เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณบลูทูธ bluetooth คือ เครือข่ายใด

                                                   

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณบลูทูธ bluetooth คือ เครือข่ายใด

                              ปัจจุบัน Internet (อินเตอร์เน็ต) ได้ถูกพัฒนาไปใกลมากจากเมื่อก่อนที่ความเร็วในการ download (ดาวน์โหลด) สูงสุดไม่ถึง 500 Kbps    ซึ่งช้ามากๆ แต่ระยะเวลาผ่านมาไม่กี่ปีด้วยเทคโนโลยีและเทคนิคต่างๆ ทำให้อินเตอร์เน็ตมีความเร็วขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งตอนนี้ความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงสุดที่สามารถใช้งานได้ทั้วไปสูงสุดอยู่ราวๆ 1 Gbps หรือ ประมาณ 200 เท่าของเมือก่อน ซึ่งถือว่าเร็วมากๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้งานในด้านต่างๆเช่น Social Media (โซเชียลมีเดีย) หรือสังคมออนไลน์ที่มีทั้งภาพเสียงวีด๊โอทำให้ต้องใช้อินเตอร์เน็ตในปริมาณเยอะ  และ IoT (ไอโอที) หรืออินเตอร์เน็ตออฟติงการประยุกต์อินเตอร์เน็ตเข้าสู่่ชีวิตประจำวันของมนุษย์

บลูทูธคืออะไร?

                           บลูทธ เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อไร้สายประเภทหนึ่งซึ่งช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อกันได้ เช่น เราสามารเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เรากับสมาร์ทโฟนได้โดยบลุทูธซึ่งบลูทูธจะใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. (จิกะเฮิร์ซ)  ยิ่งมีกำลังส่งมากยิ่งทำให้ส่งได้ไลกมากสุงสุดประมาณ 100 เมตร ใช้กำลังส่ง  ประมาณ 100 มิลลิวัตต์

 วิธีการแชร์อินเตอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนให้กับคอมพิวเตอร์ผ่านบลูทธ

                                                 1.เชื่อมต่อโทรศัพท์ของเราเข้ากับอินเตอร์เน็ต (สามารถใช้ผ่านข้อมูลมือถือได้เท่านั้น)

                                                 2.เชื่อมบลูทูธของอุปกรณ์ที่ปล่อยอินเตอร์เน็ตเข้ากับอุปกรณ์ที่จะใช้อินเตอร์เน็ตและ

                                                    เข้าไปที่ตั้งค่าของโทรศัพท์เลือกแชร์อินเตอร์เน็ตและฮอทสปอตมือถือ

                                                    

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณบลูทูธ bluetooth คือ เครือข่ายใด

                                                3. ติ๊กถูกที่ การเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยบลูทูธ

                                                

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณบลูทูธ bluetooth คือ เครือข่ายใด

                                                4.เพียงเท่านี้เราก็สามารถเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านบลูทูธได้แล้วนะครับ                                                 

Referrence:วิกิพีเดีย

อ้างอืงรูปภาพ: google site 

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายบลูทูท ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน เนื่องจากไม่จำกัดพื้นที่ มิต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นสายสัญญาณ สามารถเชื่อมต่อได้ไกล เช่น การส่งข้อมูลจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องหนึ่งไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกเครื่องหนึ่ง หากส่งผ่านสายสัญญาณ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อทำให้อุปกรณ์ทั้งสองเชื่อมต่อกันได้ แต่เทคโนโลยีบลูทูธ ช่วยให้การส่งข้อมูลของอุปกรณ์ทั้งสองสะดวกขึ้นโดยการส่งผ่านคลื่นวิทยุ
ระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคลที่ใช้เชื่อมต่อ โดยตรงระหว่างอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้กันชนิดนี้ ในแต่ละเครือข่าย จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่ง เรียกว่า มาสเตอร์
(Master) หรือตัวแม่ข่าย ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประสานงานให้กับอุปกรณ์ตัวอื่นๆในเครือข่ายเดียวกัน ส่วนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อตัวอื่นๆ เรียกว่า สลาฟ(Slave) หรือตัวลูกข่าย ซึ่งโครงสร้างการทำงานของบลูทูธนี้คล้ายกับระบบบัสอนุกรมแบบใช้ร่วมร่วม (universal serial bus : USB) ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆไป แต่ต่างกันในส่วนของการเชื่อมต่อ โดยอุปกรณ์บลูทูธส่วนใหญ่สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งมาสเตอร์หรือสลาฟ
ตามความเหมาะสม ซึ่งภายในเครือข่ายจะมีการจัดการกันเองโดยอัตโนมัติด้วย โพรโทคอลมาตรฐาน
อุปกรณ์บลูทูธแต่ละตัวจะมีแอดเดรส (Address) หรือการระบุตำแหน่ง ซึ่งเป็นรหัสประจำตัวที่ไม่ซ้ำกับอุปกรณ์ตัวอื่น มีความยาวขนาด ๔๘ บิต เรียกว่า บีดี แอดเดอ (BD_ADDR) ใช้ในการจำแนกอุปกรณ์แต่ละตัวและใช้ในการระบุความถี่ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ด้วย [๑]

        ๔.๑ ความถี่คลื่นวิทยุ
ความถี่มาตรฐานสำหรับเทคโนโลยีบลูทูทประมาณ ๒.๔ – ๒.๔๘๓ กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ซึ่งช่วงความถี่ที่ใช้งานอาจแตกต่างกันบ้างในบางประเทศ เนื่องจากความถี่ที่ใช้สำหรับบลูทูท เป็นความถี่สาธารณะ (Unlicensed frequency) ไม่ต้องขออนุญาตการใช้งานความถี่ดังกล่าวจากหน่วยงานกำหนดหรือจัดสรรความถี่ของประเทศนั้นๆ ทำให้การใช้งานความถี่นี้แออัด อาจถูกรบกวนจากสิ่งต่าง ๆ เช่น คลื่นสัญญาณรบกวนจากเครือข่าย ที่อยู่ใกล้กันได้ง่าย ดังนั้นประสิทธิภาพของการใช้งานบลูทูธจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ จำนวนหรือความหนาแน่นของการใช้งานด้วย [๑]

