การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักพื้นฐานอะไร

Download บทท 10 การว ดและประเม นผลการเร ยนร...

บทที่ 10 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจจุดหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลักการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 …………………………………………………………………………………………………………………………………………. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชา แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในระดับชั้นเรียนที่นาไปสู่ การพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพบนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างบุคคลเอกสารประกอบหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดย สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2553, หน้า 1-15) ได้อธิบายแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีรายละเอียดดังนี้ ❖ จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนจุดมุ่งหมายพื้นฐานสองประการ ประการแรก คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผล การเรียนและการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์ แปล ความหมายข้อมูล แล้วนามาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของ ครู การวัดและประเมินผลกับการสอนจึงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอนก็ ขาดประสิทธิภาพ การประเมินระหว่างการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เช่นนี้เป็นการวัดและ ประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนทุกวัน เป็นการประเมิน เพื่อให้รู้จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง จึงเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนาในการเก็บข้อมูล ผู้สอนต้องใช้ วิธีการและเครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การซักถาม การระดมความคิดเห็น เพื่อให้ได้มติข้อสรุปของประเด็นที่กาหนด การใช้แฟ้มสะสมงาน การใช้ภาระงานที่เน้นการปฏิบัติ การ ประเมินความรู้เดิม การให้ผู้เรียนประเมินตนเอง การให้เพื่อนประเมินเพื่อน และการใช้เกณฑ์การให้ คะแนน (Rubrics) สิ่งสาคัญที่สุดในการประเมินเพื่อพัฒนา คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนใน ลักษณะคาแนะนาที่เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ทาให้การเรียนรู้พอกพูน แก้ไขความคิด ความ เข้าใจเดิมที่ไม่ถูกต้อง ตลอดจนการให้ผู้เรียนสามารถตั้งเป้าหมายและพัฒนาตนได้จุดมุ่งหมาย ประการที่สอง คือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินสรุปผลการ เรียนรู้ (Summative Assessment) ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน จบรายวิชา เพื่อตัดสินให้คะแนน หรือให้ระดับผลการเรียน ให้การรับรองความรู้ความสามารถของผู้เรียนว่าผ่าน

รายวิชาหรือไม่ ควรได้รับการเลื่อนชั้นหรือไม่ หรือสามารถจบหลักสูตรหรือไม่ ในการประเมินเพื่อ ตัดสิน ผลการเรี ยนที่ ดีต้องให้โอกาสผู้ เรียนแสดงความรู้ความสามารถด้ว ยวิธีการที่หลากหลายและ พิจารณาตัดสินบนพื้นฐานของเกณฑ์ผลการปฏิบัติมากกว่าใช้เปรียบเทียบระหว่างผู้เรียน ❖ การกากับดูแลคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษาในปัจจุบันนอกจากให้ทั่วถึงแล้วยังมุ่งเน้นคุณภาพด้วย ผู้ปกครอง สังคม และ รัฐต้องการเห็นหลักฐานอันเป็นผลมาจากการจัดการศึกษา นั่นคือ คุณภาพของผู้เรียนที่เป็นไปตาม มาตรฐานของหลักสูตร หน่วยงานที่รับผิดชอบนับตั้งแต่สถานศึกษา ต้นสังกัด หน่วยงานระดับชาติที่ ได้รับมอบหมาย จึงมีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนตามความคาดหวัง ของหลักสูตร ดังนั้น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงกาหนดให้มีการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ ใน 4 ระดับ ได้แก่ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ทุกระดับมีเจตนารมณ์เช่นเดียวกันคือ ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนาผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ● การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดาเนินการเพื่อพัฒนา ผู้เรียนและตัดสินผลการเรียนในรายวิชา/กิจกรรมที่ตนสอน ในการประเมินเพื่อการพัฒนา ผู้สอน ประเมินผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดที่กาหนดเป็นเป้าหมายในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การซักถาม การสังเกตการตรวจการบ้าน การแสดงออกในการปฏิบัติผลงาน การแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ของผู้เรียนตลอดเวลาที่จัดกิจกรรม เพื่อดูว่าบรรลุตัวชี้วัดหรือมีแนวโน้มว่าจะบรรลุตัวชี้วัดเพียงใด แล้วแก้ไขข้อบกพร่องเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง การประเมินเพื่อตัดสินเป็นการตรวจสอบ ณ จุดที่ กาหนด แล้วตัดสินว่าผู้เรียนมีผลอันเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อย เพียงใด ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บคะแนนของหน่วยการเรียนรู้ หรือของการประเมินผลกลางภาค หรือปลายภาคตามรูปแบบการประเมินที่สถานศึกษากาหนดผลการประเมินนอกจากจะให้เป็นคะแนน หรือระดับผลการเรียนแก่ผู้เรียนแล้ว ต้องนามาเป็นข้อมูลใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไปอีกด้วย ● การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี /รายภาค ผลการประเมินการอ่านคิด วิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การอนุมัติผลการเรียน การ ตัดสินการเลื่อนชั้นเรียน และเป็นการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัด การศึกษาของสถานศึกษา ว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมีสิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านใด รวมทั้งสามารถนาผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติและระดับเขต พื้นที่การศึกษา ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทาแผนพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา และการรายงานผลการจัด การศึ ก ษาต่ อ คณะกรรมการสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานส านั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ส านั ก งาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน

● การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็ น การประเมิ น คุณภาพผู้ เรีย นในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ของ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามภาระความรับผิดชอบ สามารถดาเนินการโดยประเมิน คุณภาพของผู้ เรี ยนด้ว ยวิธีการและเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานซึ่งจัดทาและดาเนินการโดยเขตพื้นที่ การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัด /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังสามารถ ดาเนินการได้ด้วยการตรวจสอบข้อมูลจากการประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ● การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการประเมิน ผล จากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่าง ๆ เพื่อนาไปใช้ในการ วางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบาย ของประเทศข้อมูลการประเมินในระดับต่าง ๆ ข้างต้น เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการตรวจสอบ ทบทวนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่จะต้องจัดระบบดูแล ช่วยเหลือ ปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานความ แตกต่างระหว่างบุคคลที่จาแนกตามสภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ กลุ่มผู้เรียนทั่วไป กลุ่มผู้เรียน ที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่า กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาด้านวินัยและ พฤติกรรม กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธโรงเรียน กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มผู้เรียนที่ พิการทางร่างกายและสติปัญญา เป็นต้น ข้อมูลจากการประเมินจึงเป็นหัวใจของสถานศึกษาในการ ดาเนินการช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงที อันเป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและประสบความสาเร็จ ในการเรียน ❖ การจัดทาระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษาเป็นกรอบภาระงานและแนว ปฏิบัติด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เป็นกระบวนการเดียวกัน สาระของระเบี ย บดัง กล่ า วก าหนดบนพื้น ฐานของนโยบายด้ านการเรีย นการสอนและการวัด และ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักวิชา หลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและแนวปฏิบัติที่สถานศึกษากาหนดเพิ่มเติม อันจะสะท้อนคุณภาพและ มาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในกระบวนการดาเนินงานและสร้าง ความเชื่อมั่นแก่สังคม ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมายการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551กาหนดว่า การวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน และตัดสินว่าผู้เรียนมี ความรู้ ทักษะความสามารถ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอนบรรลุตาม มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในระดับใด สามารถที่จะได้รับการเลื่อนชั้นหรือจบการศึกษาได้หรือไม่

สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษา จะต้องจัดทาระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการ เรี ย นของสถานศึกษาให้ ส อดคล้ องและเป็นไปตามหลั กเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่เป็นข้อกาหนดของ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยควรมีสาระต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย 1. หลักการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2. การตัดสินผลการเรียน 3. การให้ระดับผลการเรียน 4. การรายงานผลการเรียน 5. เกณฑ์การจบการศึกษา 6. เอกสารหลักฐานการศึกษา 7. การเทียบโอนผลการเรียน ❖ การจัดการระบบงานวัดและประเมินผลการเรียน การจัดการระบบงานวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา ครอบคลุมงาน 2 ส่วน ได้แก่ 1) งานวัดผลและ 2) งานทะเบียน สถานศึกษาควรกาหนดให้มีผู้รับผิดชอบในแต่ละงาน สาหรับสถานศึกษาขนาดเล็กอาจรวมทั้งสองงานและมอบหมายผู้รับผิดชอบคนเดียว - งานวัดผล มีหน้าที่รับผิดชอบการดาเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ให้คาปรึกษา เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กับผู้สอนและผู้เรียน ตลอดจนดาเนินการเกี่ยวกับการสร้าง เสริมความเข้มแข็งในเทคนิควิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้บุคลากรของสถานศึกษา - งานทะเบียน มีหน้าที่รับผิดชอบด้านเอกสารหลักฐานการศึกษา เอกสารการประเมินผล การ จัดทาจัดเก็บ และการออกเอกสารหลักฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบภาระงานวัดและประเมินผลการ เรียนรู้มีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายต่าง ๆ ในสถานศึกษา นับตั้งแต่ระดับนโยบายในการกาหนดนโยบายการ วัดผล การจัดทาระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ และยังเกี่ยวข้องกับผู้เรียนทุกคนตั้งแต่เข้าเรียนจนจบการศึกษาและออกจาก สถานศึกษา จึงจาเป็นที่สถานศึกษาต้องวิเคราะห์ภาระงาน กาหนดกระบวนการทางานและผู้รับผิดชอบ แต่ล ะขั้น ตอนอย่ างชัดเจนเหมาะสม โดยนานโยบายการจัดการเรียนการสอนและการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ ตลอดจนหลักการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานมาวิ เคราะห์ภาระงานให้แก่บุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ของสถานศึกษารับผิดชอบการ ดาเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ นอกจากนี้ การดาเนินงานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นงานที่ต้องอยู่บนพื้นฐานหลัก วิชาการและหลักธรรมาภิบาล สถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในรูปของคณะกรรมการ ฝ่ายต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกาหนดให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะ กรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนรับผิดชอบ สาหรับสถานศึกษา ขนาดเล็กคณะกรรมการต่าง ๆ อาจแต่งตั้งตามความเหมาะสม

ตารางแสดงภารกิจการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ผู้ปฏิบัติ บทบาทหน้าที่ในการดาเนินงานการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ 1. คณะกรรมการสถานศึกษา 1.1 ให้ความเห็นชอบหลักสูตรสถานศึกษาและระเบียบว่า ขั้นพื้นฐาน ด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา 1.2 ให้ความเห็นชอบต่อเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการวัดและ ประเมิน - การเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม - ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน - คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1.3 ให้ความเห็นชอบกระบวนการและวิธีการสอนซ่อมเสริม การแก้ไขผลการเรียนและอื่น ๆ 1.4 กากับ ติดตามการดาเนินการจัดการเรียนการสอนตาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1.5 กากับ ติดตามการวัดและประเมินผล และการตัดสินผล การเรียน 2. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร 2.1 กาหนดระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียน และงานวิชาการสถานศึกษา ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน 2.2 กาหนดแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางและสาระเพิ่มเติมของรายวิชาต่าง ๆ ใน แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ และจัดทารายวิชา พร้อมเกณฑ์การประเมิน 2.3 กาหนดสิ่งที่ต้องการประเมินในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พร้อมเกณฑ์การประเมิน และแนวทางการพัฒนาและส่งเสริม ผู้เรียน 2.4 กาหนดการทบทวนการพัฒนาสมรรถนะสาคัญของ ผู้เรียน 2.5 ให้ข้อเสนอแนะ ข้อหารือเกี่ยวกับวิธีการเทียบโอนผล การเรียน ให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการเทียบโอน ผลการเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ

