ข้อใดเป็นลักษณะการดำเนินนโยบายการคลังแบบหดตัวของรัฐบาล

นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ


นโยบายทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลหรือคณะบุคคล โดยมี จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งไว้

นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
                 1. นโยบายการเงิน หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ในการกำหนด และ ควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อ ให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของ ระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นการ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการชำระเงินระหว่าง
ประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                                  (1) นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืดของรัฐบาล โดยใช้ เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะทาง เศรษฐกิจในขณะนั้น ซึ่งเป็น การเพิ่มอำนาจการซื้อให้ประชาชน เป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจ ฟื้นตัว ทำให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น จูงใจให้ ลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้น ผลผลิต เพิ่มจนรายได้ประชาชาติสูงขึ้น เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืด

                                  (2) นโยบายการเงินแบบเข้มงวดหรือแบบรัดตัว เป็นการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของรัฐบาล โดยใช้เครื่องมือการเงินต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ ในขณะนั้น คือ ลดอำนาจการซื้อของประชาชนลง เป็นการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ

                 2. นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการหารายได้และการวางแผนการใช้จ่ายของ รัฐบาล นโยบายการคลัง เป็นเครื่องมือในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของรายได้ในประเทศ เพราะ ผลจากการดำเนิน นโยบายการคลังของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของรัฐบาลที่วางไว้ มี 3 ประเภท ดังนี้

                                  (1) นโยบายการคลังกับการเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติ การเก็บภาษีอากรและการ ใช้จ่าย ของรัฐบาลมีผลกระทบกับรายได้และค่าใช้จ่ายของประเทศ เพราะถ้ารัฐบาลเก็บภาษีใน อัตราที่สูงทำให้ประชาชน มีรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายได้จริงมีจำนวนลดลง ทำให้การบริโภคของ ประชาชนลดลง ถ้ารัฐบาลเก็บภาษี ในอัตราที่ต่ำจะทำให้ประชาชนมีรายได้เหลืออยู่ในมือจำนวน มาก ประชาชนจะบริโภคเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้ รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นด้วย

                                  (2) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบหดตัว เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ โดยการเพิ่มอัตราภาษีและลดรายจ่ายของรัฐบาล เพื่อลดปริมาณเงิน หมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ ลดความต้องการบริโภคของประชาชนลงและลดรายจ่าย ของรัฐบาล ทำให้ประชาชนมี รายได้ลดลง นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแบบเกินดุล คือต้องทำให้ รายรับสูงกว่ารายจ่าย

                                  (3) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบ ขยายตัว เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด โดยการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลและลดอัตราภาษี เพื่อเพิ่ม ปริมาณเงินหมุนเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ เพิ่มความต้องการบริโภคของประชาชน เพิ่มการลงทุน เพิ่มการจ้างงานและผลผลิต ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณ แบบขาดดุล คือต้องทำให้รายจ่าย สูงกว่ารายรับ

                 รายรับของรัฐบาล หมายถึง เงินที่รัฐบาลได้รับในรอบปี ได้แก่ รายได้รัฐบาลและเงินกู้ของรัฐบาล
                 รายได้ของรัฐบาล หมายถึง เงินภาษีอากร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมและรายได้เบ็ดเตล็ด
อื่น ๆ ในรอบปี

รายได้ของรัฐบาลที่สำคัญ คือ รายได้จากภาษีอากรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                 1. รายได้จากภาษีอากร
                 2. รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร
                 รายได้จากภาษีอากร หมายถึง                                   รายได้ที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้เพื่อใช้จ่ายในกิจกรรมของรัฐบาลเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และไม่มีผลตอบแทนโดยตรงจาก ผู้เสียภาษีอากร

                 รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้ เก็บ จากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้ จากค่าธรรมเนียม จดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่าง ๆ                  รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และรายได้ค่าปรับดอกเบี้ย เงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ

วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีอากร

                 1. เพื่อเป็นรายได้ของรัฐบาล ส่วนใหญ่มาจากภาษีอากร
                 2. เพื่อจัดสรรและกระจายรายได้ โดยยึดหลักการเก็บภาษีจากผู้ที่มีรายได้มาก ในอัตราที่สูงและ ยกเว้นรายได้ในกรณีไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
                 3. เพื่อเป็นการควบคุมการบริโภค การผลิต ตลอดจนการนำเข้าและส่งออก
                 4. เพื่อนำไปชำระหนี้ของรัฐบาลและพัฒนาประเทศ
                 5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการปรับอัตราภาษีให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ใช้แก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด

หลักการจัดเก็บภาษีที่ดี

                 1. หลักความยุติธรรม หมายถึง บุคคลทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีจากรายได้ของตนเอง
                 2. หลักความแน่นอน หมายถึง การกำหนดวิธีการปฏิบัติให้แน่นอน เพื่อให้ทุกคนถือปฏิบัติ ให้ เหมือนกัน เช่น อัตราการคำนวณภาษี วิธีการชำระภาษี ระยะเวลาในการชำระภาษี การจ่าย คืนภาษี ฯลฯ
                 3. หลักความสะดวก หมายถึง การกำหนดให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกในการเสียภาษี
                 4. หลักความประหยัด หมายถึง การคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีเมื่อเปรียบเทียบ กับรายได้
                 5. หลักความยืดหยุ่น หมายถึง การควบคุมภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำหรือรุ่งเรือง จนเกินไป

ประเภทของภาษีอากร
                 1. การแบ่งตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
                                  (1) การเก็บภาษีจากทรัพย์สิน ได้แก่ ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน
                                  (2) การเก็บภาษีจากการขายหรือใช้สิ่งของ ได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
                                  (3) การเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล

                 2. การแบ่งตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
                                  (1) ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ฯลฯ
                                  (2) ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีอากรสามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ


Ref : http://www2.se-ed.net/nfed/economic/index_eco.html 14/02/2008