ข้อแตกต่างระหว่างระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำและระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต ข้อใดถูกต้อง

ลักษณะสำคัญของวิธีการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต มีดังต่อไปนี้
           1.  กิจการผลิตต้องมีการรวบรวมข้อมูลการผลิตของแต่ละแผนกที่มีหน้าที่ทำการผลิตสินค้า และจัดทำรายงานแยกเป็นแผนก ๆ ไป เช่น แผนกปั่น แผนกย้อมสี แผนกทอ เป็นต้น
            2.  ในการผลิตต้นทุนการผลิตจะประกอบด้วย วัตถุดิบ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายการผลิต แต่ละแผนกจะรวบรวมต้นทุนการผลิตออกมาเป็นงวด ๆ ซึ่งปกตินิยมรวบรวมต้นทุนของแต่ละแผนกตามงวด 1 เดือน และนำต้นทุนการผลิตไปบันทึกรายการเข้าบัญชีงานระหว่างทำของแต่ละแผนก
            3.  แผนกที่มีหน้าที่ทำการผลิตจะรวบรวมหน่วยผลิตเสร็จจากแผนกและโอนออก ในกรณีที่กิจการผลิตมีหน่วยที่ยังผลิตไม่เสร็จคือ งานระหว่างทำ (Work in Process) หรือสินค้าระหว่างผลิต (Goods in Process) ต้องมีการปรับยอดให้เป็นหน่วยเทียบเท่าหน่วยที่ผลิตเสร็จ (Equivalent Units) 
            4.  กิจการผลิตต้องทำการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของแต่ละแผนกในแต่ละงวด
            5.  ต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปเป็นต้นทุนที่ถูกสะสมขึ้นโดยแผนกต่าง ๆ ตั้งแต่แผนกแรกจนถึงแผนกสุดท้ายที่ผลิตสินค้านั้นสำเร็จ ซึ่งคำนวณมาจากต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวดกับต้นทุนผลิตต่าง ๆ ที่นำเข้าสู่กระบวนการผลิต
            6.  มีการจัดทำงบต้นทุนการผลิตหรือรายงานต้นทุนการผลิต (Cost of Production Reports) ซึ่งแยกตามแผนกผลิตแต่ละแผนก และแสดงให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตรวมและต้นทุนการผลิตต่อหน่วย

ลักษณะการผลิตตามวิธีการบัญชีตูนทุนช่วงการผลิต

        การผลิตตามวิธีการบัญชีตูนทุนช่วงการผลิต มีหลายแบบที ่แตกต่างกันตามลักษณะกระบวนการผลิต ซึ ่งแยกออกเป็น

    1. การผลิตแบบเรียงลำาดับ (Sequential processing)เป็นการผลิตที ่ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านกระบวนการผลิตทุกแผนกตามลำาดับ ตูนทุนจะเก็บสะสมจากแผนกที ่1 โอนไปจนถึงแผนกสุดทูาย และเมื ่อผลิตเสร็จในแผนกสุดทูาย ตูนทุนที ่ ไดูจะเรียกว่าตูนทุนผลิตสินคูาสำาเร็จร้ป การผลิตแบบนี้เหมาะสำาหรับกิจการที ่ผลิตสินคูาเพียงอย่างเดียว หรือผลิตสินคูาที ่เหมือน ๆ กัน เช่น โรงงานผลิตขนมปัง โรงงานผลิตน้ำตาล

ต้นทุนช่วง

        นอกจากหน้าที่การจัดการด้านการบัญชีเกี่ยวกับเพื่อสะสมข้อมูลวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต (ดังกล่าวไว้ในบทที่ 3,4 และ 5) แล้ว ฝ่ายบัญชียังมีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เพื่อนำเสนอรายงานต่อฝ่ายบริหาร และฝ่ายต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารงาน ตลอดจนนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการจัดทำงบการเงินด้วย แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นวิธีการในการรวบรวมและนำเสนอรายงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าระบบบัญชีของกิจการที่ใช้อยู่ เป็นระบบใด กล่าวคือ หากกิจการที่มีการผลิตสินค้าตามคำสั่งลูกค้า ซึ่งมีเอกลักษณ์ และลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป กิจการนั้น ก็อาจใช้ “ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ” แต่หากกิจการใดที่มีการผลิตสินค้าคราวละมากๆ ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ และสินค้ามีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน กิจการนั้นๆ ก็อาจใช้ “ระบบบัญชีต้นทุนกระบวนการ” ดังได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องของระบบบัญชีตามลักษณะการผลิตสินค้า ในบทที่ 2

