ผู้เยาว์คนหนึ่งสามารถทำนิติกรรมอะไรได้บ้างโดยไม่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง

การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

ผู้เยาว์คนหนึ่งสามารถทำนิติกรรมอะไรได้บ้างโดยไม่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง

ความสามารถในการทำนิติกรรม

ความสามารถในที่นี้เราหมายถึง ความสามารถในการทำนิติกรรมของ บุคคลธรรมดา

      บุคคลธรรมดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้มีได้ แต่การใช้สิทธิของบุคคลธรรมดาบางประเภทนั้นอาจจะใช้ได้ไม่เต็มตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การใช้สิทธิในการทำนิติกรรมต่างๆ หากเป็นบุคคลซึ่งด้อยสิทธิด้วยภาวะทางกฎหมายแห่งสภาพบุคคลของคนเหล่านั้นเขาก็ไม่อาจใช้สิทธิได้เต็มที่ เราเรียกคนเหล่านั้นว่า ผู้หย่อนความสามารถ กล่าวคือ ความสามารถในการทำนิติกรรมนั้นหย่อนไปไม่เต็มที่นั่นเอง ซึ่งคนเราจะไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มที่เนื่องมาจาก

  1. สภาพธรรมชาติ เช่น เด็กไร้เดียงสา
  2. โดยกฎหมายจำกัดอำนาจ เช่น ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ (เหล่านี้เรียกว่าผู้หย่อนความสามารถทั้งสิ้น)

     เหตุที่กฎหมายต้องจำกัดอำนาจบุคคลเช่นนั้นเนื่องจากบุคคลผู้หย่อนความสามารถนั้นไม่อาจใช้สามัญสำนึกเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองได้ตามมาตรฐานของบุคคลทั่วไป กฎหมายเกรงว่าบุคคลเหล่านั้นจะถูกผู้อื่นเอาเปรียบหรือทำการอย่างใดให้ตนเองเสียเปรียบบุคคลอื่นได้นั่นเอง


ผู้เยาว์คือใคร

บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์

ผู้เยาว์ คือ ผู้ซึ่งมีสภาวะแห่งชีวิตสมบูรณ์เป็นบุคคลแล้วสภาวะบุคคลนั้นดำเนินมาจนครบ 20 ปี

     อีกกรณีหนึ่ง คือ ผู้เยาว์ซึ่งอายุไม่ครบ 20 ปี ได้ทำการสมรสและการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ การสมรสจะเริ่มกระทำได้โดยถือว่าชอบด้วยกฎหมายคืออายุ 17 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น โดยต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองก่อน ซึ่งให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้โดยอนุโลม หากผู้เยาว์ต้องการสมรสแต่อายุยังไม่ถึง 17 ปี แม้ผู้แทนฯ จะให้การอนุญาตก็ไม่อาจสมรสได้ ต้องร้องขอต่อศาลแต่เพียงประการเดียว โดยศาลจะพิจารณาถึงความจำเป็น เช่น ญ กำลังมีครรภ์ ศาลจึงจะอนุญาตให้สมรสได้ เมื่อมีการสมรสที่ชอบแล้ว ช และ ญ นั้นก็จะพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์ทันทีสามารถทำนิติกรรมได้ตามปกติ เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเช่นนี้ เพราะว่า ช ญ ที่สมรสแล้วต้องดูแลครอบครัวตนต่อไป จึงต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ในทางกฎหมาย เช่น หากชายอายุ 16 ปี แต่มีบุตร เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสเขาจะบรรลุนิติภาวะ สามารถทำนิติกรรมต่าง ๆ เช่น ต้องการจะยกที่ดินของตนเองให้แก่บุตรของตน หากกฎหมายไม่ให้เขาบรรลุนิติภาวะแล้วเขาไม่อาจกระทำได้ หรือการส่งลูกตนเข้าโรงเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินฐานานุรูปก็ไม่อาจกระทำได้ กฎหมายจึงต้องให้เขาบรรลุนิติภาวะเสีย


การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

     ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ผู้แทนฯ หมายถึง ผู้ซึ่งอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ได้ เช่น บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือ บุคคลอื่นซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อปกครองผู้เยาว์การใด (นิติกรรม) ที่ผู้เยาว์กระทำลงไปโดยลำพังไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้แทนฯ การนั้นจะเป็นโมฆียะ คำว่า“โมฆียะ” หมายความว่า ไม่บริบูรณ์ อาจให้สัตยาบรรณหรืออาจบอกล้างได้ กล่าวคือสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้าง

โดย ทนายสถิตย์  อินตา

083-568-1148

หลักเกณฑ์ของบุคคลที่จะบรรลุนิติภาวะ


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 19  บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 20  ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1448  การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

