หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 จัดเป็นหลักสูตรประเภทใด

สาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนด และเพื่อให้การจัดการเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการพัฒนาผู้เรียนครูผู้สอนจึงต้องมีความรู้เนื้อหาสาระเรื่องต่อไปนี้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

1. วิสัยทัศน์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็น พลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

2. หลักการ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้

1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ

3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น

4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้

5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

โรงเรียนบ้านส่องอนามัย  สพท.ร้อยเอ็ดเขต 2

โดย BP

1.  หลักการสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน
ข. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ
ค. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ
ง. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ

2. จุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์
ข. มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ
ค. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
ง. มีความเชื่อมั่นในตนเอง

3. ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
               ก. ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา
             ข. ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
             ค. ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการเรียนรู้
            ง. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิด
4. ข้อใดกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ได้ถูกต้อง
             ก. ใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกข้อที่กำหนดเท่านั้น
             ข. เลือกใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์บางข้อเท่านั้น
             ค. เลือกใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์บางข้อ และสามารถเพิ่มเติมได้ตามที่สถานศึกษาต้องการ
             ง. ใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกข้อที่กำหนด และสามารถเพิ่มเติมได้ตามที่สถานศึกษาต้องการ
5. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดระดับการศึกษาเป็นกี่ระดับ ได้แก่อะไรบ้าง
              ก. 2 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา
             ข. 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
             ค. 4 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
             ง. 4 ระดับ ได้แก่ ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3) ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3) ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-6)

6. การประเมินผลการเรียนในรายวิชาต่างๆ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
        ก. ระดับประถมศึกษาประเมินผลการเรียนเป็นรายภาค
        ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นประเมินผลการเรียนเป็นรายปี
        ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นประเมินผลการเรียนเป็นรายภาค
        ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเมินผลการเรียนเป็นรายปี
7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการประกาศการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
        ก. ปีการศึกษา 2551 ประกาศเตรียมการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
               2551 และใช้ ป.1, ป.4, ม1, ม.4 ในโรงเรียนต้นแบบ
        ข. ปีการศึกษา 2552 ใช้ ป.1, ป.4, ม1, ม.4 ในโรงเรียนโรงเรียนพร้อมใช้
        ค. ปีการศึกษา 2553 ใช้ ป.1, ป.4, ม.1,ม.4 ในโรงเรียนทั่วไป
        ง. ปีการศึกษา 2555 ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ครบทุกชั้นทั้งประเทศ
8. เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ข้อใดถูกต้อง
         ก. เรียนวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน 81 หน่วยกิต
         ข. เรียนวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต
         ค. เรียนวิชาพื้นฐานและเพิ่มและได้ผ่านทุกรายวิชา
         ง. เรียนวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมและต้องได้รับการตัดสิน
9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กิจกรรมใดที่เพิ่มเติม จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
          ก. กิจกรรมแนะแนว
         ข. กิจกรรมนักเรียน
         ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
         ง. กิจกรรมแนะแนวและกิจกรรมนักเรียน
10. องค์ประกอบใดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ไม่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
1) วิสัยทัศน์  2) สมรรถนะ      3) มาตรฐานการเรียนรู้
4) ตัวชี้วัด      5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์
          ก. ข้อ 1, 2 และ 3              ข. ข้อ 1, 2 และ 4
          ค. ข้อ 2, 3 และ 4              ง. ข้อ 2, 4 และ 5
11. โครงสร้างเวลาเรียนของระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีการกำหนดเวลาเรียนตามข้อใด
         ก. 1,000-1,200 ชั่วโมงต่อปี              ข. ไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมงต่อปี
         ค. ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมงต่อปี           ง. ไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมงต่อ 3 ปี
12. ระดับผลการประเมินข้อใดกล่าวถูกต้อง
         ก. รายวิชาพื้นฐาน มีระดับผลการประเมิน เป็น ยอดเยี่ยม-ปานกลาง-ควรปรับปรุง
         ข. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีระดับผลการประเมิน เป็น ดีเยี่ยม-ดี-ผ่าน-ไม่ผ่าน
         ค. การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน มีระดับผลการประเมิน เป็น ดีเยี่ยม-ดี-ผ่าน-ไม่ผ่าน
         ง. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีระดับผลการประเมิน เป็น ดีเยี่ยม-ดี-ผ่าน
13. ตัวชี้วัด “ท 1.1 ม.1/2” มีความหมายตรงกับข้อใด
           ก. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 2 ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข้อ 1
          ข. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 2 มาตรฐานข้อที่ 1 ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ข้อ 2
          ค. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 2 ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ข้อ 1
          ง. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 1 ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ข้อ 2

