เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

การตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
หลังจากที่ปราบกบฏพระยาสรรค์ได้สำเร็จ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคตแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษา (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้ วันที่ ๖ เมษายน ของทุกปีเป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวาระสำคัญนี้) มีพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์มีดำรัสว่าพระราชวังเดิม (กรุงธนบุรี) มีวัดขนาบทั้งสองข้าง (คือวัดแจ้งและวัดท้ายตลาด) ไม่อาจขยายให้กว้างขวางออกไปได้อีก ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีที่ถาวรสืบไป แล้วโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ที่บ้านพระยาราชาเศรษฐี และบ้านชาวจีนตำบลบางกอก อยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำเจ้าพระยา และให้พระยาราชาเศรษฐีกับชาวจีนเหล่านั้น ย้ายไปตั้งบ้านเรือที่บริเวณสวนตั้งแต่คลองใต้วัดสามปลื้มลงไปจนถึงคลองเหนือวัดสามเพ็ง (สำเพ็ง)

เหตุผลในการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีไปฝั่งตะวันออก
๑.  พระราชวังสมัยกรุงธนบุรีคับแคบ ไม่สามารถขยายให้กว้างได้ เพราะมีวัดขนาบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมฬีโลกยราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง
๒.  การย้ายมาตั้งทางฝั่งตะวันออกฝั่งเดียว ดีกว่าเพราะเป็นชัยภูมิที่ดีต่อการป้องกันข้าศึก เนื่องจากธนบุรีเป็นเมืองอกแตก คือ มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ข้าศึกลำเลียงทหารเข้าตีเมืองได้ง่าย และถ้ามีศึกสงครามจะทำให้ทั้งสองฝั่งติดต่อกันได้ยาก
๓.  ภูมิประเทศทางฝั่งตะวันออก (ฝั่งกรุงเทพ) สามารถขยายตัวเมืองให้กว้าง เนื่องจากเป็นท้องทุ่งโล่ง นอกจากหมู่บ้านชาวจีนแล้วก็มีประชาชนอยู่เบาบาง ในระยะยาวจะสามารถขยายเมืองออกไปได้เรื่อย ๆ

ลักษณะของราชธานี

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

กรุงเทพมหานครสร้างขึ้นโดยเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ ส่วน
๑.  พระบรมมหาราชวัง ซึ่งประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ทุ่งพระเมรุ และสถานที่สำคัญอื่น ๆ มีอาณาบริเวณตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำ เจ้าพระยาจนถึงคูเมืองเดิมสมัยธนบุรี (ที่เรียกกันว่า คลองหลอดในปัจจุบัน)
๒.  ที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง เริ่มตั้งแต่คูเมืองเดิมไปทางตะวันออกจนจดคูเมืองใหม่ (คลองรอบกรุง) ประกอบด้วยคลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่างตามแนวคลองรอบกรุงมีการสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการโดยรอบมีการขุดคลองหลอด ๑ คลองหลอด ๒ เชื่อมระหว่างคูเมืองเก่ากับคูเมืองใหม่ นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างถนน สะพาน และสถานที่อื่น ๆ ที่จำเป็นอีกด้วย ราษฎรที่อาศัยในส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย
๓.  ที่อยู่อาศัยนอกกำแพงเมือง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้คนจะตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองรอบกรุงกระจายกันออกไปและมักประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือนประเภทช่างต่าง ๆ เช่น บ้านบาตร บ้านพานถม บ้านหม้อ บ้านดอกไม้ไฟ

การสร้างพระบรมมหาราชวัง
พระราชวังที่สร้างใหม่นั้น ได้กระทำกันเป็นการใหญ่โตมโหฬารมาก มีการระดมเกณฑ์ไพร่หลวงให้ทำอิฐขึ้นใหม่บ้างและรื้อเอาอิฐกำแพงกรุงเก่าที่อยุธยาลงมาบ้าง เพื่อสร้างกำแพงพระนคร และพระราชวังใหม่ เกณฑ์เขมร ๑๐,๐๐๐ คน เข้ามาขุดคูพระนคร เกณฑ์ชาวเวียงจันทน์ ๕,๐๐๐ คน กับข้าราชการหัวเมืองเข้ามาช่วยกันระดมขุดรากก่อกำแพงพระนคร และสร้างป้อมต่าง ๆ โดยรอบพระนคร

