ประกันสินเชื่อรถยนต์ จําเป็นไหม

ประกันคุ้มครองสินเชื่อคืออะไร? ทำไมต้องทำ?

ประกันคุ้มครองสินเชื่อ หรือประกันชีวิตแบบคุ้มครองสินเชื่อ ซึ่งก็มีความหมายตรงตัวคือ เป็นการประกันความเสี่ยงในการชำระหนี้ ซึ่งประกันนี้จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้กู้ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับผู้กู้ก่อนสัญญาสินเชื่อจะสิ้นสุด พูดง่ายๆก็คือหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันกับผู้กู้ ในระหว่างที่ยังคงมีหนี้ค้างชำระ บริษัทประกันก็จะรับภาระชำระเงินกู้ส่วนที่เหลืออยู่แทนผู้กู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ข้างหลังผู้กู้ ไม่ต้องมารับภาระแทนผู้กู้ และจะสร้างความสบายใจให้แก่ผู้กู้ได้เช่นกัน

แล้วความคุ้มครองเป็นอย่างไรบ้าง

ส่วนใหญ่แล้ว ประกันคุ้มครองสินเชื่อจะให้จำนวนเงินเอาประกันภัยไม่น้อยกว่าจำนวนวงเงินของการทำสินเชื่อ และระยะเวลาคุ้มครองจะไม่น้อยกว่าระยะเวลาในการผ่อนชำระสินเชื่อ ซึ่งจะให้ความคุ้มครองจากการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร หรือ เสียชีวิต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละบริษัท ฉะนั้นจึงควรอ่านและทำความเข้าใจในเงื่อนไขของประกันโดยเฉพาะสัญญาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ฯ

การรับผลประโยชน์

ประกันคุ้มครองสินเชื่อมักจะกำหนดในสัญญาให้บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์หลัก ซึ่งผู้รับผลประโยชน์หลักจะได้รับเงินผลประโยชน์ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ผู้เอาประกันค้างชำระอยู่ และส่วนเงินผลประโยชน์ที่เกินจากจำนวนหนี้ที่ค้างชำระอยู่จะตกเป็นของผู้เอาประกันในกรณีที่ผู้เอาประกันเกิดการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือจะตกเป็นของผู้รับผลประโยชน์รองตามที่ผู้เอาประกันระบุไว้ในหนังสือสัญญาในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท

รูปแบบเงินเอาประกัน

ในแผนประกันคุ้มครองสินเชื่อนั้นอาจจะเสนอเงินเอาประกันภัยเป็น 2 รูปแบบ นั้นก็คือ

1. จำนวนเงินเอาประกันที่ลดลง

จำนวนเงินเอาประกันที่ลดลง หมายถึง แผนประกันสินเชื่อที่จำนวนเงินเอาประกันที่ปรับลดลงตามระยะเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนหนี้สินที่ค้างชำระที่จะลดลงเรื่อยๆตามระยะเวลาผ่อนชำระ หรือพูดง่ายๆก็คือ

หากผู้เอาประกันเกิดเหตุไม่คาดฝันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งตามความคุ้มครองของประกันก็จะสามารถเอาเงินประกันจากบริษัทประกันตามที่ระบุไว้ในตารางแสดงจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ลดลงตามช่วงเวลานั้นๆจำนวนเงินเอาประกันภัยคงที่

2. แผนประกันภัยแบบเอาเงินประกันคงที่

คือไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่อยู่ในความคุ้มครองของประกันในช่วงเวลาใดตามตลอดระยะเวลาคุ้มครองก็จะได้เงินเต็มจำนวนเงินเอาประกันที่ระบุไว้ โดยที่ไม่มีผลต่อช่วงเวลาในการเกิดเหตุการณ์