14. หากท่านต้องการจะกำหนดรหัสวิชาของรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข้อใดกำหนดรหัสวิชานี้ได้ถูกต้อง
          ก. ค11101        ข. ค11201
          ค. ค21101        ง. ค21201
15. หากท่านต้องการจะกำหนดรหัสวิชาของรายวิชาเพิ่มเติม เรียนปีใดก็ได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นรายวิชาลำดับที่ 4 ข้อใดกำหนดรหัสวิชานี้ได้ถูกต้อง
          ก. ว31204       ข. ว30204
          ค. ว43204       ง. ว42204
16. นโยบายการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ข้อใดกล่าวถูกต้อง
           ก. ระดับประถมศึกษา (ชั้น ป.1-6) กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์ 20 ชั่วโมงต่อปี
           ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้น ม.1-3) กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์ 20 ชั่วโมงต่อปี
           ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์ 1 หน่วยกิตต่อปี
           ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้น ม.4-6) กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์ 2 หน่วยกิตตลอด 3 ปี
17. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้รายวิชาพื้นฐานต้องใช้ตัวชี้วัด
กำหนดคุณภาพของผู้เรียน และกำหนดให้รายวิชาเพิ่มเติมต้องใช้อะไรกำหนดคุณภาพของผู้เรียน
ก. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค                ข. ตัวชี้วัด
ค. จุดประสงค์                                                         ง. ผลการเรียนรู้
18. ข้อใดกล่าวถึง “หลักสูตรอิงมาตรฐาน” ได้อย่างถูกต้อง
ก. มาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ข. มาตรฐานการเรียนรู้ได้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ และคุณลักษณะสำคัญ
ค. สถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
ง. มาตรฐานการเรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนและท้องถิ่น
19. “มาตรฐานการเรียนรู้” มีความสำคัญโดยตรงต่อสถานศึกษาและผู้ปกครองอย่างไร
ก. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วยให้ทราบถึงสิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้
ข. มาตรฐานการเรียนรู้เป็นกรอบและแนวทางในการสร้างหลักสูตร
ค. มาตรฐานการเรียนรู้เป็นสื่อกลางในการรายงานผลการเรียนรู้
ง. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วยให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาผู้เรียน
20. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของหลักสูตรอิงมาตรฐาน
ก. มาตรฐานเป็นจุดเน้นของการพัฒนาหลักสูตรในทุกระดับ
ข. องค์ประกอบของหลักสูตรเชื่อมโยงกับมาตรฐาน
ค. การประเมินผลสะท้อนมาตรฐานอย่างชัดเจน
ง. การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้คือหัวใจของหลักสูตร

เฉลยครับ
1.ข 2.ง 3.ค 4.ง 5.ข
6.ค 7.ง ค.ก 9.ค 10.ข
11.ง 12.ค 13.ง 14.ก 15.ข
16.ง 17.ง 18.ก 19.ค 20.ง

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เป็นหลักสูตรแบบใด

๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล ๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ

หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักสูตรประเภทไหน

๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอะไรบ้าง

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education Curriculum) หมายถึง หลักสูตรที่ใช้ในการ จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความสมบูรณ์ทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และมีคุณภาพได้ มาตรฐานสากล เพื่อการแข่งขันในยุค ...