        ๔.๒ ระยะเชื่อมต่อของบลูทูธ
อุปกรณ์บลูทูธถูกแบ่งออกเป็นสามระดับ ตามความสามารถในการส่งข้อมูล [๑] ดังนี้

ระดับหนึ่ง (Class 1) สามารถรับส่งข้อมูลในรัศมี ๑๐๐ เมตร ใช้พลังงานประมาณ ๑๐๐ มิลลิวัตต์
ระดับสอง (Class 2) สามารถรับส่งข้อมูลในรัศมี ๑๐ เมตร ใช้พลังงานประมาณ ๒.๕ มิลลิวัตต์
ระดับสาม (Class 3) สามารถรับส่งข้อมูลในรัศมี ๑ เมตร ใช้พลังงานประมาณ ๑ มิลลิวัตต์

        ๔.๓ ส่วนประกอบของชุดข้อมูล
ข้อมูลที่รับส่งอยู่ในเครือข่ายบลูทูท ถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่า พีดียู (packet data unit: PDU)[๒] ซึ่งประกอบไปด้วย

ก) รหัสการเข้าถึง (Access Code) เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลหมายเลขเครือข่ายและแอดเดรสหรือตำแหน่งของอุปกรณ์ต้นและปลายทาง มีขนาดยาว ๗๒ บิต
ข) ส่วนหัว (Header) เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลเส้นทางที่เหมาะสมในการส่งข้อมูล มีขนาดยาว ๕๔ บิต
ค) ข้อมูล (Payload) คือข้อมูลที่ต้องการส่งไปยังปลายทาง มีขนาดระหว่าง ๐ – ๒,๗๔๕ บิต ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ดังรูปที่ ๔.๑

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณบลูทูธ bluetooth คือ เครือข่ายใด

รูปที่ ๔.๑ โครงสร้างชุดข้อมูลของบลูทูท

         ๔.๔ เครือข่ายขนาดย่อม (Piconet)
เครือข่ายขนาดย่อมหรือเรียกว่า พิโคเน็ต (Piconet) เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์บลูทูท ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๘ ตัว ซึ่งจะแบ่งช่องสัญญาณออกเป็น ๗๙ ช่องสัญญาณ และส่งข้อมูลสลับช่องไปมา ๑,๖๐๐ ครั้งต่อวินาที ทำให้แต่ละพิโคเน็ตสามารถทำงานในพื้นที่เดียวกันได้ โดยโอกาสในการถูกรบกวนจากเครือข่ายอื่นที่อยู่ใกล้มีเพียงร้อยละ ๑.๕ ทั้งนี้เครือข่ายบลูทูธได้ออกแบบให้เครื่องที่เป็นตัวแม่ข่ายมีหน้าที่ในการจัดการควบคุมลำดับการส่งข้อมูลของอุปกรณ์แต่ละตัว เพื่อป้องกันการเกิดการชนกันของข้อมูลอันเนื่องมาจากการส่งข้อมูลพร้อมกันบนช่องสัญญาณเดียวกัน
นอกจากนี้ในแต่ละพิโคเน็ตสามารถเชื่อมต่อข้ามเครือข่ายกัน เกิดเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นเรียกว่า สแคทเทอร์เน็ต (Scatternet) แต่การเชื่อมต่อแบบนี้จะต้องมีการจัดลำดับการทำงานบนเครือข่ายที่ยุ่งยากขึ้นและต้องแบ่งความสามารถในการส่งข้อมูลกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบลดลง [๑]

         ๔.๕ อัตราเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ความเร็วสูงสุดพื้นฐานในการส่งข้อมูลของแต่ละช่องสัญญาณประมาณ ๑ เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทั้งนี้ความเร็วที่ส่งได้จริงอาจน้อยกว่า เนื่องจากความเร็วบางส่วนจะเสียไปจากการควบคุมและจัดการการส่งข้อมูล นอกจากนี้ผู้ใช้ในแต่ละพิโคเน็ต คงต้องแบ่งความสามารถในการส่งข้อมูลกันด้วย ทำให้ความสามารถในการส่งข้อมูลลดลง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณบลูทูธ bluetooth คือ เครือข่ายใด

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณบลูทูธ bluetooth คือ เครือข่ายใด

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณบลูทูธ bluetooth คือ เครือข่ายใด

รูปที่ ๔.๒ รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล

         รูปที่ ๔.๒ แสดงความแตกต่างในการส่งข้อมูล ซึ่งความสามารถในการส่งข้อมูลจะต่างกันไปตามรูปแบบของการส่ง ดังรูปที่ ๔.๒ ก. การส่งข้อมูลแบบไม่สมมาตร ความสามารถในการส่งข้อมูลไปและกลับจะไม่เท่ากัน เหมาะกับการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ รูปที่ ๔.๒ ข. การส่งข้อมูลแบบสมมาตร ความสามารถในการส่งข้อมูลไปและกลับเท่ากัน และรูปที่ ๔.๒ ค. การส่งข้อมูลแบบทำงานร่วมกันหลายอุปกรณ์ แต่ละอุปกรณ์จะแบ่งความสามารถในการส่งข้อมูลกัน ทำให้ความสามารถในการส่งข้อมูลลดลง