สนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยใด

ऐसा लगता है कि आप बहुत तेज़ी से काम करके इस सुविधा का दुरुपयोग कर रहे हैं. आपको इसका उपयोग करने से अस्थायी रूप से ब्लॉक कर दिया गया है.

अगर आपको लगता है कि यह हमारे कम्युनिटी स्टैंडर्ड के विरुद्ध नहीं है, तो हमें बताएँ.

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ เมื่อพ.ศ.2398 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความสำคัญต่อไทย คือ เป็นการเปิดกว้างประเทศไทย ทำให้ไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทำให้ไทยเริ่มการปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบสากล สนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ แต่ทำให้ไทยถูกจำกัดในเรื่องสิทธิการเก็บภาษีขาเข้า เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเรื่องคนในบังคับต่างชาติ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับชาติตะวันตก คือ อังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2369 โดยเป็นสนธิสัญญาที่เท่าเทียมกันไม่มีชาติใดเสียเปรียบต่อกัน ต่อมาใน พ.ศ. 2385 อังกฤษทำสนธิสัญญาหนานจิง (หรือนานกิง)กับจีน อังกฤษได้สิทธิพิเศษในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือคนในบังคับอังกฤษเมื่อทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลและถูกลงโทษตามกฎหมายจีน และข้อกำหนดอัตราภาษีขาเข้าที่ต่ำและชัดเจน ซึ่งต่อมากำหนดไว้ที่ร้อยละ 5 อังกฤษจึงต้องการปรับปรุงสนธิสัญญากับไทยให้ทำเหมือนอย่างจีน

สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี กับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2375 ก็ต้องการปรับปรุงสนธิสัญญากับไทยเหมือนกัน จึงได้ส่งทูตเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางพระราชไม่ตรีในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ไม่ทรงยินยอมเพราะทรงเห็นว่าสนธิสัญญาที่มีอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ต่อมาอังกฤษได้ส่งทูตเข้ามาขอแก้ไขสนธิสัญญาอีกแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงยินยอมเช่นกัน

การที่ไทยไม่ยินยอมแก้ไขสนธิสัญญาทำให้ทั้งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่พอใจ จนคิดจะใช้กำลังบีบบังคับไทยเช่นเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือไปบีบบังคับญี่ปุ่นจนสำเร็จมาแล้ว (สหรัฐอเมริกาใช้กำลังทางเรือบังคับญี่ปุ่นให้เปิดประเทศ และทำสนธิสัญญาคานากาวะ (Kanagawa) เมื่อ พ.ศ. 2397)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องยินยอมตามข้อเรียกร้องของชาติตะวันตก จึงทรงติดต่อกับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง(Sir John Bowring) ข้าหลวงอังกฤษประจำเกาะฮ่องกง ผู้ซึ่งจะเป็นราชทูตมาเจรจาไขสนธิสัญญากับไทยว่ายินดีที่จะแก้ไขสนธิสัญญา แต่ขอเวลาให้งานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จสิ้นก่อน  และขอทราบความต้องการของอังกฤษในการแก้ไขสนธิสัญญา เพื่อไทยจะได้ปรึกษาเป็นการภายในก่อน การแก้ไขสนธิสัญญาก็จะทำได้เร็วขึ้น

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เดินทางเข้ามาถึงเมืองไทยในปลายเดือนมีนาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และทรงตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงธิราชสนิทเป็นประธาน ทำกันที่พระราชวังเดิม คือ พระราชวังเก่าของพระเจ้าตากสินมหราราช การเจรจาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และมีการลงนามในสนธิสัญญาในต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2398

