คำว่า จดหมายเหตุ มีความหมายว่าอย่างไร

On archive security, reflect on your actions you can, Padawan. ระหว่างการอารักขาหอจดหมายเหตุ จะทำให้เจ้าไตร่ตรอง การกระทำของตัวเองได้ พาดาวัน The archives hold a great many secrets, it is true. หอจดหมายเหตุเก็บรักษา ความลับที่สำคัญมากมาย นั่นคือความจริง You should be able to walk into the archives and monitor us without a problem. เจ้าสามารถเดินเข้าไปในหอจดหมายเหตุ และรายงานเราโดยไม่มีปัญหา You know, you really should come back and dig through our archives. รู้ไหม? คุณน่าจะกลับมาอีกนะ มาขุดคุ้ยบันทึกหรือจดหมายเหตุของเรา Nothing in the archives, and I obviously couldn't find anything like it online, not to mention I'm pretty sure that the Men of Letters doesn't exactly have I.T. support anymore, either. ไม่มีอะไรในจดหมายเหตุพวกนั้น และที่แน่ๆ คือฉันหาไม่เจอว่าอะไรทำให้มันออนไลน์ได้ นี่ยังไม่พูดถึง เรื่องที่ฉันแน่ใจว่าเหล่าผู้นำสาร I found something in the archives. เจอบางอย่างในหอจดหมายเหตุ Welcome back to the archives, Crane. ขอต้อนรับสู่คลังจดหมายเหตุอีกครั้ง เครน Okay. So we can start in the National Archives. เราก็เริ่มจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ You want to work on it at the archives? I can drop you off. อยากทำที่คลังจดหมายเหตุมั้ย แวะไปส่งได้นะ A plan to keep the archive in our possession. แผนการรักษาคลังจดหมายเหตุ ให้อยู่ในมือเรา I'll return to the archives, see if I can discern a way to combat this whispering wraith. ผมจะกลับไปที่คลังจดหมายเหตุ เผื่อจะหาทางต่อสู้กับเจ้าวิญญาณนี้ได้ Your archive is an amazing building, totally deserving of historic status. คลังจดหมายเหตุของคุณ เป็นอาคารที่น่าทึ่งมาก คู่ควรกับสถานะอาคารประวัติศาสตร์ I should like to return to the Archives, examine the texts further. ผมจะกลับไปที่คลังจดหมายเหตุ อ่านตำราต่างๆ ให้มากกว่านี้ And it puzzles me that you think yourself qualified to attack me, given that I have 30 years' experience in the archives and my books have been published by some of the greatest publishing houses in the world. และมันปริศนาฉัน ที่คุณคิดว่าตัวเองมีคุณสมบัติที่จะ โจมตีผม, ให้ที่ผมมีประสบการณ์ 30 ปีใน หอจดหมายเหตุ

เอกสารจดหมายเหตุ ตามพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ได้ให้ความหมายว่า เอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานและได้รับการประเมินคุณค่า ควรแก่การเก็บรักษาและอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมดานประวัติศาสตร์ของชาติ และเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การค้นคว้า หรือการวิจัย ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดทําทะเบียนไว้เป็นเอกสารจดหมายเหตุ ทั้งนี้หมายความรวมถึงเอกสารส่วนบุคคลที่รับมอบจากบุคคลสำคัญหรือทายาทด้วย

เอกสาร หรือ Document ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พุทธศักราช 2542 หมายถึง หนังสือที่เป็นหลักฐาน (กฎ) กระดาษ หรือวัสดุอื่นใด ซึ่งทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น

เอกสาร ตามความหมายของพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556 หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุที่ทำให้ปรากฏความหมาย ในรูปแบบอักษร สัญลักษณ์ ภาพ หรือเสียง และให้หมายความรวมถึงการบันทึกบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออื่นใดด้วย

ทั้งนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมายของ “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น และได้ให้ความหมายของ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร

เอกสารจดหมายเหตุ จึงเป็นข้อมูลสารนิเทศที่เก็บความทรงจำ ประวัติการดำเนินงานของเจ้าของเอกสาร ซึ่งก็คือ ความทรงจำของประเทศนั่นเอง เอกสารจดหมายเหตุ ให้ข้อมูลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีคุณค่าต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัยในเรื่องต่างๆ อันครอบคลุมถึงประวัติการดำเนินงานของบุคคล หน่วยงาน และกระแสเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้จัดแบ่งเอกสารจดหมายเหตุ ไว้ 4 ประเภท ดังนี้

  1. เอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์อักษร (Textual Archives) คือ เอกสารที่สื่อความหมาย เนื้อหาด้วยลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เช่น เอกสารโต้ตอบ เอกสารประชุม แผนงาน โครงการ รายงาน บทความ ฯลฯ
  2. เอกสารจดหมายเหตุประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives) คือ เอกสารที่สื่อความหมายด้วยภาพหรือเสีย เช่น ภาพถ่าย ฟิล์มเนกาตีฟ สไลด์ โปสเตอร์ ปฏิทิน บัตรอวยพร แถบบันทึกเสียง แถบทันทึกภาพ ฟิล์มภาพยนตร์ ฯลฯ
  3. เอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ แผนผัง แบบแปลน (Cartographic Archives) เช่น แผนที่ แผนผัง แบบแปลน พิมพ์เขียว ฯลฯ
  4. เอกสารจดหมายเหตุประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์ (Machine-Readable Archives) เป็นเอกสารที่บันทึกข้อมูล และค้นหาข้อมูลที่บันทึกไว้นั้นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ดิสก์เกตท์ ซีดี วีซีดี ดีวีดี ฯลฯ

คำว่า จดหมายเหตุ มีความหมายว่าอย่างไร

ปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศให้การพัฒนาประเทศต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ก้าวเข้ามามีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุ ก็หนีไม่พ้นเทคโนโลยีดิจิทัล โดยพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 ได้ให้ความหมายของ “ดิจิทัล” ว่า เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนําสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่งหรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนค่าสิ่งทั้งปวง เพื่อใช้สร้าง หรือก่อให้เกิดระบบต่างๆ เพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์

จากแนวยุทธศาสตร์ดิจิทัลไทยแลน์ดังกล่าว ซึ่งผลให้การบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุ ต้องเพิ่มมิติอิเล็กทรอนิกส์ มิติดิจิทัลให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จะต้องศึกษา กำหนดแนวปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ (http://www.nationalarchives.gov.uk/) ที่มีการดำเนินการภายใต้โครงการ Digital Transfer โดยนิยามเอกสารรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า Born-digital Content อันเป็นเอกสารที่ถูกสร้างเป็นประจำวันในรูปแบบของเอกสาร Word เอกสาร PDF ภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพดิจิทัล กล้องในโทรศัพท์พกพา ไฟล์เสียงบันทึกด้วยฟังก์ชันของโทรศัพท์พกพา ข้อความที่ถูกส่งในรูปแบบอีเมล ข้อความสั้นใน Line Application หรือ Messenger ซึ่งเอกสารในรูปแบบ Born-Digital เมื่อถูกประเมินคุณค่า ก็จะเกิดเป็นรูปแบบใหม่ของเอกสารจดหมายเหตุ ซึ่งจำเป็นต้องมีกระบวนการบริหารจัดการอย่างเหมะสมภายใต้ยุทธศาสตร์ดิจิทัลเพื่อจดหมายเหตุแห่งชาติ

แนวทางการทำงานนี้ จึงเป็นสิ่งท้าทายของผู้เกี่ยวข้องในประเทศไทยต่อไป อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นแนวทางให้เกิดรูปธรรมในการดำเนินการ การศึกษามาตรฐานก็จะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

Number of View :2237