กิจกรรมของมนุษย์ในข้อใดที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลายครั้งเราได้พบเจอกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปัญหามลพิษ, น้ำท่วม, ภัยแล้ง, ฝนกรด ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาสะสมมาอย่างยาวนาน และมีทีท่าว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี

กิจกรรมของมนุษย์ในข้อใดที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แม้เราจะมองเห็นปัญหานี้กันมาหลายทศวรรษ แต่หลายคนยังคงมองว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัว แถมบางทีเป็นเราเองเสียอีกที่เผลอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวิกฤตนี้ให้เกิดขึ้น อาจจะด้วยความไม่ใส่ใจหรือความไม่รู้ แต่ทั้งหมดนั้นก็ทำให้สิ่งแวดล้อมบนโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง

จะดีกว่าไหมถ้าเราลุกขึ้นมาใส่ใจกันอย่างจริงจังกับการหาทางออกให้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นด้วยการทำความเข้าใจและทราบถึงสาเหตุของปัญหาแบบตรงจุด ก่อนจะร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขให้โลกสามารถผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างยั่งยืน

วิกฤตสิ่งแวดล้อมคืออะไร ใครคือต้นเหตุของปัญหา

วิกฤตสิ่งแวดล้อม คือเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราโดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้

1. ประชากรที่เพิ่มขึ้น ใช้ทรัพยากรมากขึ้น

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดจากที่มนุษย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรเพื่อจัดการกับปัจจัยพื้นฐานในการใช้ชีวิตที่เพิ่มขึ้น 

และเมื่อทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงต่อความต้องการ จึงเกิดการบุกรุกทำลายสิ่งแวดล้อมขึ้น เช่น การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย การทำไร่เลื่อนลอยเพื่อสร้างที่ทำกิน การขุดเจาะถ่านหินและน้ำมันเพื่อทำเป็นพลังงานฟอสซิล เป็นต้น จนก่อให้เกิดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมตามมา

2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขยายพื้นที่การทำลาย 

เมื่อมนุษย์ต้องการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้น การนำทรัพยากรมาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทว่าด้วยเงินทุนและบุคลากร รวมถึงรูปแบบทรัพยากรที่จำกัด ส่งผลให้บางครั้งเราไม่สามารถสร้างสิ่งทดแทนของเดิมที่ใช้แล้วหมดไปได้ ทำให้เกิดปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืนตามมา 

ยกตัวอย่างเช่น การใช้พลังงานฟอสซิลที่ต้องขุดเจาะน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้เพื่อผลิตเป็นพลังงาน ทำให้ในอนาคตโลกเรามีโอกาสเกิดการขาดแคลนพลังงานจากเชื้อเพลิงเหล่านี้ได้ตลอดเวลา เป็นต้น

3. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ก้าวสู่วิกฤตสิ่งแวดล้อม 

การปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งการใช้พลังงานไอน้ำและพลังงานน้ำมัน ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาวในหลายพื้นที่ แม้ว่าจะมีการแก้ไขในเรื่องนี้ในปัจจุบันแล้วก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าของมนุษยชาติมีสิ่งที่ต้องแลกมาไม่น้อยเลย 

และนั่นรวมไปถึงการผลิตสารเคมีต่างๆ เพื่อใช้ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าวัชพืช เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตอีกด้วย

วิกฤตสิ่งแวดล้อมคือสัญญาณเตือนเราว่าโลกกำลังแย่

ด้วยพฤติกรรมและความต้องการของมนุษย์ ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาสะสมเรื้อรัง และโลกเองก็พยายามเตือนให้เรารับรู้ถึงปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมมาตลอด 

ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ ที่เราเรียกกันว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งในปีนี้เราพบแล้วหลายเหตุการณ์ด้วยกัน เช่น 

  • พายุฮากีบิสพัดถล่มประเทศญี่ปุ่น พายุครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ส่งผลให้ในหลายจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม ดินถล่ม และลมกรรโชกแรงในตลอดหลายวันที่พายุพัดผ่าน
  • ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปัญหามลพิษทางอากาศที่กำลังคุกคามปัญหาสุขภาพของชาวเมืองทั่วโลก และในประเทศไทยเองก็กำลังประสบปัญหานี้มาแล้วหลายปีด้วยเช่นกัน
  • น้ำท่วม เหตุการณ์อุทกภัยที่เราเผชิญหน้ากันอยู่ทุกปี และเป็นเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือน ทรัพย์สิน รวมถึงชีวิตหากเจอกับเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากร่วมด้วย 

ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อสิ่งมีชีวิต การดำรงชีพและสภาพแวดล้อมในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น…

  • การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว 

เนื่องจากมนุษย์ได้ทำลายระบบนิเวศที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น จนทำให้เกิดการอพยพเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย ซึ่งถ้าหากไม่สามารถปรับตัวกับที่อยู่ใหม่ได้ แน่นอนว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะต้องสูญพันธุ์ 

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเราได้สูญเสีย ‘เสือพูม่าตะวันออก (Eastern Puma)’ ที่ได้รับผลพวงการสูญพันธุ์มาจากการตัดไม้ทำลายป่าของมนุษย์ สูญเสีย Jalpa False Brook Salamander ที่ชอบทำรังบนต้นไม้จากการทำฟาร์มที่รุกเข้าไปในอาณาเขต และเสีย Smooth Handfish ที่สูญพันธ์ุไปจากท้องทะเล และยังมีสัตว์จำนวนมากที่หายไปซึ่งไม่ได้เอ่ยถึง

