คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิด ใด สามารถ รับ รู้ ด้วย ระบบ ประสาท สัมผัส

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

Show

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

รังสีอินฟราเรด

อินฟราเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงความยาวคลื่น ประมาณ 700 nm-1 mm ในสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รังสีอินฟราเรดอยู่ระหว่างไมโครเวฟกับแสงที่ตามองเห็น ด้วยเหตุนี้จึงมีการระบุชื่ออินฟรา-เรดให้เจาะจงได้ เช่น อินฟราเรดใกล้ (near infrared) หมายถึงอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นอยู่ใกล้แสงที่ตามองเห็น ส่วนอินฟราเรดไกล (far infrared) จะหมายถึงอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นใกล้กับไมโครเวฟ

อินฟราเรดไกลเป็นคลื่นความร้อน เมื่อร่างกายของเราได้รับแสงแดด หรืออยู่ไกล้กองไฟ แล้วรู้สึกร้อน เป็นผลของรังสีอินฟราเรดชนิดนี้ทั้งสิ้น ระบบประสาทสัมผัสที่มีปลายเส้นประสาทอยู่ตามใต้ผิวหนังสามารถตรวจจับคลื่นความร้อนนี้ได้ดีเพื่อให้รับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของร่างกายกับสิ่งที่สัมผัสนอกผิวหนัง ส่วนอินฟราเรดใกล้ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่ทำให้เรารู้สึกร้อน อินฟราเรดคลื่นสั้นชนิดนี้นำมาใช้มากในอุปกรณ์ควบคุมระยะไกลของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น รีโมตของเครื่องรับทีวี และวิทยุ เหล่านี้เป็นต้น 
  

วัตถุทุกชนิดที่มีอุณหภูมิสูงกว่าศูนย์เคลวินล้วนแล้วเปล่งคลื่นอินฟราเรดออกมาได้ทั้งสิ้น ร่างกายของมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งของอื่นๆรอบๆกายเราจึงเปล่งคลื่นอินฟราเรดออกมาตลอดเวลา สัตว์บางชนิด เช่น งู สามารถจับสัญญาณคลื่นความร้อนของเหยื่อได้ นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์กล้องส่องเวลากลางคืนที่สามารถจับภาพสรรพสิ่งที่เปล่งรังสีอินฟราเรด แล้วใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์แปลงให้เป็นสัญญาณคลื่นแสงที่ตามองเห็นได้ อีกทีหนึ่ง (รูป 10) นอกจากนี้ ดาวเทียมสำรวจทรัพย์ยากรของโลก( เช่น ป่าไม้ และแหล่งน้ำ ) LANDSAT 7 บันทึกภาพการเปลี่ยนแปลงบนผิวโลกโดยอาศัยปริมาณการเปลี่ยนแปลงของคลื่นอินฟราเรดของผิวโลกบริเวณที่ต้องการตรวจจับเพื่อนำข้อมูลและภาพที่ได้ไปวิเคราะห์อีกทีหนึ่ง ในโครงการสำรวจอวกาศของสหรัฐใช้ดาวเทียม IRAS (Infrared Astronomy Satellite) ศึกษาห้วงอวกาศโดยวัดปริมาณอินฟราเรดที่มาจากกลุ่มฝุ่น แก็ส ดาวฤกษ์ หรือแกแลกซีต่างๆเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านั้น


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที


  • ตอนที่ 1 : ไมโครเวฟ
  • ตอนที่ 2 : รังสีอินฟราเรด
  • ตอนที่ 3 : แสงที่มองเห็น
  • ตอนที่ 4 : รังสีอัลตราไวโอเลต
  • ตอนที่ 5 : รังสีเอ็กซ์
  • ตอนที่ 6 : รังสีแกมมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิด ใด สามารถ รับ รู้ ด้วย ระบบ ประสาท สัมผัส

นกพิราบสื่อสารสามารถกลับบ้านโดยใช้ประสาทสัมผัสที่รู้สนามแม่เหล็กของโลกและใช้ตัวช่วยอื่น ๆ เพื่อหาทิศทาง

การรับรู้สนามแม่เหล็ก (อังกฤษ: magnetoreception, magnetoception) เป็นประสาทสัมผัสที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถตรวจจับสนามแม่เหล็กเพื่อรู้ทิศทาง ความสูง และตำแหน่งได้ สัตว์มากมายหลายชนิดใช้ประสาทสัมผัสเช่นนี้เพื่อรู้ทิศทางร่างกายของตน เพื่อหาทาง หรือเพื่อสร้างแผนที่[1] เมื่อหาทิศทาง การรับรู้สนามแม่เหล็กเป็นการตรวจจับสนามแม่เหล็กของโลก

การรับรู้สนามแม่เหล็กมีอยู่ในแบคทีเรีย สัตว์ขาปล้อง มอลลัสกา และสัตว์ในกลุ่มอนุกรมวิธานใหญ่ ๆ ของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด[1] มนุษย์เชื่อว่าไม่มีประสาทสัมผัสเยี่ยงนี้ แต่ก็มีโปรตีนคริปโตโครม[A]ในตาซึ่งสามารถทำหน้าที่เช่นนี้ได้[2] และในปี 2019 นักวิจัยกลุ่มหนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่า ให้หลักฐานทางประสาทวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกที่แสดงว่ามนุษย์สามารถรับรู้สนามแม่เหล็กโลก[3]

กลไกที่เสนอ[แก้]

แบคทีเรียแมกนีโตแท็กติก[แก้]

แบคทีเรียแมกนีโตแท็กติก (magnetotactic bacteria) เป็นกลุ่มแบคทีเรียจากหลายชาติพันธุ์ที่รู้ว่าใช้สนามแม่เหล็กเพื่อจัดทิศทางของตน แบคทีเรียเหล่านี้มีพฤติกรรมที่เรียกว่า magnetotaxis เป็นวิธีที่แบคทีเรียจัดตัวเองแล้วอพยพไปในทิศทางตามเส้นสนามแม่เหล็กของโลก แบคทีเรียมีแมกนีโตโซม (magnetosome) ซึ่งเป็นอนุภาคแมกนีไทต์ (Fe3O4) หรือ iron sulfide (Fe3S4) ขนาดนาโนเมตรภายในตัวเซลล์[4] แมกนีโตโซมจะล้อมด้วยเยื่อซึ่งประกอบด้วยฟอสโฟลิพิดบวกกรดไขมัน และมีโปรตีนอย่างน้อย 20 ชนิด[5] โดยจัดเป็นโซ่ที่โมเมนต์แม่เหล็ก (magnetic moment) ของแมกนีโตโซมแต่ละอนุภาคจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้แบคทีเรียแต่ละตัวเป็นเหมือนกับแม่เหล็กถาวร

คริปโตโครม[แก้]

กลไกการรับรู้สนามแม่เหล็กของสัตว์ยังไม่ชัดเจน แต่มีสมมติฐานหลัก 2 อย่างที่อธิบายปรากฏการณ์นี้[6] ตามแบบจำลอง/สมมติฐานแรก การรับรู้สนามแม่เหล็กเป็นไปได้เพราะ radical pair mechanism[7] ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ชัดเจนแล้วในสาขา spin chemistry[8][9][10] จึงได้คาดตั้งแต่ปี 1978 ว่า เป็นกลไกของการรับรู้สนามแม่เหล็ก

ในปี 2000 คริปโตโครม (cryptochrome)[A] ได้เสนอว่าเป็น "โมเลกุลแม่เหล็ก" ที่อาจมี radical pair ที่ไวสนามแม่เหล็ก คริปโตโครมเป็น flavoprotein ที่พบในตาของนกรอบินยุโรป (Erithacus rubecula, European robin) และสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ เป็นโปรตีนเดียวที่รู้ว่าก่อ radical pair เนื่องกับแสงภายในสัตว์[7] หน้าที่ของคริปโตโครมจะต่างกันในสปีชีส์ต่าง ๆ แต่การก่อ radical pair จะเกิดต่อเมื่อได้รับแสงสีน้ำเงิน ซึ่งกระตุ้นอิเล็กตรอนในส่วนกำเนิดสี (chromophore)[12] สนามแม่เหล็กโลกมีแรงเพียงแค่ 0.5 เกาส์ radical pair จึงเป็นกลไกเดียวที่รู้ซึ่งสนามแม่เหล็กอ่อน ๆ สามารถมีผลต่อกระบวนการเคมี[13] คริปโตโครมจึงเชื่อว่าจำเป็นต่อสมรรถภาพการรับรู้สนามแม่เหล็กอาศัยแสงของแมลงวันทอง[14]

เหล็ก[แก้]

แบบจำลองที่สองของการรับรู้สนามแม่เหล็กอาศัยเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธรรมชาติที่มีกำลังแม่เหล็กแรง แนวคิดนี้เป็นที่นิยมเพราะมันเสริมสมรรถภาพการรับรู้แม่เหล็กของแบคทีเรียแมกนีโตแท็กติก หย่อมเหล็กได้พบโดยหลักในนกพิราบสื่อสารที่ปากด้านบน[15] แต่ก็พบในสัตว์ในอนุกรมวิธานอื่น ๆ ด้วย[16]