---------เนื่องจากวิธีการในการรวบรวม สะสมข้อมูล และนำเสนอรายงานด้านบัญชีต้นทุน ของระบบบัญชีต้นทุนทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ในบทนี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะ “ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ” ส่วน “ระบบบัญชีต้นทุนกระบวนการ” จะกล่าวไว้ในบทต่อไป

 

ข้อแตกต่างระหว่างระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำและระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต ข้อใดถูกต้อง

----------ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ(Job order costing) หมายถึง ระบบบัญชีที่ใช้ในการรวบรวม สะสม ข้อมูลต้นทุนการผลิตสินค้าของกิจการ ที่การผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า กล่าวคือกิจการจะรับงานจากลูกค้าเป็นรายๆ ไป แต่ละรายจะมีคำสั่งซื้อที่แตกต่างกันไป กิจการจะทำการผลิตสินค้าเป็นรุ่น ๆ สินค้าแต่ละรุ่นมีเอกลักษณ์ และลักษณะพิเศษแตกต่างกันไป ซึ่งอาจใช้วัตถุดิบหรือเวลาผลิตต่างกัน ทำให้ต้นทุนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันตามไปด้วย ดังนั้น ในการรวบรวมและสะสมต้นทุน จึงจำเป็นต้องแยกเป็นของงานแต่ละชิ้น สินค้าแต่ละรุ่น เป็นจำนวนเท่าใด เพื่อเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายบริหารในการนำไปใช้ในการตัดสินใจ เช่น การกำหนดราคาขาย การวางแผนการผลิต ตลอดจนให้ประโยชน์ในการควบคุมและวัดผลการปฏิบัติงานของพนักงาน หรือ ลูกจ้างอีกด้วย

 

ข้อแตกต่างระหว่างระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำและระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต ข้อใดถูกต้อง

----------ในส่วนของการบันทึกบัญชีสำหรับระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ จะเป็นการบันทึกโดยโอนต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต เข้างานระหว่างทำตามปกติ (ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 3,4 และ 5) สำหรับกิจการที่เลือกใช้การบันทึกบัญชีในระบบบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual) แต่ถ้ากิจการใดเลือกใช้การบันทึกบัญชีในระบบบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic) ก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกโอนบัญชีดังกล่าว

 

ข้อแตกต่างระหว่างระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำและระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต ข้อใดถูกต้อง

---------ตามระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำนั้น กิจการจำเป็นต้องรวบรวมและสะสมข้อมูลต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นของงานแต่ละชิ้น หรือสินค้าแต่ละรุ่นไว้ใน “บัตรต้นทุนงานสั่งทำ” (Job order sheet)

---------บัตรต้นทุนงานสั่งทำ

---------บัตรต้นทุนงานสั่งทำ หมายถึง บัตรซึ่งใช้ในการบันทึกการเกิดขึ้นของต้นทุนการผลิตอันได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายการผลิต ของงานแต่ละงาน สินค้าแต่ละรุ่น โดยบัตรต้นทุนงานสั่งทำนี้ จะทำหน้าที่เป็นบัญชีย่อยของบัญชีงานระหว่างทำ กล่าวคือ ไม่ว่ากิจการจะรับงานจากลูกค้ามากน้อยเพียงใด กิจการก็จะมี “บัญชีแยกประเภทงานระหว่างทำ” เพียงบัญชีเดียว แต่จะมี “บัตรต้นทุนทุนงานสั่งทำ” ของลูกค้าแต่ละรายประกอบ ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นในบัตรต้นทุนงานสั่งทำแต่ละใบเมื่อนำมารวมกันแล้ว จะต้องเท่ากับบัญชีคุมงานระหว่างทำ

