การปฏิบัติงานขององค์กร

ผู้เข้าชมทั้งหมด : 433

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการประเมินไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างปัจจุบันที่เราเห็นกันได้ง่ายๆ จากการใช้บริการสั่งอาหารผ่านรูปแบบออนไลน์ สั่งซื้อสินค้าหรือช็อปปิ้งออนไลน์  การส่งของ การใช้บริการเดินทาง หรืออื่นๆอีกมากมาย เมื่อใช้บริการต่างๆเหล่านั้นเสร็จสิ้น ระบบก็จะให้ทำการการประเมินความพึงพอใจ หรือการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยอัตโนมัติ

ซึ่งการประเมินผลการปฏิบัติงาน หรือการประเมินความพึงพอใจนั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จขององค์กรได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว เพราะสามารถวัดผลได้ทั้งในแง่ของความสามารถในการทำงาน และในแง่ของศักยภาพที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น

วันนี้ KwanJai by BUILK จะพามาติดตามการประเมินผลการปฏิบัติงาน ว่ามีส่วนช่วยให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด แม้การประเมินไม่ได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะในการทำงานโดยตรง แต่สามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในแต่ละบุคคลได้ดีเลยทีเดียว

การปฏิบัติงานขององค์กร

Highlight

หลักการสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประเมินความพึงพอใจ สิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม

การนำ KwanJai Rating มาพัฒนากระบวนการทำงานของทีมในองค์กรให้ดีขึ้น

หลักการสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงานในองค์กรต้องมีหลักการที่ชัดเจน เป็นแนวทางในการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ โดยมีหลักการดังนี้

หลักเกณฑ์ต้องเป็นที่ยอมรับ  ก่อนเริ่มประเมินผลการปฏิบัติงาน พนักงานทุกคนควรทราบหลักเกณฑ์ในการประเมิน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ว่าใช้เกณฑ์อะไรบ้าง พนักงานจะได้ทราบแนวทางที่ควรปฏิบัติ  หากหลักเกณฑ์มีความแตกต่าง หรือไม่เท่าเทียมอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีในการประเมิน และส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรต่อไป

กำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจน  การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนและแน่นอน  ไม่ควรให้พนักงานปฏิบัติงานไปเรื่อยๆโดยไม่มีกำหนดช่วงเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุด  เพราะจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานลดลงเรื่อย ๆ และยังส่งผลให้เกิดความกดดันระยะยาว กลายเป็นความเบื่อหน่ายมากกว่าการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร  เพื่อให้เป้าหมายขององค์กรมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ ดังนั้น หลักเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีควรคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กรเป็นหลักด้วย รายละเอียดของการประเมินรวมถึงตัวชี้วัดที่ประเมินผลจะได้ตรงกัน และสอดคล้องกับทิศทางขององค์กรให้มากที่สุด

การปฏิบัติงานขององค์กร

วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการกำหนดว่าจะต้องการวัดผลเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่องใดบ้าง ต้องมีความชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ การตั้งวัตถุประสงค์จะต้องมีความสมเหตุสมผล ดังนี้

1.เพื่อวัดผลศักยภาพการทำงานของพนักงาน 

การประเมินผลนี้อาจจะอ้างอิงจาก Job Description ของแต่ละตำแหน่งเป็นหลัก เพื่อทราบว่าพนักงานปฏิบัติงานได้หรือไม่  ทำงานได้ดีกว่าหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้  เพื่อให้เห็นจุดเด่น จุดด้อยของพนักงานแต่ละคนได้อย่างชัดเจนด้วย

2.เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้ายการทำงาน 

การประเมินผลช่วยในเรื่องของการทำงานที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร  หากพนักงานมีศักยภาพสูง อาจจะเลื่อนตำแหน่งให้เหมาะสม ให้มีความท้าทายเพิ่มมากขึ้นจากการทำงานในตำแหน่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชนต่อองค์กรได้