ผู้ปฏิบัติ 3. คณะอนุกรรมการกลุ่มสาระ การเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน

4. คณะกรรมการพัฒนาและประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

5. คณะกรรมการพัฒนาและประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของสถานศึกษา

6. คณะกรรมการเทียบโอน ผลการเรียน

บทบาทหน้าที่ในการดาเนินงานการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ 3.1 กาหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการ เรียนรู้ต่าง ๆ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พร้อมแนวทาง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3.2 สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และตัดสินผลการ เรียนตามแนวทางที่กาหนดไว้ 3.3 พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการวัดและประเมินผลการ เรียนรู้ สาระการเรียนรู้รายปี/รายภาค และกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน 4.1 กาหนดแนวทางในการพัฒนา การประเมิน การปรับปรุง แก้ไข และการตัดสินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียน 4.2 ดาเนินการประเมินความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน 4.3 ตัดสินผลการพัฒนาความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียนรายปี/รายภาค และการจบ การศึกษาแต่ละระดับ 5.1 กาหนดแนวทางการพัฒนาและการประเมิน เกณฑ์การ ประเมิน และแนวทางการปรับปรุงแก้ไขคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ 5.2 พิจารณาตั ดสิ น ผลการประเมิน คุณลั กษณะอันพึ ง ประสงค์รายปี/รายภาคและการจบการศึกษาแต่ละระดับ 5.3 จัดระบบการปรับปรุงแก้ไขคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้วยวิธีการอันเหมาะสมและส่งต่อข้อมูลเพื่อการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง 6.1 จัดทาสาระ เครื่องมือ และวิธีการเทียบโอนให้เป็นไป ตามแนวปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ การเที ย บโอนผลการเรี ย นเข้ า สู่ การศึกษาในระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดทา โดยสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 6.2 ดาเนินการเทียบโอนผลการเรียนให้กับผู้เรียนที่ร้องขอ 6.3 ประมวลผลและตัดสินผลการเทียบโอน 6.4 เสนอผลการเทียบโอนต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้ความเห็นชอบ และเสนอผู้บริหารสถานศึกษาตัดสินอนุมัติการเทียบโอน

ผู้ปฏิบัติ 7. ผู้บริหารสถานศึกษา

8. ผู้สอน

9. ครูวัดผล

บทบาทหน้าที่ในการดาเนินงานการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ 7.1 เป็นเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7.2 เป็นประธานคณะกรรมการบริห ารหลั กสู ตรและงาน วิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7.3 อนุมัติผลการประเมินผลการเรียนรายปี /รายภาค และ ตัดสินอนุมัติการเลื่อนชั้นเรียนการซ้าชั้น การจบการศึกษา 7.4 ให้คาแนะนา ข้อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดาเนินงานแก่ บุคลากรในสถานศึกษา 7.5 กากับ ติดตามให้การดาเนินการวัดและประเมินผลการ เรียนรู้บรรลุเป้าหมาย 7.6 นาผลการประเมินไปจัดทารายงานผลการดาเนินงาน กาหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษา 8.1 จัดทาหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการ ประเมินผลการเรียนรู้ในรายวิชาหรือกิจกรรมที่รับผิดชอบ 8.2 วัด และประเมินผลระหว่ างเรี ยนควบคู่กับ การจั ด กิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนที่กาหนดพร้อมกับปรับปรุงแก้ไข ผู้เรียนที่มีข้อบกพร่อง 8.3 ประเมินตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชาที่สอน หรือกิจกรรมที่รับผิดชอบเมื่อสิ้นสุดการเรียนรายปี /รายภาค ส่งหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 8.4 ตรวจสอบสมรรถนะสาคัญของผู้เรียน 8.5 นาผลการประเมินไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการจัดการ เรียนการสอน 9.1 ส่ ง เสริ ม พั ฒ นาระบบและเทคนิ ค วิ ธี ก ารวั ด และ ประเมินผลการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ แก่ครูและบุคลากรของ สถานศึกษา 9.2 ให้คาปรึกษา ติดตาม กากับการวัดและประเมินผลการ เรี ย นรู้ ข องสถานศึ ก ษาให้ เ ป็ น ไปตามหลั ก วิ ช าการและ แนวทางที่สถานศึกษากาหนดไว้ 9.3 ตรวจสอบ กลั่นกรอง ปรับปรุงคุณภาพของวิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา 9.4 ปฏิ บั ติ ง านร่ ว มกั บ นายทะเบี ย นในการรวบรวม ตรวจสอบ และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ผู้ปฏิบัติ 10. นายทะเบียน

