ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไหม

ข้อดีและปัญหาอุปสรรคของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีทั้งข้อดี และปัญหาอุปสรรคหลายประการ ที่จะต้องพิจารณา เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจว่า ควรจะใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่

ข้อดี

๑. ให้กำลังผลิตสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานอื่น เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ๑ เครื่อง มีกำลังผลิตสูงสุด ๑,๕๐๐ เมกะวัตต์ เทียบกับกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนภูมิพล ที่จังหวัดตาก ๗๓๐ เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ๑ เครื่อง ๓๐๐ เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าน้ำมันเตา/ก๊าซธรรมชาติ ที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ๑ เครื่อง ๖๐๐ เมกะวัตต์

๒. ช่วยประหยัดทรัพยากรพลังงานอื่นๆ และใช้พื้นที่ในการก่อสร้างไม่มาก

๓. เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ และมั่นคง สามารถเดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่อง นานถึง ๑๘ เดือน โดยไม่ต้องหยุดเครื่อง หากเป็นโรงไฟฟ้ารุ่นใหม่จะเดินเครื่องต่อเนื่องได้นานขึ้นถึง ๒๔ เดือน

๔. ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำและมีเสถียรภาพ

๕. เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ไม่ปลดปล่อยเขม่าควัน ก๊าซพิษ และของเสียออกมาสู่สิ่งแวดล้อม

๖. มีอายุการใช้งานยาวนาน ๔๐ ปี หากเป็นโรงไฟฟ้ารุ่นใหม่จะมีอายุการใช้งาน ยาวนานถึง ๖๐ ปี

๗. ช่วยส่งเสริมในด้านการพัฒนาบุคลากรของชาติ ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

๘. เป็นแหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องขึ้นมากมาย

ปัญหาอุปสรรค

๑. การไม่เป็นที่ยอมรับของสาธารณ ชน เพราะเกรงกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะคำว่า นิวเคลียร์ ทำให้คนส่วนมากนึกถึง ระเบิดนิวเคลียร์ อีกทั้งมีเหตุการณ์เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิด ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เมืองเชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ทำให้ต้องมีการอพยพประชาชน ออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก มีพนักงานของโรงไฟฟ้า และเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ได้รับบาดเจ็บ จากการได้รับรังสีเข้ารับการรักษาตัว จำนวนประมาณ ๓๐๐ คน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน ๓๑ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ยิ่งตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัวเพิ่มมากขึ้น

๒. การเลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้ามีหลักเกณฑ์ และมาตรการที่เข้มงวดรัดกุมมาก ทำให้หาสถานที่ก่อสร้างได้ยาก

๓. เงินลงทุนสำหรับการก่อสร้างสูงมาก ทั้งนี้เพราะต้องเสริมระบบความปลอดภัยต่างๆ มากมาย

๔. ใช้ระยะเวลาในการเตรียมงาน และการดำเนินการยาวนาน ๑๐ ปีขึ้นไป

๕. ต้องการแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อใช้ควบแน่นไอน้ำในระบบผลิตไอน้ำ

๖. ยังไม่มีวิธีการจัดการกากกัมมันตรังสีระดับสูง ให้หมดความเป็นสารรังสีได้ ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น จึงต้องเก็บรักษากากนิวเคลียร์ไว้ในสภาพที่ปลอดภัย เช่นที่กระทำอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น

6 คำถาม-คำตอบ  เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 
ข้อมูลอีกด้านที่ไม่ควรมองข้าม