3.เพื่อเพิ่มฐานเงินเดือนหรือพิจารณาการได้รับโบนัส 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าในอาชีพอย่างหนึ่งก็คือการได้รับพิจารณาขึ้นเงินเดือนนั่นเอง ผลจากการประเมินจะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ได้อย่างสมเหตุสมผล รวมถึงเป็นตัวชี้วัดในการพิจารณาโบนัสประจำปีอีกด้วย ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิผลของงานได้เช่นกัน

4.เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน แก้ไขจุดอ่อน พัฒนาจุดเด่น 

การประเมินผลการทำงานทำให้เราได้เห็นศักยภาพของตัวเองและรู้ประสิทธิภาพของบริษัท  ดังนั้นทางองค์กรควรทำงานร่วมกับพนักงาน เพื่อจัดทำแผนในการเสริมสร้างศักยภาพในส่วนที่ยังขาด แก้ไขจุดด้อยต่าง ๆ ในการทำงาน และพัฒนาจุดเด่นให้ดียิ่งขึ้นอีก

การปฏิบัติงานขององค์กร

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1.มอบหมายงานได้เหมาะสมกับความสามารถของพนักงาน

การประเมินผลงานที่มีความถูกต้องจะส่งผลให้เกิดระบบการจัดการองค์กรที่ดีและมีประสิทธิภาพ เมื่อเรามองเห็นศักยภาพ หรือจุดเด่น-จุดด้อยของแต่พนักงานแต่ละคนแล้ว ทำให้สามารถมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของพนักงาน ถือเป็นประโยชน์ ส่งผลให้องค์กรเติบโต และพัฒนาอย่างรวดเร็ว

2.สร้างแรงจูงใจในการทำงาน

การประเมินจะทำให้พนักงานเข้าใจศักยภาพของตัวเอง เข้าใจสถานะของธุรกิจ สามารถวางแผนไปให้ถูกทิศทาง และสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรได้มากยิ่งขึ้น มุมมองอีกด้านหนึ่งของการประเมินมีผลต่อการปรับเงินเดือนหรือโบนัส ซึ่งเป็นอีกแรงจูงใจที่จะทำให้พัฒนาศักยภาพของตัวเองให้ดีอยู่เสมอ มุ่งมั่นให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ และทุกๆฝ่ายในองค์กร ก็จะผลักดันให้เกิดความสำเร็จร่วมกัน

3.สร้างความภูมิใจ และได้รับการยอมรับ

ผลการประเมินที่ดีจะทำให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จ และความสามารถของตนเอง ช่วยเพิ่มความมั่นใจ และความมุ่งมั่นในการทำงานได้อีกด้วย อยากพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด เพื่อมีผลงานที่ดี และเป็นที่ยอมรับ การไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานมากขึ้น การตั้งเป้าหมายที่สูงกว่าอีกระดับเพื่อเป็นแรงจูงใจ หรือความท้าทายในการทำงานต่อไปในอนาคต

4.ปรับโครงสร้าง และแนวทางขององค์กร

การประเมินผลการทำงานสามารถทราบได้ว่าการปฏิบัติงานที่ผ่านมานั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ องค์กรเดินไปตามแนวทางและเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือเปล่า นอกจากการพัฒนาให้ดีขึ้น ยังสามารถรู้ได้ว่าการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพจะต้องสร้างเป้าหมาย กำหนดแนวทาง หรือปรับโครงสร้างขององค์กรใหม่ เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับองค์กร

การประเมินความพึงพอใจ สิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม

การประเมิน หรือการให้ Rating ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาและยกระดับการให้บริการขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะผลจากการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานช่วยพัฒนากระบวนการทำงานของทีมให้ดีขึ้น เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อองค์กร ถือเป็นการพัฒนาการให้บริการทั้งตัวของพนักงานและองค์กรไปพร้อมๆกัน

เคสตัวอย่าง ที่ใช้ KwanJai Rating พัฒนากระบวนการทำงานของทีมในองค์กรให้ดีขึ้น

Well Graded :: บริษัทระดับมหาชนที่ให้บริการด้านการบริหารและควบคุมการก่อสร้าง โดยทีมงานวิศวกร สถาปนิก และช่างเทคนิคที่มีประสบการณ์ สิ่งสำคัญของ เวล เกรด คือมุ่งเน้นในการนำข้อมูลจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของทีมวิศวกร หรือทีมช่างมาพัฒนากระบวนการทำงานต่อ และใช้ Rating บนแอป KwanJai ในการวัด KPI ที่สะท้อนการทำงานของทีมได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ  คะแนนของ Owner ที่ประเมินให้กับทีมช่าง สามารถบอกได้ว่าทีมสามรถทำงานได้ตรงตามความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด และควรปรับปรุงในจุดไหนเพิ่มบ้าง

