กระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีหน้าที่อะไร

2. การปฏิรูประบบราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกันจากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่าง ๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

3. การสาธารณูปโภค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานและถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคมและส่งเสริมการเพาะปลูก การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลังต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 การไฟฟ้าพระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2433 การไปรษณีย์โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลขซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

4. การเสด็จประพาส การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2440 ครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ที่เสด็จฯ

5. การศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

เป็นรูปเทพยดานั่งในดอกบัว ถือดอกบัวข้างขวา ถือวชิระข้างซ้ายนั้น เป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งใช้มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตราบัวแก้วเป็นตราซึ่งเจ้าพระยาคลังใช้ประทับในเอกสารของกรมเจ้าท่าและที่ เกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกราชการด้านการคลังออกจากกรมท่า ตราบัวแก้วจึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ กรมท่า และต่อมาเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ

การสถาปนากระทรวงการต่างประเทศ

ในตอนต้นของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวน้้น การต่างประเทศ และการคลังของแผ่นดินยังอยู่รวมกันภายใต้เสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุ นิติภาวะ และทรงบริหารราชการแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2416 นั้น การติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลตะวันตก ได้กลายเป็นราชการประจำและในขณะเดียวกันปัญหาสำคัญที่รัฐบาลประสบคือ การคลังของแผ่นดิน เนื่องจากก่อนหน้านั้น การเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้หลักของแผ่นดินได้กระจายอยู่ตามส่วนราชการ ต่าง ๆ

กระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีหน้าที่อะไร

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงสถาปนากระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2418

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงแก้ไขปัญหาการคลังเป็น เรื่องแรก โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 เพื่อเป็นที่รวบรวมรายได้แผ่นดินและตรวจภาษีอากรของส่วนราชการต่าง ๆ และเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมพระคลังมหาสมบัติออกจากกรมท่า

กระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีหน้าที่อะไร

เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดีเสนาบดี

กระทรวงการต่างประเทศคนแรกระหว่างปี 2418-2428

กระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีหน้าที่อะไร

พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ดำรงตำแหน่ง "ผู้ว่าการต่างประเทศ" และให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 เป็นวันสถาปนากระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีหน้าที่อะไร

พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี 2495-2501

ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ระหว่างปี 2499-2500

วิวัฒนาการของกระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีหน้าที่อะไร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯเสนาบดีกระทรวกการต่างประเทศ12 มิถุนายน พ.ศ. 2428 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466

ถึงแม้ว่ากรมพระคลังมหาสมบัติจะได้แยกออกไปจากกรมท่า และมิได้อยู่ภายใต้เสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2418 แล้วก็ตาม แต่กรมท่าก็ยังคงมีส่วนราชการซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการต่าง ประเทศ หัวเมืองขึ้นและศาลอยู่ในสังกัดอีกจำนวนหนึ่ง

การโอนส่วน ราชการซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศไปสังกัดกระทรวงหรือกรม อื่นได้เริ่มขึ้นโดยการโอนกรมอาสาใหม่ซ้าย - ขวา ไปสังกัดกระทรวงกลาโหม และโอนกรมพระคลังราชการกับกรมพระคลังป่าจากไปสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในปี พ.ศ. 2430

โอนศาลกรมท่ากลาง ศาลกรมท่าซ้าย ศาลกรมท่าขวา และศาลต่างประเทศ ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกระทรวงนั้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434

โอนหัว เมืองขึ้น 14 เมืองไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437

โอนกรมท่าซ้ายไปสังกัดกระทรวงนครบาลเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 และโอนกรมท่าขวาไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2470

ในการแปรสภาพกรมท่ากลางให้เป็นกระทรวงการ ต่างประเทศตามแนวทางบรรดาอารยประเทศนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ ได้ทรงดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการขอพระราชทานที่ทำการเสนาบดีและข้าราชการทุกคนแทนการใช้วัง หรือบ้านของเสนาบดีเป็นที่ทำการ ซึ่งก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ให้ใช้เป็นที่ทำการแห่งแรก เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2428 โดยใช้ชื่อว่า "ศาลาว่าการต่างประเทศ" และยังไม่ใช้ชื่อว่า "กระทรวงการต่างประเทศ"

กระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีหน้าที่อะไร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ12 มิถุนายน พ.ศ. 2428 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466

ถึงแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ จะทรงใช้ตำแหน่ง "เสนาบดีว่าการต่างประเทศ" แล้วก็ตาม สำหรับชื่อ "กระทรวงการต่างประเทศ" นั้น ปรากฏว่าได้เริ่มใช้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิก ระบบจตุสดมภ์และทดลองใช้ระบบเสนาบดีสภาเมื่อปี พ.ศ. 2431 โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นหนึ่งในสี่กระทรวงแรกของแผ่นดิน และต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ระบบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการ 12 กระทรวง และเสนาบดีสภาเป็นการถาวร กระทรวงการต่างประเทศก็เป็น 1 ใน 12 กระทรวงดังกล่าว

สำหรับการจัด ระบบการปฏิบัติราชการในศาลาว่าการต่างประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ ได้ทรงริเริ่มการใช้ระบบสารบรรณและบรรณสารตามแบบสากล การใช้ระบบเงินเดือน การจัดทำทะเบียนประวัติ และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งต่าง ๆ ให้แน่ชัด กระทรวงการต่างประเทศได้มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ จนถึงปัจจุบัน