ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

แผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนในหลายชนิดที่มีความเร็วแตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคลื่นเหล่านี้เพื่อระบุพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหว ในขณะที่นักธรณีฟิสิกส์อาจใช้สมบัติของการสะท้อนและการหักเหของคลื่นไหวสะเทือนผ่านชั้นหินต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างใต้ดิน

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

คลื่นไหวสะเทือน (Seismic Wave) เป็นคลื่นที่ถ่ายทอดพลังงานผ่านภายในโลก อาจเกิดจากแผ่นดินไหว, การระเบิด, หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดคลื่นความถี่ต่ำ คลื่นไหวสะเทือนอาจถูกตรวจรับได้ด้วย seismograph, geophone, hydrophone หรือ accelerometer ความเร็วของการกระจายของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นและความยืดหยุ่นของตัวกลาง เนื่องจากความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในชั้นหินระดับลึก ความเร็วของคลื่นในชั้นหินลึกจึงมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าความเร็วของคลื่นบริเวณผิวโลก ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ถึง 8 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นเปลือกโลก และอาจสูงถึง 13 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นแมนเทิลระดับลึก

คลื่นแผ่นดินไหว หรือคลื่นไหวสะเทือน (seismic waves) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. คลื่นในตัวกลาง (Body Wave)
  2. คลื่นพื้นผิว (Surface Wave)

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

1.คลื่นในตัวกลาง (Body Wave) เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว คลื่นที่เดินทางทะลุผ่านโลก เส้นทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจหักเหให้เคลื่อนไปจากเส้นตรงเนื่องจากความแตกต่างของความหนาแน่นและความยืดหยุ่นของโครงสร้างภายในของโลก ในขณะเดียวกันคุณสมบัติเหล่านี้ของชั้นหินอาจเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ องค์ประกอบ และสถานะ การหักเหของคลื่นไหวสะเทือนเป็นไปในลักษณะเดียวกับคลื่นแสง

คลื่นในตัวกลางแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

  • คลื่นปฐมภูมิ (Primary Wave)
  • คลื่นทุติยภูมิ (Secondary Wave)

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave)

  • คลื่นปฐมภูมิ (Primary Wave)คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ

การเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิในระนาบ 2 มิติ

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

คลื่นเส้นตรง

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

  • คลื่นทุติยภูมิ (Secondary Wave) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่นเคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง

การเคลื่อนที่ของคลื่นทุติยภูมิในระนาบ 2 มิติ

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร
คลื่นเส้นตรง

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

คลื่นจุด

2.คลื่นพื้นผิว (Surface Wave)เป็นคลื่นที่แผ่จาก จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เป็นคลื่นที่เดินทางไปตามผิวโลกโดยไม่แพร่เข้าไปภายในของผิวโลกระดับลึก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในแผ่นดินไหวระดับตื้น คลื่นพื้นผิวนี้มีแอมพลิจูดสูงกว่าคลื่นในตัวกลางซึ่งหมายถึงระดับพลังงานที่สูงกว่า นั่นคือความเสียหายหลักจากแผ่นดินไหวเกิดจากคลื่นประเภทนี้ในขณะที่คลื่นในตัวกลางจะก่อผลกระทบในระดับที่น้อยกว่า เนื่องจากการเคลื่อนที่ของคลื่นพื้นผิวใน 2 มิติ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานที่น้อยกว่าการเคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางซึ่งเป็น 3 มิติ

คลื่นพื้นผิว (Surface Wave) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • คลื่นเลิฟ (Wave of Love : Love wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบ มีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น และไม่ก่อให้เกิดการกระจัดในแนวดิ่ง ในลักษณะเดียวกับการเลื้อยของงูไปตามผิวดิน

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

คลื่นเลิฟ (L wave)

  • คลื่นเรลีย์ (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave)อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น พื้นผิวโลกเกิดการเคลื่อนไหวในเชิงวงรีโดยมีแกนหลักในแนวแกนดิ่ง เป็นสาเหตุทำให้พื้นโลกสั่นขึ้นลง

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

คลื่นเรย์ลี (R wave)

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

ภาพจำลองการเคลื่อนที่ของคลื่นต่างๆ

การใช้ประโยชน์จากคลื่นตัวกลางเพื่อระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

การเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิบนแผนภาพเดียวกัน

ในพื้นที่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว เราสามารถใช้ผลต่างของเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพื่อหาระยะห่างของศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวกับพื้นที่นั้น ในกรณีของแผ่นดินไหวที่พลังงานถูกปลดปล่อยทั่วไปในระดับโลก เวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิซึ่งถูกบันทึกจากสถานีวัดการเกิดแผ่นดินไหวอย่างน้อยสี่สถานีสามารถนำมาใช้เพื่อคำนวณหาตำแหน่งของจุดศูนย์กลางรวมถึงเวลาของการเกิดแผ่นดินไหว

โดยปกติแล้ว นักวิทยาศาสตร์เลือกที่จะอ้างอิงจากข้อมูลของหลายสิบสถานีเพื่อความแม่นยำในการระบุจุดเหนือศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว เราเรียกความต่างระหว่างระยะเวลาที่ใช้หากแผ่นดินไหวเกิดที่จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว (บนผิวโลก) กับระยะเวลาที่ใช้จริงว่าเรสิดวล (residual) โดยปกติแล้วเรสิดวลจะมีค่าประมาณ 0.5 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น โดยจะมีค่าเพียง 0.1-0.2 สำหรับแผ่นดินไหวในวงแคบ นั่นคือความแตกต่างของคลื่นแผ่นดินไหวไม่ว่าจะเกิด ณ ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว หรือเกิด ณ จุดเหนือศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวมีค่าไม่ต่างกันมากนัก โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะถูกสร้างให้คำนวณโดยตั้งสมมุติฐานเริ่มต้นว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระดับลึกที่ 33 กิโลเมตร แล้วจึงลดค่าเรสิดวล (เพิ่มความแม่นยำ) โดยการเปลี่ยนระดับความลึก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ระดับความลึกไม่เกิน 40 กิโลเมตร และมีบางกรณีที่เกิดที่ระดับความลึกที่ 700 กิโลเมตร

วิธีการที่รวดเร็วสำหรับใช้หาระยะห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวถึงสถานีสำรวจสำหรับกรณีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นไม่ไกลว่า 200 กิโลเมตรสามารถทำได้โดยใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุตยภูมิในหน่วยวินาทีแล้วคูณด้วย 8 กิโลเมตรต่อวินาที ระบบวัดคลื่นไหวสะเทือนสมัยใหม่ใช้เทคนิคที่ซับซ้อนกว่านี้

สำหรับแผ่นดินไหวที่ห่างจากสถานีวัดมากๆ คลื่นปฐมภูมิแรกที่วัดได้จะเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นแมนเทิล และในบางกรณีอาจเคลื่อนที่ไกลถึงชั้นแก่นโลกชั้นนอกก่อนที่จะเคลื่อนที่กลับขึ้นมาสู่สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ผิวโลก คลื่นไหวสะเทือนเหล่านี้สามารถเคลื่อนที่ในระดับลึกชั้นแมนเทิลได้เร็วกว่าการเคลื่อนที่ไปตามชั้นเปลือกโลก การเดินทางของคลื่นลึกภายในดาวเคราะห์ที่เร็วกว่าระดับตื้นเรียกว่าหลักของออยแกน (Huygens’ Principle) ถึงแม้ความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับลึกจะเป็นตัวชะลอความเร็วของคลื่น แต่เนื่องจากค่าความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นส่งผลเร่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นในสัดส่วนที่มากกว่า นั่นคือคลื่นเดินทางได้เร็วกว่าในชั้นโลกระดับลึกและหมายถึงระยะเวลาที่สั้นกว่า

ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นจะถูกคำนวณอย่างแม่นยำเพื่อระบุจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว เนื่องจากคลื่นปฐมภูมิเดินทางด้วยความเร็วหลายกิโลเมตรต่อวินาที ความคลาดเคลื่อนในการจับเวลาเพียงครึ่งวินาทีอาจหมายถึงความคลาดเคลื่อนในระยะห่างหลายกิโลเมตร ในทางปฏิบัติจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลคลื่นปฐมภูมิจากหลายสถานีเพื่อลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นนี้ และทำให้สามารถคำนวณจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้ใกล้เคียง 10-50 กิโลเมตรเมื่อใช้ข้อมูลจากสถานีวัดแผ่นดินไหวรอบโลก ระบบเครือข่ายสถานีแผ่นดินไหวที่มีจำนวนมากในแคลิฟอร์เนียสามารถคำนวณได้ใกล้เคียงระดับกิโลเมตร และอาจคำนวณได้แม่นยำมากขึ้นเมื่อคำนวณจาก cross-correlation ของไซส์โมแกรมโดยตรง