การสร้างพระนครนี้ใช้เวลา ๓ ปี จึงสำเร็จหลังจากนั้นได้จัดพระราชพิธีสมโภชเฉลิมฉลองเป็นการเอิกเกริกมโหฬารรวม ๓ วัน และพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" เรียกย่อ ๆ ว่า "กรุงรัตนโกสินทร์" ต่อมาภายหลังรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงเปลี่ยน "บวรรัตน์โกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์"

สำหรับการสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น นอกจากจะให้สร้างปราสาทราชมนเทียรแล้ว ยังโปรดให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

ที่มา : กฤษณา  วิเชียรเพชร : "ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์" หน้า ๘ - ๑๐

สถาปนาพระนครใหม่

พร้อมสร้าง "หัวใจให้พระนคร"

คูคลองรอบกรุงมีความสำคัญต่อวิถีชีวิต สร้างระหว่างตั้งเมืองหลวงใหม่ เปรียบเหมือน "หัวใจพระนคร"

พระนคร แปลว่า เมืองหลวง อ้างอิงจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตร

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

ต้นกำเนิดคลองรอบกรุง ณ ช่วงเวลาการสถาปนาเมืองหลวงใหม่ในราชวงศ์จักรี

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช   เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ภายหลังที่ได้ทรงเลิกทัพกลับจากกรุงกัมพูชา เพราะในกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล  เมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้แก้ไขวิกฤติการณ์ พร้อมกันนั้นก็พากันอัญเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยสืบต่อไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวันแห่งการสถาปนาราชวงศ์จักรี)

          พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ขณะที่ยังไม่ได้สร้างพระราชวังใหม่จึงทรงประทับในพระราชวังเดิมไปก่อน ต่อมาเมื่อก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง  และราชธานีแห่งใหม่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จในปีพ.ศ.2328        แล้วโปรดฯ ให้มีการสมโภชน์พระนครและกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์อีกครั้ง และพระราชทานนามพระนครใหม่นี้ว่า 

        “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตาลสถิต สักกทิตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์” ปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

             ภายหลังเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าก่อนพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ เห็นว่าควรจะย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสียก่อน โดยบริเวณที่ทรงเลือกสร้างพระราชวังนั้น เคยเป็นสถานีการค้าขายกับชาวต่างชาติในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีนามเดิมว่า “บางกอก” ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน และทรงชดเชยค่าเสียหายให้พอสมควร จากนั้นทรงให้ชาวจีนย้ายเข้าไปอยู่ ณ ที่ ตำบลสำเพ็งอีกทั้งยังโปรดเกล้าฯให้สร้างรั้วไม้แทนกำแพงขึ้น และสร้างพลับพลาไม้ขึ้นชั่วคราวหลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน

พ.ศ.2325ขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า“พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ”แต่ในสมัยปัจจุบันนั้นมักนิยมเรียก พระนามว่า“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช”และได้ทรงสถาปนาตำแหน่งวังหน้า(กรมพระราชวังบวรสถานมงคล)และตำแหน่งวังหลัง (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)

            ครั้นในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น            “อมรรัตนโกสินทร์” นอกนั้นคงเดิมและในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ได้สร้างวัดพระแก้ว เป็นวัดที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา แต่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ และครั้นเมื่อการสร้างพระนครเสร็จสมบูรณ์ ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดนี้ และ ได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร”  เพื่อให้สอดคล้องกับนามของพระนครใหม่

สาเหตุการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่กรุงรัตนโกสินทร์

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

กรุงธนบุรีเป็นเมืองที่มีการสร้างป้อมปราการเอาไว้ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยเอาแม่น้ำผ่ากลาง (เรียกว่าเมืองอกแตก) เหมือนเมืองพิษณุโลกมีประโยชน์ตรงที่อาจเอกเรือรบไว้ในเมืองเมื่อเวลาถูกข้าศึกมาตั้งประชิดแต่การรักษาเมืองคนข้างในจะถ่ายเทกำลังเข้ารบพุ่งรักษาหน้าที่ได้ไม่ทันท่วงทีเพราะต้องข้ามแม่น้ำ แต่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งกว้างและลึกจะทำสะพานข้ามก็ไม่ได้ ทำให้ยากแก่การรักษาพระนครเวลาข้าศึกบุก ทำให้น้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่ายบริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคับแคบ มีวัดขนาบทั้งสองข้าง คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) กับวัดท้ายตลาด (วัดโมฬโลกยาราม) ทำให้ยากแก่การขยายพระราชวังให้กว้างออกไป

