พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในด้านการเมืองการปกครองมีอะไรบ้าง

          

ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม “สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์” พระนามทั่วไปเรียกว่า “ทูล กระหม่อมเอียดน้อย”

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
           เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ครั้นเจริญวัยทรงศึกษาวิชาการทหารม้าปืนใหญ่ แห่งกองทัพอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการในกองทัพบกไทย ต่อมาได้ไปศึกษาวิชา ฝ่ายเสนาธิการ ประเทศฝรั่งเศส ทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2460 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี เมื่อ พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งในกองทัพบก ในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และผู้บังคับการพิเศษทหารปืน ใหญ่ที่ 2 ระยะนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมผู้ สืบราชสมบัติต่อ ซึ่งตกแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. 2467 ทรงได้ศึกษาวิชา การปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดิน ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมและหน้าที่ราชการของพระเจ้าแผ่น ดินจากหนังสือราชการที่สำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ได้ตระหนักว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทย เกิดขึ้นอย่างแจ่มชัดมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เพียงแต่ยังมิได้เป็นทางการ เท่านั้น
           ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ทรงมีพระราชกรณียกิจสรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลย์อย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน

             การศึกษา ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้

             การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
             ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ด้านการปกครอง ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราช ทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวใน โลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ พระองค์จึงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รวมเวลาครองราชย์ 9 ปี พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา

รหัสชุดข้อมูล

TLD-002-106

ชื่อ - สกุล

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

เกิด

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279

เสียชีวิต

วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  พระนามเดิม ด้วง หรือทองด้วง เป็นบุตรพระอักษรสุนทร (ทองดี) ข้าราชการกรมอาลักษณ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีกรมพระคลังในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับท่านหยก ธิดาเศรษฐีจีน มีพระบรมราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 

ต่อมาได้ทรงรับราชการเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต จนพระชนมพรรษาครบ 21 พรรษา ได้ทรงผนวช ณ วัดมหาทลายพรรษาหนึ่ง หลังจากทรงลาผนวชแล้วทรงกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอีกครั้ง ครั้นพระชนมพรรษาได้ 25 พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตร ออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรี

ใน พ.ศ. 2311 หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์ ในกรมพระตำรวจหลวง ได้โดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปปราบก๊กต่าง ๆ จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจ

ต่อจากนั้นทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นแม่ทัพไปปราบหัวเมืองต่าง ๆ หลายครั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบำเหน็จความชอบให้เป็นพระยายมราช และทรงทำหน้าที่สมุหนายกด้วย 

ในปีต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม

ครั้น พ.ศ.  2324 ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องยกทัพกลับจากเขมรเพื่อปราบจลาจล และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2325 และทรงสถาปนาพระราชวงศ์จักรีขึ้น 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมทุกด้านโดยมีพระราชประสงค์ให้กรุงรัตนโกสินทร์เจริญรุ่งเรืองเหมือนกับกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บูรณะวัดต่างๆ เช่นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดให้เชิญพระพุทธรูปโบราณตามหัวเมืองต่างๆมาประดิษฐานในพระนครด้วย

นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายโบราณสมัยอยุธยาที่เหลืออยู่ให้เป็นหมวดหมู่และประทับตราสามดวงไว้เป็นฉบับหลวง

ทางด้านศาสนาโปรดให้ชำระพระไตรปิฎกและคัดเป็นฉบับหลวงเพื่อเก็บรักษาไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม ภายในพระบรมมหาราชวัง 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่  7  กันยายน  พ.ศ.  2352  พระชนมพรรษาได้  73  พรรษา

ผลงาน / งานประพันธ์

1. กลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์

2. กลอนบทละครเรื่องดาหลัง

3. กลอนบทละครเรื่องอิเหนา

4. กลอนบทละครเรื่องอุณรุท

5. กลอนเพลงยาวนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง

นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้นักปราชญ์เรียบเรียงถวายซึ่งมีทั้งการคัดลอกและการแต่งใหม่ เช่น

1. ไตรภูมิโลกวินิจฉัย

2. ตำราพิชัยสงคราม

3. โคลงตำราช้าง

4. ราชนีติ

5. นิทานสิบสองเหลี่ยม

6. รัตนพิมพวงศ์

7. ชินกาลมาลี 

8. สังคีติยวงศ์

9. จินดามณี 

10. สามก๊ก

11.  ไซ่ฮั่น

12. ราชาธิราช

13. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

14. กฎหมายตราสามดวง

ผู้เรียบเรียง

สยาม ภัทรานุประวัติ

เอกสารอ้างอิง

ประมวลพระราชนิพนธ์เบ็ดเตล็ดในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร : โรงพิมพ์การรถไฟ, 2508.(พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ล. ประจวบ  กล้วยไม้ (จมื่นเทพสุรินทร์) ณ เมรุวัดสังเวชวิศยาราม วันที่ 4 กันยายน 2508)

พิทยลาภพฤฒิยาลงกร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. พระพุทธยอดฟ้าทรงปรับปรุงบ้านเมือง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จันวาณิชย์, 2527. (ทุน ณ อยุธยา จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

คำสำคัญ

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่สำคัญ มีอะไรบ้าง

กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระราชกรณียกิจสำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเกี่ยวกับด้านศาสนาคือข้อใด

ทางด้านศาสนาโปรดให้ชำระพระไตรปิฎกและคัดเป็นฉบับหลวงเพื่อเก็บรักษาไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม ภายในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 พระชนมพรรษาได้ 73 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอาณาจักรอะไร

เรื่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์) 30 มี.ค. 64 (มีวิดีโอประกอบการสอน)

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยคืออะไร

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ ทรงฟื้นฟู พระพุทธศาสนาอย่างมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนสถาน ทรงโปรดฯให้สร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดชัยพฤกษมาลา วัดโมลีโลกยาราม วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่ สระบุรี ซึ่งสร้างค้างไว้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมทั้งโปรด ...