และในหลายบริษัทประกันฯ อาจมีรูปแบบการจ่ายเงินเอาประกันแบบผสมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไข แล้วข้อเสนอของบริษัทนั้นๆด้วย ฉะนั้น ผู้ทำประกันคุ้มครองสินเชื่อจึงควรอ่านและทำความเข้าใจในเงื่อนไขของประกันโดยเฉพาะสัญญาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ฯ เพื่อจะได้ทราบของผลประโยชน์ที่จะได้รับแก่ตัวผู้ทำประกันเองค่ะ

อาจเกิดคำถามเมื่อมีหลักทรัพย์ในการทำสินเชื่อแล้ว ทำไมยังต้องทำประกันคุ้มครองสินเชื่ออีก?

ก็เพราะลูกค้าที่มาขอสินเชื่อก็ไม่ได้มีต้องการจะให้ยึดหลักทรัพย์จากการทำสินเชื่ออยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะไม่อย่างนั้นคงเอาหลักทรัพย์ไปจำหน่ายน่าจะตรงจุดประสงค์มากกว่า ฉะนั้นการทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ จะเป็นสิ่งที่การันตีได้ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรกับผู้ขอสินเชื่อ ก็จะมีประกันคุ้มครองสินเชื่อมาชำระหนี้แทนได้และทำให้หลักทรัพย์ของผู้ขอสินเชื่อยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอสินเชื่อ หรือครอบครัวผู้ขอสินเชื่อต่อไป

แล้วการทำประกันคุ้มครองสินเชื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้บริการสินเชื่อฝ่ายเดียวหรือไม่?

การที่ลูกค้าถือกรมธรรม์คุ้มครองสินเชื่อย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกค้าสินเชื่อโดยตรงอยู่แล้วค่ะ เพราะบริษัทประกันจะชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นลูกค้าทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้อีกต่อไป เพราะถ้าหากลูกค้าไม่มีประกันคุ้มครองสินเชื่อ แม้จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทำให้มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ หน้าที่รับผิดชอบก็ยังคงติดตัวเป็นพันธะของผู้กู้อยู่ดี ซึ่งสุดท้ายอาจทำให้เสียหลักทรัพย์ค้ำประกันไปหรืออาจจะต้องสืบทรัพย์สินส่วนอื่นเพิ่มเติมเพื่อมาใช้ชำระหนี้ จนกลายเป็นภาระคนข้างหลังได้ และหากว่าเงินเอาประกันสูงกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ถือกรมธรรม์ หรือผู้รับผลประโยชน์รองก็จะได้รับเงินส่วนต่างที่เกินจากหนี้ค้างชำระด้วย

แม้ว่าสินเชื่อจะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยต่อชีวิต ต่อโอกาสให้แก่ผู้กู้ได้ แต่ก็ยังเป็นข้อผูกมัดระยะยาวและในอนาคตก็เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ประกันคุ้มครองสินเชื่อจึงเป็นตัวช่วยที่จะให้เราสบายใจได้ว่าหากเกิดอะไรขึ้นกับเราในอนาคต หนี้สินที่เราก่อก็จะไม่ส่งผลกระทบให้กลายเป็นภาระไปยังคนที่อยู่ข้างหลังเราได้ แต่การจะทำประกันใดๆก็ตามก็ต้องอ่านรายละเอียดและทำความเข้าใจในเงื่อนไขของประกันนั้นๆให้เข้าใจชัดเจนเสียก่อนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ด้วยความปรารถนาดีจาก