คำถาม : โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลกจริงหรือ

         ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปยุคทองของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ผ่านพ้นไปแล้วในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา  สหรัฐอเมริกา (ซึ่งมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุดในโลก คือ 112 โรง)  ไม่เคยอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกเลย  ขณะเดียวกันก็ยกเลิกแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวจำนวน 120 โรง  ในแคนาดา Ontario Hydro  อันเป็นหน่วยงานผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศได้ระงับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 10 แห่งไปแล้วเมื่อไม่นานนี้
 ส่วนที่เยอรมนีไม่มีการอนุมัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกเลยนับแต่กลางทศวรรษ  1970  หลังจากนั้นไม่นานประชาชนสวีเดน  สวิตเซร์แลนด์  อิตาลี  สเปน  ออสเตรีย และกรีซ  ก็ได้ลงประชามติให้เริ่มลดโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ก็ยุติการก่อสร้างไปเลย  ส่งผลให้รัฐบาลในประเทศเหล่านี้ยุติการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์  นอกจากนั้นในปี พ.ศ.  2535  รัฐบาลเบลเยียมได้ประกาศระงับการขยายโครงการพลังงานนิวเคลียร์แห่งใหม่ในยุโรปคงมีฝรั่งเศสประเทศเดียวที่ยังขยายโครงการไฟฟ้านิวเคลียร์อีกต่อไป
 กล่าวได้ว่าเอเซียดูจะเป็นภูมิภาคเดียวในโลกที่มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้โดยการผลักดันจากประเทศอุตสาหกรรม  ซึ่งไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ในประเทศของตนแล้วเช่น  แคนาดา  อย่างไรก็ตามกระแสการคัดค้านก็ยังมีอยู่ในหลายประเทศของเอเซีย  โดยเฉพาะเมื่อเร็ว ๆ นี้  รัฐสภาไต้หวันลงมติให้ยกเลิกการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่  ขณะเดียวกันประชาชนเมืองมากิ  ในญี่ปุ่น  ก็ได้ลงประชามติไม่ให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองของตน
 
คำถาม :  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความปลอดภัยจริงหรือ
 
        แม้ว่าจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาโดยตลอด  แต่ยังไม่มีหลักประกันว่า
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะปลอดภัยอย่างเต็มที่  ข่าวคราวเกี่ยวกับอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้าเคลียร์ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องที่เป็นข่าวใหญ่โตไปทั่วโลกล่าสุด (ธันวาคม  2538) ก็คือ  กรณีโรงไฟฟ้ามอนจูของญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นโครงการนิวเคลียร์ที่ทันสมัยที่สุด  ทั้งของญี่ปุ่นและของโลก  หลังจากเปิดเดินเครื่องมาได้เพียง 4 เดือนเท่านั้น  ก็เกิดอุบัติเหตุสำคัญจนต้องปิดโรงงานไปมีกำหนด 3 ปี  ความผิดพลาดในระบบระบายความร้อนของโรงไฟฟ้าดังกล่าวทำให้โซเดียมเหลวรั่วไหลออกมาถึง 3 ตัน  ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายอย่างยิ่งเนื่องจากเมื่อมันกระทบกับอากาศจะมีฤทธิ์ระเบิดรุนแรง
 เหตุการณ์ดังกล่าวตามมาด้วยอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 2 แห่งของญี่ปุ่น  จนต้องปิดกะทันหัน  โดยที่ก่อนหน้านั้นก็เคยเกิดอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งอื่น ๆ อีก
 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเป็นชนิดเดียวกับของสหรัฐอเมริกา  ด้วยเหตุนี้อุบัติเหตุเกือบทุกชนิดที่เกิดกับญี่ปุ่นก็เคยเกิดในสหรัฐอเมริกามาแล้ว (และมีแนวโน้มว่าจะเกิดต่อไป)
 กรณีโรงไฟฟ้ามอนจูเป็นหลักฐานยืนยันว่า  เทคโนโลยีนิวเคลียร์แบบล่าสุดยังไม่ใช่ข้อยืนยันว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นสิ่งที่น่าไว้วางใจ  โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยและวินัยของคนงานญี่ปุ่นนั้นจัดว่าเข้มงวดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
 ในฝรั่งเศสพบว่าโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นสูงกว่าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของฝรั่งเศส (EDF)  ประมาณการไว้ถึง 20,000 เท่า  ขณะเดียวกันรายงาน (ลับ) ของ EDF ที่รั่วไหลสู่สาธารณชน  เมื่อปี พ.ศ.  2533  ก็ระบุว่าโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรงในฝรั่งเศสเมื่อถึงปี พ.ศ.  2543 นั้น  มิใช่ 1 ต่อล้านอย่างที่คิด  หากเป็น 1 ต่อ 20
 แม้จะยังไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิตทันทีจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหลาย (ยกเว้นกรณีเซอร์โนบิล)  แต่ปัจจุบันยังมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่ากัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจมีผลต่อชีวิตและสุขภาพของผู้คนที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ใกล้ ๆ ได้  เมื่อปี พ.ศ.  2538  สำนักงานตรวจสอบมาตรฐานแรงงาน 2 แห่ง  ซึ่งสังกัดกระทรวงแรงงานญี่ปุ่น  ได้ยอมรับเป็นครั้งแรกว่าการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนงาน 2 คน  เป็นผลจากกัมมันตภาพรังสีที่ได้รับขณะทำงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


