หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีด้วย 10 ประการ

1. ยิ้มกับคนที่ต่ำกว่าและสูงกว่า
2. ทักทายปราศรัยกับบุคคลทั่วไป
3. แสดงความเป็นกันเอง ให้ความช่วยเหลือ
4. เรียกชื่อ จดจำได้อย่างแม่นยำ
5. พูดและกระทำการต่างๆ ด้วยใจจริง
6. รู้จักรับฟังให้ความสนใจในสิ่งที่คนอื่นพูดเสมอ
7. มีเมตตาธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
8. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
9. พร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ
10. พยายามชอบและให้ความสนใจคนอื่นมากๆ อย่าเอา ตัวเองเป็นที่ตั้งในทุกเรื่องราว

ทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วทั้ง 10 ข้อนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ หัวหน้าที่ดีควรมี เพราะมนุษยสัมพันธ์ที่ดีไม่เพียงแต่จะสร้าง ความสุขในองค์กรของตนเองแล้ว ทั้งเพื่อนร่วมงาน ตัวเอง และลูกน้อง ก็จะเกิดความรักใคร่ ไมตรีจิตที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ ที่ทำงานร่วมกันนั้นถือว่าเป็นสัมพันธภาพที่มีคุณค่า ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุขทั้งปัจจุบันและอนาคต

หนงั สืออิเลก็ ทรอนกิ ส์ (E-Books)
รายวิชา มนษุ ย์สมั พนั ธ์และการทำงานเปน็ ทีมในสำนกั งาน
รหัสวชิ า 30216 - 2006

เรือ่ ง องคป์ ระกอบและ
หลักการสร้างมนษุ ยส์ ัมพันธ์

วทิ ยาลยั อาชีวศกึ ษาปตั ตานี
สังกดั สำนักงานคณะกรรมการอาชวี ศกึ ษา
กระทรวงศึกษาธกิ าร

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนุษยส์ มั พันธ์

หนว่ ยท่ี 4 องคป์ ระกอบและ
หลักการสร้างมนษุ ยส์ มั พนั ธ์

องค์ประกอบของมนษุ ย์สัมพันธ์

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในกลุ่มคน ไม่ว่าจะเป็น
กลุ่มใดจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของมนุษย์สัมพันธ์ ซ่ึงเป็น
ปัจจัยสนับสนุนในการสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่ม โดย
ดำเนินการสร้างเสริม พัฒนาและปรับปรุงปัจจัยต่าง ๆ ให้เป็น
ปัจจยั ทเ่ี อ้อื ต่อการสรา้ งมนุษยส์ ัมพันธ์ทดี่ ีให้ได้

สำหรับองค์ประกอบของมนุษย์สัมพันธ์นั้น พรรณทิพย์
ศิริวรรณบุศย์ (2550 : 85) ได้ให้ความเห็นว่าองค์ประกอบของ
มนษุ ย์สมั พนั ธ์มอี ยู่ 3 มุประการดว้ ยกนั ได้แก่

• การรู้จักตน
• การเข้าใจผู้อื่น
• และการมสี ภาพแวดล้อมทด่ี ี

โดยได้เสนอเป็นแผนภูมิแสดงองค์ประกอบของมนุษย์
สัมพันธ์ ซึ่งเม่ือนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
เพื่อนร่วมงานในองค์การ อาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบของ
มนุษย์สัมพันธ์ในองค์การ ประกอบด้วย การรู้จักตน การเข้าใจ
เพ่ือนร่วมงาน และการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ดี ซ่ึง
สามารถอธิบายเป็นแผนภาพแสดงองค์ประกอบของมนุษย์
สัมพันธ์ ไดด้ ังนี้

รายวิชา มนษุ ย์สัมพันธ์และการทำงานเป็นทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องค์ประกอบและหลักการสรา้ งมนษุ ย์สมั พันธ์ 2

(ที่มา : พรรณทพิ ย์ ศริ ิวรรณบศุ ย์. 2550 : 86)

รายวิชา มนุษย์สัมพนั ธแ์ ละการทำงานเปน็ ทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนษุ ย์สมั พันธ์ 3

จ า ก ภ า พ ดั ง ก ล ่ า ว จ ะ เ ห็ น ไ ด ้ ว ่ า ม นุ ษ ย ์ สั ม พั น ธ ์ มี
องค์ประกอบเป็น 3 ประการ คือ การรู้จักตน การเข้าใจผู้อ่ืน
และสง่ิ แวดลอ้ มในการทำงานทีด่ ี

➢ ในเร่ืองของการรู้จักตนน้ัน บุคคลควรต้องวิเคราะห์ตน
เพื่อให้รู้จักตัวเองอย่างแท้จริงท้ังลักษณะที่ดีและไม่ดี แล้ว
ปรับปรุงตนในส่วนท่ีเป็นลักษณะท่ีไม่ดีซึ่งอาจสร้างปัญหา
และอปุ สรรคในการทำงาน

➢ การสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกจากจะเป็นแนวทางให้
วิเคราะห์และเข้าใจผู้อื่นให้มากข้ึน ยังช่วยยอมรับความ
แตกตา่ งระหวา่ งบุคคลและพัฒนาตนใหเ้ ขา้ กบั ผอู้ ืน่ ได้ดี

