หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีกี่สมรรถนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการสอนลูกเสือ หนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากผลการวิจัยและการประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยเน้นการปรับปรุงข้อผิดพลาดและอุปสรรคของการใช้หลักสูตรที่เกิดขึ้น[1] หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับนี้ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยเริ่มใช้นำร่องครั้งแรกในปีการศึกษา 2552 และบังคับใช้ทั่วประเทศในทุกชั้นเรียนปีการศึกษา 2555[2] หลักสูตรฉบับนี้มีการปรับปรุงล่าสุดใน พ.ศ. 2560[3] อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยกเลิกหรือปรับหลักสูตรฉบับนี้ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งเป้าหมายจะนำร่องหลักสูตรฉบับใหม่ใน พ.ศ. 2565[4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. สี่มหาศาล, เอกรินทร์. เรื่องน่ารู้สู่การใช้หลักสูตรแกนกลาง '51. อักษรเจริญทัศน์ อจท. p. 1.
  2. "ความเป็นมาของการปรับหลักสูตร" (PDF). สพม. 23. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  3. "คำสั่ง สพฐ. 2 ฉบับ ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และการปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551". ครูบ้านนอก.คอม. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  4. ""ณัฏฐพล" จี้ใช้หลักสูตรใหม่ปี 65-เน้นฐานสมรรถนะ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  5. ""ณัฏฐพล" ลุยโละหลักสูตรฐานสมรรถนะ เขย่าใหม่เน้นเด็กคิดวิเคราะห์". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  6. "กระทรวงศึกษาธิการยกเครื่องหลักสูตรขั้นพื้นฐานใหม่ ให้มีความทันสมัย". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีกี่สมรรถนะ
บทความเกี่ยวกับการศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช_2551&oldid=9207507"

หมวดหมู่:

  • หลักสูตร
  • การศึกษาในประเทศไทย

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ซึ่งหลักสูตรแบบอิงมาตรฐาน (Standards-Based Curricullum)  อาจสรุปเป็นหัวใจ ได้ดังนี้

เริ่มจากวิสัยทัศน์ :

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

6 มาจาก หลักการ 6 ประการ

5 มาจาก จุดหมาย 5 ประการ

5 มาจาก สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  5 ประการ

8 มาจาก คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ

8 มาจาก มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระ (Strans) 67 มาตรฐานตัวบ่งชี้

3 มาจาก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  3 ประการ

วิสัยทัศน์

                         หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

หลักการมี 3 ประการดังนี้

              1.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

2.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

3.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น

4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้

5.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

6.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์  

จุดหมาย

             มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข   มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ   ได้กำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ดังนี้

1.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต

3.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

4.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ           การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

                มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 5 ประการ ดังนี้

                 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

                 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น    ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

                 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้

1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

2.  ซื่อสัตย์สุจริต

3.  มีวินัย

4. ใฝ่เรียนรู้

5. อยู่อย่างพอเพียง

6.  มุ่งมั่นในการทำงาน

7.  รักความเป็นไทย

8.  มีจิตสาธารณะ

มาตรฐานการเรียนรู้

                การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา ได้กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

1.      ภาษาไทย

2.    คณิตศาสตร์

3.     วิทยาศาสตร์

4.     สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

5.     สุขศึกษาและพลศึกษา

6.      ศิลปะ

7.     การงานอาชีพและเทคโนโลยี

8.     ภาษาต่างประเทศ

ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม   ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น               ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม  นำไปใช้                                 ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน 

1. ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ          (ประถมศึกษาปีที่ 1มัธยมศึกษาปีที่ 3)           

2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ 4- 6)

 หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสารตรงกัน ดังนี้

ว 1.1 ป. 1/2

ป.1/2        ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ข้อที่ 2

1.1            สาระที่ 1  มาตรฐานข้อที่ 1    

                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ต 2.2 ม.4-6/ 3

ม.4-6/3      ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ข้อที่ 3

2.3            สาระที่ 2  มาตรฐานข้อที่ 2

                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1.กิจกรรมแนะแนว

2.กิจกรรมนักเรียน

3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

รายละเอียด ศึกษาเพิ่มเติมที่ www.curriculum51.net

หลักสูตรแกนกลาง 2551 มีกี่สมรรถนะ

ในการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด สมรรถนะที่ 3 ความสามารถในการแก้ปัญหา สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต สมรรถนะที่ 5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญกี่ประการ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการ พัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญประการ ดังนี้ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก ...

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรแบบใด

๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล ๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในหลักสูตรสมรรถนะมีกี่ข้อ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้นจะช่วยให้ผุ้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการดังนี้.
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์.
ซื่อสัตย์สุจริต.
มีวินัย.
ใฝ่เรียนรู้.
อยู่อย่างพอเพียง.
มุ่งมั่นในการทำงาน.