คำอธิบาย


บุคคลที่สามารถทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้นั้น  บุคคลนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย  ซึ่งกฎหมายไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ของการบรรลุนิติภาวะ  โดยใช้อายุของบุคคลนั้นๆ  เป็นเกณฑ์  กล่าวคือ  บุคคลใดมีอายุ  ๒๐  ปี  บริบูรณ์แล้ว  ย่อมบรรลุนิติภาวะโดยปริยาย (  มาตรา  ๑๙ )  ตัวอย่างเช่น  นาย  ก  เกิดเมื่อวันที่  ๒๐  มกราคม  ๒๕๔๒  นาย  ก  ย่อมบรรลุนิติภาวะในวันที่  ๒๑  มกราคม  ๒๕๖๒  เวลา  ๐๐.๐๑  น.  เป็นต้นไป  เป็นต้น
ตัวอย่างคำพิพากษา  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2558   จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสองฉบับ เพื่อค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. เจ้าหนี้เดิม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 และ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ตามลำดับ ในขณะที่จำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ จึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 เพราะจำเลยที่ 3 เกิดวันที่ 11 มีนาคม 2520 การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) หรือแทนบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) จึงเป็นการทำนิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ซึ่งตามมาตรา 1574 (10) แห่ง ป.พ.พ. ได้บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากศาลให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันได้ การทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
อีกกรณีหนึ่ง  บุคคลบรรลุนิติภาวะโดยไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์เรื่องอายุเป็นเกณฑ์ในการบรรลุนิติภาวะได้มีอีกกรณีหนึ่ง  คือ  บุคคลที่มีอายุ  ๑๗  ปี  บริบูรณ์ทำการสมรสโดยความยินยอมของผู้ใช้อำนาจปกครองทำการสมรสกันโดยการจดทะเบียนสมรสต่อหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการรับจดทะเบียนสมรสแล้ว  บุคคลทั้งสองที่ได้ทำการสมรสกันนั้นย่อมบรรลุนิติภาระนับแต่วันจดทะเบียนสมรส  ข้อสังเกต  การสมรสโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรส  แม้ได้สมรสกันตามประเพณี  ยังไม่ถือว่าเป็นการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ไม่เป็นผลให้เป็นการบรรลุนิติภาวะได้ตามกฎหมาย  (  มาตรา  ๒๐  ประกอบ  มาตรา  ๑๕๕๘  )  ตัวอย่างเช่น  เมื่อวันที่  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๒  นาย  ก  อายุ  ๑๗  ปี  และนางสาว  ข  อายุ  ๑๘  ปี  ได้จดทะเบียนสมรสกันที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่  โดยได้รับความยินยอมจาก  นาย  ค  และนาง  ง  ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรของนาย  ก  และได้รับความยินยอมจาก  นาย  จ  และนาง  ฉ  ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรของนางสาว  ข  นาย  ก และนางสาว  ข  ย่อมบรรลุนิติภาวะนับแต่วันที่  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๒  เป็นต้นไป  เป็นต้น   
ตัวอย่างคำพิพากษา  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2544   การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปอยู่กินฉันสามีภริยากับชายอื่น แต่มิได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายจึงยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังคงอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของมารดา เมื่อจำเลยที่ 3 พาผู้เสียหายไปพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อพาผู้เสียหายไปค้าประเวณี การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร
ดังนั้น  บุคคลจะบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายได้   จึงมีอยู่  ๒  กรณี  ตามที่ระบุไว้ใน  มาตรา  ๑๙  และ  มาตรา  ๒๐  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  กล่าวคือ  โดยการใช้หลักเกณฑ์ของอายุ  และ  โดยการสมรสโดยความยินยอมของผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร

    ต่อไปมี  ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า  หากผู้เยาว์หรือบุคคลที่ไม่ได้บรรลุนิติภาวะทำนิติกรรม  จะมีผลเป็นอย่างไร
หลักเกณฑ์  ของการผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น  มี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 21  ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 22  ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 23  ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 24  ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 25  ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 26  ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 27  ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
ถ้าการประกอบธุรกิจหรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้ หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้
ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต

ผู้เยาว์สามารถทํานิติกรรมอะไรได้บ้างโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง

อย่างไรก็ตาม ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอม และไม่ตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ก. ทำนิติกรรมเพียงเพื่อจะได้สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เป็นคุณต่อผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น รับการให้โดยสเน่หา ข. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น สมรส

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้มีอะไรบ้าง

มาตรา๒๑“ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้อง ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อน การใด ๆ ทีผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความ ยินยอมเช่นว่านันเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอืน” Page 9 9 ผู้เยาว์ทํานิติกรรมได้ ๒ ทาง (๑) ทําด้วยตนเองโดยได้รับความ ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (๒) ทําโดยผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นผู้ทําแทน

นิติกรรมที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมมีผลอย่างไร

การทำนิติกรรมโดยปราศจากความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ส่งผลให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆียะ “โมฆียะ” นั้น หมายความว่า สัญญาหรือนิติกรรมนั้นๆ มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกกล่าวจากผู้มีอำนาจบอกล้างโมฆียะ และหากมีการบอกล้างโมฆียกรรมแล้ว ส่งผลให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ ส่งผลให้นิติกรรมนั้นเสียเปล่ามาตั้งแต่แรก และต้องคืนทรัพย์ให้แก่ ...

นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบมีผลทางกฎหมายอย่างไร

มาตรา 21 บัญญัติว่า “ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” จะเห็นได้ว่าผู้เยาว์จะทำนิติกรรม จะต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน เช่น ผู้เยาว์ต้องการเช่าบ้าน 1 หลัง ต้องการกู้เงิน ...