บทบาทหน้าที่ในการดาเนินงานการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ 10.1 ปฏิบัติงานร่วมกับครูวัดผลในการรวบรวม ตรวจสอบ และบันทึกผลการประมวลข้อมูลผลการเรียนของผู้เรียนแต่ ละคน 10.2 ตรวจสอบและสรุปข้อมูลผลการเรียนของผู้เรียน รายบุคคลแต่ละชั้นปี และเมื่อจบการศึกษา เพื่อเสนอรายชื่อ ผู้มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ ให้คณะกรรมการบริหาร หลั กสู ต รและงานวิ ช าการสถานศึ ก ษาขั้ นพื้ นฐานให้ ความ เห็นชอบ และเสนอให้ผู้บริหารสถานศึกษาตัดสินและอนุมัติ ผลการเลื่อนชั้นเรียนและจบการศึกษาแต่ละระดับ 10.3 จัดทาเอกสารหลักฐานการศึกษา

❖ หลักการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นกระบวนการเก็บรวบรวม ตรวจสอบ ตีความผลการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของ ผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัดของหลักสูตร นาผลไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้และใช้ เป็นข้อมูลสาหรับการตัดสินผลการเรียน สถานศึกษาต้องมีกระบวนการจัดการที่เป็นระบบ เพื่อให้การ ดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ และให้ผลการประเมิน ที่ตรงตามความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ถูกต้องตามหลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถรองรับการประเมินภายในและการประเมินภายนอกตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา ได้ สถานศึกษาจึงควรกาหนดหลักการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้ 1. สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปิด โอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม 2. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผลการเรียน 3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กาหนดในหลักสูตรสถานศึกษา และจัดให้มี การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน ต้องดาเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบ ด้านทั้งด้านความรู้ ความคิด กระบวนการ พฤติกรรมและเจตคติ เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด ธรรมชาติวิชา และระดับชั้นของผู้เรียน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเที่ยงตรง ยุติธรรม และเชื่อถือได้ 5. การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรม

การเรียนรู้ การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความ เหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา 6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้ 7. ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและระหว่างรูปแบบการศึกษาต่าง ๆ 8. ให้สถานศึกษาจัดทาและออกเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผล การเรียนรู้ รายงานผลการเรียน แสดงวุฒิการศึกษา และรับรองผลการเรียนของผู้เรียน ❖ องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กาหนดจุดหมาย สมรรถนะ สาคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทาง ในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวที ระดับโลก กาหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัดที่กาหนดในสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ มีความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุม่ สาระ

คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ คุณภาพผู้เรียน

การอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน

กิจกรรม พัฒนาผู้เรียน คุณลักษณะอันพึง แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ประสงค์

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายวิชาบนพื้นฐานของตัวชี้วัดในรายวิชาพื้นฐาน และผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม ตามที่กาหนดในหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนใช้วิธีการที่หลากหลาย จากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของ ผู้เรียน โดยวัดและประเมินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน สังเกต พัฒนาการและความประพฤติของผู้เรียน สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม ผู้สอนควรเน้น การประเมินตามสภาพจริง เช่นการประเมินการปฏิบัติงาน การประเมินจากโครงงาน หรือการประเมิน จากแฟ้มสะสมงาน ฯลฯ ควบคู่ไปกับการใช้การทดสอบแบบต่าง ๆ อย่างสมดุล ต้องให้ความสาคัญกับ