หย่อมเหล็กเช่นนี้พบว่าเป็นสารประกอบสองอย่าง คือ magnetite (Fe3O4) และ maghemite (γ-Fe2O3) ทั้งสองเชื่อว่าเชื่อมกับระบบประสาทกลางและมีบทบาทในประสาทสัมผัสแม่เหล็กโดยเฉพาะเพื่อสร้างแผนที่แม่เหล็ก[17][18] แต่งานวิจัยที่เพ่งความสนใจไปที่หย่อมแมกนีไทต์ก็พบว่า ไม่ใช่เซลล์ประสาทที่ไวแม่เหล็ก[19]

ส่วน maghemite ได้พบเป็นเกล็ดรูปร่างคล้ายกับเกล็ดเลือด อยู่ตามเดนไดรต์รับความรู้สึก (sensory dendrite) ของปากด้านบนของนก มีขนาดเล็กเป็นนาโนเมตร และเมื่ออยู่ในขนาดเช่นนี้ เหล็กออกไซด์จะกลายเป็นแม่เหล็กถาวรเมื่อยาวกว่า 50 นาโนเมตร และจะเริ่มกลายเป็นแม่เหล็กเมื่อสั้นกว่า 50 นาโนเมตร เพราะเกล็ดอยู่จับเป็นกลุ่มขนาด 5-10 เกล็ด จึงเชื่อว่าพวกมันจะก่อไดโพลแม่เหล็กโดยจำกัดอยู่ที่เดนไดรต์ซึ่งมันอยู่ ความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กเฉพาะที่ก็จะก่อการตอบสนองเชิงกลตามเยื่อของเซลล์ประสาท ทำให้ความเข้มข้นของไอออนเปลี่ยนไป ความเข้มข้นของไอออนเช่นนี้ เมื่อเทียบกับกลุ่มเดนไดรต์อื่น ๆ เชื่อว่า ก่อการรับรู้สนามแม่เหล็ก[18]

กระเปาะลอเร็นซีนี[แก้]

กลไกรับรู้สนามแม่เหล็กอีกอย่างที่กล่าวถึงก็คือการรู้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของฉลาม ปลากระเบนธง และปลาอันดับ Chimaeriformes (ghost shark) ซึ่งล้วนเป็นปลากระดูกอ่อน ปลาเหล่านี้มีอวัยวะรับรู้ไฟฟ้าพิเศษที่เรียกว่า กระเปาะลอเร็นซีนี (ampullae of Lorenzini) ซึ่งสามารถตรวจจับความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของศักย์ไฟฟ้า อวัยวะเช่นนี้ประกอบด้วยรูที่มีเยื่อเมือกเต็มซึ่งเชื่อมรูผิวหนังไปถึงถุงเล็ก ๆ ภายในเนื้อโดยถุงก็มีเยื่อเมือกเต็มเหมือนกัน อวัยวะสามารถตรวจจับไฟฟ้ากระแสตรง และมีการเสนอว่า เพื่อใช้ตรวจสนามไฟฟ้าอ่อน ๆ ที่ทั้งเหยื่อและสัตว์ล่าก่อขึ้น (เพราะประสาทและกล้ามเนื้อ) อวัยวะเช่นนี้อาจรู้สนามแม่เหล็กได้อาศัยกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ คือเมื่อวัตถุนำไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กก็จะสร้างศักย์ไฟฟ้า ในกรณีนี้ ตัวนำไฟก็คือสัตว์ที่เคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก และศักย์ไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำ (Vind) จะขึ้นอยู่กับอัตราความเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กผ่านวัตถุนำไฟตามสมการ

อวัยวะเช่นนี้สามารถตรวจจับการขึ้น ๆ ลง ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ ของความต่างศักย์ระหว่างรูกับฐานของถุงตัวรับรู้ไฟฟ้า

ศักย์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมีผลเป็นอัตราการทำงานทางประสาทที่ลดลง และศักย์ที่ลดลงมีผลเป็นอัตราการทำงานของประสาทที่เพิ่มขึ้น นี่เหมือนกับตัวนำไฟที่กำลังนำไฟฟ้า คือถ้าช่องมีความต้านทานตายตัว ศักย์ที่เพิ่มขึ้นก็จะลดกระแสไฟฟ้าที่ตรวจจับได้ โดยนัยตรงข้ามก็กลับกัน ตัวรับไฟฟ้าอยู่ตามปากและจมูกของฉลามและปลากระเบนธง[20][21] แม้จะยังเป็นเรื่องไม่ยุติแต่ก็มีการเสนอว่า ในสัตว์บก หลอดกึ่งวงกลมภายในหูชั้นในสามารถมีระบบไวแม่เหล็กที่อาศัยการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าแม่เหล็ก[22]

ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและปลา[แก้]

นีมาโทดา Caenorhabditis elegans[แก้]

นีมาโทดา Caenorhabditis elegans เสนอว่า ปรับทิศทางให้ตรงกับสนามแม่เหล็กโลกโดยใช้ชุดเซลล์ประสาทรับรู้สนามแม่เหล็กที่ได้อธิบายเป็นชุดแรกในปี 2015[23] คือ หนอนดูเหมือนจะใช้สนามแม่เหล็กเพื่อปรับทิศทางในช่วงการอพยพขึ้นลงในดิน โดยขั้วบวกลบจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับความหิว คือ หนอนที่หิวจะชอนลงในดิน ส่วนหนอนที่อิ่มจะชอนขึ้น แต่หลักฐานจากงานปี 2018 ดูเหมือนจะคัดค้านสิ่งที่พบเหล่านี้[24][25]

ทากทะเล Tochuina tetraquetra[แก้]

ส่วนทากทะเลพันธุ์ Tochuina tetraquetra (เคยจัดเป็น Tritonia diomedea หรือ Tritonia gigantea) ได้ใช้ศึกษาว่าอะไรเป็นกลไกทางประสาทของการรับรู้สนามแม่เหล็ก งานแรก ๆ สุด ใน Tochuina พบว่า ก่อนพระจันทร์จะเต็มดวง ทากจะปรับทิศทางร่างกายให้อยู่ระหว่างทิศเหนือ (ตามสนามแม่เหล็กโลก) กับทิศตะวันออก[26] คือได้สร้างทางแยกเป็นรูปตัว Y ทางขวาไปทางทิศใต้ (ตามสนามแม่เหล็กโลก) และทางซ้ายไปทางตะวันออก ในสนามแม่เหล็กปกตินี้ ทาก 80% ไปทางซ้ายคือทางทิศตะวันออก

แต่เมื่อกลับขั้วสนามแม่เหล็กด้วยเครื่องคือย้ายทิศเหนือไป 180° ทากกลับไม่เลือกทางใดทางหนึ่งมากกว่า โดยทางแยกเท่ากับไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก แม้ผลการทดลองจะน่าสนใจ แต่ก็ไม่ทำให้สรุปได้ว่า ทากสามารถรับรู้สนามแม่เหล็ก เพราะการทดลองไม่มีกลุ่มควบคุมสำหรับการใช้อุปกรณ์คือ Rubens’ coil เพื่อเปลี่ยนขั้วสนามแม่เหล็ก ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าความร้อนหรือเสียงที่เครื่องสร้างทำให้ทากไม่เลือกทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ แต่งานศึกษาต่อ ๆ มาก็ไม่สามารถระบุเซลล์ประสาทที่ส่งกระแสประสาทอันเปลี่ยนไปเนื่องกับสนามแม่เหล็ก[27][28]

อย่างไรก็ดี เซลล์ประสาท pedal 5 ซึ่งเป็นนิวรอนสมมาตรสองระนาบ (bisymmetric neuron) ซึ่งอยู่ที่ pedal ganglion จะค่อย ๆ เปลี่ยนการส่งกระแสประสาทติดตามการกระตุ้นทางแม่เหล็กด้วย Rubens’ coil เป็นเวลา 30 นาที งานศึกษาต่อมาพบว่า เซลล์ประสาท pedal 7 จะได้การยับยั้ง (inhibited) เมื่อกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็ก 30 นาที แต่หน้าที่ของเซลล์ประสาททั้งสองในปัจจุบันก็ยังไม่ชัดเจน

แมลงวันทอง[แก้]

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิด ใด สามารถ รับ รู้ ด้วย ระบบ ประสาท สัมผัส

แมลงวันทอง (Drosophila melanogaster) ต้องมีโปรตีนคริปโตโครม[A]เพื่อตอบสนองต่อสนามแม่เหล็ก

แมลงวันทอง (Drosophila melanogaster) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกอย่างที่อาจปรับตัวให้เข้ากับสนามแม่เหล็กได้ เทคนิกการทดลอง เช่น gene knockouts คือการทำให้ยีนหนึ่ง ๆ ไม่ทำงาน ช่วยให้สามารถตรวจสอบการรับรู้สนามแม่เหล็กอย่างละเอียดในแมลงวัน มีแมลงวันทองหลายสายพันธุ์ที่ฝึกให้ตอบสนองต่อสนามแม่เหล็ก[14] ในการทดลองแบบให้เลือก (Preference tests) จะใส่แมลงวันในอุปกรณ์ที่มีแขนสองแขนที่ล้อมด้วยขดลวดไฟฟ้า โดยจะมีไฟฟ้าวิ่งผ่านทั้งสองขด แต่เพียงขดเดียวเท่านั้นที่จัดให้สร้างสนามแม่เหล็กโดยมีกำลัง 5 เกาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบแมลงวันว่ารับรู้สนามแม่ตามธรรมชาติหรือไม่ คือตรวจดูตามการตอบสนองหลังจากฝึกให้รู้ว่ามีน้ำหวานอยู่ในแขนที่มีสนามแม่เหล็ก