คำถาม :  ในปัจจุบันเราสามารถจัดการกับกากกัมมันตภาพรังสีได้แล้วหรือ
 

        แม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถบำบัดกากกัมมันตภาพรังสีระดับต่ำและ
ระดับปานกลาง (ซึ่งเกิดจากการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ)  ให้สลายตัวในเวลาไม่นาน  แต่กากกัมมันตรังสีระดับสูงซึ่งปะปนอยู่ในเชื้อเพลิงใช้แล้วยังเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้
 สถานที่เก็บกากกัมมันตรังสีในปัจจุบันไม่ว่าที่ไหน  ล้วนเป็นเพียงสถานที่ชั่วคราวเท่านั้น  สถานที่เก็บกากกัมมันตรังสีแบบ "ถาวร"  ที่แท้จริงนั้นจะต้องสามารถเก็บกากดังกล่าวไว้อย่างมิดชิดได้นานถึงหมื่นปี  เพื่อให้กากกัมมันตรังสีสลายตัวไปจนกระทั่งมีระดับรังสีเท่ากับธรรมชาติ  แม้จะมีการคิดค้นวิธีต่าง ๆ เช่น  เก็บกักไว้ในอุโมงค์ใต้ดิน  แต่ก็ยังไม่มีหลักประกันว่าอุโมงค์ดังกล่าวจะคงทนได้นานถึงหมื่นปี  โดยที่สามารถป้องกันไม่ให้กากดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมข้างเคียงได้
 ปัจจุบันสหรัฐอเมริกากำลังประสบปัญหาดังกล่าวอย่างหนักหน่วงจนกระทั่งทุกวันนี้รัฐสภาสหรัฐอเมริกายังไม่สามารถอนุมัติโครงการจัดทำสถานเก็บกากกัมมันตรังสีแบบถาวรได้โดยให้เลื่อนโครงการนี้ออกไปจนถึงปี พ.ศ.  2543
 ส่วนสถานที่เก็บกากกัมมันตรังสีแบบชั่วคราวก็เป็นปัญหาเช่นกัน  เพราะนอกจากประชาชนส่วนใหญ่จะคัดค้านไม่ให้ใช้ท้องถิ่นของตนเป็นที่เก็บแล้ว  การส่งไปเก็บในประเทศอื่นก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
 ในสหรัฐอเมริกามีประชาชนเป็นอันมากป่วยด้วยโรคร้ายแรง  เช่น  มะเร็ง  โดยสันนิฐานว่าเกิดจากกากกัมมันตรังสีที่เก็บในสถานที่เก็บชั่วคราวก็ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่
ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไหม

คำถาม :  ไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ราคาถูกจริงหรือ

 
        เป็นที่ยอมรับในหลายประเทศแล้วว่า  ไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์มิใช่เป็นพลังงานที่ถูก
ที่สุดอย่างที่เคยเชื่อกันเมื่อสองทศวรรษที่แล้ว  แท้ที่จริงแล้วกลับตรงกันข้ามด้วยซ้ำ  นี้คือเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่สหรัฐอเมริกา และแคนาดาระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในยุโรป
 ในกรณีประเทศไทย  การวิจัยของธนาคารโลกระบุว่าประเทศควรเลือกพลังงานนิวเคลียร์เป็นหนทางสุดท้ายเท่านั้นเพราะมีต้นทุนสูงที่สุด  กล่าวคือ 1.87 - 2.56  บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง  ขณะที่ก๊าซธรรมชาติราคาถูกที่สุดคือ 1 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง  รองลงมาคือไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินกำมะถันต่ำในโรงงานที่ติดเครื่องลดกำมะถัน  ราคา 1.32 - 1.52  บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง
 ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย  ซึ่งชี้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หน่วยแรกขนาด 1,000 เมกะวัตต์  จะเสียค่าใช้จ่าย 2.25  บาท/กิโลวัตต์  ส่วนหน่วยที่สองจะเสีย 1.87  บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง  ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติมีเพียง 0.77 - 0.87 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง
 ผู้ที่ยืนยันว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ราคาถูกที่สุดนั้น  มักจะไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนจริงหรือปัจจัยแปรผัน  ในความเป็นจริงจะพบเสมอว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่มีค่าก่อสร้างสูงกว่าที่คาดไว้เพราะนอกจากจะใช้เวลานานกว่ากำหนดแล้วยังต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัยอีกมากมาย  ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในการควบคุมการทำงานและบำรุงรักษาก็มักจะสูงกว่าที่กำหนดมาก  ใช่แต่เท่านั้นยังมีรายจ่ายอีกมากมายที่มักจะไม่ได้คำนวณเอาไว้ก่อน  เช่น  ค่ารื้อถอนหลังครบอายุการใช้งาน (แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นอันมากหมดสภาพก่อนครบกำหนด  ข้อมูลจาก Worldwatch Institute ระบุว่าเมื่อปี พ.ศ.  2535  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 76 แห่งทั่วโลกถูกรื้อถอนหลังจากมีอายุใช้งานเพียง 17 ปี ทั้ง ๆ  ที่ระบุไว้ในโครงการว่าใช้งานได้ถึง 30 ปี)
 นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายแฝงอีกมากมาย  เช่น  การกำจัดกาก และการซ่อมแซมซึ่งใช้เงินสูงมาก  ในแคนาดา  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งหนึ่งซึ่งใช้มาได้ 16 ปี  ต้องใช้เงินซ่อมแซมถึง 100,000 ล้านบาท  เนื่องจากทรุดโทรมก่อนอายุขัยที่คาดไว้  อีกแห่งหนึ่งต้องใช้เงินซ่อมแซม 20,000 ล้านบาท  ในฝรั่งเศสการซ่อมแซมแบบเร่งด่วน (ไม่ใช่การยกเครื่องอย่างกรณีแคนาดา) ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 6 แห่งต้องใช้เงินประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านบาท
 ค่าใช้จ่ายที่มองข้ามไม่ได้ก็คือเงินอุดหนุนลักษณะต่าง ๆ  เช่น  การให้ทุนวิจัยและประชาสัมพันธ์  เงินอุดหนุนแบบต่าง ๆ ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของฝรั่งเศสหลังจากที่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 70 โรง  เป็นหนี้ถึง 950,000 ล้านบาท
คำถาม :   ถ้าไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตอนนี้  ในอนาคตเราจะมีโรงไฟฟ้าใช้หรือ
        พลังงานต่าง ๆ ของโลกยังไม่หมดไปง่าย ๆ  หากการใช้พลังงานยังอยู่ในอัตรา
ปัจจุบัน  น้ำมันทั่วโลกเท่าที่ค้นพบและคุ้มค่าแก่การสูบขึ้นมาใช้มีมากพอที่จะใช้ได้นานกว่า 40 ปี  ก๊าซธรรมชาติมีพอใช้กว่า 60 ปี  นอกจากนั้นโลกยังมีถ่านหินให้ใช้ได้ไม่น้อยกว่า 230 ปี  จริงอยู่ในความเป็นจริงความต้องการย่อมเพิ่มขึ้น  แต่ขณะเดียวกันปริมาณสำรองก็จะเพิ่มขึ้นด้วย  เนื่องจากมีการสำรวจแพร่หลายขึ้นโดยต้นทุนก็จะลดลงด้วย
 ดูจากตัวเลขดังกล่าว  ไม่มีความจำเป็นที่ประเทศไทยจะรีบสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในตอนนี้  แม้รอตัดสินใจสร้างอีก 20 - 30 ปีข้างหน้ายังไม่สาย  ถึงตอนนั้นเทคโนโลยีนิวเคลียร์อาจน่าไว้วางใจมากกว่าตอนนี้ก็ได้  ขณะเดียวกันไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ก็อาจมีราคาไม่ต่างจากไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล  เพราะเชื้อเพลิงดังกล่าวอาจจะมีราคาแพงขึ้นเนื่องจากมีปริมาณเหลือน้อยลง
 อันที่จริงแล้วยังมีวิธีการอีกมากมายที่สามารถรับมือกับวิกฤตการณ์น้ำมันได้ดีกว่าการพึ่งพลังงานนิวเคลียร์  เช่น  การสร้างคลังเก็บน้ำมันขณะที่ยังมีราคาต่ำดังปัจจุบัน  การกำจัดการใช้รถหรือส่งเสริมรถยนต์ที่ประหยัดน้ำมันเสียแต่ตอนนี้  รวมทั้งการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง


คำถาม :  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันก่อให้เกิดปรากฎ
          การณ์เรือนกระจกไม่ใช่หรือ
 

         จริงอยู่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช้น้ำมันถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า  แต่กระบวนการต่าง ๆ  ในการผลิตและแปรสภาพยูเรเนียมให้เป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะแก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ต้องอาศัยน้ำมันหรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
 หากพิจารณากระบวนการต่าง ๆ ในวัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แล้วจะพบว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นเพียงหนึ่งในกระบวนการต่าง ๆ อีกมากมาย  เริ่มต้นก็ต้องเหมืองแร่ยูเรเนียม  ตามมาด้วยโรงงานแปรสภาพยูเรเนียมและโรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม  จากนั้นก็ต้องมีโรงงานสำหรับแปรสภาพยูเรเนียมที่เสริมสมรรถนะแล้วให้เป็นผงยูเรเนียมไดออกไซด์  ตามด้วยโรงงานขึ้นรูปเชื้อเพลิง  แล้วจึงมาถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  หลังจากนั้นก็ต้องมีการขนส่งเชื้อเพลิงใช้แล้วไปยังโรงงานสกัดเชื้อเพลิงใช้แล้วหรือโรงงานจัดการกากเชื้อเพลิงใช้แล้ว     กระบวนการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาล้วนแต่ส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม  ดังนั้นจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังนิวเคลียร์นั้นช่วยลดปรากฎการณ์เรือนกระจกอย่างที่มักอ้างกัน
 มีการผลิตไฟฟ้าอีกหลายวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  โดยไม่ต้องพึ่งพลังงานนิวเคลียร์  นอกจากการใช้พลังแสงอาทิตย์  พลังลม และความร้อนจากใต้พิภพแล้ว  วิธีที่ได้ผลก็คือการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  การใช้พลังงานน้อยลง 1 หน่วยย่อมทำให้เรามีพลังงานเพิ่มขึ้น 1 หน่วยโดยไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการผลิตเลย  การศึกษาของธนาคารโลกเมื่อปี พ.ศ.  2536  ชี้ว่าการจัดการเพื่อให้การใช้ไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้มีไฟฟ้าเพิ่มขึ้นโดยใช้เงินเพียง 1 ใน 4 ของพลังนิวเคลียร์เท่านั้น (0.53 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง  เทียบกับ 2.06 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมงจากพลังงานนิวเคลียร์)

ที่มา : รวบรวมจาก  กลุ่มศึกษาปัญหานิวเคลียร์   วารสารสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 7 ปีที่ 2 ประจำเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2540

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยมีกี่แห่ง

การเติบโตของพลังงานนิวเคลียร์ในเอเชีย.

เหตุใดประเทศไทยจึงยังไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ข้อเสีย ใช้เงินลงทุนสูงและจำเป็นต้องเตรียม โครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องพัฒนาและเตรียมการเกี่ยวกับการจัดการกากกัมมันตรังสี การดำเนินงานด้านแผนฉุกเฉินทางรังสี และมาตรการควบคุมความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การยอมรับของประชาชนยังมีน้อย

ประเทศไทยมีพลังงานนิวเคลียร์ไหม

การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อมีการก่อตั้งสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ โดย พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเริ่มเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยเข้าสู่ภาวะวิกฤตได้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2505.

ประเทศใดบ้างที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

อาร์เจนตินา, บราซิล, แคนาดา, จีน, ฟินแลนด์, อินเดีย, อิหร่าน, ลิธัวเนีย, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, โรมาเนีย, รัสเซีย, ปากีสถาน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ยูเครน และสหรัฐอเมริกา - ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อเสนอที่ขยายแห่งใหม่