การประเมินระหว่างเรียนมากกว่าการประเมินปลายปี /ปลายภาค และใช้เป็นข้อมูลเพื่อประเมินการ เลื่อนชั้นเรียนและการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ ได้แก่  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่าน หนังสือ เอกสาร และสื่อต่าง ๆ เพื่อหาความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ ความสุนทรีย์และประยุกต์ใช้ แล้ว นาเนื้อหาสาระที่อ่านมาคิดวิเคราะห์ นาไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์ สร้างสรรค์ การ แก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสานวนภาษาถูกต้อง มีเหตุผลและ ลาดับขั้นตอนในการนาเสนอสามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถ ในแต่ละระดับชั้นกรณีผู้เรียนมีความบกพร่องในกระบวนการด้านการเห็นหรือที่เกี่ยวข้องทาให้เป็น อุปสรรคต่อการอ่าน สถานศึกษาสามารถปรับวิธีการประเมินให้เหมาะสมกับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายนั้น การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สถานศึกษาต้องดาเนินการอย่างต่อเนื่องและสรุปผลเป็น รายปี/รายภาค เพื่อวินิจฉัยและใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนและประเมินการเลื่อนชั้น ตลอดจน การจบการศึกษาระดับต่าง ๆ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ได้แก่  อ่าน (รับสาร) หนังสือ เอกสาร โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต สื่อต่าง ๆ ฯลฯ แล้วสรุปเป็นความรู้ ความเข้าใจของตนเอง  คิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ หาเหตุผล แก้ปัญหา และสร้างสรรค์  เขียน (สื่อสาร) ถ่ายทอดความรู้ ความคิด สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ 3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมินคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับ ผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสานึก สามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กาหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 คุณลักษณะ ในการ ประเมิ น ให้ ป ระเมิ น แต่ ล ะคุณ ลั ก ษณะ แล้ ว รวบรวมผลการประเมิน จากผู้ ประเมิ นทุ กฝ่ ายและ แหล่งข้อมูลหลายแหล่งเพื่อให้ได้ข้อมูลนามาสู่การสรุปผลเป็นรายปี /รายภาค และใช้เป็นข้อมูลเพื่อ ประเมินการเลื่อนชั้นและการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ ได้แก่  มีจิตสาธารณะ  รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  รักความเป็นไทย

 ซื่อสัตย์สุจริต  มุ่งมั่นในการทางาน  มีวินัย  อยู่อย่างพอเพียง  ใฝ่เรียนรู้ 4. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน และเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม และใช้เป็นข้อมูลประเมินการ เลื่อนชั้นเรียนและการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมนักเรียน ได้แก่ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร ผู้บาเพ็ญประโยชน์ และชุมนุม/ชมรม คาถามท้ายบท 1. ให้นักศึกษาอธิบายจุดหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2. ให้นักศึกษาอธิบายถึงความสาคัญของหลักการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาโดยสังเขป 3. ให้นักศึกษาบอกองค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พร้อมทั้งอธิบายพอให้เข้าใจ 4. ให้นักศึกษาสรุปบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หนังสืออ้างอิง สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม หลั ก สู ต รตามหลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด.