แมลงวันหลายสายพันธุ์แสดงความชอบใจแขนที่มีสนามแม่เหล็กซึ่งได้เรียนรู้หลังจากฝึก แต่เมื่อโปรตีนคริปโตโครมเดียว[A]ที่พบในแมลงวันคือยีน type 1 Cry เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการกลายพันธุ์แบบ missense mutation[B] หรือแบบแทนที่ด้วยยีนอื่น แมลงวันก็ไม่แสดงว่าไวต่อสนามแม่เหล็กอีกต่อไป อนึ่ง เมื่อกรองแสงให้ความยาวคลื่นเกิน 420 นาโนเมตรเท่านั้นผ่านเข้ามาได้ แมลงวันก็จะไม่ตอบสนองอย่างเดียวกันตามที่ฝึกกับสนามแม่เหล็ก ซึ่งน่าจะเชื่อมกับการทำงานของคริปโตโครมของแมลงวันในสเปกตรัมแสงพิสัย 350-400 นาโนเมตรโดยถึงเขตที่ไม่ทำงานระหว่างพิสัย 430-450 นาโนเมตร[29]

แม้นักวิจัยจะเชื่อว่า กรดอะมิโนอัลฟาคือ tryptophan 3 ตัวจะเป็นก่ออนุมูลอิสระที่สนามแม่เหล็กอาจมีผล งานปี 2010 ในแมลงวันแสดงว่า tryptophan อาจไม่ใช่เหตุการรับรู้สนามแม่เหล็กที่อาศัยคริปโตโครม เพราะการเปลี่ยน tryptophan ไม่ได้ทำให้แมลงวันที่แสดงออกยีน type 1 Cry หรือ type 2 Cry (ซึ่งเป็นยีนคริปโตโครมที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง)[30] ดังนั้น จึงยังไม่ชัดเจนว่าคริปโตโครมสื่อการรับรู้สนามแม่เหล็กได้อย่างไร อนึ่ง การทดลองเหล่านี้ใช้สนามแม่เหล็กขนาด 5 เกาส์ ซึ่งมีกำลังเป็น 10 เท่าของสนามแม่เหล็กโลก และแมลงวันทองก็ไม่ปรากฏว่าสามารถตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กโลกที่อ่อนกว่ามาก

ผึ้ง มด และปลวก[แก้]

ผึ้งสกุล Apis (honey bee) มด และปลวกปรากฏอย่างชัดเจนแล้วว่าสามารรับรู้สนามแม่เหล็ก[31] ในมดและผึ้ง นี่ใช้ปรับทิศทางและหาทางในบริเวณรอบ ๆ รังและภายในเส้นทางที่อพยพ[32] เช่น ผึ้งบราซิลไม่ต่อยพันธุ์ Schwarziana quadripunctata สามารถแยกแยะความสูง ตำแหน่ง และทิศทาง โดยใช้อนุภาคที่คล้ายขนเป็นพัน ๆ บนหนวด[33]

ปลาแซลมอน[แก้]

การศึกษาการรับรู้สนามแม่เหล็กในปลามีกระดูกสันหลังโดยหลักทำกับปลาแซลมอน ยกตัวอย่างเช่น มีการพบเข็มทิศธรรมชาติในปลาแซลมอนซ็อกอาย (Oncorhynchus nerka)[34] นักวิจัยค้นพบโดยใส่ลูกปลาในถังกลมแล้วปล่อยให้มันออกตามทางออกได้อย่างเป็นอิสระ แล้วคำนวณเวกเตอร์เฉลี่ยแสดงทิศทางที่ปลาชอบภายในสนามแม่เหล็กธรรมชาติ แต่เมื่อกลับขั้วสนามแม่เหล็ก ปลาก็เปลี่ยนความชอบตามทิศทางสนามแม่เหล็กไปด้วย[34] ดังนั้น นักวิจัยจึงสรุปว่า พฤติกรรมว่ายน้ำไปในทิศต่าง ๆ ของปลาแซลมอนซ็อกอายได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็ก

งานวิจัยต่อมาตรวจดูการรับรู้สนามแม่เหล็กของปลาแซลมอนชินูก (Oncorhynchus tschawytscha) เพื่อจัดให้ปลาชอบทิศทางในแนวตะวันออก-ตะวันตก (ตามสนามแม่เหล็กโลก) จึงใส่ปลาลงถังน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่น้ำไหลจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเป็นเวลา 18 เดือน[35] และยังเลี้ยงอาหารปลาที่สุดถังทางทิศตะวันตกในช่วงนี้ด้วย เมื่อใส่ปลาแซลมอนกลุ่มเดียวกันในถังกลมที่น้ำไหลอย่างสมมาตรกัน ปลากก็ชอบวางตัวไปตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกตามคาด แต่เมื่อหมุนขั้วสนามแม่เหล็ก 90 องศา ปลาก็เปลี่ยนแนวที่ชอบ 90 องศาเช่นกัน[35] นักวิจัยจึงสรุปว่า ปลาแซลมอนชินูกมีสมรรถภาพในการใช้ข้อมูลสนามแม่เหล็กเพื่อหาทิศทาง

ปลาตูหนา[แก้]

งานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งงานยังได้รายงานการรับรู้สนามแม่เหล็กของปลาตูหนายุโรป (วงศ์ปลาตูหนา Anguilla anguilla, European eel)[36]

ในสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน[แก้]

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานจำนวนหนึ่งรวมทั้งซาลาแมนเดอร์ คางคก และเต่า มีพฤติกรรมวางแนวร่างของตนตามแนวสนามแม่เหล็กโลก

ซาลาแมนเดอร์[แก้]

งานศึกษาต้น ๆ กับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกได้ทำกับซาลาแมนเดอร์ถ้ำ (Eurycea lucifuga, cave salamander) คือนักวิจัยได้ใส่ซาลาแมนเดอร์ถ้ำให้อยู่ในช่องทางเดินที่จัดแนวสองอย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เหนือ-ใต้ หรือตะวันออก-ตะวันตก (ตามสนามแม่เหล็กโลก) การทดลองต่อมาหมุนขั้วสนามแม่เหล็กไป 90 องศา แล้วใส่ซาลาแมนเดอร์ในโครงสร้างรูปกางเขน คือมีช่องทางเดินหนึ่งตามแนวเหนือใต้ที่ตัดกับช่องทางเดินแนวตะวันออก-ตะวันตก[37] เพราะซาลาแมนเดอร์ชอบทางในแนวที่เหมือนกับช่องทางเดินแรกที่ตนอยู่ นักวิจัยจึงสรุปว่า ซาลาแมนเดอร์ถ้ำมีสมรรถภาพในการตรวจจับสนามแม่เหล็กโลก และชอบเคลื่อนไหวตามแนวที่ตนได้เรียนรู้ตั้งแต่ต้น[37]

นิวต์[แก้]

งานวิจัยต่อมาตรวจสอบการรับรู้สนามแม่เหล็กในสถานการณ์ธรรมชาติ ตามปกติแล้ว นิวต์พันธุ์ Notophthalmus viridescens (Eastern newt) ตอบสนองต่ออุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นมาก (ซึ่งมักจะบ่งความเสื่อมทางสิ่งแวดล้อม) โดยปรับแนวตัวให้ตรงกับชายฝั่งแล้วไปที่นั้น[38] แต่ถ้าเปลี่ยนแนวสนามแม่เหล็กในการทดลอง พฤติกรรมนี้จะชะงัก แนวที่วางตัวจะทำให้นิวต์ไม่สามารถไปถึงชายฝั่งได้[38] โดยแนวแปรไปตามองศาที่เปลี่ยนสนามแม่เหล็ก[38] ซึ่งก็คือ ถ้าเปลี่ยนแนวสนามแม่เหล็ก 180 องศา นิวต์ก็จะหันหน้าผิดทิศไป 180 องศาเช่นกัน งานวิจัยต่อมาได้แสดงว่า นิวต์ไม่ได้ใช้ประสาทสัมผัสนี้เพื่อหาทิศชายฝั่งอย่างเดียว แต่เพื่อหาทิศของสระน้ำที่อยู่ด้วย[39] สรุปก็คือ ดูเหมือนว่านิวต์พันธุ์นี้ต้องพึ่งสนามแม่เหล็กโลกเพื่อหาทิศทางของโลกรอบตัว โดยเฉพาะเมื่อหาทิศทางของชายฝั่งหรือของแหล่งที่อยู่[38]

คางคก[แก้]