เหตุผลการเลือกทำเลที่ตั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

  • ได้แม่น้ำใหญ่เป็นคูคลอง

    ทางฝั่งกรุงเทพฯเป็นที่ชัยภูมิเหมาะสม เพราะเป็นหัวแหลมถ้าสร้างเมืองแต่เพียง ฟากเดียว จะได้แม่น้ำใหญ่เป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตกและด้านใต้ เพียงแต่ขุดคลองเป็นคูเมืองแต่ด้านเหนือและด้านตะวันออกเท่านั้น ถึงแม้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีก็พอต่อสู้ได้

  • ป้องกันข้าศึก

    เนื่องด้วยทางฝั่งตะวันออกนี้ พื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มที่เกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกจะยกทัพมาทางนี้คงทำได้ยาก ฉะนั้นการป้องกันพระนครจะได้มุ่งป้องกันเพียง ฝั่งตะวันตกแต่เพียงด้านเดียว

  • สะดวกต่อการขยายเมือง

    ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ใหม่ สันนิษฐานว่าชุมชนใหญ่ในขณะนั้นคงจะมีแต่ชาวจีนที่เกาะกลุ่มกัน อยู่จึงสามารถขยายออกไปได้อย่างกว้างขวาง และขยายเมืองได้เรื่อยๆ

ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ, (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542 คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525) สุคน สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72.

ก่อกำเนิดหัวใจพระนคร

ได้อัญเชิญเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อเดือนมิถุนายน ในขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ทรงย้ายราชธานีมาอยู่บางกอก บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันออก ขนานนามว่า กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้ขุดคลองบางลำพู หรือคลองโอ่งอ่าง เป็นคูคลองพระนคร สร้างกำแพงเมือง และป้อมตามแนวคลองคูเมืองใหม่ และตั้งเสาหลักเมือง สร้างหอกลองขึ้นที่หน้าวัดโพธิ์

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

(เพิ่มเติม) เมื่อแรกขุดคูเมืองใหม่นี้ยังไม่มีเวลาสร้างกำแพงเมืองให้มั่นคงถาวร จึงใช้เพียงเสาไม้ระเนียด ต่อมาเมื่อมีเวลาว่างศึกแล้ว จึงโปรดฯให้รื้อกำแพงเมืองเก่าของกรุงธนบุรีตามแนวคูเมืองเดิมออก นำอิฐรวมกับอิฐซากกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา มาสร้างกำแพงเมืองใหม่ตามแนวคลองรอบกรุง พร้อมป้อมปราการเรียงรายไปตามกำแพง ๑๔ ป้อม ดังนี้


>>> กดแถบหัวข้อเพื่อดูรูปภาพ

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

ภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์เป็นแหลมคุ้งแม่น้ำ เมื่อขุดคลองรอบกรุงขึ้น จึงทำให้กรุงรัตนโกสินทร์กลายเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ ส่วนคลองคูเมืองเดิมที่ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์บริเวณพระบรมมหาราชวังและวังหน้าเป็นเกาะเช่นกัน ปัจจุบันเรียกส่วนนี้ว่า“หัวแหวนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์”

เยี่ยมชมหัวข้อที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

การสร้างหัวใจพระนคร

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

ประกอบหัวใจให้พระนคร

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

ปรับปรุงหัวใจให้ใหม่อีกครั้ง

เพราะเหตุใดกรุงธนบุรีจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นราชธาน

วิถีไทยกับ หัวใจพระนคร

"เที่ยวใหม่กับหัวใจเดิม"

" ปรับปรุงทัศนียภาพคลองคูเมืองเดิมเพื่อคุณภาพชีวิต สู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ "

คลิกรูปภาพเพื่อเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว

  • All
  • Gallery Item