ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

น้ำมันดีเซล "พรีเมี่ยม" ความคุ้มค่าที่ตาเปล่ามองไม่เห็น

01 ต.ค. 2564   ผู้เข้าชม 2,694

เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ขับขี่ได้อย่างเต็มที่ น้ำมันเชื้อเพลิงในปัจจุบัน ไม่ได้มีเพียงเกรดเดียวให้ผู้บริโภคเลือกใช้อีกต่อไป ด้วยการแข่งขันในเรื่องของคุณภาพน้ำมัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้อย่างอิสระ และมีประสิทธิภาพต่อเครื่องยนต์สูงสุด จึงทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงถูกจัดสรรเป็นเกรดต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกใช้งาน

เช่นเดียวกับน้ำมันดีเซล ในปัจจุบันได้มีตัวเลือกให้กับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ทั้ง น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม และน้ำมันดีเซลทั่วไป ทั้งแบบ น้ำมัน B7น้ำมัน B10 และน้ำมัน B20 ซึ่งข้อสงสัยที่ตามมาสำหรับการใช้งานคือ แบบพรีเมี่ยม และทั่วไปมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้ เราพร้อมตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง และเรื่องของราคาน้ำมันดีเซลที่แตกต่างกัน

สารบัญ

  • ความแตกต่างระหว่าง น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม และ น้ำมันดีเซล ทั่วไป
    • น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม 
    • น้ำมัน B7
    • น้ำมัน B10
    • น้ำมัน B20

ความแตกต่างระหว่าง น้ำมันดีเซลพรีเมี่ยม และ น้ำมันดีเซล ทั่วไป

หากพูดถึงข้อแตกต่าง ข้อเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดคือ อัตราในการเร่งความเร็ว และความแรงของเครื่องยนต์ แม้จะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน แต่น้ำมันดีเซลพรีเมี่ยมกลับมีความพิเศษที่เหนือกว่า  

แม้ว่าราคาน้ำมันดีเซลจะมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย นั่นเป็นเพราะสารต่าง ๆ ที่ถูกเพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าปกติ ดังนั้นราคาที่แตกต่างจึงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ในการเลือกใช้น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม

น้ำมันดีเซลพรีเมี่ยม 

มีสารต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 5 และกำมะถัน ที่มีค่าต่ำกว่า 10 ppm และมีค่าซีเทนสูงสุดในระดับที่เครื่องยนต์ต้องการ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความทนทาน วิ่งได้ไกล สารเหล่านี้ช่วยดึงสมรรถนะของเครื่องยนต์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เสริมพลังขับเคลื่อนให้แรงขึ้น แรงบิดมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้หัวฉีดสะอาดขณะใช้งาน แถมยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้นานขึ้นอีกด้วย

น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม มีพร้อมให้บริการที่ปั๊มน้ำมันหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ปตท. (PTT) บางจาก (ฺBangchak) เชลล์ (SHELL) หรือ เอสโซ่ (ESSO) ใกล้บ้านคุณ

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

น้ำมัน B7

ชื่อเดิมคือ น้ำมันดีเซล ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ ซึ่งต่อมาเมื่อมีการผลิตน้ำมันดีเซลหลาย ๆ เกรดเพิ่มขึ้นมา จึงมีการเปลี่ยนชื่อให้มีความแตกต่างกันไปเพื่อไม่ให้เกิดสับสนในการใช้งาน เป็น “ดีเซล B7” หรือ “น้ำมัน B7” นั่นเอง ความแตกต่างของน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ สัดส่วนของไบโอดีเซล ซึ่งจะอยู่ที่ 6.6-7.0% ถือว่ามีปริมาณของน้ำมันดีเซลมากกว่าน้ำมัน B10 โดยน้ำมันชนิดนี้จะเหมาะสำหรับรถรุ่นเก่า และรถยุโรป