โดยนัยเดียวกัน คางคกยุโรป (Bufo bufo, European toad) และคางคกแน็ตเตอร์แจ็ก (Bufo calamita, Natterjack toad) ดูเหมือนจะพึ่งข้อมูลสนามแม่เหล็กเป็นบางส่วนในพฤติกรรมหาทิศทางบางอย่าง สัตว์อันดับกบเหล่านี้รู้กันว่า อาศัยการเห็นและการได้กลิ่นเพื่อระบุตำแหน่งและอพยพไปยังที่ผสมพันธุ์ แต่สนามแม่เหล็กก็อาจมีบทบาทด้วยเหมือนกัน ถ้าจับจากที่ผสมพันธุ์ไปปล่อยที่อื่นโดยสุ่ม คางคกเหล่านี้ก็ยังรู้ทิศทางดี และสามารถหาทางกลับไปได้ แม้จะย้ายที่ไปเกินกว่า 150 เมตร[40] แต่ถ้าย้ายที่ไปแล้วจับแขวนแท่งแม่เหล็กเล็ก ๆ คางคกก็จะกลับไปที่ผสมพันธุ์ไม่ได้[41] แต่ถ้าแขวนแท่งที่ไม่ใช่แม่เหล็กแต่มีขนาดและน้ำหนักเท่ากัน ก็จะไม่มีผลต่อการหาทางกลับ จึงปรากฏว่าแม่เหล็กเป็นเหตุให้คางคกหลงทิศ[41] ดังนั้น นักวิจัยจึงสรุปว่า การหาทิศทางไปยังที่ผสมพันธุ์ของสัตว์เหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็ก[40]

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิด ใด สามารถ รับ รู้ ด้วย ระบบ ประสาท สัมผัส

เต่า[แก้]

การศึกษาเรื่องการรับรู้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าในสัตว์เลื้อยคลานได้ทำกับเต่า หลักฐานการรับรู้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าของเต่าแรก ๆ สุดพบในเต่า Terrapene carolina (common box turtle) หลังจากสอนให้กลุ่มเต่านี้ว่ายน้ำไปทางสุดถังทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก การวางแม่เหล็กที่มีกำลังในถังก็พอขัดการว่ายน้ำไปตามเส้นทางที่เรียนรู้มาเช่นนี้[42] ดังนั้น การเรียนรู้ทิศทางการว่ายน้ำดูเหมือนจะอาศัยเข็มทิศภายในของเต่า การค้นพบแมกนีไทต์ในเยื่อดูราของลูกเต่าทะเล (superfamily "Chelonioidea") สนับสนุนข้อสรุปนี้ คือแมกนีไทต์มีบทบาทในการรับรู้สนามแม่เหล็กของเต่า[43]

อีกประการหนึ่ง การหันหน้าไปสู่ทะเลซึ่งเป็นพฤติกรรมสามัญของลูกเต่าสปีชีส์ต่าง ๆ อาจอาศัยการรับรู้สนามแม่เหล็กเป็นบางส่วน เต่าหัวค้อนและเต่ามะเฟืองผสมพันธุ์ที่ชายหาด และหลังออกจากไข่ ลูกเต่าจะรีบคลานลงสู่ทะเล แม้ความสว่างที่ต่าง ๆ กันดูเหมือนจะขับพฤติกรรมนี้ แต่แนวสนามแม่เหล็กก็อาจมีบทบาท ยกตัวอย่างเช่น ทิศทางที่ลูกเต่าชอบไป (ซึ่งไปจากชายหาดสู่ทะเล) จะกลับทางถ้ากลับขั้วสนามแม่เหล็ก ซึ่งแสดงว่า สนามแม่เหล็กโลกเป็นหลักให้หาทิศทางได้อย่างถูกต้อง[44]

ในนกพิราบสื่อสาร[แก้]

นกพิราบสื่อสาร (homing pigeon) สามารถใช้สนามแม่เหล็กโดยเป็นส่วนของระบบการนำทางที่ซับซ้อนของพวกมัน[45] ศาสตราจารย์ชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลได้แสดงว่า นกพิราบสื่อสารที่ผิดเวลา (time-shifted) ไม่สามารถหาทิศทางอย่างถูกต้องในวันที่อากาศแจ่มใส มีแดด ซึ่งโทษว่า นกไม่สามารถชดเชยการดำเนินของพระอาทิตย์อย่างถูกต้อง แต่นกผิดเวลาที่ปล่อยในวันที่ปกคลุมด้วยเมฆกลับหาทางได้ถูกต้อง ซึ่งนำไปสู่สมมติฐานว่า ในภาวะบางอย่าง นกพิราบสื่อสารจะพึ่งสนามแม่เหล็กเพื่อหาทิศทาง การทดลองต่อมาซึ่งติดแม่เหล็กที่หลังของนกแสดงว่า การขัดการรับรู้สนามแม่เหล็กโลกของนก ทำให้นกไม่สามารถหาทิศทางได้ถูกในวันที่เมฆปกคลุม[46]

การรับรู้สนามแม่เหล็กของนกพบว่ามีกลไกสองอย่าง คือ free-radical pair mechanism ที่การเห็นเป็นตัวสื่อ และเข็มทิศหรือมาตรความเอียงธรรมชาติที่ใช้แมกนีไทต์[47] การทดลองเชิงพฤติกรรมในงานศึกษาปี 2004 แสดงว่า นกสามารถตรวจจับความแตกต่างของสนามแม่เหล็กเพียงแค่ขนาด 186 ไมโครเทสลา (1.86 เกาส์)[48] คือ ในการทดลองแบบให้เลือก ได้ฝึกนกให้กระโดดขึ้นบนแท่นตรงสุดอุโมงค์ข้างหนึ่งถ้าไม่มีสนามแม่เหล็ก และให้กระโดดไปที่สุดอุโมงค์อีกข้างหนึ่งถ้ามีสนามแม่เหล็ก นกจะได้อาหารเป็นรางวัลและถูกลงโทษถ้าทำช้าเกินไป พบว่า นกพิราบสื่อสารสามารถเลือกได้ถูกต้อง 55%-65% ซึ่งสูงกว่าถ้านกเพียงแค่เดา

เป็นเวลายาวนานมากที่ระบบประสาทไทรเจมินัลเชื่อว่า เป็นตำแหน่งที่อยู่ของตัวรับรู้สนามแม่เหล็กของนกพิราบ เพราะการค้นพบสองอย่างคือ มีรายงาน (2003) ว่าเซลล์ที่มีแมกนีไทต์อยู่ที่ตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ ที่ปากด้านบน[49] แต่งานศึกษาต่อ ๆ มา (2012, 2018) พบว่า เซลล์เหล่านี้เป็นแมคโครฟาจ ไม่ใช่เซลล์ประสาทที่ไวสนามแม่เหล็ก[50][51]

อย่างที่สองคือ การตรวจจับสนามแม่เหล็กของนกจะบกพร่องถ้าตัดเส้นประสาทไทรเจมินัลออก หรือถ้าป้ายยาระงับความรู้สึกคือ lidocaine ที่เยื่อเมือกรับกลิ่น (olfactory mucosa)[52] แต่การป้ายยาก็อาจก่อผลที่ไม่จำเพาะเจาะจง และอาจไม่ได้กวนตัวรับรู้สนามแม่เหล็กโดยตรง[51] ดังนั้น บทบาทของระบบประสาทไทรเจมินัลจึงยังถกเถียงกันอยู่

ในการหาตัวรับความรู้สึกที่มีแมกนีไทต์ ได้พบเหล็กขนาดใหญ่ในออร์แกเนลล์คือคิวทิคูโลโซมในเซลล์ขนภายในหูชั้นในของนกพิราบ[53][54] ซึ่งอาจเป็นส่วนของระบบรับรู้สนามแม่เหล็กที่เป็นไปได้ แต่รวม ๆ แล้วก็คือ ตัวรับรู้สนามแม่เหล็กของนกพิราบสื่อสารยังไม่ชัดเจน

นอกจากตัวรับรู้สนามแม่เหล็ก ก็มีงานในเขตประสาทต่าง ๆ ที่อาจมีบทบาทแปลผลข้อมูลสนามแม่เหล็กในนกพิราบสื่อสาร เขตในสมองที่ทำงานเพิ่มขึ้นโดยตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กที่แรงระหว่าง 50-150 ไมโครเทสลาก็คือ posterior vestibular nuclei, ทาลามัสด้านบน (dorsal), ฮิปโปแคมปัส และ visual hyperpallium[55]

ในไก่เลี้ยง[แก้]

ไก่เลี้ยงมีการสะสมเหล็กที่เดนไดรต์รับความรู้สึก (sensory dendrite) ที่ปากด้านบนและมีสมรรถภาพรับรู้สนามแม่เหล็ก[56][57] เพราะไก่ใช้ข้อมูลทิศทางจากสนามแม่เหล็กโลกเพื่อหาทิศทางภายในบริเวณที่อยู่เล็ก ๆ โดยเปรียบเทียบ จึงเป็นไปได้ว่าการเล็มปากไก่ (เพื่อลดการตีกันที่ทำให้บาดเจ็บ มักทำกับไก่ที่วางไข่) ทำให้ไก่ไม่สามารถรู้ทิศทางในบริเวณกว้าง หรือทำให้เป็นปัญหาเมื่อเข้าออกจากอาคารในการเลี้ยงไก่แบบปล่อย (free-range systems)[58]

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[แก้]

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิด ใด สามารถ รับ รู้ ด้วย ระบบ ประสาท สัมผัส

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดรวมทั้งค้างคาวสีน้ำตาลใหญ่ (Eptesicus fuscus, big brown bat) สามารถใช้สนามแม่เหล็กเพื่อหาทิศทาง

งานศึกษาในหนูหริ่ง ตุ่น และค้างคาวแสดงว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางอย่างสามารถรับรู้สนามแม่เหล็ก