ตัวอย่างการหาจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

เครื่องวัดความไหวสะเทือน (Seismograph) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ปากกาซึ่งติดตั้งบนตุ้มน้ำหนักซึ่งแขวนห้อยติดกับลวดสปริง และม้วนกระดาษบันทึกการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว (Seismogram) โดยที่ทั้งสองส่วนติดตั้งบนแท่นซึ่งยืดอยู่บนพื้นดิน เครื่องวัดความไหวสะเทือนทำงานโดยอาศัยหลักการของความเฉี่อย (Inertia) ของลวดสปริงที่แขวนลูกตุ้ม เมื่อแผ่นดินยกตัวลวดสปริงจะยืดตัว และถ้าหากแผ่นดินจมตัวลวดสปริงก็จะหดขึ้น ดังนั้นไม่ว่าแผ่นดินจะเคลื่อนไหวอย่างไร ลวดสปริงจะคงระดับของตุ้มน้ำหนักไว้ที่ระดับเดิมเสมอ ส่วนม้วนกระดาษจะเคลื่อนที่ขึ้นลงตามการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน ดังนั้นปลายปากกาที่ติดตั้งฉากกับตุ้มน้ำหนักจึงวาดเส้นกราฟบนม้วนกระดาษซึ่งหมุนรอบแกน เพื่อบันทึกค่าการสั่นไหวของคลื่นไหวสะเทือน (หมายเหตุ: ในความเป็นจริง เครื่องวัดความไหวสะเทือนจะวัดค่าการสั่นสะเทือนทังในแกนตั้งและแกนนอน)

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

การทำงานของเครื่องวัดความไหวสะเทือน

ในการวิเคราะห์ตำแหน่งจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) นั้น จะต้องอาศัยเครื่องวัดความไหวสะเทือนหลายชุด ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคลื่นในตัวกลางซึ่งประกอบด้วยคลื่น P และคลื่น S จะเดินผ่านภายในของโลกโดยคลื่น P จะเคลื่อนที่เร็วกว่าคลื่น S ส่วนคลื่นพื้นผิว (เช่น คลื่น L และคลื่น R) จะเดินทางไปตามพื้นผิวโลกซึ่งเคลื่อนที่ช้ากว่าคลื่นในตัวกลาง เครื่องวัดความไหวสะเทือนจะบันทึกค่าการไหวสะเทือนของ คลื่น P ได้ก่อนคลื่น S แล้วตามด้วยคลื่นพื้นผิว ตามลำดับ สถานี ก ที่อยู่ใกล้จุดเกิดแผ่นดินไหว (Focus) จะบันทึกค่าการไหวสะเทือนได้ก่อนสถานี ข ซึ่งอยู่ไกลกว่า

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

การเดินทางของคลื่นไหวสะเทือน

เมื่อนำค่าที่ได้จากเครือข่ายเครื่องวัดความไหวสะเทือนอย่างน้อย 3 ชุด มาสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลา โดยให้แกนนอนเป็นระยะทางจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และแกนตั้งเป็นระยะเวลาที่คลื่นไหวสะเทือนต้องใช้ในการเดินทางจากจุดกำเนิด ก็จะได้กราฟเส้นโค้งระยะทาง-เวลา (Time travel curves) นำคาบความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่บันทึกได้มาวิเคราะห์หาระยะห่างไปยังจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Focus)

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางและเวลาการเกิดแผ่นดินไหว

จากนั้นนำระยะทางที่ได้มาสร้างวงกลมสามวงบนแผนที่ โดยให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่เครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือนแต่ละเครื่อง และให้รัศมีของวงกลมแต่ละวงเป็นยาวเท่ากับระยะทางที่คำนวณได้จากกราฟระยะทาง-เวลา วงกลมทั้งสามวงก็จะตัดกันที่จุดเดียวกันคือ จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter)

ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เรียกว่า อะไร

การหาจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

วีดีโอยูทูปเรื่อง คลื่นแผ่นดินไหวแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ สสวท.

วีดีโอยูทูปเรื่อง seismic waves

วีดีโอยูทูปเรื่อง Seismic Waves

วีดีโอยูทูปเรื่อง Types of seismic waves

วีดีโอยูทูปเรื่อง Mr. Comerford – Seismic Waves Rap

วีดีโอยูทูปเรื่อง How to locate an epicenter

วีดีโอยูทูปเรื่อง Determining the Epicenter Distance of an Earthquake

—————————————————————————

data sources :

http://th.wikipedia.org

http://www.dmr.go.th

http://www.youtube.com

http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geological-phenomenon/earthquake