น้ำมัน B10

ถูกเปลี่ยนชื่อกลายเป็น “ดีเซล” ซึ่งมีความแตกต่างจาก น้ำมัน B7 ตรงที่มีสัดส่วนไบโอดีเซลที่มากกว่า หรืออยู่ที่ 9-10% ถือเป็นเกรดน้ำมันที่ได้มาตรฐาน เหมาะสำหรับรถยนต์ทั่วไปในปัจจุบัน ที่ไม่เก่าจนเกินไป มีราคาน้ำมันดีเซลที่ถูกกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรศึกษาให้แน่ใจว่า รถยนต์ที่ใช้นั้นสามารถเติมน้ำมัน B10ได้หรือไม่ เพราะในรถยนต์บางรุ่นที่เป็นรุ่นเก่า น้ำมัน B7อาจจะเหมาะสมกว่า

น้ำมัน B20

น้ำมันดีเซล B20 มีความแตกต่างจาก น้ำมัน B7 และน้ำมัน B10 ตรงที่มีสัดส่วนไบโอดีเซลที่มากกว่า หรืออยู่ที่ 20% ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณที่มากกว่าการใช้งานทั่วไป เช่น รถบรรทุก ขสมก. ISUZU, SCANIA เป็นต้น

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

จะเห็นได้ว่า น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม จะมีความคุ้มค่ามากกว่า และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้ดีกว่า แม้จะไม่ได้เห็นผลทันตา แต่ส่งผลดีต่อเครื่องยนต์ในระยะยาวอย่างแน่นอน ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลวันนี้อาจจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย แต่หากลองเทียบดูดี ๆ แล้ว ราคาระหว่างน้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม ราคาจะแตกต่างกันอยู่ที่ประมาณ 3 บาท / ลิตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ขับขี่ว่าต้องการเลือกใช้น้ำมันชนิดใด เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้งานของตนเองมากที่สุด

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

ท่ากมลางกระแสฝุ่นละออง  PM 2.5   ตั้งแต่ต้นปีทีผ่านมา ทำให้ภาครัฐมองการเพิ่มพลังงานทางเลือกใหม่ให้กับบรดารถเครื่องยนต์ดีเซลทั้งหลาย น้ำมันดีเซล  B20   กลายเป็นเรื่องใหม่ที่เริ่มได้รับความตระหนักจากบริษัทรถยนต์ชั้นนำ และวันนี้เราจะพาล้วงลึกความจริง น้ำมันดีเซล  B20   กัน 

น้ำมันดีเซล  B20   คืออะไร

น้ำมันดีเซล B20  คือ น้ำมันดีเซลสูตรใหม่ที่ใช้ส่วนผสมของไบโอดีเซล (B100)   กับน้ำมันดีเซล ในอัตราส่วน  20 ส่วน ต่อ 80 ส่วน คล้ายคลึกกับการผสมของน้ำมันแก๊สโซฮอล E20   ในรถยนต์เบนซิน

ด้วยการผสมอัตราส่วนของไบโอดีเซลมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันดีเซล บี 20 มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ  ประมาณ 5 บาท  (ราคาจำหน่ายในวันที่เขียนบทความ 21.39 บาท / ลิตร)  และถูกกว่าน้ำมันดีเซลพรีเมี่ยมประมาณ 9 บาท โดยประมาณ

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

ในช่วงเริ่มแรกของการประกาศใช้น้ำมันเดีเลสูตรใหม่ที่มีการผสมไบโอดีเซลมากขึ้น ทางภาครัฐมุ่งเน้นทางด้านกิจการขนส่งเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถโดยสาร  จนในระยะหลังได้เริ่มหันมาสร้างความตระหนัดให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว โดยเฉพาะรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย

จนในที่สุดบริษัทรถยนต์ชั้นนำ โตโยต้า มอเตอร์ ประกาศ รับรองให้รถกระบะและรถอเนกประสงค์พื้นฐานกระบะ (PPV)  ของบริษัท ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 2.8 ลิตร  รหัส  1  GD-FTV   และ  2.4 ลิตร รหัส 2 GD-FTV   สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวได้

