สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างมีอะไรบ้างบอกมาโดยละเอียด

หน้าที่ของนายจ้าง


ภายหลังจากการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว นายจ้างมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินแก่ลูกจ้างภายหลังเกษียณให้มีลักษณะใกล้เคียงบำเหน็จและบำนาญของข้าราชการ ดังนี้

1. การจ่ายเงินสมทบ

ตามกฎหมายนั้นนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ 2%-15% ของเงินเดือนของสมาชิก อย่างไรก็ดี นายจ้างแต่ละรายจะจ่ายเงินสมทบไม่เท่ากัน ขึ้นกับข้อบังคับกองทุนที่กำหนดจำนวนเงินการจ่ายเงินสมทบไว้ ซึ่งนายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับกองทุนอย่างเคร่งครัด

2. การส่งเงินสะสมและเงินสมทบ

นายจ้างมีหน้าที่เป็นผู้หักเงินสะสมของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกจากเงินเดือนทุกเดือน จากนั้นต้องรวบรวมเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้าง ส่งเข้ากองทุนภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันที่จ่ายเงินเดือน หากล่าช้ากว่า 3 วันทำการ นายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม 5% ต่อเดือนของจำนวนเงินสะสมหรือเงินสมทบที่ล่าช้า ดังนั้น การส่งเงินเข้ากองทุนจะต้องทำอย่างถูกต้องและตรงเวลาเพื่อประโยชน์สูงสุดของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง 

3. ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนที่นายจ้างต้องรับผิดชอบ ได้แก่  ค่าธรรมเนียมการจัดตั้งกองทุน (initial fee) อย่างไรก็ดี ภายหลังการจัดตั้งมีค่าใช้จ่าย 2 ประเภทที่นายจ้างอาจต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงว่าจะเป็นความรับผิดชอบของกองทุนหรือนายจ้าง ได้แก่ ค่าผู้สอบบัญชี (auditor fee) และค่าทะเบียนสมาชิก (registrar fee)

4. การสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกองทุน

การสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกองทุนเป็นหน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งของนายจ้าง คณะกรรมการกองทุนไม่ว่าจะเป็นฝั่งนายจ้างหรือฝั่งลูกจ้าง ในข้อเท็จจริงทุกคนคือลูกจ้างที่ทำงานให้นายจ้างนั่นเอง การสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกองทุนทั้งหมดก็หมายถึงการสนับสนุนการทำงานขององค์กรด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ นายจ้างอาจจัดตั้งคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนเพื่อตรวจสอบการทำงานของบริษัทจัดการให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่สมาชิก และอาจจัดตั้งคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์เพื่อดูแลการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เรื่องราวสำคัญที่มีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบแก่สมาชิก ซึ่งจะทำให้สมาชิกทราบข่าวสารได้ทันท่วงที

5. การเชื่อมโยงฐานข้อมูล

การเชื่อมโยงฐานข้อมูลสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขององค์กรและฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคลขององค์กร จะทำให้นายจ้างสามารถวิเคราะห์และวางแผนงานเพื่อแก้ปัญหาการไม่สมัครเป็นสมาชิกกองทุน ปัญหาการเลือกอัตราเงินสะสมต่ำ ปัญหาการเลือกแผนการลงทุนที่ไม่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยการแก้ปัญหาอาจอยู่ในรูปแบบกิจกรรมให้คำปรึกษาและให้ความรู้แก่ลูกจ้างหรือสมาชิกเฉพาะเรื่องและเฉพาะกลุ่ม

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างมีอะไรบ้างบอกมาโดยละเอียด

หลังจากมีราชกิจจานุเบกษาประกาศให้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2562 มีสิทธิประโยชน์หลายประการที่ถูกแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น เราจึงขอรวบรวมสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่มีอะไรบ้าง

Contents

  • กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่เพิ่มสิทธิอะไรบ้าง
      • นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน
      • เปลี่ยนนายจ้าง เปลี่ยนนิติบุคคล
      • การเลิกจ้างและอัตราค่าชดเชยใหม่
      • ลากิจ ลาคลอด
      • ให้สิทธิเท่าเทียมกัน
      • ย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น
  • สรุป

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ

ประเด็นสำคัญ

・กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยดี ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสม

・กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนด ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และ องค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร

มีที่มาจากกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวดดังกล่าวนี้ มีทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์, พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างการใช้แรงงาน การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพ อนามัยอันดีและมีความปลอดภัย ในชีวิต ร่างกาย และได้ค่าตอบแทนตามสมควร

พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ นายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นให้ยุติลงโดยรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ

พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าวคือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

พ.ร.บ.ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากอุบัติเหตุ และโรคเนื่องจากการทำงาน

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่เพิ่มสิทธิอะไรบ้าง

ประเด็นสำคัญ

・กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนให้ลูกจ้าง นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี, เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้าง หากลูกจ้างทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน

・กรณีพนักงานลากิจสามารถลาได้อย่างน้อย 3 วันต่อปี, พนักงานหญิงสามารถลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน และให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงมากขึ้น

・กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น นายจ้างต้องมีการประกาศให้ชัดเจน ส่วนลูกจ้างหากไม่ต้องการย้ายตามก็สามารถแจ้งความประสงค์ได้ ภายในเวลา 30 วัน ก่อนการย้าย

จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างมีอะไรบ้างบอกมาโดยละเอียด

โดยสาระสำคัญที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์ เพื่อให้เข้ากับสภาพการณ์ปัจจุบัน มีดังนี้

นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน

กรณีนายจ้างไม่คืนเงินหลักประกัน ไม่จ่ายเงินกรณีบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน-ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย หรือไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัด ร้อยละ 15 ต่อปี

เปลี่ยนนายจ้าง เปลี่ยนนิติบุคคล

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด หากมีผลทำให้ลูกจ้าง ไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างคนนั้นด้วย และให้สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างเคยมีอยู่จากนายจ้างเดิมมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างคนนั้นทุกประการ

การเลิกจ้างและอัตราค่าชดเชยใหม่

ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับตั้งแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน จนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลโดยให้จ่าย
ในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

ส่วนในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน-ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง

และในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

เพิ่มอัตราชดเชยค่าเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอีก 1 อัตรา ทำให้เกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง เป็นดังต่อไปนี้

– อัตราที่ 1 ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
– อัตราที่ 2 ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
– อัตราที่ 3 ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ค่าชดเชย 180 วัน
– อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ได้ค่าชดเชย 240 วัน
– อัตราที่ 5 ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
– อัตราที่ 6 ทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน *ล่าสุดที่เพิ่มเข้ามา

ลากิจ ลาคลอด

ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตามปกติ

ในกรณีลาคลอด ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน รวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ ก่อนคลอดบุตรด้วย และให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย โดยลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างระหว่างลาคลอดบุตรจากประกันสังคม 45 วัน และจากนายจ้างอีกไม่เกิน 45 วัน

ให้สิทธิเท่าเทียมกัน

ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน-ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกันในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง ดังนี้
– กรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่น ที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
– ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างนอกเหนือจากนี้ ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

ย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น

หากนายจ้างประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่น ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อไหร่

ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับตั้งแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศ และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ

สรุป

สำหรับ HR ของแต่ละบริษัท คงได้มีการเริ่มเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อบังคับการทำงานของบริษัทตัวเองให้สอดคล้องกับพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ที่ออกมามากขึ้น

และในส่วนอื่นที่พ.ร.บ. ฉบับใหม่ไม่ได้กำหนดไว้นั้น ก็ให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงหรือข้อบังคับในการทำงานของแต่ละบริษัท

ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจาก HR แล้ว นายจ้างและลูกจ้างก็ควรทำความเข้าใจพ.ร.บ. ฉบับใหม่ไว้ เพื่อประโยชน์ของทั้งตัวนายจ้างและลูกจ้างเองครับ

กำลังหาข้อมูลบริการและผลิตภัณฑ์ HR อยู่หรือเปล่า?

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างมีอะไรบ้างบอกมาโดยละเอียด

HR Explore แพลตฟอร์มแรกในไทยที่รวบรวม HR Products & Services มากที่สุด

มาพร้อมระบบเปรียบเทียบราคาเพื่อช่วยตัดสินใจ จะเป็น SMEs หรือธุรกิจใหญ่ ที่นี่มีครบ !

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างมีอะไรบ้างบอกมาโดยละเอียด