สัตว์ที่เราคุ้นเคยกันอย่างหมีขั้วโลกและเพนกวินเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่น่ากังวล เนื่องจากพื้นที่ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่เกิดการละลายอย่างรวดเร็ว จนทำให้สัตว์เหล่านี้ขาดที่อยู่อาศัย รวมถึงปริมาณอาหารที่ไม่เพียงพอ ทำให้เราเห็นการอพยพย้ายถิ่นที่ไวขึ้น รวมถึงภาพอันผอมโซของสัตว์ต่างๆ เสมอ

  • สภาพอากาศที่แปรปรวน 

ร้อนจัด, หนาวจัด, ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง คือผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่มีสาเหตุมาจากการเผาไหมเชื้อเพลิงเพื่อนำมาใช้งาน ทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนตามมา

  • ปัญหาขยะล้นโลก

ขยะที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติได้สร้างปัญหาใหญ่ที่ยากจะแก้ นอกจากจะก่อให้เกิดผลพิษระยะยาวแล้วยังเป็นสาเหตุของวิกฤตอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแพขยะขนาดใหญในท้องทะเล ที่ทำให้สัตว์ต่างๆ ได้รับมลพิษ กินเศษพลาสติก น้ำเน่าเสีย ไมโครพลาสติกที่กระจายไปทั่วโลกตั้งแต่ก้นทะเล ยอดเขาเอเวอร์เรส ขั้วโลกเหนือ และปัญหาเหล่านี้ยังไม่มีหนทางใดแก้ไขได้อย่างยั่งยืน

  • ภาพรวมของเศรษฐกิจ 

ในด้านเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพากลุ่มธุรกิจทั้งหลายในการขับเคลื่อน ต้องเสียผลประโยชน์เนื่องจากแรงงานมีปัญหาสุขภาพ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานและการผลิตลดลง 

รวมถึงภาครัฐจำเป็นต้องอุ้มค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการจัดการปัญหาด้านมลพิษ ปัญหาขยะ ปัญหาสุขภาพ และปัญหาวิกฤตพลังงานฟอสซิล ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จะสูงขึ้นอีกมากหากยังปล่อยให้เกิดวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมต่อไปอีกเรื่อยๆ 

  • สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์

เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับภัยธรรมชาติและวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นระยะเวลานาน แน่นอนว่า ต้องส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งในแง่ของปัญหาสุขภาพที่แย่ลง, ปัญหาด้านอาหารการกินที่มีสารปนเปื้อน รวมถึงมีปริมาณลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรน้อยลงกว่าเดิม 

และในด้านที่อยู่อาศัยเองที่ในอนาคตอาจต้องอพยพออกจากพื้นที่เดิม เนื่องจากประสบกับน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม หรือภาวะภัยแล้งมากจนเกินไป ทำให้ทรัพย์สินและที่ดินทำกินเสียหายเกินกว่าจะเยียวยาได้ และจะกลายเป็นปัญหาของชุมชนแออัดจากการอพยพเข้ามาของคนจำนวนมากต่อไปอีกเป็นทอดๆ แบบไม่รู้จบ

จะแก้วิกฤตสิ่งแวดล้อมได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ในวิกฤตยังมีโอกาส เมื่อปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้นได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะประเด็นด้านพลังงาน ต้นกำเนิดของปัญหาก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งในหลายประเทศก็ออกมาเคลื่อนไหวและรณรงค์กันอย่างจริงจัง ผ่านการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การออกกฎหมายห้ามใช้รถยนต์ควันดำ หรือการห้ามนำเข้ารถยนต์มือสองเพื่อลดปัญหามลพิษในหลายประเทศ 

นอกจากนี้ยังเกิดการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านมลพิษและการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของรถยนต์แบบเดิมๆ ผ่านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV Car) ซึ่งเรื่องนี้ได้กลายเป็นเป้าหมายหลักสำหรับหลายๆ ประเทศบนโลก

ยกตัวอย่างในประเทศฝรั่งเศสที่ตั้งเป้าหมายไว้เลยว่า จะลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากน้ำมันให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2583 นั่นก็คือ 22 ปีข้างหน้า เพราะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายข้อตกลงลดโลกร้อนในกรุงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นแนวทางการแก้วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่นานาชาติได้ทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) เป็นหลัก ด้วยการรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในระดับที่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส 

นอกจากการบังคับใช้กฎหมาย การใช้เทคโนโลยี และการตั้งเป้าหมายร่วมกันแล้ว ประเทศต่างๆบนโลกยังส่งเสริมให้เกิดธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น และแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไปด้วยในตัว 

กิจกรรมของมนุษย์ในข้อใดที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โรงไฟฟ้าพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนประเภทชีวมวล ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า

การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน เป็นอีกหนึ่งธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่นำพืชชีวมวล ก๊าซชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนพลังงานฟอสซิล ซึ่งถือเป็นวิธีที่ช่วยผลักดันให้ข้อตกลงจาก Paris Agreement เป็นไปตามเป้าหมายด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั่นเอง

แต่ที่สำคัญที่สุดคงจะเป็นการให้ความรู้และการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมใน

ระดับบุคคล 

เพราะการแก้ไขในระดับรัฐบาลหรือระดับประเทศจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากภาคประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการฟันฝ่าวิกฤตสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ ซึ่งการจะทำให้ประชาชนตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอาจจะเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อย่างการให้ความรู้ด้านการแยกขยะ การลดใช้ถุงพลาสติก หรือการประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถทำตามได้ในทุกวัน

สรุป

สรุปแล้วทางออกของวิกฤตสิ่งแวดล้อมในอนาคตคงจะเป็นการลงมือรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัวกันตั้งแต่วันนี้ ซึ่งถ้าทุกคนให้ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โลกของเราก็จะกลับมาสวยงามและสามารถแก้วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสะสมมาอย่างยาวนานได้แบบยั่งยืน

กิจกรรมของมนุษย์ในข้อใดที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม