รูป แบบ ในการจัดการ ศึกษาในแต่ละยุค

ไทยแลนด์ 3.0 มุ่งสู่อุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการเปิดนิคมอุตสาหกรรมมากมาย ต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างหลากหลาย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 7 – 8% ต่อปี มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติ แม้จะมีการลงทุนจากต่างประเทศในเรื่องโรงงานอุตสาหกรรมหลากหลาย มีการจ้างแรงงานในประเทศมากมายก็ตาม แต่รายได้ของคนส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในรายได้ปานกลาง มีความเหลื่อมลํ้าทางสังคม และรายได้สูง ประเทศไทยเป็นเพียงแค่รับจ้างในการผลิตเท่านั้น เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพลาสติก การจัดการศึกษาในยุค 3.0 เป็นยุค พ.ศ. 2551 เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน โดยเพิ่มสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มีการกำหนดตัวชี้วัดมาให้ เป็นการจัดหลักสูตรที่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่างๆ ของโลกยุคปัจจุบัน มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก จุดหมายของหลักสูตร มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ

ไทยแลนด์ 4.0 เป็นโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการเข้าสู่ยุคที่ประเทศไทยต้องมีนวัตกรรมเป็นของตนเองเป็นยุคเทคโนโลยี Creative และ Innovation เน้นการสร้างให้คนไทยสามารถคิดเองได้ ไม่ต้องพึ่งจากต่างชาติ การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ

เส้นทางสู่การศึกษาไทย 4.0 : เพื่อให้ก้าวไปสู่การศึกษาไทย 4.0 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดส่งเสริมสนับสนุนโครงการสำคัญ ได้แก่ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนานักวิจัยหลากหลายสาขา การจัดการเรียนการสอน STEM (STEM เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์:Science เทคโนโลยี:Technology วิศวกรรมศาสตร์:Engineering และคณิตศาสตร์:Mathematics หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน)
ทิศทาง  ในการสร้างเด็กยุคไทยแลนด์ 4.0 สร้างเด็กและเยาวชนไทยให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะในการประยุกต์ให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างความคิดของเด็กและเยาวชนไปสู่ที่ยากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ การพัฒนาเด็กต้องพัฒนาทั้งด้านความรู้ และทักษะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้จากปัญหาจริงที่เกิดขึ้น เรียกว่าเป็น Problem Based Learning

การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21  เริ่มด้วยการฝึกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนจากครูสอนเป็นพี่เลี้ยง ครูฝึก (Coach) การเรียนแบบบูรณาการสหวิชาการ เชื่อมโยงความรู้กับจินตนาการ เปลี่ยนแปลงไปสู่รูปธรรมให้ผู้เรียนมีทักษะที่ต้องการ เช่น การทำงานร่วมกัน ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารที่ดี ซึ่งการจัดการศึกษาต้องสร้างความพอใจให้ผู้เรียนและท้าท้ายสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอยากเรียน

ไทยแลนด์ 4.0 เป็นสิ่งที่ดี ถ้าเป็นไปตามโมเดลนี้ ประเทศจะต้องมีนวัตกรรมเป็นของตนเองอย่างแน่นนอน ฉะนั้น การศึกษา 4.0 เป็นส่วนหนึ่งของไทยแลนด์ 4.0 ที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ จึงต้องอาศัยทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ การปฏิรูปการศึกษาต้องเน้นที่ห้องเรียน โดยเฉพาะครูต้องปรับการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นและเสริมสร้างทักษะของผู้เรียน

วิวัฒนาการการจัดการศึกษาไทย   ได้บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยแต่ละยุคแต่ละสมัย
การศึกษาประวัติและวิวัฒนาการศึกษาของไทยที่ผ่านมา เพื่อที่จะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้เรียนรู้ทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับแนวคิดการจัดศึกษาของไทยยุคสมัยโบราณ การจัดการศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย การจัดการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา
การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การจัดการศึกษาของไทยสมัยปฏิรูป ยุคแรกเริ่ม ยุคขยายงาน ยุคแสวงหา
ยุคพัฒนา ยุคแห่งความหวัง การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน

แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยโบราณ
การศึกษาไทยยุคสมัยโบราณ จัดการศึกษาที่ไม่มีระบบและแบบแผน คือ ไม่มีระบบโรงเรียน และชั้นเรียน วัดเป็นแหล่งให้ความรู้ มีพระภิกษุเป็นผู้สอนเพียงเพื่อประกอบอาชีพ วิชาความรู้ส่วนใหญ่ที่ถ่ายทอดไม่มีการจดบันทึกไว้ ใช้ความสามารถในการท่องจำมากกว่า ซึ่งการจัดการศึกษาสมัยโบราณไม่มีแบบแผนและรูปแบบที่ชัดเจน จึงทำให้การศึกษาไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมากนัก


แหล่งข้อมูล : http://tomapichai.blogspot.com/2014/09/blog-post_16.html

วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก from Chainarong Maharak