#เงินเทอร์โบพร้อมเคียงข้างทุกโอกาส

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

Main menu

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับ คปภ.
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
      • แนะนำสำนักงาน คปภ.
      • วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์
      • ธรรมาภิบาล/จริยธรรม
      • งานตรวจสอบภายใน
    • โครงสร้างองค์กร
      • ผังโครงสร้างองค์กร
      • คณะกรรมการ คปภ.
      • ผู้บริหาร คปภ.
      • พ.ร.บ. คปภ.
    • แผนพัฒนาธุรกิจประกันภัย
      • แผนพัฒนาธุรกิจประกันภัย
      • CEO Insurance Forum
        • 2016
    • รายงานประจำปี/งบการเงิน
      • รายงานประจำปี
      • งบการเงิน
    • ISO
    • ตราสัญลักษณ์/เครื่องแบบ คปภ.
    • การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
    • ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
    • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • สำหรับผู้บริโภค
    • การประกันภัยที่เกี่ยวกับคุณ
    • เกี่ยวกับบริษัทประกันภัย
    • ไขข้อข้องใจประกันภัย
    • กฏหมาย / คดี
    • การคุ้มครองสิทธิประโยชน์
    • แหล่งความรู้
    • กองทุนประกันภัย
  • ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัย
    • สำหรับบริษัทประกันภัย
      • ธรรมาภิบาล
        • ธรรมาภิบาลของ คปภ.
        • แนวทางปฏิบัติ
        • อื่นๆ
      • หลักเกณฑ์การคัดเลือกรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร
      • แนวทางการกำกับ
        • การกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสียง (RBC)
          • ประกันชีวิต
          • ประกันวินาศภัย
        • การทดสอบภาวะวิกฤต
          • ประกันชีวิต
          • ประกันวินาศภัย
        • แนวปฏิบัติผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
        • แนวปฏิบัติผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย
        • การกำกับการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น
        • ภาพรวมธุรกิจประกันภัย
        • การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
        • แบบฟอร์มคำขอความเห็นชอบจดทะเบียน
        • ระบบฐานข้อมูลคณะกรรมการชุดย่อย
        • แนวทางการประเมินการควบคุมภายในของบริษัทประกันภัย
      • แนวทางการตรวจสอบ
        • การตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Audit)
        • แบบประเมินการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการบริษัทประกันภัย
        • มาตรฐานการบัญชีและรายงานทางการเงินบริษัทประกันภัย
        • แนวทางการตรวจสอบบริษัทประกันภัย ณ ที่ทำการ
        • งบการเงินและรายงานทางการเงิน
          • ร่างงบการเงินและรายงานทางการเงิน
          • งบการเงินและรายงานทางการเงิน (เดิม)
      • การส่งรายงานธุรกิจและแบบฟอร์ม
        • การส่งรายงานธุรกิจ
        • แบบฟอร์ม
      • เอกสาร / แบบฟอร์ม
        • หมวดการประกันชีวิต
        • หมวดการประกันวินาศภัย
        • หมวดการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
      • การประกันตัวผู้ขับขี่
      • การประกันอิสรภาพ
      • Insurance Bureau System (IBS)
      • โครงการส่งเสริมการขายประกันภัยทางอิเล็กทรอนิกส์
    • ตรวจสอบใบอนุญาต
    • แหล่งความรู้
      • สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีจำหน่าย
      • บทความ
      • CEO Insurance Forum
    • กองทุนประกันภัย
      • กองทุนประกันชีวิต
      • กองทุนประกันวินาศภัย
      • กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
    • กฏหมายและคดี
      • ค้นหากฎหมาย
      • อนุญาโตตุลาการ สำนักงาน คปภ.
      • การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย
  • สำหรับคนกลางประกันภัย
    • ตัวแทน / นายหน้าประกันภัย
    • นายหน้านิติบุคคล
    • นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
    • ผู้ประเมิน
      • นิติบุคคลผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
      • ผู้ประเมินวินาศภัย
    • แบบฟอร์มคำขอ
      • ตัวแทนนายหน้าประกันภัย
      • กรณีที่ผู้ขอเป็นนิติบุคคล
      • กรณีผู้ขอเป็นสถาบันการเงิน
    • สถิติตัวแทนนายหน้า
    • คู่มือประกอบการอบรมตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต
    • คู่มือประกอบการอบรมตัวแทน/นายหน้าประกันวินาศภัย
  • กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
    • บทบาทหน้าที่และประวัติ
    • โครงสร้างองค์กร
    • รายงานผลการดำเนินงาน
    • แผนยุทธศาสตร์กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
    • นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • โครงการยุวชนประกันภัยในโรงเรียน