➢ ส่วนความเข้าใจในเร่ืองของสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานดีจะ
เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมในท่ีทำงาน
แล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมท้ังเป็นแนวทางพัฒนาตนให้เข้ากับ
สง่ิ แวดล้อมให้ได้ด้วย

ซึ่งท้ังหมดดังกล่าวน้ันจะส่งผลต่อมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีใน
สังคม เมื่อมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การดีก็จะทำให้บุคคลเป็นสุข
เพื่อนร่วมงานสุข และส่ิงแวดล้อมในท่ีทำงานดี ซึ่งหมายถึง
ประสิทธิภาพท่ีดีขององค์การ จึงเห็นได้ว่าการศึกษาในเรื่อง
องค์ประกอบของมนุษย์สัมพันธ์จะช่วยให้บุคคลเกิดความเข้าใจ
และเกิดแรงกระตุ้นในการประพฤติปฏิบัติให้เกิดองค์ประกอบ
ดงั กลา่ ว อนั นำมาซึ่งความสัมพนั ธ์อนั ดีในสังคม

รายวชิ า มนษุ ยส์ ัมพันธแ์ ละการทำงานเป็นทมี ในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ 4

ดังนั้น มนุษย์สัมพันธ์จะเกิดได้ต้องมีองค์ประกอบ 3
ประการ คือ (วจิ ติ ร อาวะกุล. 2542 : 34)

1. การเข้าใจตนเอง

การเข้าใจตนเอง เป็นลักษณะการรู้จักตนเองอย่างแท้จริงว่า
ต น เ อ ง เ ป ็ น ใ ค ร คื อ ใ ค ร มี ค ว า ม รู ้ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ทั ก ษ ะ
ประสบการณ์แค่ไหนระดับใด มีจุดแข็งคือความเก่ง และจุดอ่อน
คือความไม่เก่งในด้านใดบ้างเร่ืองใดบ้าง การเข้าใจตนเอง
ทำให้บุคคลเกิดการรู้สึกยอมรับในคุณค่าแห่งตน นับถือตนเอง
และรู้จักเข้าใจสิทธิ เสรีภาพ หน้าท่ี ความรับผิดชอบของตนเอง
สิ่งท่ีสำคัญในการเข้าใจตนเองจะช่วยให้เรารู้จักปรับตัวเข้ากับ
บุคคลอืน่ ได้ดีมาก

รายวิชา มนษุ ยส์ มั พนั ธแ์ ละการทำงานเปน็ ทีมในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนษุ ย์สมั พันธ์ 5

2. การเขา้ ใจบุคคลอ่นื

การเข้าใจบุคคลอื่น เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของคน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ตลอดจนความต้องการของบุคคล
แรงจูงใจของบุคคล สภาพส่ิงแวดล้อมทำให้เกิดประโยชน์ในการ
นำไปใชต้ ิดต่อสมั พันธก์ บั บคุ คลอ่นื ได้นานปั การ

เม่ือเราต้องการไปติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลใด เราต้องทราบ
ก่อนว่าบคุ คลนั้น ...
• ชือ่ อะไร
• เป็นใคร มคี วามรู้
• มีความสามารถใดบา้ ง
• มีทกั ษะเก่ยี วกับอะไร
• ประสบการณท์ างดา้ นใด
• อยูใ่ นระดบั ใด
• ชอบสง่ิ ใด
• ไมช่ อบส่ิงใด
• โปรดปรานในสง่ิ ใดเป็นพิเศษ
• มคี ณุ ลักษณะทเ่ี ด่นทางด้านใดบ้าง

เ ม่ื อ เ ร า น ำ เ อ า บุ ค ค ล อื่ น ท่ี เ ร า ต ้ อ ง ก า ร ติ ด ต ่ อ สั ม พั น ธ ์ ม า
พิจารณาดูว่าเรามีความเข้าใจในตัวเขาอย่างไร เรายอมรับในตัวเขา
ได้แค่ไหนเพ่ือจัดระดับคุณค่าและความสำคัญของบุคคลที่เรา
จะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์ รวมท้ังการที่เรารู้จักปรับตัวให้เข้ากับ
บคุ คลอื่นได้ในการติดตอ่ สัมพนั ธ์กัน

รายวชิ า มนุษย์สัมพนั ธ์และการทำงานเปน็ ทีมในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสรา้ งมนุษย์สัมพันธ์ 6

3. การเข้าใจสงิ่ แวดล้อม

การเข้าใจส่ิงแวดล้อม เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของ
สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราและบุคคลอ่ืนซ่ึงมีอิทธิพลต่อการดำเนิน
ชวี ิตประจำวนั และสมั พนั ธก์ บั มนุษย์สมั พันธ์ ไดแ้ ก่

• สภาพการณ์
• เหตกุ ารณ์
• สถานการณ์ที่เกดิ ข้นึ ในปจั จุบนั และในอนาคต
ล้วนแต่มีอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมท้ังส้ิน ได้แก่ สถาบัน
ครอบครัว สถาบันท่ีเป็นองค์การ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน
บริษัท ห้างร้าน โรงงาน รัฐบาล ศาสนา องค์การระหว่างประเทศ
ความรูจ้ ากการเข้าใจสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาปรับใช้กับตัวเราใน
การเสรมิ สรา้ งมนุษย์สมั พันธ์กบั บุคคลอืน่ ได้ดมี ากขึน้

นอกจากนี้แล้วองค์ประกอบของมนุษย์สัมพันธ์มักจะ
เก่ียวข้องกับเร่ืองพฤติกรรม การจูงใจ ขนบธรรมเนียม
ประเพณี ค่านิยม เจตคติ นิสัย ระบบสังคม สิ่งเหล่านี้เป็น
ปัจจัยผสมผสานกนั อย่างเหมาะสม เกดิ เป็นพฤติกรรมท่ีน่าพึง
พอใจแกบ่ ุคคลอน่ื ๆ ท่เี รียกวา่ "มนุษย์สมั พนั ธ์"

รายวิชา มนุษยส์ ัมพันธ์และการทำงานเป็นทมี ในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสรา้ งมนษุ ย์สัมพันธ์ 7

หลักการสรา้ งมนษุ ยส์ ัมพันธ์

มนุษย์สัมพันธ์ เป็นส่ิงที่มีคุณค่ามีความสำคัญต่อการ
ดำเนินชีวิตของมนุษย์ จึงมีนักปราชญ์ นักจิตวิทยาและบุคคลท่ี
สำคัญอ่ืน ๆ ให้ความสนใจศึกษาหลักในการสร้างและรักษา
มนุษย์สัมพันธ์ไว้มากมาย ซ่ึงสามารถนำหลักและเทคนิคเหล่าน้ี
ไปใช้เพ่ือประโยชน์แก่ตนเองในด้านต่าง ๆ เป็นผู้มีมนุษย์
สัมพนั ธท์ ่ดี ีได้

หลกั การสร้างและรักษามนษุ ยส์ มั พันธ์ มดี ังน้ี

1. พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช

2. ทฤษฎลี งิ 3 ตวั ของขงจ้ือ
3. หลัก “การรู้จักและเข้าใจตนเอง”
4. หลกั “มนุษย์มีความคล้ายคลงึ กนั ”
5. หลกั “มนษุ ย์มีความแตกตา่ ง”
6. หลัก “การใหค้ ณุ ค่าและศักดศิ์ รแี กผ่ ู้อ่ืน”
7. หลกั “การจูงใจ”
8. หลกั “การศกึ ษาบคุ คลท้งั ตวั ”
9. หลัก “การมผี ลประโยชน์ร่วมกัน”
10. หลัก “ตนเองมีความสุข ผู้อนื่ มีความสุข และสงั คมสงบสุข

รายวชิ า มนษุ ยส์ ัมพนั ธแ์ ละการทำงานเปน็ ทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนุษย์สัมพนั ธ์ 8

1. พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั
ภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
(ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม : 2546) ได้มีพระราชดำรัส
พระราชทานแก่สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการเปิด
ประชุมประจำปี วันท่ี 10 เมษายน 2525 ซึ่งเป็นแนวคิดท่ี
นำมาใช้ในการสร้างและรักษามนุษย์สัมพันธ์ การอยู่ร่วมกับ
ผอู้ นื่ ได้อยา่ งดแี ละมีความสุข ดังนค้ี ือ

คณุ ธรรมเครื่องยดึ เหนีย่ วจิตใจน้นั

➢ ประการหนึ่ง การให้ คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน
ให้อภยั กนั ไมถ่ ือโทษกนั ใหค้ ำแนะนำตักเตือนท่ีดีตอ่ กัน

➢ ประการที่สอง การมีวาจาดี คือ พูดแต่คำสัตย์ คำจริงต่อกัน
พูดให้กำลังใจกัน พูดแนะนำประโยชน์ให้แก่กัน และพูดให้
รักใครปรองดองกัน

➢ ประการที่สาม การทำประโยชน์แก่กัน คือ ประพฤติปฏิบัติ
ตนให้เกิดประโยชน์เก้ือกูลทั้งแก่กันและกัน และแก่หมู่คณะ
โดยสว่ นรวม

➢ ประการท่ีสี่ การวางตนให้สม่าเสมออย่างเหมาะสม คือ
ไม่ทำตัวให้ดีเด่นเกินกว่าผู้อื่นและไม่ด้อยต่าทรามไปจากหมู่
คณะ
หมู่คณะใดมีคุณธรรมเคร่ืองยึดเหนี่ยวกันไว้ดังกล่าว

หมูค่ ณะนน้ั ยอ่ มจะมีความเจรญิ มน่ั คง

รายวิชา มนษุ ย์สัมพนั ธแ์ ละการทำงานเปน็ ทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนษุ ย์สมั พนั ธ์ 9

2. ทฤษฎีลงิ 3 ตวั ของขงจอื้

ขงจ้ือเป็นนักปราชญ์ชาวจีนท่ีได้รับการยกย่องนับถือมาก
เขาไดต้ ง้ั ทฤษฎีลงิ 3 ตัว โดยลิงแตล่ ะตวั ปิดทวารดังนี้

➢ ลิงตัวท่ี 1 ปิดหู หมายถึง การหลีกเล่ียง หรือทำเป็นไม่ได้ยิน
ในสิ่งท่ีไม่ควรจะได้ยิน โดยให้คิดว่าคนไม่ถูกนินทาในโลก
นี้ไม่มี การรับฟังทุกเรื่องจะส่งผลให้เกิดทุกข์และทำให้ขุ่น
ข้องใจซึ่งถ้าเกิดข้ึนบ่อย ๆ จะทำให้บุคลิกภาพไม่ดีตามไป
ดว้ ย

➢ ลิงตัวท่ี 2 ปิดตา หมายถึง การหลีกเล่ียง หรือการไม่ใส่ใจดู
เร่ืองที่ไม่ควรดู ควรหลีกเล่ียงทำเป็นไม่เห็นเสียบ้าง เพราะ
การเห็นในทุกเรื่องจะทำให้เสมือนแบกของหนัก กลายเป็น
ภาระ ย่ิงเป็นผู้ที่ปล่อยวางไม่เป็นจะส่งผลให้เป็นคนที่น่า
รำคาญของผ้อู นื่ เพราะหยุมหยมิ จนเกินไป

➢ ลิงตัวที่ 3 ปิดปาก หมายถึง การหลีกเล่ียงหรือการไม่พูดใน
เรื่องบางเรื่อง ควรจะพูดเฉพาะส่ิงท่ีควรพูด คนท่ีรู้จัก
กาลเทศะในการพูดจะเป็นบุคคลท่ีผู้อ่ืนให้ความเกรงใจ
เคารพศรัทธาท้ังนี้เพื่อลดการได้ยิน ได้เห็น และการพูดลง
บ้าง ถ้าการกระทำเหล่าน้ีเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์หรือ
ความยุ่งยากใจต่อกัน

หลักคำสอนน้ีสามารถนำไปใช้ได้มากในเรื่องการสร้าง
ความสัมพันธ์กับผู้อ่ืนกล่าวคือ บุคคลจะมีความสัมพันธ์ท่ีดีกับ
บุคคลอื่นได้ต้องรู้จักว่าอะไรควรฟัง ไม่ควรฟัง ควบคุมตาของ
ตัวเองให้ได้ว่าส่ิงใดควรมอง ส่ิงใดไม่ควรมอง ควบคมุ ปากของ
ตนเองให้ได้ว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด สรุปแล้วก็คือ
จะตอ้ งพจิ ารณาทำตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะน่นั เอง

รายวิชา มนุษยส์ มั พันธ์และการทำงานเปน็ ทีมในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสรา้ งมนษุ ย์สมั พนั ธ์ 10

3. หลัก “การรจู้ ักและเขา้ ใจตนเอง”

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์นั้นต้องเร่ิมต้นท่ีตนเองก่อน การ
เรมิ่ ท่ีตนเองนน้ั คือ บุคคลจะต้องรู้จกั ตนเอง เข้าใจตนเองพร้อม
ทง้ั ตอ้ งพัฒนาตนเอง เพื่อการสร้างมนุษยส์ ัมพันธ์ ดงั น้ี

3.1 ศึกษาตนเองให้เข้าใจตนเองอย่างแท้จริงว่าเป็นคน
อย่างไร ต้องการอะไร มีบุคลิกภาพอย่างไร มีส่วนดีและส่วน
บกพร่องอะไรบ้าง มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร
เป็นต้น

3.2 ยอมรับและพรอ้ มที่จะแกไ้ ขปรับปรุงตนเองใหด้ ขี นึ้

3.3 พิจารณาว่าสังคมยอมรับเราแค่ไหน เราควรพิจารณา
ว่าบุคคลรอบข้างเห็นชอบทั้งความคิดและการกระทำของเรา
เพียงใด เช่น เมื่อเราเสนอความคดิ ออกไป บุคคลอื่นเชื่อถือและ
ยอมทำตามหรือไม่

3.4 พิจารณาสุขภาพ ลักษณะนิสัยของตนเองก่อนร่วม
กจิ กรรมทางสังคม

3.5 ยอมรับคำตำหนิจากผู้อ่ืนและพร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุง
ตนเอง

3.6 สรา้ งภาพพจนท์ ีด่ สี ำหรับตนเองและผู้อ่ืน

3.7 สรา้ งความเชอ่ื ม่นั ในตนเองใหเ้ กิดขึน้

3.8 พยายามปรับตัวให้เขา้ กบั ผู้อื่น

3.9 มสี ติ ท้ังในขณะอยคู่ นเดียวและเม่อื อยู่กับผ้อู ื่น

3.10 รจู้ ักประมาณตน ไมห่ ลงตนหรอื เห่อเหมิ ตามผอู้ ่ืน

3.11 มองโลกในแงด่ ี มีอารมณ์ขนั

รายวชิ า มนษุ ย์สมั พันธแ์ ละการทำงานเป็นทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสรา้ งมนษุ ย์สัมพันธ์ 11

4. หลัก “มนุษย์มคี วามคลา้ ยคลึงกัน”

โดยธรรมชาติมนุษย์จะมีบางอย่างร่วมกัน เช่น มีความ
ต้องการพ้ืนฐาน มีอารมณ์ ความรู้สึกรัก โลภ โกรธ หลง มี
ความสุข มีความทุกข์ ฯลฯ เช่น การกระทำอย่างหนึ่งเราไม่ชอบ
เรากต็ ้องตระหนักว่า ผู้อื่นก็คงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนัน้ ในการ
สร้างและรักษามนษุ ย์สัมพันธค์ วรปฏิบัติ ดังนี้

4.1 แสดงความเข้าใจในสิ่งท่ีเกิดข้ึน เช่น เข้าใจว่าเหตุใด
คนทถ่ี ูกตำหนจิ ึงมคี วามรู้สึกเสยี ใจ เพราะตัวเราเองกไ็ ม่ชอบการ
ตำหนิ

4.2 แสดงความเห็นใจในเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้น เช่น แสดง
ความเหน็ ใจเพือ่ นเมอ่ื ประสบกับเหตกุ ารณ์เลวรา้ ย เป็นตน้

4.3 ให้อภยั ในความผดิ พลาดที่ผอู้ น่ื กระทำ

4.4 มีความยืดหยุ่นในการทำงานหรือการดำเนินชีวิต ไม่
เข้มงวดกวดขัน เช่น บุคคลที่เข้าใจในเรื่องความคล้ายคลึงของ
มนุษย์ จะไม่เข้มงวดกับระเบียบกฎเกณฑ์มากนัก เพราะตัวเขา
เองกไ็ มช่ อบความเข้มงวดกวดขันเช่นกนั

4.5 รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา คือ การรู้สึกอย่างท่ีเขารู้สึก
เช่น เม่ือเพ่ือนต้องประสบกับเหตุการณ์ท่ีเลวร้าย ทำให้เขาจะ
รู้สึกเศร้าโศก เสียใจ ถ้าเรารับรู้ถึงความรู้สึกน้ันก็จะทำให้เรา
ร้สู กึ เหน็ ใจ สงสาร และให้อภัยต่อเพอ่ื น

รายวชิ า มนษุ ยส์ มั พนั ธแ์ ละการทำงานเปน็ ทมี ในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนุษย์สมั พนั ธ์ 12

5. หลัก “มนษุ ย์มคี วามแตกตา่ ง”

บุคคลโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะร่วมกันในหลาย ๆ
ลักษณะ แต่เม่ือพิจารณาเป็นรายบุคคลแล้วจะพบว่า มนุษย์มี
ลักษณะแตกต่างกันหลายประการ วิธีการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
ใหส้ อดคลอ้ งกับหลัก “มนุษย์มีความแตกตา่ ง” มดี งั น้ี

5.1 แสดงความเข้าใจผู้อื่น เพราะผู้อ่ืนไม่เหมือนเราจึงทำ
ให้เราต้องผิดหวังอยู่เสมอ เราจึงต้องเข้าใจว่ามนุษย์มีความ
แตกตา่ งกนั

5.2 แสดงความเห็นใจ เมื่อรู้ว่าคนอ่ืนไม่เหมือนเรา เรา
จะต้องแสดงความเห็นใจเขา เช่น เรามีความอดทนต่อความ
ยากลำบากในระดับสูง แต่เพ่ือนของเราอาจจะไม่สามารถทนได้
อย่างเรา เปน็ ตน้

5.3 ยอมรับความแตกต่างด้วยความเข้าใจ ไม่ยึดติด จะทำ
ให้เรารูส้ ึกสบายใจ

5.4 ควรรู้จักสังเกตความต้องการของผู้อื่นว่าเขาต้องการ
อะไร พอใจอะไร

รายวชิ า มนุษยส์ มั พันธ์และการทำงานเป็นทมี ในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสร้างมนุษย์สัมพนั ธ์ 13

5.5 ให้อภัยในความผิดพลาด เราอาจจะคิดว่าเราเคย
ทำงานชนิดนี้ โดยไม่เคยผิดพลาดเพราะถนัดและชอบงานน้ี แต่
คนอ่ืนอาจทำผิดพลาดได้เพราะเขาไม่ถนัดและไม่ชอบงานน้ี เรา
จึงควรให้อภยั แกเ่ ขา

5.6 มีความเกรงใจผู้อื่น เพราะบุคคลชอบส่ิงต่าง ๆ ไม่
เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งท่ีเราชอบคนอื่นอาจจะไม่ชอบ เช่น ถึงแม้
เราชอบฟังเพลงเสียงดัง เราก็คงไม่กล้าเปิดเพลงให้รบกวนผู้อ่ืน
เพราะมคี วามเกรงใจ

5.7 แยกตนออกมาเม่ือไม่สามารถยอมรับความแตกต่าง
นั้นได้ รอให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือควบคุมอารมณ์ได้ แล้วค่อย
กลับเข้าไปในสถานการณ์นน้ั ใหม่

5.8 ใหใ้ นส่งิ ทผ่ี ้อู น่ื พอใจ มิใช่ใหใ้ นสิ่งที่เราพอใจ

5.9 พยายามปรับตวั ให้เข้ากับผูอ้ ่นื เสมอ

รายวิชา มนษุ ย์สัมพันธ์และการทำงานเป็นทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนุษย์สมั พนั ธ์ 14

6. หลัก “การใหค้ ณุ คา่ และศักดิ์ศรีแกผ่ อู้ ื่น”

มนุษย์ทุกคนชอบการชมเชย ยกย่องให้เกียรติ และชอบสิ่งท่ี
ดี ๆ แต่ไม่ชอบการดูถูกเหยียดหยาม การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ตาม
หลกั ข้อนี้ คอื การใหค้ ณุ คา่ และศกั ดิ์ศรแี กม่ นุษย์ ดงั นี้

6.1 จดจำชื่อและนิสัยใจคอ ตลอดจนส่ิงท่ีผู้อ่ืนชอบได้อย่าง
แม่นยำ

6.2 แสดงกิริยาวาจาสุภาพตอ่ ผูท้ ่ีเราตดิ ตอ่ ดว้ ย

6.3 ศึกษาส่วนดีเด่นของผู้อ่ืน และกล่าวถึงส่วนดีเด่นของเขา
ในที่ชมุ ชน

6.4 พูดจาชมเชย ยกยอ่ งและใหเ้ กยี รติผอู้ ื่นดว้ ยความจรงิ ใจ

6.5 ยอมรับนับถือในฐานะมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าเขาจะมีฐานะ
ความเป็นอยู่อยา่ งไร

6.6 พดู ในสงิ่ ทีท่ ำให้ผู้อน่ื รสู้ กึ ภาคภมู ใิ จ

6.7 ยอมรับฟงั ความคดิ เห็น และยอมรับผู้อนื่ ใหอ้ ยูใ่ นกลุ่ม

6.8 ไมพ่ ดู จาและไม่แสดงกริ ิยาท่าทางดถู กู เหยียดหยามผอู้ น่ื

6.9 รูจ้ กั ขอบคุณและขอโทษตามควรแก่โอกาส

6.10 รู้จักไหว้หรือแสดงความเคารพ ตามควรแก่ฐานะและ
ตำแหนง่

6.11 ร้จู กั วางตนให้เหมาะสมกับผทู้ เ่ี ราพบเห็น

6.12 รจู้ ักอดทนและควบคุมอารมณ์ได้

6.13 เห็นคุณค่าของสิ่งของที่ผู้อื่นให้ โดยการเก็บรักษาส่ิง
นัน้ ไว้แม้ส่ิงน้นั จะไม่มรี าคา

รายวชิ า มนุษย์สมั พันธแ์ ละการทำงานเป็นทมี ในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสรา้ งมนษุ ย์สมั พันธ์ 15

7. หลัก “การจูงใจ”

จากความเชื่อพื้นฐานทางจติ วิทยาที่ว่า “พฤติกรรมของมนุษย์
เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นได้และพฤติกรรมเกิดจากแรงจูงใจ” ซ่ึงเป็น
แนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ท่ีว่า “พฤติกรรมใด ๆ ก็ตามท่ีได้รับ
แรงเสริมหรือทีเ่ รียกว่าส่ิงจงู ใจ พฤติกรรมน้ันจะเกดิ ขึ้นอีก” การจูง
ใจในที่น้ี หมายถึง การกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม โดยการ
ใชส้ งิ่ จงู ใจซ่งึ มวี ิธีการดงั น้ี

7.1 รักที่จะเข้าไปหาผู้อ่ืนก่อน ไม่ว่าจะเข้าไปคุย ขอความ
ชว่ ยเหลือหรือใหค้ วามช่วยเหลอื

7.2 รกั ท่ีจะตอ้ นรับ เม่ือมีผอู้ ืน่ มาหาหรอื เย่ียมเยยี น
7.3 รักท่จี ะบริการหรือทำใหผ้ ู้อื่นไดร้ บั ความสะดวกสบายข้ึน
7.4 รู้จกั ชมเชยยกย่องผอู้ ่ืน
7.5 รู้จักยิ้มกับคนท่ัวไป การยิ้มครั้งเดียวมีคุณค่ามากกว่า
คำพูดหลาย ๆ คำ เพราะการยม้ิ บง่ บอกถึงไมตรีจิต

รายวชิ า มนุษยส์ มั พนั ธแ์ ละการทำงานเป็นทมี ในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสรา้ งมนษุ ย์สมั พนั ธ์ 16

7.6 รู้จักทักทายปราศรัยผู้อื่นด้วยถ้อยคำสุภาพอ่อนหวาน
การพูดที่อ่อนหวานจะเป็นการสร้างเสน่ห์ให้แก่ตนเอง และทำ
ใหค้ นอ่นื ร้สู ึกประทับใจยากท่ีจะลมื เลอื นได้

7.7 รู้จักให้ความช่วยเหลือในเร่ืองเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อเขา
ร้องขอใหช้ ว่ ยก็ต้องไม่ปฏเิ สธ

7.8 แสดงการมีน้าใจ การมีน้าใจ คือ ให้ความช่วยเหลือ
ผู้อ่ืนโดยเขาไมต่ ้องขอร้อง เชน่ ช่วยหยบิ ของให้ ช่วยทำงานบ้าน
ให้โดยไม่น่ังดูดาย การแสดงน้าใจย่อมก่อให้เกิดความสัมพันธ์
ท่ดี ีตอ่ กนั

7.9 แสดงความเคารพ หรือเช่ือถอื ในเกยี รตขิ องผู้อนื่

7.10 ให้สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ในโอกาสพิเศษ เช่น วัน
เกิด วนั ปีใหม่ เป็นต้น

7.11 ให้ความสนใจแก่ผู้อื่น เช่น ฟังเรื่องท่ีผู้อื่นพูดอย่าง
ตัง้ ใจ เปิดโอกาสให้คนอ่นื พูดและเราเปน็ ผู้ฟงั มากกว่า