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

ไม่นานนัก บริษั ตรีเพชรอีซูซุเซลล์ จำกัด ผู้จำหน่ายรถยนต์  Isuzu  ในประเทศไทย ประกาศรับรองให้เครื่องยนต์ดีเซล 1.9 ลิตร RZ4E-TC สามารถใช้ได้ เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ 3.0 ลิตร 4JJ1-TCX ทั้งคู่ติดตั้งในรถกระบะ  Isuzu  D max   และ  Isuzu Mu-X   ใหม่ 

และล่าสุด   Nissan   เป็นบริษัทรถยนต์รายที่ 3 รับรองการใข้น้ำมันดีเซล  B20   ในรถยนต์   Nissan  Navara   รหัสตัวถัง D23 ซึ่งใช้เครื่องยนต์  YD25DDTi   สามารถใช้น้ำมันดังกล่าวได้

สรุป รถกระบะ-อเนกประสงค์ใหม่ที่ใช้น้ำมันดีเซล  B20 ได้

  • 1.Nissan  Navara 
  • 2.Isuzu  D-max
  • 3.Isuzu Mu-X
  • 4.Toyota Hilux Revo
  • 5.Toyota Fortuner

ข้อควรรู้ในการใช้งาน

แม้นว่าทางทีมงาน   Ridebuster.com   จะยังไม่มีโอกาสได้ทดลองการใช้งานน้ำมันดีเซล  B20   อย่างเป็นทางการ แต่จากการรวบรวมข้อมูลจากการพูดคุยในกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ชี้ชัดว่า น้ำมันดีเซล บี20 มีอัตราเร่งลดลงเมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลปกติ โดยจากข้อมูลในต่างประเทศ เดเผยว่าการผสมน้ำมันไบโอดีเซลมากขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง 3-5%  ในแง่อัตราเร่ง เนื่องจากพลังงานจากไบโอดีเซลน้อยกว่า น้ำมันดีเซลปิโตรเลียมปกติ รวมถึงยังทำประสทธิภาพความประหยัดลดลงเล็กน้อย จากค่าพลังงานในเนื้อน้ำมันที่น้อยกว่า  แต่ก็แลกกับราคาที่ถูกกว่า

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

 หากเทียบการเติมน้ำมันดีเซลปกติ กับ ดีเซล บี20 ในอัตรา 80 ลิตร (เต็มถังรถกระบะ) จะพบว่า น้ำมันดีเซล บี 20 จะมีค่าใช้จ่าย 1,711 บาท (ราคาลิตรละ 21.39 บาท) ขณะที่น้ำมันดีเซลปกติ จะมีค่าใช้จ่าย 2,111 บาท ( ราคาลิตรละ 26.39 บาท)  หรือมีส่วนต่าง 400 บาท ค่าใช้จ่ายถูกลงประมาณ 18.94%   จากปกติ

อย่างไรก็ดีในมุมผู้ลิตรถยนต์แม้ว่าจะมีการรับรองการใช้งาน ก็ยังไม่ถึงกับเปิดกว้างอย่างน้ำมันแก๊สโซฮอลในรถเก๋งอย่างที่เราเข้าใจ

ในเว็บไซต์ของรถบรรทุก   Isuzu   ได้ชี้แจงรายละเอียดสำคัญ ว่า สมควรจะต้องมีการตรวจสอบท่อทางเดินน้ำมัน และเปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิง (กรองดีเซล) ก่อนใช้น้ำมันครั้งแรก หลังจากนั้นเปลี่ยนทุก 2,000 กิโลเมตร  อีก 2 ครั้ง จึงจะสามารถใช้กรองได้ยาว 10,000 กิโลเมตร

ดีเซล กับ ดีเซล B20 ต่าง กัน อย่างไร

นอกจากนี้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล  B20   สมควรเป็นรถใช้งานประจำ ไม่จอดทิ้งนานเกิน 2 เดือน และไม่ใช้รถในพื้นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศเซลเซียส เนื่องจากน้ำมันอาจจะเป็นไขส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ และแนะนำให้เติมจากปั้มน้ำมันที่ได้มาตรฐาน 