---------รายละเอียดที่ปรากฏในบัตรต้นทุนงาน โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ชื่อลูกค้า ลักษณะและรูปแบบของงาน เลขที่งาน(ซึ่งจะมีการกำหนดเมื่อรับงาน) เพื่อความสะดวกในการจดบันทึก และค้นหาข้อมูล วันรับและส่งมอบงาน วันเริ่มและสิ้นสุดการผลิต และที่สำคัญคือ ข้อมูลต้นทุนแต่ละรายการ (วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต)ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ในบัตรต้นทุนงานสั่งทำยังต้องแสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับ ราคาขายซึ่งบางกิจการอาจใช้วิธีบวกเพิ่ม(Mark up) จากต้นทุน การผลิต กำไรขั้นต้น ตลอดจนกำไรสุทธิ

การคำนวณหน่วยเทียบเท่าหน่วยที่ผลิตเสร็จ (Equivalent Units)


                 ในการผลิตจริงเมื่อมีการใส่วัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่องกันไป  การผลิตจะต้องมีการรับหน่วยนำเข้าใหม่มาแทนที่ตลอดเวลาทำให้ผลออกมาจะมีทั้งหน่วยที่ผลิตเสร็จและหน่วยที่ผลิตไม่เสร็จ คือ งานระหว่างทำ  การคำนวณต้นทุนที่ใส่เข้าไปในการผลิตจะเป็นต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จและต้นทุนของงานระหว่างทำซึ่งต้นทุนต่อหน่วยจะไม่เท่ากัน เพราะจำนวนหน่วยบางส่วนผลิตสำเร็จและจำนวนหน่วยบางส่วนผลิตไม่เสร็จ  จึงเกิดเป็นปัญหาในการคำนวณต้นทุนต่อหน่วย  ดังนั้นต้องทำให้จำนวนหน่วยของหน่วยที่ผลิตไม่เสร็จหรืองานระหว่างทำเป็นหน่วยเทียบเท่าหน่วยที่ผลิตเสร็จ
ขั้นตอนการจัดทำงบต้นทุนการผลิต


            ขั้นตอนการจัดทำงบต้นทุนการผลิต แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้            ขั้นที่ 1  แสดงจำนวนหน่วยที่นำเข้าสู่การผลิตว่ามาจากไหนเป็นจำนวนเท่าใดและจำแนกมาเป็นจำนวนหน่วยนับได้ของหน่วยที่ผลิตเสร็จและหน่วยที่ผลิตไม่เสร็จ หรือหน่วยของงานระหว่างทำเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งจำนวนหน่วยที่ผลิตเสร็จจะโอนออกไปแผนกผลิตต่อไป หรือจะเป็นจำนวนสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำออกไปขาย  สำหรับจำนวนหน่วยของงานระหว่างทำปลายงวดจะนำไปทำต่อเป็นจำนวนหน่วยของงานระหว่างทำต้นงวดของงวดการผลิตต่อไป                      

           ขั้นที่ 2  การคำนวณหน่วยเทียบเท่าหน่วยที่ผลิตเสร็จ จะใช้กับหน่วยของงานระหว่างทำปลายงวดเพราะได้รับต้นทุนของปัจจัยการผลิตไม่ครบ 100 % ต้องคำนวณออกมาให้เป็นหน่วยเทียบเท่าหน่วยที่ผลิตเสร็จเป็นจำนวนเท่าใด สำหรับหน่วยที่ผลิตเสร็จมีจำนวนเท่าใด ก็จะเป็นหน่วยเทียบเท่าจำนวนนั้นเพราะได้รับต้นทุนของปัจจัยการผลิตครบ 100 %
           ขั้นที่ 3  รวบรวมต้นทุนการผลิตที่นำเข้าสู่ช่วงการผลิตของวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายการผลิตแต่ละแผนกการผลิตสำหรับงวดใดงวดหนึ่ง
           ขั้นที่ 4  คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบเท่าหน่วยที่ผลิตเสร็จ โดยคำนวณมาจากต้นทุนที่นำเข้าสู่การผลิตหารด้วยหน่วยเทียบเท่า หรือนำต้นทุนของปัจจัยการผลิตจากขั้นที่ 3 หารด้วยหน่วยเทียบเท่าจากขั้นที่ 2                          
           ขั้นที่ 5  สรุปต้นทุนโดยคำนวณต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จและโอนออก และต้นทุนของหน่วยงานระหว่างทำปลายงวด โดยใช้ข้อมูลจากขั้นที่ 2 และขั้นที่ 4 