menu

  1. หน้าหลัก
  2. สำหรับผู้บริโภค
  3. คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  4. ซื้อรถยนต์ จำเป็นต้องทำประกันคุ้มครองสินเชื่อด้วยหรือไม่
  5. ซื้อรถยนต์ จำเป็นต้องทำประกันคุ้มครองสินเชื่อด้วยหรือไม่

ซื้อรถยนต์ จำเป็นต้องทำประกันคุ้มครองสินเชื่อด้วยหรือไม่

รายละเอียดคำถาม: 

ผมตกลงซื้อรถยนต์กับบริษัทแห่งหนึ่ง วางเงินดาน์ว 25% ส่วนที่เหลือเข้าไฟแนนซ์ ในวันจัดทำสัญญามีคำขอเอาประกันพ่วงมาด้วย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายแจ้งว่าเพื่อค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ และจำเป็นต้องทำ จริงหรือคับ เพราะรถยนต์ก็มีประกันชั้นหนึ่งอยู่แล้ว และที่สำคัญรถยนต์ก็เป็นหลักประกันไฟแนนซ์

คำตอบ: 

การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ เป็นการทำแบบสมัครใจ หากถูกบังคับสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงาน คปภ.

ประกันสินเชื่อรถคืออะไร

ประกันสินเชื่อรถยนต์ คือ ประกันชีวิตรูปแบบหนึ่ง ที่ทางธนาคารอาจมีข้อเสนอให้เราทำประกันตัวนี้ หลังจากขอสินเชื่อซื้อรถได้แล้ว เนื่องจากทางธนาคารผู้ให้สินเชื่อเป็นผู้จ่ายชำระค่ารถนั้นไปก่อนแล้วมาแบกรับความเสี่ยงจากเรา ในฐานะผู้ขอกู้อีกต่อหนึ่ง และในอนาคตอาจมีเหตุการณ์ที่ทำให้การผ่อนชำระของเราต้องสะดุดหรือหยุดลงได้ดังนั้น ...

ค่าประกันสินเชื่อ คืออะไร

ประกันคุ้มครองสินเชื่อ หรือประกันชีวิตแบบคุ้มครองสินเชื่อ ซึ่งก็มีความหมายตรงตัวคือ เป็นการประกันความเสี่ยงในการชำระหนี้ ซึ่งประกันนี้จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้กู้ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับผู้กู้ก่อนสัญญาสินเชื่อจะสิ้นสุด พูดง่ายๆก็คือหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันกับผู้กู้ ในระหว่างที่ยังคงมีหนี้ค้างชำระ บริษัทประกันก็ ...

ประกัน LP คืออะไร

(Loan Protection) ซึ่งจะให้ความคุ้มครองผู้เช่าซื้อรถยนต์ในการปลดภาระหนี้สิน คงค้าง เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นระหว่างการผ่อน ชำระตามสัญญาเช่าซื้อ ชําระค่าเบี้ยประกันภัยเพียงครั้งเดียวแต่ได้รับความคุ้มครองตลอดอายุสัญญาเช่าซื้อ

ประกันสินเชื่อ ต้องทำไหม

จำเป็นหรือไม่ ที่ขอสินเชื่อแล้วต้องทำประกันทุกครั้ง ในความเป็นจริงแล้ว การทำสินเชื่อและการทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเป็นสิ่งที่แยกออกจากกัน เราไม่จำเป็นจะต้องทำ แต่ถ้าทำก็เป็นหลักประกันให้กับคนในครอบครัวหรือทายาทของเราว่าไม่ต้องลำบากหาเงินมาผ่อนชำระสินเชื่อต่อไป