การปฏิบัติ ในข้อใด สอดคล้องกับ เมตตา ธรรมค้ำจุนโลก มากที่สุด

              คำว่า "เมตตา" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีกระแสพระราชดำรัสในเวลาใกล้เคียงกันถึง 3 ครั้ง คือ ในวโรกาสเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2555 ส.ค.ส.พระราชทานปี 2556 และพระราชทานพรปีใหม่ 2556

              คำว่า "เมตตา" นี้หากแปลตามหลักสากลก็คือความรัก เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเป็น 1 ใน 4 ของพรหมวิหารธรรม 4 ประการ

              พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา  ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข

กรุณา  ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

มุทิตา  ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

อุเบกขา  การรู้จักวางเฉย

              1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

              2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

              - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

              - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

              3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

              4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

              และมีหลักธรรมที่ควบคู่กับเมตตาคือ สาราณียธรรม 6 ประการ ซึ่งสาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง หมายถึง มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ดังนี้

              1. เมตตากายกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา นั่นคือ การอยู่ด้วยกันด้วยการกระทำดีต่อกัน ไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน ไม่ก่อสงคราม แต่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกัน เพื่อความผาสุขของมวลมนุษย์ เป็นต้น

              2. เมตตาวจีกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา คือใช้หลักการทูต โดยการเจรจาให้เข้าใจกัน ไม่กล่าวร้ายเสียดสีกัน เป็นต้น

              3. เมตตามโนธรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา คือการไม่คิดทำร้ายซึ่งกันและกัน มีความซื่อสัตย์เคารพในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีจิตเมตตาต่อกันเป็นต้น

              4. แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่เพื่อนมนุษย์ ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคเครื่องมือการเกษตรตลอดจนวิทยาการความรู้ต่างๆให้แก่เพื่อนมนุษย์รวมตลอดถึงการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันไม่ทำลายระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบมวลมนุษย์ เป็นต้น

              5. รักษาความประพฤติ(ศีล) เสมอกัน ได้แก่ การดำเนินนโยบายต่าง ๆต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมติสากลหรือหลักการขององค์การสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศไม่ฝ่าฝืนมติหรือหลักการนั้นอันจะก่อให้เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้เนื้อเนื้อเชื่อใจกัน

              6. มีความเห็นร่วมกัน ไม่วิวาทเพราะมีความเห็นผิดกัน ได้แก่ การอยู่ร่วมกันจะต้องยอมรับในกฎกติกาทางสังคมที่กำหนดไว้ ไม่กระทำตนเสมือนว่าเป็นการฝ่าฝืนมติของสังคมโลกไม่เอารัดเอาเปรียบกันหรือข่มเหงกีดกันผู้อื่น มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและสังคมที่ตนอาศัยอยู่ด้วย

              ดังนั้น คงเป็นหน้าที่ของสถานบันศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง และสถานการศึกษาทางโลก ที่จะต้องทำการวิจัยและสร้างกระบวนการให้สังคมไทย สังคมโลก มีคำว่า "เมตตา" ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

              ทำให้ปี  2556  เป็นปีแห่งการสร้างความเมตตาในเกิดขึ้นในสังคม และจะต้องสวดมนต์บทกรณียเมตตสูตรข้ามปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม หรือสวดตลอดไปเป็นภาคปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นแนวทางการลดความขัดแย้งลงได้

หลักธรรมเรื่องใด ที่เป็นเครื่องค้ำจุนโลก

เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองโลก หรือมวลมนุษย์ให้อยู่ความร่มเย็นเป็นสุข มี 2 ประการคือ 1. หิริ ความละอายในตนเอง 2. โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อทุกข์ และความเสื่อมแล้วไม่กระทำความชั่

สุภาษิตใดที่ตรงกับเมตตาธรรมค้ำจุนโลก

ขอเราทั้งหลายจงคิดแต่ในทางสร้างสรรค์ ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน เจรจากันด้วยเหตุผล และความเข้าอกเข้าใจกัน พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า 'โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา' 'เมตตาธรรมค้ำจุนโลก' อันเป็นสัจจวาจาดังนี้เถิด

เมตตาธรรมค้ำจุนโลกมีความหมายว่าอย่างไร

" .. "การค้ำจุนของเมตตาก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก" ไม่เหมือนกับการค้ำจุนของเครื่องค้ำจุนอันเป็นวัตถุทั้งหลาย "อันวัตถุเครื่องค้ำจุนทั้งหลายนั้น เราไปจัดวาง เพื่อค้ำจุนสิ่งใด ก็จะค้ำจุนเพียงเฉพาะสิ่งนั้นให้มั่นคงดำรงอยู่"