หนูวู๊ด[แก้]

เมื่อหนูวู๊ด (Apodemus sylvaticus, wood mouse) ถูกพรากจากที่อยู่แล้วไม่ให้เห็นไม่ให้ได้กลิ่น มันสามารถหันหน้าไปทางที่อยู่จนกระทั่งกลับขั้วสนามแม่เหล็ก[59] แต่ถ้าให้เห็น มันก็จะยังสามารถหันหน้าไปทางที่อยู่แม้สนามแม่เหล็กจะกลับขั้ว ซึ่งแสดงว่า เมื่อหนูออกจากที่อยู่ มันสามารถใช้สนามแม่เหล็กเพื่อหาทิศทางเมื่อไม่มีตัวช่วยให้รู้อื่น ๆ แต่งานศึกษาแรก ๆ เหล่านี้ถูกวิจารณ์เพราะการกำจัดไม่ให้รู้ด้วยประสาทสัมผัสอื่น ๆ ทำได้ยากมาก และเพราะการทดลองทำในห้องแล็บไม่ใช่ในธรรมชาติ ในบางกรณี ผลการทดลองไม่สามารถสรุปได้ว่ามีการตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กเมื่อไร้ตัวช่วยทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ เพราะเปลี่ยนสนามแม่เหล็กก่อนการทดลองแทนที่จะเปลี่ยนในช่วงการทดลอง[60]

ตุ่นแซมเบีย[แก้]

งานวิจัยต่อ ๆ มา ซึ่งจัดการปัจจัยต่าง ๆ ตามที่ว่าเกี่ยวกับหนูวู๊ด ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ตุ่นแซมเบีย (Fukomys amatus, Zambian mole-rat) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ใต้ดิน ใช้สนามแม่เหล็กเพื่อช่วยหาทิศทางในรัง[60] เทียบกับหนูวู๊ด ตุ่นแซมเบียไม่มีพฤติกรรมหาทิศทางที่ต่างกันระหว่างเมื่อเห็นกับเมื่อไม่เห็น ซึ่งผู้วิจัยเสนอว่าเพราะเป็นสัตว์อยู่ใต้ดิน

งานศึกษาต่อมาพบว่า การได้รับสนามแม่เหล็กทำให้ประสาททำงานเพิ่มขึ้นภายใน superior colliculus ซึ่งวัดโดยการแสดงออกของยีน immediate early gene[C][61] เซลล์ประสาทของ superior colliculus สองชั้น คือ outer sublayer of the intermediate gray และ deep gray layer ทำงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เฉพาะเจาะจงเมื่อได้รับสนามแม่เหล็กในระดับต่าง ๆ แต่ภายใน inner sublayer of the intermediate gray layer (InGi) มีกลุ่มเซลล์ประสาท 2-3 กลุ่มที่ตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กอย่างเฉพาะเจาะจงกว่า คือ ตุ่นยิ่งได้รับสนามแม่เหล็กนานเท่าไร immediate early gene ก็แสดงออกภายใน InGi มากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าใส่ตุ่นลงในที่ที่กันสนามแม่เหล็ก เซลล์ไม่กี่เซลล์จะทำงาน จึงเสนอว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม superior colliculus เป็นโครงสร้างประสาทที่สำคัญเพื่อแปลผลข้อมูลสนามแม่เหล็ก

ค้างคาว[แก้]

ค้างคาวอาจใช้สนามแม่เหล็กเพื่อหาทิศทางเช่นกัน แม้จะรู้ว่า มันกำหนดตำแหน่งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนเพื่อหาทางในระยะใกล้ ๆ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่ามันหาทางในระยะไกล ๆ ได้อย่างไร[62] เมื่อค้างคาวสีน้ำตาลใหญ่ (Eptesicus fuscus, big brown bat) ถูกพรากออกจากที่อยู่ แล้วเจอกับสนามแม่เหล็กที่หมุนไป 90 องศาไม่ว่าจะตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา มันจะหลงทิศแล้วกลับบ้านผิดทาง ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าค้างคาวสีน้ำตาลใหญ่สามารถรับรู้สนามแม่เหล็ก แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าใช้อย่างไร เพราะสนามแม่เหล็กอาจใช้เพื่อสร้างแผนที่ เป็นเข็มทิศ หรือเป็นตัวเทียบมาตรฐานเข็มทิศ (compass calibrator) งานวิจัยในค้างคาวอีกพันธุ์หนึ่ง คือ Myotis myotis (greater mouse-eared bat, ค้างคาวหูหนูใหญ่) สนับสนุนสมมติฐานว่า ค้างคาวใช้สนามแม่เหล็กโลกเป็นตัวเทียบมาตรฐานเข็มทิศ และใช้พระอาทิตย์เป็นเข็มทิศหลัก[63]

หมา[แก้]

หมาจิ้งจอกแดง (Vulpes vulpes) อาจใช้การรับรู้สนามแม่เหล็กเมื่อล่าสัตว์ฟันแทะตัวเล็ก ๆ คือเมื่อหมากระโดดสูงลงตะครุบเหยื่อเล็ก ๆ เช่นหนู มันมักจะกระโดดในแนวทิศเหนือ-ทิศตะวันออก อนึ่ง การจับเหยื่อสำเร็จมักจะเกิดขึ้นทางด้านทิศเหนือ[64]

งานศึกษาหนึ่งพบว่า เมื่อหมาเลี้ยง (Canis lupus familiaris) ไม่ผูกไว้และสนามแม่เหล็กโลกนิ่ง หมาจะชอบถ่ายปัสสาวะและอุจจาระโดยจัดแนวตัวทางเหนือ-ใต้[65]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่[แก้]

มีหลักฐานว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ก็รับรู้สนามแม่เหล็กได้ด้วยเหมือนกัน คือ วัวควายที่กำลังพักหรือกินหญ้ารวมทั้งกวางโร (Capreolus capreolus, roe deer) และกวางแดง (Cervus elaphus) มักจะจัดแนวกายไปตามทางเหนือใต้[66] เพราะลม แดด และความลาดชันของพื้นได้กันออกแล้วในงานศึกษานี้ การจัดแนวให้ตรงกับเวกเตอร์ของสนามแม่เหล็กจึงเป็นคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่เพราะเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive) คำอธิบายที่เป็นไปได้อื่นจึงยังไม่ได้กันออก

ในงานศึกษาต่อมา นักวิจัยได้วิเคราะห์การวางทิศทางของตัวสัตว์เคี้ยวเอื้องในบริเวณที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูงรบกวนสนามแม่เหล็กโลกเพื่อกำหนดว่า ความแตกต่างของสนามแม่เหล็กเฉพาะที่ ๆ จะมีผลต่อพฤติกรรมจัดแนวร่างกายอย่างไร งานหาข้อมูลด้วยดาวเทียม ด้วยภาพถ่ายทางอากาศของฝูงวัว และด้วยการสังเกตกวางโรในสนาม ผลที่พบก็คือ เมื่อกินหญ้าข้างใต้หรือใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูง สัตว์ทั้งสองพันธุ์ปรากฏว่าจัดแนวร่างกายโดยสุ่ม และผลรบกวนของเสาไฟฟ้าต่อการจัดแนวร่างกายจะหายไปตามระยะทาง[67] แต่ในปี 2011 กลุ่มนักวิจัยชาวเช็กอีกกลุ่มรายงานว่า ไม่สามารถทำการทดลองให้ได้ผลซ้ำเมื่อใช้ชุดภาพกูเกิล เอิร์ธที่ต่างกัน[68]

เชื่อว่า มนุษย์ไม่มีประสาทสัมผัสเกี่ยวกับแม่เหล็ก แต่มนุษยก็มีโปรตีนคริปโตโครม[A] (เป็น flavoprotein ยีน CRY2) ในจอตา และ CRY2 "มีสมรรถภาพระดับโมเลกุลเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับรู้สนามแม่เหล็กที่ไวแสง" ประเด็นนี้จึงอาจเหมาะในการศึกษาต่อ ๆ ไป[2]

ปัญหา[แก้]

แม้จะวิจัยกันมาแล้วกว่า 50 ปี ตัวรับรู้สนามแม่เหล็กในสัตว์ก็ยังระบุไม่ได้[69] เป็นไปได้ว่า ระบบตัวรับความรู้สึกทั้งระบบอาจบรรจุลงในลูกบาศก์ขนาด 1 มม. ได้โดยมีวัสดุแม่เหล็กน้อยกว่า 1 ppm อนึ่ง การจำแนกส่วนของสมองที่แปลผลข้อมูลก็เป็นเรื่องยาก[70]

ประเด็นที่ดูมีหวังมากที่สุดก็คือ คริปโตโครม[A] ระบบที่อาศัยเหล็ก และการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าแม่เหล็ก ล้วนแต่ก็มีข้อดีข้อเสีย คือ คริปโตโครมได้พบในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมทั้งนกและมนุษย์ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการหาทิศในเวลากลางคืนเพราะเป็นระบบที่อาศัยแสง ส่วนระบบที่อาศัยเหล็กก็พบในนกเช่นกัน และถ้าพิสูจน์ได้ อาจเป็นมูลฐานการรับรู้สนามแม่เหล็กในสัตว์หลายสปีชีส์รวมทั้งเต่า ส่วนการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าแม่เหล็กยังไม่พบและไม่ได้ตรวจสอบในสัตว์บก อนึ่ง ยังเป็นไปได้ว่ามีกลไกที่เสริมกันสองอย่างซึ่งมีบทบาทตรวจจับสนามแม่เหล็กในสัตว์ ซึ่งก็เพิ่มปัญหาว่า กลไกแต่ละอย่างมีส่วนตอบสนองต่อตัวกระตุ้นขนาดไหน และสร้างข้อมูลอย่างไรเพื่อตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กโลกซึ่งอ่อนมาก[13]