V Property Development :: บริษัทผู้นำด้านการพัฒนาคอนโดมิเนียม ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการบริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึง มีโซลูชั่นในการบริหารเรื่องของบริการประสานงานแจ้งซ่อมออกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • After Sale Service ที่มีทีมช่างเทคนิค คอยดูแลลูกบ้านเกี่ยวกับเคสการแจ้งซ่อมต่างๆในโครงการ นำขวัญใจเข้ามาช่วยตั้งแต่รับเคสแจ้งซ่อม ติดตามสถานะใบงานแจ้งซ่อม ไปจนถึงการปิดงานและประเมินผลการปฏิบัติงานหรือประเมินความพึงพอใจโดยลูกบ้าน
  • ทีม CRM ที่นำข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจนั้น มาพัฒนากระบวนการทำงานของทีมต่อไป  จากข้อมูลการประเมินความพึงพอใจ ทีมสามารถปรับ และพัฒนาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น เช่น  พนักงานแต่งตัวไม่สุภาพ มีความบกพร่องเรื่องมารยาท จึงได้มีการจัดเทรนนิ่งพนักงาน  หรือเคสการให้บริการล่าช้า เพราะช่างไม่เพียงพอ ทางทีมก็จัดหาคนเพิ่ม เพื่อบริการได้รวดเร็วขึ้น

และยังใช้ Rating บนแอป KwanJai ในการวัด KPI การทำงานของทีมโดยตรง ว่ามีการรับเคสบริการยังไง และทีมงานมีความพร้อมในการบริการมากแค่ไหน

การปฏิบัติงานขององค์กร
สำหรับธุรกิจที่ต้องมีเรื่องของการบริการเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจด้วย จึงถือว่าจำเป็นอย่างมากที่จะเลือกเรื่องของการประเมินเข้ามาอยู่ในกระบวนการทำงาน  ยกตัวอย่างการแจ้งซ่อมของอาคาร ตึก คอนโด หรือแจ้งซ่อมธุรกิจประเภทอื่นๆ ซึ่งมีการให้บริการของทีมช่าง สามารถเลือก KwanJai by BUILK  เข้าไปเป็นตัวช่วยที่ดีได้ เพราะสามารถบริหารงานแจ้งซ่อมได้อย่างประสิทธิภาพ ทำงานแบบออนไลน์  โดยไม่ต้องติดตั้ง Application แจ้งซ่อมง่ายๆ ได้ทั้งช่องทาง LINE / FB Messenger สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก  ผู้แจ้งสามารถติดตามสถานะงานซ่อมตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงงานสำเร็จ และที่สำคัญสามารถประเมินความพึงพอใจในการรับบริการได้ด้วย  ทางทีมงานเองยังสามารถนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ เพื่อการพัฒนาองค์กรได้อย่างตรงจุด ให้ประสบความสำเร็จ 

การปฏิบัติงานขององค์กร

การปฏิบัติงานขององค์กร

“ขวัญใจ”  ระบบประสานงานแจ้งซ่อม อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม บ้าน อุปกรณ์เครื่องใช้ ด้วยรูปแบบทันสมัย ใช้งานง่าย ช่วยลดปัญหาการ สื่อสารผิดพลาดที่จะนำมาซื่งการเสียเวลา และสูญเสียต้นทุน พร้อมทั้งประมวลผลได้อย่างทันที แสดงผลผ่าน Smart Dash Board ทำให้เห็นข้อมูลง่าย รู้ปัญหาเร็ว ปรับกลยุทธ์ได้ทันเวลา

“รู้ปัญหา อุดรอยรั่ว ลดการสูญเสียต้นทุน”
การปฏิบัติงานขององค์กร