การคำนวณต้นทุนการผลิตกรณีมีงานระหว่างทำต้นงวด            การคำนวณต้นทุนการผลิตกรณีมีงานระหว่างทำต้นงวด มี 2 วิธี คือ            1.  วิธีถัวเฉลี่ย หรือ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Average หรือ Weighted Average Costing) จะรวมต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวดกับต้นทุนที่นำเข้าระหว่างงวดเป็นต้นทุนผลิตที่คิดเข้าแผนกทั้งหมดแล้วหารด้วยจำนวนหน่วยเทียบเท่าจะเป็นต้นทุนถัวเฉลี่ยต่อหน่วยหรือคำนวณจาก            ต้นทุนต่อหน่วยเทียบเท่า  =  ต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวด + ต้นทุนระหว่างงวด
                                                                               หน่วยเทียบเท่า            2.  วิธีเข้าก่อน - ออกก่อน หรือ ผลิตก่อน - เสร็จก่อน (First-in, First-out หรือ Fifo) เป็นวิธีที่ต้องนำหน่วยที่ผลิตไม่เสร็จจากงวดที่แล้ว (งานระหว่างทำต้นงวด) มาทำการผลิตให้เป็นหน่วยผลิตเสร็จเสียก่อนแล้วจึงนำหน่วยนำเข้ามาทำการผลิตต่อไปให้เป็นหน่วยผลิตเสร็จและงานระหว่างทำปลายงวด  ต้นทุนต่อหน่วยจึงคำนวณจากต้นทุนการผลิตที่นำเข้าระหว่างงวดหารหน่วยเทียบเท่าหรือคำนวณจาก            ต้นทุนต่อหน่วยเทียบเท่า  =  ต้นทุนระหว่างงวด
                                                         หน่วยเทียบเท่า
ตัวอย่าง 1.  บริษัทดาวลูกไก่ จำกัด ผลิตสินค้าบันทึกบัญชีแบบต้นทุนช่วงการผลิตในแผนกกิจการใส่วัตถุดิบตอนต้นกระบวนการผลิตทั้ง 2 แผนก  ส่วนต้นทุนแปรสภาพใช้อย่างสม่ำเสมอตามขั้นความสำเร็จ                ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ได้มีข้อมูลทำการผลิต ดังนี้


                ปริมาณผลิต (หน่วย)                                                        แผนกต้ม           แผนกกลั่น                งานระหว่างทำต้นงวด (ขั้นความสำเร็จ 60%)                  50,000
                งานระหว่างทำต้นงวด (ขั้นความสำเร็จ 30% )                                               30,000
                หน่วยนำเข้า                                                                        100,000                   90,000
                หน่วยผลิตเสร็จและโอนออก                                               90,000
                หน่วยผลิตเสร็จและโอนไปคลัง                                                                        80,000
                งานระหว่างทำปลายงวด (ขั้นความสำเร็จ 80%)             60,000
                งานระหว่างทำปลายงวด (ขั้นความสำเร็จ 10%)                                           40,000
                ต้นทุนการผลิต (บาท)  งานระหว่างทำต้นงวด                                หน่วยรับโอน                                                             -                       30,000
                                วัตถุดิบ                                                             200,000                   180,000
                                ต้นทุนแปรสภาพ                                               50,000                     96,000                ต้นทุนผลิตระหว่างงวด                                วัตถุดิบ                                                             250,000                   300,000
                                ค่าแรง                                                               100,000                    60,000
                                ค่าใช้จ่ายในการผลิต                                     126,000                    12,000


