาความรู้และสาระได้อย่างเท่าเทียมกับอารยประเทศ แม้มีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีอันตรายไม่น้อยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดปัญหาการล่อลวงเด็ก และเกิดความเสียหายกับตัวเด็ก ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อเสนอ 6 แนวทางสำหรับผู้ใหญ่ และ 4 แนวทางสำหรับเด็กในการป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เน็ตที่มีกับเด็ก ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และสกัดกั้นความเสียหายต่ออนาคตของชาติ จากผู้ใช้ในเมืองไทย 4.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน

ส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง... 

1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเตอร์เน็ตตามลำพัง 

2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา 

3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม 

4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ 

5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่ 

6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว

สำหรับเยาวชน มีข้อควรระวัง... 

1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต 

2. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูลหรือรูปภาพใดๆ บนอินเตอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม 

3. ไม่ไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน 

4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใดๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อ

ข้อเสนอแนะว่าจะใช้ “ เน็ต ” อย่างไรให้ปลอดภัย 

1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่นชื่อนามสกุลจริง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน 

2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น 

3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้ จริงๆ 

4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ 

5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ 

6. ควรบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต เช่น ได้รับอีเมล์หยาบคาย หรือถูกนำรูปถ่ายไปตัดต่อสร้างความเสียหาย 

7. ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บอาจจะเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ 

8. ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนสมัครสมาชิกกับเว็บต่างๆ เพราะเราอาจกำลังตกอยู่ในสายตาของ ผู้ไม่ประสงค์ดี ที่กำลังจับตามองอยู่   

9. ถ้าคนมาชวนสร้างรายได้ โดยทำธุรกรรมผ่านทางเว็บ ให้คิดเสมอว่ารายได้ที่สูงเกินความจริง อาจตกอยู่ กลลวงของผู้ประสงค์ร้าย 

10. ไม่ควรเข้าเว็บที่ต้องห้าม หรือเว็บที่มีการนำเสนอภาพรุนแรง 

วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

1. เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
นายจ้างหรือลูกค้าที่มีความเคารพมากพอ พวกเขาจะไม่ก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของคุณ ฉะนั้นพวกเขาไม่จำเป็นต้องรู้สถานะความสัมพันธ์ส่วนตัว หรือที่อยู่บ้านของคุณ วิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องรู้คือความสามารถของคุณเกี่ยวกับอาชีพ และวิธีการติดต่อกับคุณเท่านั้น ดังนั้นคุณจึงไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดให้กับคนแปลกหน้า และอย่าให้ข้อมูลเหล่านี้แก่ผู้คนนับล้านบนโลกออนไลน์

.
2. เปิดการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของคุณไว้
นักการตลาดจะอยากทราบข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับตัวคุณ และแฮกเกอร์ทำเช่นกัน ทั้งสองคนสามารถเรียนรู้ได้จากการเรียกดูและการใช้งานโซเชียลมีเดียของคุณ แต่คุณสามารถดูแลข้อมูลของคุณได้ ตามที่ระบุไว้ใน Lifehacker เว็บเบราเซอร์และระบบปฏิบัติการบนมือถือจะมีการตั้งค่าเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณทางออนไลน์ เว็บไซต์ที่สำคัญเช่น Facebook มีการตั้งค่าการเพิ่มความเป็นส่วนตัวที่พร้อมใช้งาน การตั้งค่าเหล่านี้จะทำให้ข้อมูลของคุณไม่ปรากฎบนโลกออนไลน์ และค้นหาได้ยากขึ้น เนื่องจาก บริษัท ต้องการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณสำหรับมูลค่าทางการตลาด อย่าลืม! ตรวจสอบว่าคุณได้เปิดใช้งานการป้องกันความเป็นส่วนตัวเหล่านี้แล้ว

.
3. เลือกเว็บเบราเซอร์ที่ปลอดภัย
คุณจะไม่เลือกที่จะเดินผ่านย่านที่อันตราย – อย่าไปที่ย่านที่เป็นอันตรายในโลกออนไลน์ อาชญากรไซเบอร์ใช้เนื้อหาที่น่ากลัวเป็นเหยื่อ พวกเขารู้ว่าบางครั้งคนถูกล่อลวง โดยเนื้อหาที่น่าสงสัยและอาจทำให้การระวังตัวของพวกเขาต่ำลงเมื่อได้ค้นหาได้ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ การคลิกอย่างประมาทอาจทำให้ข้อมูลส่วนตัวหรือทำให้อุปกรณ์ของคุณเกิดการติดเชื้อมัลแวร์ได้ และเป็นการกระตุ้นให้แฮกเกอร์ใช้ช่องโหว่เหล่านั้นในการโจมตีคุณ

.
4. ตรวจสอบว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของคุณมีความปลอดภัย
เมื่อคุณออนไลน์ในที่สาธารณะ ตัวอย่างเช่น โดยใช้การเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ PCMag จะแจ้งว่าคุณไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยได้โดยตรง ผู้เชี่ยวชาญระบบความปลอดภัยในโลกไซเบอร์กังวลเกี่ยวกับ “จุดปลายทาง” ซึ่งเป็นที่ที่เครือข่ายส่วนตัวเชื่อมต่อกับโลกภายนอก ปลายทางที่ไม่ปลอดภัยคือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในสถานที่ที่คุณอาศัยอยู่ การตรวจสอบจะช่วยตุณสังเกตว่าอุปกรณ์ของคุณปลอดภัย ดังนั้นโปรดรอสักครู่จนกว่าระบบจะตรวจสอบเสร็จเรียบร้อย ก่อนที่จะให้ข้อมูลเช่น หมายเลขบัญชีธนาคาร

.
5. ระวังสิ่งที่คุณดาวน์โหลด
เป้าหมายสูงสุดของอาชญากรไซเบอร์ คือการหลอกลวงให้คุณดาวน์โหลดโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันมัลแวร์ที่มีมัลแวร์ หรือพยายามขโมยข้อมูล มัลแวร์เหล่านี้สามารถปลอมตัวเป็นแอพพลิเคชั่นใดใดได้ ตามคำแนะนำของ PCWorld อย่าดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ดูน่าสงสัย หรือมาจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