นอกจากนั้นยังมีเรื่องวิธีและระดับการใช้ สัตว์บางสปีชีส์อาจใช้เป็นเข็มทิศคือสามารถรู้เหนือรู้ใต้ ในขณะที่สัตว์อื่นอาจเพียงแค่แยกแยะว่าเป็นบริเวณเส้นศูนย์สูตรหรือขั้วโลกได้ แม้การรู้ทิศทางจะสำคัญในการหาทิศเพื่ออพยพ แต่ก็มีสัตว์มากมายที่สามารถรู้สึกถึงความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสนามแม่เหล็กโลกเพื่อคำนวณเป็นแผนที่ระบุพิกัดโดยละเอียดในระดับ 2-3 กม.หรือเล็กกว่านั้น[71] เพื่อทำแผนที่แม่เหล็ก ระบบรับรู้สนามแม่เหล็กจำเป็นต้องแยกแยะความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสนามแม่เหล็กรอบ ๆ ตัวเพื่อให้ทำแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดพอได้ นี่เป็นไปได้ เพราะสัตว์หลายอย่างมีสมรรถภาพรับรู้ความแตกต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งแม้จะเป็นไปได้ทางชีววิทยา แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ทางกายภาพ ตัวอย่างก็คือ นกเช่นพิราบสื่อสารเชื่อว่า ใช้แมกนีไทต์ที่ปากเพื่อกำหนดหลักทิศทางต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่เหล็ก โดยอาจใช้แบบเป็นแผนที่[13] ถึงกระนั้น ก็ยังมีข้อเสนออื่นว่า นกพิราบสื่อสารและนกอื่น ๆ ใช้คริปโตโครมที่สื่อด้วยการเห็นเป็นเข็มทิศ[13]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 cryptochrome (จากคำกรีกว่า κρυπτός χρώμα แปลว่า "สีที่ซ่อนอยู่") เป็นกลุ่ม flavoprotein ที่ไวแสงสีน้ำเงิน ซึ่งพบทั้งในพืชและสัตว์ มีบทบาทในจังหวะรอบวัน (circadian rhythm) ของพืชสัตว์ และอาจมีส่วนรับรู้สนามแม่เหล็กในสิ่งมีชีวิตบางสปีชีส์ ชื่อว่า cryptochrome เป็นคำควบลักษณะลึกลับของตัวรับแสง กับสิ่งมีชีวิตคล้ายพืชที่สืบพันธุ์ด้วยสปอร์และได้ใช้ในการทดลองเกี่ยวกับแสงสีน้ำเงินหลายงาน[11]
  2. missense mutation เป็น point mutation คือนิวคลีโอไทด์อันหนึ่งเปลี่ยนไป มีผลกลายเป็น codon ที่เข้ารหัสกรดอะมิโนที่ต่างกัน
  3. Immediate early genes (lEGs) เป็นยีนที่ทำงานชั่วคราวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้นระดับเซลล์มากมายหลายอย่าง มันเป็นกลไกการตอบสนองถาวรที่ทำงานในระดับการถอดรหัส (transcription) ในการตอบสนองรอบแรกต่อตัวกระตุ้น ก่อนการสังเคราะห์โปรตีนอื่น ๆ lEGs จึงต่างกับยีนที่ตอบสนองช้า ซึ่งทำงานภายหลัง คือหลังการสังเคราะห์ผลผลิตของยีนที่เป็นการตอบสนองเบื้องต้น lEGs จึงเรียกว่าเป็น "ประตูของการตอบสนองทางจีโนม"