ใบงาน 10 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ คาชี้แจง ให้นักศึกษาได้ศึกษางานวิจัยที่กาหนดให้ แล้วสรุปเป็นประเด็นความรู้ที่ได้รับจากงานวิจัยฉบับ นี้ ว่ามีประเด็นใดบ้าง และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย งานวิ จั ย เรื่ อ ง “การพั ฒ นาระบบการวั ด และประเมิ น ผลระดั บ ชั้ น เรี ย นตามหลั ก สู ต ร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านนาศรีดงเค็ง จังหวัดขอนแก่น.” การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 4 ประการคือ เพื่อศึกษา ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบ สร้างระบบ ศึกษาประสิทธิผลในการใช้ระบบ ประเมินและปรับปรุง ระบบ ดาเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยดาเนินการที่โรงเรียนบ้านนาศรีดงเค็ง จังหวัดขอนแก่นเป็นกรณีศึกษา ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การสร้างระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน ขั้นที่ 3 การทดลองใช้ระบบโดยการนา ระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนไปสู่การปฏิบัติ ขั้นที่ 4 การประเมินและปรับปรุงระบบ การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนในการดาเนินการผู้เกี่ยวข้ องมีส่วนร่วมดาเนินการในทุกขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบของระบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยระบบย่อยซึ่ง ดาเนินการต่อเนื่องเป็นวงจร 4 ระบบ ได้แก่ ระบบวางแผน (Plan) ระบบปฏิบัติการ (Act) ระบบ ตรวจสอบ (Observe) ระบบสะท้อนผล (Reflect) ซึ่งทุกระบบมีขั้นตอนในการดาเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นตรวจสอบ และขั้นสะท้อนผล 2. ผลการใช้ระบบโดยการนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนไปสู่การปฏิบัติด้าน การใช้ประโยชน์ของระบบ มีความชัดเจนในทุกขั้นตอน ตอบสนองต่อความต้องการของทุกฝ่ายและทา ให้เกิดการพัฒนาการสอนของครูและการเรียนของผู้เรียน ผลการประเมินเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายใน การร่วมมือแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงเป็นที่ยอมรับ เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ด้านความเหมาะสม ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการประเมิน เป็นธรรม โปร่งใส คานึงถึงประโยชน์ผู้เรียนเป็นหลัก ดาเนินการด้วยความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณ ด้าน ความถูกต้องน่าเชื่อถือ มีความสอดคล้องกับความสาคัญและความจาเป็นในการวัดและประเมินผล ระดับชั้นเรียน วัตถุประสงค์สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการบรรยายกระบวนการ ดาเนินการชัดเจน สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา กาหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน ด้านผลที่ เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจ มีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน ประเมินผู้เรียนในทิศทาง เดียวกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ด้านการวัดและประเมินผล ทาให้ครูได้ใช้การวัดการ

ประเมินที่หลากหลาย สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาใช้การประเมินผลเป็น ส่วนหนึ่งของการสอน และนาผลการประเมินไปใช้พัฒนาผู้เรียนและการสอนของครู ที่มา : อังคณา ตุงคะสมิต. (2550). การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านนาศรีดงเค็ง จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(การวิจัยและพัฒนา หลักสูตร). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีกี่ระดับ

1.2 ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กาหนด 1.3 ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา 2. การให้ระดับผลการเรียน การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ตัวเลข แสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ยึดหลักการข้อใด

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ ...

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีกี่ระดับ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ มีรายละเอียด ดังนี้

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คืออะไร

เป็นการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนเพื่อสรุปความคิดรวบยอดของผู้เรียนหลังจาก การเรียนรู้มาตลอดภาคเรียน/ปีการศึกษา ได้แก่การสอบกลางภาค/ปีและการสอบ ปลายภาค/ปี ครูผู้สอนควรกาหนดกรอบในการวัดและประเมินผล โดยพิจารณาคัดเลือกมาตรฐานและ ตัวชี้วัดสาคัญที่สามารถสะท้อนความคิดรวบยอดของผู้เรียนตลอดปีการศึกษา/ภาคเรียน

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ยึดหลักการข้อใด การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีกี่ระดับ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คืออะไร การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ doc เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีอะไรบ้าง องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 doc คู่มือการวัดและประเมินผล 2564 doc การตัดสินผลการเรียน หลักสูตร 2551