สาระสำคัญของสนธิสัญญา  
                1.คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ ณ กรุงเทพฯหรือในสยามจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุม ของกงสุลอังกฤษโดยทางสยามจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวทำได้เพียงช่วยเหลือจับกุมให้อังกฤษ นับเป็นครั้งแรกที่สยามมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ประชากรต่างด้าว
                2.คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรี ในเมืองท่าทุกแห่งของสยามและสามารถพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นการถาวรได้  โดยสยามไม่ห้ามปรามและสามารถจ้างลูกจ้าง มาช่วยสร้างบ้านเรือนได้โดยไทยไม่ห้ามปราม คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าได้ (อาณาเขตสี่ไมล์สองร้อยเส้นไม่เกินกำลังเรือแจวเดินทางในยี่สิบสี่ชั่วโมงจากกำแพงพระนคร) คนในบังคับอังกฤษยังได้รับอนุญาตให้เดินทางได้อย่างเสรีในสยามโดยมีหนังสือที่ได้รับการรับรองจากกงสุล
                3.ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ร้อยละ3ยกเว้นฝิ่นที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษี ส่วนเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ของพ่อค้าไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน สินค้าส่งออกให้มีการเก็บภาษีชั้นเดียว โดยเลือกว่าจะเก็บภาษีชั้นใน(จังกอบภาษีป่าภาษีปากเรือ)หรือภาษีส่งออก
                4.พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงได้กับเอกชนสยาม โดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวางหรือเบียดเบียน
                5.รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ ในการห้ามส่งออกข้าวเกลือและปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีทีท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ
                6.คนในบังคับของอังกฤษจะมาค้าขายตามหัวเมืองชายฝั่งทะเลของสยามได้ แต่จะต้องอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯแลจังหวัดที่ระบุไว้ในสัญญา
                7.ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใดๆแก่ชาติอื่นๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ก็จะต้องยอมให้อังกฤษแลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน
                สนธิสัญญาเบาว์ริง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไทย ดังนี้

1.  เป็นการเริ่มต้นการค้าเสรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้ต่างชาติเข้ามาค้าขายเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก จนทำให้ผู้คนภายในประเทศมีฐานะดีขึ้นกว่าเดิม

2.  ข้าวกลายเป็นสินค้าสำคัญของไทย จนกระทั่งปัจจุบัน

3.  ไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น วัฒนธรรมไทยมีการปรับตัวให้เหมาะสมมีการรับวัฒนธรรมและวิทยาการของชาติตะวันตกเข้ามามากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผลเสียของสนธิสัญญาเบาว์ริงก็มีเหมือนกัน ดังนี้

1. ไทยถูกจำกัดการเก็บภาษีขาเข้าที่อัตราร้อยละ 3

2. เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและคนในบังคับ ทำให้ประเทศตะวันตกชักชวนคนชาติเอเชียไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ กฎหมายไทยจึงไม่สามารถควบคุมคนเหล่านั้นได้

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ได้ทรงพยายามเจรจากับชาติตะวันตกเพื่อขอแก้ไขสนธิสัญญาและประสบผลสำเร็จในบางส่วน พระมหากษัตริย์ในสมัยต่อมาทรงพยายามดำเนินงานต่อ จนประสบผลสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2481 ทำให้ไทยสามารถเพิ่มอัตราภาษีได้และสิทธิสภาพนอกอาณาเขตรวมทั้งปัญหาคนในบังคับจึงสิ้นสุดลง

สนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นในรัชสมัยใด

สนธิสัญญาเบาว์ริงลงนามในสมัยรัชกาลที่ 4 ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและอังกฤษ เดิมถูกกำหนดไว้โดยสนธิสัญญา เบอร์นี ในปี 2369 และซึ่งเบาว์ริงใช้สนธิสัญญานี้เป็นจุดเริ่มต้นเจรจา

สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบในด้านใดบ้าง

ตามสนธิสัญญาเบาว์ริง ไทยได้รับเงื่อนไขให้เก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ซึ่งยังเสียเปรียบกว่าจีนและญี่ปุ่นที่ถูกบังคับให้เก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 5 โดยตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างอังกฤษกับญี่ปุ่น พ.ศ. 2400 อังกฤษยังยอมให้สินค้าบางชนิดเก็บอัตราภาษีขาเข้าสูงกว่าร้อยละ 5 โดยบางชนิดสูงถึงร้อยละ 35 ก็มี ส่วน ...

สนธิสัญญาเบาว์ริงเกิดขึ้นได้อย่างไร

สนธิสัญญาเบาว์ริง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 พ.ศ. 2398 อังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อทำสนธิสัญญาทางการค้า สนธิสัญญาฉบับนี้มีชื่อเรียกตามนามของทูตที่เข้ามาเจรจาว่า "สนธิสัญญาเบาว์ริง" จอห์น เบาว์ริง

สนธิสัญญาเบาว์ริง มีอะไรบ้าง

สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่าง ชาติเข้ามาทำการค้า เสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตก ได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษ ในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้