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 Wiltschko, F.R.; Wiltschko, W. (2012). "Chapter 8 - Magnetoreception". ใน López-Larrea, Carlos (บ.ก.). Sensing in Nature. Advances in Experimental Medicine and Biology. Vol. 739. Springer. doi:10.1007/978-1-4614-1704-0. ISBN 978-1-4614-1703-3.
  2. ↑ 2.0 2.1 Foley, Lauren E.; Gegear, Robert J.; Reppert, Steven M. (2011). "Human cryptochrome exhibits light-dependent magnetosensitivity". Nature Communications. 2: 356. Bibcode:2011NatCo...2E.356F. doi:10.1038/ncomms1364. PMC 3128388. PMID 21694704.
  3. "New evidence for a human magnetic sense that lets your brain detect the Earth's magnetic field". The Conversation. 2019-03-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-04.
  4. Blakemore, R. (1975). "Magnetotactic Bacteria". Science. 190 (4212): 377–379. Bibcode:1975Sci...190..377B. doi:10.1126/science.170679. PMID 170679.
  5. "Biochemistry and molecular biology of magnetosome formation in Magnetospirillum gryphiswaldense". The Magneto-Lab. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-06-15.
  6. Wiltschko, Wolfgang; Wiltschko, Roswitha (August 2008). "Magnetic orientation and magnetoreception in birds and other animals". Journal of Comparative Physiology A. 191 (8): 675–693. doi:10.1007/s00359-005-0627-7. PMID 15886990.
  7. ↑ 7.0 7.1 Hore, P.J.; Mouritsen, Henrik (2016-07-05). "The Radical-Pair Mechanism of Magnetoreception". Annual Review of Biophysics. 45 (1): 299–344. doi:10.1146/annurev-biophys-032116-094545. PMID 27216936.
  8. T., Rodgers, Christopher (2009-01-01). "Magnetic field effects in chemical systems". Pure and Applied Chemistry. 81 (1): 19–43. doi:10.1351/PAC-CON-08-10-18. ISSN 1365-3075.
  9. Steiner, Ulrich E.; Ulrich, Thomas (1989-01-01). "Magnetic field effects in chemical kinetics and related phenomena". Chemical Reviews. 89 (1): 51–147. doi:10.1021/cr00091a003. ISSN 0009-2665.
  10. Woodward, J. R. (2002-09-01). "Radical pairs in solution". Progress in Reaction Kinetics and Mechanism. 27 (3): 165–207. doi:10.3184/007967402103165388. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-19. สืบค้นเมื่อ 2019-06-15.
  11. "Blue light of photoreception". 1979. doi:10.1111/j.1751-1097.1979.tb07209.x.
  12. Wiltschko, Roswitha; Ahmad, Margaret; Nießner, Christine; Gehring, Dennis; Wiltschko, Wolfgang (2016-05-01). "Light-dependent magnetoreception in birds: The crucial step occurs in the dark". Journal of the Royal Society, Interface. 13 (118): 20151010. doi:10.1098/rsif.2015.1010. ISSN 1742-5662. PMC 4892254. PMID 27146685.
  13. ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Rodgers, C. T.; Hore, P. J. (2009). "Chemical magnetoreception in birds: The radical pair mechanism". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 106 (2): 353–360. Bibcode:2009PNAS..106..353R. doi:10.1073/pnas.0711968106. PMC 2626707. PMID 19129499.
  14. ↑ 14.0 14.1 Gegear, Robert J.; Casselman, Amy; Waddell, Scott; Reppert, Steven M. (August 2008). "Cryptochrome mediates light-dependent magnetosensitivity in Drosophila". Nature. 454 (7207): 1014–1018. Bibcode:2008Natur.454.1014G. doi:10.1038/nature07183. PMC 2559964. PMID 18641630. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2019-06-15.
  15. Fleissner, Gerta; Holtkamp-Rötzler, Elke; Hanzlik, Marianne; Winklhofer, Michael; Fleissner, Günther; Petersen, Nikolai; Wiltschko, Wolfgang (2003-02-26). "Ultrastructural analysis of a putative magnetoreceptor in the beak of homing pigeons". Journal of Comparative Neurology (ภาษาอังกฤษ). 458 (4): 350–360. doi:10.1002/cne.10579. ISSN 0021-9967. PMID 12619070.
  16. Fleissner, Guenther; Wellenreuther, Gerd; Heyers, Dominik; Mouritsen, Henrik; Thalau, Peter; Kuehbacher, Markus; Schuchardt, Kirsten; Fleissner, Gerta; Falkenberg, Gerald (2010-02-16). "Avian Magnetoreception: Elaborate Iron Mineral Containing Dendrites in the Upper Beak Seem to Be a Common Feature of Birds". PLOS ONE (ภาษาอังกฤษ). 5 (2): e9231. Bibcode:2010PLoSO...5.9231F. doi:10.1371/journal.pone.0009231. ISSN 1932-6203. PMC 2821931. PMID 20169083.
  17. Hore, P. J.; Mouritsen, Henrik (2016-07-05). "The Radical-Pair Mechanism of Magnetoreception". Annual Review of Biophysics. 45 (1): 299–344. doi:10.1146/annurev-biophys-032116-094545. ISSN 1936-122X. PMID 27216936.
  18. ↑ 18.0 18.1 Solov’yov, Ilia A.; Greiner, Walter (September 2007). "Theoretical Analysis of an Iron Mineral-Based Magnetoreceptor Model in Birds". Biophysical Journal. 93 (5): 1493–1509. Bibcode:2007BpJ....93.1493S. doi:10.1529/biophysj.107.105098. ISSN 0006-3495. PMC 1948037. PMID 17496012.
  19. Keays, David Anthony; Shaw, Jeremy; Lythgoe, Mark; Saunders, Martin; Cadiou, Herve; Pichler, Paul; Breuss, Martin; Sugar, Cristina; Edelman, Nathaniel (April 2012). "Clusters of iron-rich cells in the upper beak of pigeons are macrophages not magnetosensitive neurons". Nature (ภาษาอังกฤษ). 484 (7394): 367–370. Bibcode:2012Natur.484..367T. doi:10.1038/nature11046. ISSN 1476-4687. PMID 22495303.
  20. Blonder, Barbara I.; Alevizon, William S. (1988). "Prey Discrimination and Electroreception in the Stingray Dasyatis sabina". Copeia. 1988 (1): 33–36. doi:10.2307/1445919. JSTOR 1445919.
  21. Kalmijn, A. J. (1971-10-01). "The Electric Sense of Sharks and Rays". Journal of Experimental Biology (ภาษาอังกฤษ). 55 (2): 371–383. ISSN 0022-0949. PMID 5114029.
  22. Nordmann, Gregory C.; Hochstoeger, Tobias; Keays, David A. (2017-10-23). "Magnetoreception—A sense without a receptor". PLOS Biology (ภาษาอังกฤษ). 15 (10): e2003234. doi:10.1371/journal.pbio.2003234. ISSN 1545-7885. PMC 5695626. PMID 29059181.
  23. Vidal-Gadea, A.G.; Ward, K.; Beron, C.; Ghorashian, N.; Gokce, S.; Russell, J.; Truong, N.; Parikh, A.; Gadea, G.; Ben-Yakar, A.; Pierce-Shimomura, J. (2015). "Magnetosensitive neurons mediate geomagnetic orientation in Caenorhabditis elegans". eLife. 4. doi:10.7554/eLife.07493. PMC 4525075. PMID 26083711.
  24. Landler, Lukas; Nimpf, Simon; Hochstoeger, Tobias; Nordmann, Gregory C; Papadaki-Anastasopoulou, Artemis; Keays, David A (2018-04-13). "Comment on "Magnetosensitive neurons mediate geomagnetic orientation in Caenorhabditis elegans"". eLife (ภาษาอังกฤษ). 7. doi:10.7554/elife.30187. ISSN 2050-084X. PMC 5898909. PMID 29651983.
  25. Landler, Lukas; Nordmann, Gregory; Nimpf, Simon; Hochstoeger, Tobias; Kagerbauer, Daniel; Keays, David (2018-06-18). "Revised testing procedures do not elicit magnetoreceptive behavior in C. elegans". bioRxiv 349944. ;
  26. Lohmann, K. J.; Willows, A. O. D. (1987). "Lunar-Modulated Geomagnetic Orientation by a Marine Mollusk". Science. 235 (4786): 331–334. Bibcode:1987Sci...235..331L. doi:10.1126/science.3798115. PMID 3798115.
  27. Lohmann, K. J.; Willows; Pinter, R. B. (1991). "An identifiable molluscan neuron responds to changes in earth-strength magnetic fields". The Journal of Experimental Biology. 161: 1–24. PMID 1757771.
  28. Wang, J. H. (2004). "Identifiable neurons inhibited by Earth-strength magnetic stimuli in the mollusc Tritonia diomedea". Journal of Experimental Biology. 207 (6): 1043–1049. doi:10.1242/jeb.00864.
  29. VanVickle-Chavez, S.J.; Van Gelder, R. N. (2007). "Action Spectrum of Drosophila Cryptochrome *". Journal of Biological Chemistry. 282 (14): 10561–10566. doi:10.1074/jbc.M609314200. PMID 17284451.
  30. Gegear, R. J.; Foley, L. E.; Casselman, A.; Reppert, S. M. (2010). "Animal cryptochromes mediate magnetoreception by an unconventional photochemical mechanism". Nature. 463 (7282): 804–7. Bibcode:2010Natur.463..804G. doi:10.1038/nature08719. PMC 2820607. PMID 20098414.
  31. Pereira-Bomfim, M.D.G.C.; Antonialli-Junior, W.F.; Acosta-Avalos, D. (2015). "Effect of magnetic field on the foraging rhythm and behavior of the swarm-founding paper wasp Polybia paulista Ihering (hymenoptera: vespidae)". Sociobiology. 62 (1): 99–104. doi:10.13102/sociobiology.v62i1.99-104.
  32. Wajnberg, E.; Acosta-Avalos, D.; Alves, O.C.; de Oliveira, J.F.; Srygley, R.B.; Esquivel, D.M. (2010). "Magnetoreception in eusocial insects: An update". Journal of the Royal Society Interface. 7 (Suppl 2): S207–S225. doi:10.1098/rsif.2009.0526.focus. PMC 2843992. PMID 20106876.
  33. Nunes, T.M.; Turatti, I.C.C.; Mateus, S.; Nascimento, F.S.; Lopes, N.P.; Zucchi, R. (2009). "Cuticular Hydrocarbons in the Stingless Bee Schwarziana quadripunctata (Hymenoptera, Apidae, Meliponini) : Differences between Colonies, Castes and Age" (PDF). Genetics and Molecular Research. 8 (2): 589–595. doi:10.4238/vol8-2kerr012. PMID 19551647.
  34. ↑ 34.0 34.1 Quinn, Thomas P. (1980). "Evidence for celestial and magnetic compass orientation in lake migrating sockeye salmon fry". Journal of Comparative Physiology A. 137 (3): 243–248. doi:10.1007/bf00657119. ISSN 0340-7594.
  35. ↑ 35.0 35.1 Taylor, P. B. (May 1986). "Experimental evidence for geomagnetic orientation in juvenile salmon, Oncorhynchus tschawytscha Walbaum". Journal of Fish Biology. 28 (5): 607–623. doi:10.1111/j.1095-8649.1986.tb05196.x. ISSN 0022-1112.
  36. "Eels May Use 'Magnetic Maps' As They Slither Across The Ocean". National Public Radio. 2017-04-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-13.
  37. ↑ 37.0 37.1 Phillips, John B. (1977). "Use of the earth's magnetic field by orienting cave salamanders (Eurycea lucifuga)". Journal of Comparative Physiology. 121 (2): 273–288. doi:10.1007/bf00609616. ISSN 0340-7594.