ส่วนทางด้านนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ก็มีคำแนะนำคล้ายๆ กัน คือ เปลี่ยนกรองเชื้อเพลิงทุกๆ 18 เดือน  หรือ  30,000 กิโลเมตร ไม่ใช้รถในพื้นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส และแนะนำให้ตรวจเช็ครถเป็นรถจำทุก 6 เดือน หรือ 10,000 ก.ม.  รวมถึงต้องเติมจากสถานีบริการที่ได้มาตรฐาน

ดังนั้นหากสรุปจากข้อมูล จาก 2 ผู้ผลิต เราจะพบว่า น้ำมันดีเซล  B20   มีข้อควรทราบดังนี้

1.ต้องเป็นรถที่ขับเป็นประจำต่อเนื่อง

2.รถคันนั้ต้องใช้ในพื้นที่ปกติที่มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส

3.กรองเชื้อเพลิงจำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยกว่าปกติมากกว่าเดิม (ปกติกรองเชื้อเพลิงเปลี่ยนทุกๆ 40,000 ก.ม.)

4.น้ำมันบี 20 ต้องเติมจากปั้มน้ำมันที่ได้มาตรฐานเท่านั้น

อย่างไรก็ดีน้ำมันชนิดนี้มีแนวโน้มอาจจะสร้างปัญหาในระยะยาวหรือไม่ ยังไม่มีใครสามารถตอบได้ เนื่องจากปัญหาจะสะท้อนออกมาเมื่อถึงเวลาสมควรเท่านั้น ในต่างประเทศ รายงานจากมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิเวเนีย ชี้ว่า การใช้น้ำมันไบโอดีเซลในน้ำมันจะมีปัญหาสำคัญ 2-3 ประการได้แก่

1.สตาร์ทยากตอนเช้าในพื้นที่อากาศเย็น เนื่องจากความเป็นไขของไบโอดีเซลทำให้เกิดการจับตัวที่หัวฉีด

2.เกิดการอุดตันที่ปั้มดีเซล โดยมีสาเหตุคล้ายกับการอุดตันที่หัวฉีด

3.น้ำมันเครื่องถูกเจือปน ทำให้น้ำมันเครื่องสูงขึ้นผิดปกติ สร้างความเสียหายต่อชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ เช่นแหวนลูกสูบ , และ แบร์ริ่ง  

4.การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากน้ำมันไบโอดีเซล มีคุณสมบัติกัดกร่อนมากกว่า ดีเซลปกติ ต้องหมั่นตรวจสอบ

ถึงแม้วันนี้น้ำมันดีเซล บี 20 จะเหมือนเป็นพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยคอกระบะประหยัดเงินมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีใครตอบได้ในระยะยาวว่า จะมีปัญหากับส่วนอื่นๆของเครื่องยนต์หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องยนต์สมัยใหม่หลายรุ่นยังไม่รับรอง รวมถึงเครื่องยนต์ดีเซลสมัยเก่าหลายรุ่นยังไม่ได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้ได้หรือไม่

ปัจจุบันน้ำมันนิดนี้มีขายในปั้มน้ำมันสำคัญๆ หลายแบรนด์ ทั้ง บางจาก ,ปตท. และอื่นๆ อีกมาก แม้จะไม่ใช่ในทุกปั้มก็ตาม แต่ก่อนจะใช้ก็ศึกษาให้ดีว่ารถของเราสามารถเติมได้จริงๆ หรือไม่  อย่าเสี่ยงเติมโดยพละการเป็นอันขาด

ที่มาข้อมูล

https://extension.psu.edu/using-biodiesel-fuel-in-your-engine

https://old.isuzu-tis.com/news-activities/public-relations/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89

https://www.nissan.co.th/vehicles/new-vehicles/navara-double-cab/B20.html