7.12 เอาใจใส่ผู้อ่ืน เพื่อน บุคคลรอบข้างบ้าง เช่น รู้จัก
ถามข่าวคราวทุกขส์ ขุ ของเขาและคนในบ้านบา้ งตามสมควร

รายวิชา มนษุ ย์สัมพันธ์และการทำงานเปน็ ทีมในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ 17

8. หลัก “การศกึ ษาบคุ คลทง้ั ตวั ”

การศึกษาบุคคลท้ังตัว รวมความถึงสถานการณ์ท่ีเกิดข้ึนกับ
บุคคลน้ันด้วย เน่ืองจากมนุษย์มีความซับซ้อน พฤติกรรมของ
มนุษย์เกิดจากหลายสาเหตุ ท้ังสาเหตุท่ีเกิดจากความต้องการ
มากมาย ท้ังท่ีเกิดข้ึนตรง ๆ และแอบแฝงซ่อนเร้น หรือพฤติกรรม
อาจจะเกิดจากสถานการณ์ท่ีอยู่แวดล้อม ซึ่งทำให้สามารถทำนาย
หรือควบคมุ พฤติกรรมของบุคคลอ่ืนได้ และบางคร้ังอาจมีลักษณะ
ตรงกันข้ามเช่นกนั การสร้างและรักษามนุษย์สัมพันธ์ตามแนวคิดน้ี
มดี งั น้ี

8.1 การติดต่อสัมพันธ์ หรืออยู่ร่วมกับผู้อ่ืนควรคำนึงถึง
อารมณ์ ความรู้สึกของเขาด้วยมิใช่ดูที่ความสามารถเพียงอย่าง
เดียว เชน่ การมอบหมายงาน ควรดวู า่ ผรู้ ับงานพอใจหรอื ไมด่ ว้ ย

8.2 พิจารณาเหตุการณ์หรือสถานการณ์ในขณะน้ัน เช่น
พิจารณาว่าวันนี้ทำไมเพ่ือนจึงอารมณ์เสีย อาจพบว่าเพิ่งถูกแม่
ตำหนิมาเร่ืองใช้เงินมากเกินไป ก็จะทำให้เราเข้าใจเพื่อนของเรา
มากขึน้

8.3 ศึกษาภูมิหลังของบุคคลที่ต้องติดต่อสัมพันธ์ด้วย เช่น
สภาพครอบครัวเป็นอย่างไร เติบโตในวัฒนธรรมเช่นไร เป็นต้น
เพ่ือที่จะได้ทำความเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลน้ัน อันเป็นแนวทาง
ในการสรา้ งมนษุ ย์สัมพันธ์

8.4 มีความยดื หยุ่น ไมเ่ คร่งครดั จนเกนิ ไป การศึกษาภูมิหลัง
และสถานการณร์ อบตัวบุคคล ทำให้เข้าใจบุคคลอื่นและทำให้รู้จัก
ยืดหย่นุ เมือ่ พบปญั หาบางอย่างจะไมอ่ ดึ อัดใจ

รายวิชา มนุษย์สมั พันธ์และการทำงานเปน็ ทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ 18

9. หลกั “การมผี ลประโยชนร์ ่วมกัน”

ตามแนวคิดนี้ ผลประโยชน์ อาจหมายความถึง เงินทอง วัตถุ
ส่ิงของ ฯลฯ ซ่ึงเป็นรูปธรรมจับต้องได้ และรวมถึงส่ิงท่ีเป็น
นามธรรมด้วย เช่น ความรู้สึก ความอบอุ่นใจ ความสบายใจ ฯลฯ
การสร้างและรกั ษามนุษยส์ ัมพนั ธต์ ามแนวคิดดังกล่าว มดี ังน้ี

9.1 รจู้ กั แบง่ ปนั ทั้งสิง่ ของและความคิด

9.2 รู้จกั ให้และรับตามความเหมาะสม ตามควรแก่โอกาส ไม่
ควรเอาเปรยี บผ้อู ืน่

9.3 มคี วามเอ้อื เฟื้อและช่วยเหลือเมอื่ มีโอกาส

9.4 ตอบแทนความดขี องผ้อู ่ืนบา้ งตามสมควร

9.5 พยายามทำให้ผู้อ่ืนหรือคนรอบข้างมีความสุขเมื่ออยู่กับ
เรา เช่น ย้มิ แยม้ แจ่มใส มใี จบริการและใหค้ วามช่วยเหลอื

รายวชิ า มนษุ ย์สมั พันธ์และการทำงานเป็นทมี ในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนษุ ย์สัมพนั ธ์ 19

10. หลกั “ตนเองมีความสุข ผู้อืน่ มีความสุข
และสงั คมสงบสุข

เป็นแนวคิดการสร้างและรักษามนุษย์สัมพันธ์ตามหลักธรรม
การสรา้ งมนษุ ยส์ ัมพันธ์ตามแนวคดิ ดังกล่าว มดี ังน้ี

10.1 มีความเมตตา คือ ให้ความรกั แกผ่ ้อู ืน่

10.2 เขา้ ใจ เห็นใจ และใหอ้ ภยั แกผ่ ้อู ่ืน

10.3 มคี วามรบั ผิดชอบ

10.4 ซ่ือสัตย์ ตรงตอ่ เวลา
10.5 รู้จักเกรงใจ คิดถึงใจเขาใจเรา
10.6 สภุ าพออ่ นนอ้ มต่อผอู้ ่นื สมา่ เสมอ
10.7 ไมท่ ำใหผ้ ู้อ่นื เดือดรอ้ น ไม่เบยี ดเบยี นผอู้ ืน่