  38. ↑ 38.0 38.1 38.2 38.3 Phillips, John B. (1986). "Magnetic compass orientation in the Eastern red-spotted newt (Notophthalmus viridescens)". Journal of Comparative Physiology A. 158 (1): 103–109. doi:10.1007/bf00614524. ISSN 0340-7594.
  39. Phillips, J. (1986-08-15). "Two magnetoreception pathways in a migratory salamander". Science. 233 (4765): 765–767. Bibcode:1986Sci...233..765P. doi:10.1126/science.3738508. ISSN 0036-8075.
  40. ↑ 40.0 40.1 Sinsch, Ulrich (1987). "Orientation behaviour of toads (Bufo bufo) displaced from the breeding site". Journal of Comparative Physiology A. 161 (5): 715–727. doi:10.1007/bf00605013. ISSN 0340-7594.
  41. ↑ 41.0 41.1 Sinsch, Ulrich (January 1992). "Sex-biassed site fidelity and orientation behaviour in reproductive natterjack toads (Bufo calamita)". Ethology Ecology & Evolution. 4 (1): 15–32. doi:10.1080/08927014.1992.9525347. ISSN 0394-9370.
  42. Mathis, Alicia; Moore, Frank R. (2010-04-26). "Geomagnetism and the Homeward Orientation of the Box Turtle, Terrapene Carolina". Ethology (ภาษาอังกฤษ). 78 (4): 265–274. doi:10.1111/j.1439-0310.1988.tb00238.x. ISSN 0179-1613.
  43. G., Stehli, F. (1996). Magnetite Biomineralization and Magnetoreception in Organisms: A new biomagnetism. US: Springer. ISBN 9781461303138. OCLC 958527742.
  44. Merrill, Maria W.; Salmon, Michael (2010-09-30). "Magnetic orientation by hatchling loggerhead sea turtles (Caretta caretta) from the Gulf of Mexico". Marine Biology. 158 (1): 101–112. doi:10.1007/s00227-010-1545-y. ISSN 0025-3162.
  45. Walcott, C. (1996). "Pigeon homing: observations, experiments and confusions". The Journal of Experimental Biology. 199 (Pt 1): 21–7. PMID 9317262.
  46. Keeton, W. T. (1971). "Magnets interfere with pigeon homing". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 68 (1): 102–6. Bibcode:1971PNAS...68..102K. doi:10.1073/pnas.68.1.102. PMC 391171. PMID 5276278.
  47. Gould, J. L. (1984). "Magnetic field sensitivity in animals". Annual Review of Physiology. 46: 585–98. doi:10.1146/annurev.ph.46.030184.003101. PMID 6370118.
  48. Mora, C. V.; Davison, M.; Wild, J. M.; Walker, M. M. (2004). "Magnetoreception and its trigeminal mediation in the homing pigeon". Nature. 432 (7016): 508–511. Bibcode:2004Natur.432..508M. doi:10.1038/nature03077. PMID 15565156.
  49. Fleissner, Gerta; Holtkamp-Rötzler, Elke; Hanzlik, Marianne; Winklhofer, Michael; Fleissner, Günther; Petersen, Nikolai; Wiltschko, Wolfgang (2003-02-26). "Ultrastructural analysis of a putative magnetoreceptor in the beak of homing pigeons". Journal of Comparative Neurology (ภาษาอังกฤษ). 458 (4): 350–360. doi:10.1002/cne.10579. ISSN 0021-9967. PMID 12619070.
  50. Treiber, Christoph Daniel; Salzer, Marion Claudia; Riegler, Johannes; Edelman, Nathaniel; Sugar, Cristina; Breuss, Martin; Pichler, Paul; Cadiou, Herve; Saunders, Martin (2012-04-11). "Clusters of iron-rich cells in the upper beak of pigeons are macrophages not magnetosensitive neurons". Nature (ภาษาอังกฤษ). 484 (7394): 367–70. Bibcode:2012Natur.484..367T. doi:10.1038/nature11046. ISSN 0028-0836. PMID 22495303.
  51. ↑ 51.0 51.1 Engels, Svenja; Treiber, Christoph Daniel; Salzer, Marion Claudia; Michalik, Andreas; Ushakova, Lyubo v; Keays, David Anthony; Mouritsen, Henrik; Heyers, Dominik (2018-08-01). "Lidocaine is a nocebo treatment for trigeminally mediated magnetic orientation in birds". Journal of the Royal Society Interface (ภาษาอังกฤษ). 15 (145): 20180124. doi:10.1098/rsif.2018.0124. ISSN 1742-5689. PMC 6127160. PMID 30089685.
  52. Wiltschko, Roswitha; Schiffner, Ingo; Fuhrmann, Patrick; Wiltschko, Wolfgang (September 2010). "The Role of the Magnetite-Based Receptors in the Beak in Pigeon Homing". Current Biology. 20 (17): 1534–1538. Bibcode:1996CBio....6.1213A. doi:10.1016/j.cub.2010.06.073. ISSN 0960-9822. PMID 20691593.
  53. Lauwers, Mattias; Pichler, Paul; Edelman, Nathaniel Bernard; Resch, Guenter Paul; Ushakova, Lyubov; Salzer, Marion Claudia; Heyers, Dominik; Saunders, Martin; Shaw, Jeremy (May 2013). "An Iron-Rich Organelle in the Cuticular Plate of Avian Hair Cells". Current Biology. 23 (10): 924–929. Bibcode:1996CBio....6.1213A. doi:10.1016/j.cub.2013.04.025. ISSN 0960-9822. PMID 23623555.
  54. Nimpf, Simon; Malkemper, Erich Pascal; Lauwers, Mattias; Ushakova, Lyubov; Nordmann, Gregory; Wenninger-Weinzierl, Andrea; Burkard, Thomas R; Jacob, Sonja; Heuser, Thomas (2017-11-15). "Subcellular analysis of pigeon hair cells implicates vesicular trafficking in cuticulosome formation and maintenance". eLife (ภาษาอังกฤษ). 6. doi:10.7554/elife.29959. ISSN 2050-084X. PMC 5699870. PMID 29140244.
  55. Wu, L.-Q.; Dickman, J. D. (2011). "Magnetoreception in an avian brain in part mediated by inner ear lagena". Current Biology. 21 (5): 418–23. doi:10.1016/j.cub.2011.01.058. PMC 3062271. PMID 21353559.
  56. Falkenberg, G.; Fleissner, G.; Schuchardt, K.; Kuehbacher, M.; Thalau, P.; Mouritsen, H.; Heyers, D.; Wellenreuther, G.; Fleissner, G. (2010). "Avian magnetoreception: Elaborate iron mineral containing dendrites in the upper beak seem to be a common feature of birds". PLoS ONE. 5 (2): e9231. Bibcode:2010PLoSO...5.9231F. doi:10.1371/journal.pone.0009231. PMC 2821931. PMID 20169083.
  57. Wiltschko, W; Freire, R; Munro, U; Ritz, T; Rogers, LJ; Thalau, P; Wiltschko. R (2007). "The magnetic compass of domestic chicken, Gallus gallus". Journal Experimental Biology. 210: 2300–2310.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  58. Freire, R.; Eastwood, M.A.; Joyce, M. (2011). "Minor beak trimming in chickens leads to loss of mechanoreception and magnetoreception". Journal of Animal Science. 89 (4): 1201–1206. doi:10.2527/jas.2010-3129. PMID 21148779.
  59. Mather, J.G.; Baker, R. R. (1981). "Magnetic sense of direction in woodmice for route-based navigation". Nature. 291 (5811): 152–155. Bibcode:1981Natur.291..152M. doi:10.1038/291152a0.
  60. ↑ 60.0 60.1 Marhold, S.; Wiltschko, W.; Burda, H. (1997). "A magnetic polarity compass for direction finding in a subterranean mammal". Naturwissenschaften. 84 (9): 421–423. Bibcode:1997NW.....84..421M. doi:10.1007/s001140050422.
  61. Nemec, P.; Altmann, J.; Marhold, S.; Burda, H.; Oelschlager, H. H. (2001). "Neuroanatomy of magnetoreception: The superior colliculus involved in magnetic orientation in a mammal". Science. 294 (5541): 366–8. Bibcode:2001Sci...294..366N. doi:10.1126/science.1063351. PMID 11598299.
  62. Holland, R.A.; Thorup, K.; Vonhof, M.J.; Cochran, W.W.; Wikelski, M. (2006). "Bat orientation using Earth's magnetic field". Nature. 444 (7120): 702. Bibcode:2006Natur.444..702H. doi:10.1038/444702a. PMID 17151656.
  63. Wiltschko, R.; Wiltschko, W. (2006). "Magnetoreception". BioEssays. 28 (2): 157–68. doi:10.1002/bies.20363. PMID 16435299.
  64. "Fox 'rangefinder' sense expands the magnetic menagerie". blogs.nature.com. Nature Publishing Group / Macmillan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-24. สืบค้นเมื่อ 2014-06-06.
  65. Hart, Vlastimil; Nováková, Petra; Malkemper, Erich Pascal; Begall, Sabine; Hanzal, Vladimír; Ježek, Miloš; Kušta, Tomáš; Němcová, Veronika; Adámková, Jana; Benediktová, Kateřina; Červený, Jaroslav; Burda, Hynek (2013). "Dogs are sensitive to small variations of the Earth's magnetic field". Frontiers in Zoology. 10 (1): 80. doi:10.1186/1742-9994-10-80. PMC 3882779. PMID 24370002. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.
  66. Begall, S.; Cerveny, J.; Neef, J.; Vojtech, O.; Burda, H. (2008). "Magnetic alignment in grazing and resting cattle and deer". Proc. Natl. Acad. Sci. U.S.A. 105 (36): 13451–13455. Bibcode:2008PNAS..10513451B. doi:10.1073/pnas.0803650105. PMC 2533210. PMID 18725629.
  67. Burda, H.; Begalla, S.; Červený, J.; Neefa, J.; Němecd, P. (2009). "Extremely low-frequency electromagnetic fields disrupt magnetic alignment of ruminants". Proc. Natl. Acad. Sci. USA. 106 (14): 5708–5713. Bibcode:2009PNAS..106.5708B. doi:10.1073/pnas.0811194106. PMC 2667019. PMID 19299504.
  68. Hert, J; Jelinek, L; Pekarek, L; Pavlicek, A (2011). "No alignment of cattle along geomagnetic field lines found". Journal of Comparative Physiology. 197 (6): 677–682. arXiv:1101.5263. doi:10.1007/s00359-011-0628-7. PMID 21318402.
  69. Gould, J. L. (1984). "Magnetic field sensitivity in animals". Annual Review of Physiology. 46: 585–98. doi:10.1146/annurev.ph.46.030184.003101. PMID 6370118.
  70. Kirschvink, J.L. (1997). "Magnetoreception: Homing in on vertebrates". Nature. 390 (6658): 339–340. Bibcode:1997Natur.390..339K. doi:10.1038/36986.
  71. Gould, J.L. (2008). "Animal navigation: The evolution of magnetic orientation". Current Biology. 18 (11): R482–R48. doi:10.1016/j.cub.2008.03.052. PMID 18522823.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "Cryptochrome and magnetic sensing". Theoretical and Biophysical Computations Group, University of Illinois at Urbana-Champaign.
  • Schiff, H (1991). "Modulation of spike frequencies by varying the ambient magnetic field and magnetite candidates in bees (Apis mellifera)". Comp Biochem Physiol a Comp Physiol. 100 (4): 975–85. doi:10.1016/0300-9629(91)90325-7. PMID 1685393.
  • Johnsen, S; Lohmann, KJ (September 2005). "The physics and neurobiology of magnetoreception". Nature Reviews Neuroscience. 6 (9): 703–12. doi:10.1038/nrn1745. PMID 16100517.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  • Johnsen, Sönke; Lohmann, Kenneth J (2008). "Magnetoreception in animals". feature article. Physics Today. 61 (3): 29–35. Bibcode:2008PhT....61c..29J. doi:10.1063/1.2897947.