                ให้ทำ  งบต้นทุนการผลิตทั้ง 2 แผนกประจำเดือนพฤษภาคม โดยคิดแบบถัวเฉลี่ย
วิธีทำ  แบบถัวเฉลี่ย        
                                                            บริษัท  ดาวลูกไก่  จำกัด
                                                                         งบต้นทุนการผลิตแผนกต้ม
                                                           สำหรับงวด  1  เดือน  สิ้นสุดวันที่  31  พฤษภาคม  25 X 1 
ปริมาณการผลิต  (หน่วย)                                                                            หน่วยเทียบเท่า   
                                                                           หน่วยนับได้           วัตถุดิบ         ต้นทุนเปลี่ยนสภาพ                        
         งานระหว่างทำต้นงวด                                                  50,000
         หน่วยงานนำเข้า                                                            100,000
                   รวม                                                                        150,000
         หน่วยผลิตเสร็จและโอนออก                                          90,000            90,000             90,000 
         งานระหว่างทำปลายงวด                                                60,000            60,000             48,000
                   รวม                                                                         150,000          150,000           138,000
ต้นทุนการผลิต (บาท)                                ต้นทุนรวม       ต้นทุนวัตถุดิบ   ต้นทุนเปลี่ยนสภาพ
         ต้นทุนงานระหว่างทำต้นงวด                            250,000           200,000             50,000
         ต้นทุนผลิตระหว่างงวด                                    476,000              250,000           226,000
         รวมต้นทุนคิดเข้าแผนก                                   726,000              450,000           276,000
         หารด้วยหน่วยเทียบเท่า                                                              150,000           138,000
         ต้นทุนต่อหน่วยเทียบเท่า                                     5.00                      3.00                2.00
ต้นทุนต่อหน่วยที่ผลิต :
         หน่วยที่ผลิตเสร็จและโอนออก (90,000 x 5)                             450,000
         งานระหว่างทำปลายงวด :-
         วัตถุดิบ (60,000 x 3)                                 180,000
         ต้นทุนแปรสภาพ (48,000 x 2)                      96,000
         รวมต้นทุนงานระหว่างทำปลายงวด                                         276,000
         รวมต้นทุนหน่วยที่ผลิต                                                               726,000


ใบงานการบัญชีต้นทุน 2 (3201  2004)


           1. บริษัท ทรายแก้ว จำกัด  ผลิตสินค้าโดยใช้กระบวนการผลิตแบบต้นทุนช่วง  โดยแบ่งการผลิตเป็น 2 แผนก คือ แผนกตัดและประกอบ วัตถุดิบถูกเบิกใช้ครั้งเดียวตอนต้นในแผนกตัด ส่วนค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายในการผลิตเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดกระบวนการผลิต  บริษัทเริ่มทำการผลิตเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2556   มีรายละเอียดดังนี้

ปริมาณผลิต (หน่วย)                                                 แผนกตัด       แผนกประกอบ

หน่วยนำเข้า                                                                      5,000                    4,000
หน่วยผลิตเสร็จและโอนออก                                              4,000                     3,500
หน่วยผลิตเสร็จและคงอยู่                                                        ?                           - 
งานระหว่างทำปลายงวด-จำนวนหน่วย                                    600                       500
                                    -ขั้นความสำเร็จ                                75%                       60%
ต้นทุนการผลิต (บาท)
วัตถุดิบ                                                                           24,000                        -
ค่าแรง                                                                            19,400                     6,840
ค่าใช้จ่ายในการผลิต                                                         5,820                      3,040

ให้ทำ

  งบต้นทุนการผลิต แผนกตัดและประกอบ ประจำเดือนตุลาคม 2556  พร้อมทั้งบันทึกต้นทุนการผลิตข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป                            2.  รายงานต้นทุนการผลิตในเดือนตุลาคม 2556 ของ บริษัท พระจันทร์ยิ้ม จำกัด  ผลิตสินค้าในระบบต้นทุนช่วง  วัตถุดิบถูกใส่ตอนต้นกระบวนการผลิต
ทุกแผนก  ส่วนต้นทุนแปรสภาพใช้อย่างสม่ำเสมอตามขั้นความสำเร็จ

ปริมาณการผลิต(หน่วย)                       แผนกตัด                แผนกประกอบ
งานระหว่างทำต้นงวด (ขั้นความสำเร็จ 70%)     2,000 
งานระหว่างทำต้นงวด (ขั้นความสำเร็จ 40%)                                        1,200
หน่วยนำเข้า                                                 10,000                         8,000
หน่วยผลิตเสร็จและโอนออก                            8,000                        7,000
งานระหว่างทำปลายงวด (ขั้นความสำเร็จ 30%)  4,000
งานระหว่างทำปลายงวด (ขั้นความสำเร็จ 80%)                                    2,200

ต้นทุนการผลิต (บาท)

 
งานระหว่างทำต้นงวด :- 
                หน่วยรับโอน                                      -                              7,200
                วัตถุดิบ                                            8,900                           800
                ค่าแรง                                             3,160                        1,100
                ค่าใช้จ่ายในการผลิต                        1,700                           420
 
ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด :-
                วัตถุดิบ                                          53,500                       9,600
                ค่าแรง                                            13,400                     20,700
                ค่าใช้จ่ายในการผลิต                         5,200                                 6,210