แต่ช่วยเหลอื ให้ผอู้ นื่ คลายทกุ ข์
10.8 ให้ความร่วมมือในกิจการงานของผอู้ ่ืนตาม

โอกาสอันควร

รายวชิ า มนุษย์สมั พันธ์และการทำงานเป็นทมี ในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนษุ ย์สมั พนั ธ์ 20

การสรา้ งความสมั พันธท์ ี่ดี
กบั บคุ คลตา่ ง ๆ ในสงั คม

การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ในสังคมนั้น ต้อง
มีพื้นฐานจากหลักการท่ีว่า มนุษย์สัมพันธ์ ต้องเริ่มที่ตนเองก่อน
โดยการพัฒนาตนเองในด้านบุคลิกภาพให้สามารถส่ือสารกับ
บุคคลอ่ืนได้ และเริ่มจากการสร้างและรักษาสัมพันธภาพได้
อย่างต่อเนื่องซ่ึงได้กล่าวไว้แล้วในเอกสารก่อนหน้าน้ี สำหรับ
เนื้อหาในส่วนน้ีจะกล่าวถึงวิธีการที่จะสร้างสัมพันธภาพท่ีดีกับ
บุคคลต่าง ๆ ในสงั คม สรปุ ตามลำดบั ดังนี้

ครอบครัวเป็นกลุ่มท่ีมีขนาดเล็กที่สุดในสังคม มีหน้าที่สร้าง
สมาชิกใหม่ให้กับสังคมและเล้ียงดูให้เจริญเติบโต อบรมให้รู้
ระเบียบวินัยการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและสังคม เป็นสมาชิกท่ีดี
ของสังคมต่อไป ในครอบครัวจะประกอบไปด้วยบิดา มารดาและ
บุตร ควรปฏิบัติหน้าที่ต่อกันอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความรักและ
ความผกู พนั ความอบอุ่นในครอบครัว

รายวชิ า มนษุ ย์สมั พันธ์และการทำงานเปน็ ทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสรา้ งมนษุ ย์สัมพนั ธ์ 21

การสร้างความสัมพันธ์ท่ีดีกับบุคคลในครอบครัวโดยอาศัย
หลกั ธรรมทางพทุ ธศาสนา มดี ังนี้

1.1 หลักปฏบิ ตั ิของบดิ ามารดาตอ่ บุตร

1) ห้ามไม่ให้ชั่ว ต้องทำความดี และบิดามารดาต้อง
ประพฤตติ นเปน็ แบบอย่างท่ีดี

2) เล้ียงดูบุตร ให้ความรักความเมตตา ส่งเสริมให้บุตร
มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เตม็ ศกั ยภาพ

3) ให้การศึกษาแก่บุตร สนับสนุนให้เป็นคนเก่ง คนดี
และมีความสุข

4) มอบทรพั ยใ์ ห้ในเวลาอนั ควร
5) หาภรรยาสามที ่สี มควรให้

1.2 หลักปฏบิ ัตขิ องบุตรต่อบดิ ามารดา

1) ตอ้ งเคารพเช่อื ฟังบิดามารดา ปฏิบัตติ นเปน็ คนดี
2) ช่วยทำกิจธุระต่าง ๆ ให้ตามที่ท่านขอร้อง และช่วย
แบง่ เบาภาระของท่านดว้ ยความเต็มใจ
3) มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา เล้ียงดูบิดา
มารดายามเม่ือทา่ นแก่เฒ่า
4) ดำรงวงศส์ กุลของบิดามารดา

รายวชิ า มนุษย์สมั พนั ธ์และการทำงานเปน็ ทมี ในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสรา้ งมนุษย์สัมพนั ธ์ 22

1.3 หลักปฏบิ ตั ขิ องสามีตอ่ ภรรยา
1) ยกยอ่ งนบั ถือภรรยา
2) ไม่ดหู มน่ิ ภรรยาของตนเอง
3) ไม่ประพฤตนิ อกใจ
4) มอบความเป็นใหญใ่ ห้
5) จดั หาทรัพยแ์ ละปจั จัยในการดำรงชีวติ ให้

1.4 หลักปฏิบตั ิของภรรยาตอ่ สามี
1) จัดการงานให้ดี โดยต้องให้เกียรติ ยกย่อง ดูแล

ปรนนิบัติสามี และดแู ลงานบ้านให้เรยี บรอ้ ย
2) สงเคราะหค์ นในครอบครวั ของฝา่ ยสามี
3) ไม่ประพฤตนิ อกใจ
4) รักษาทรพั ย์สนิ ที่สามหี ามาให้
5) ขยันทำงานท้ังปวง ช่วยสร้างฐานะของครอบครัวให้

มั่นคงตามความสามารถ

รายวชิ า มนุษยส์ มั พันธแ์ ละการทำงานเปน็ ทมี ในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสรา้ งมนุษย์สมั พนั ธ์ 23

การสร้างความสัมพันธ์ท่ีดีกับบุคคลท่ัวไป มีวิธีการง่าย ๆ
ดังน้ี

1) จงยิม้ แยม้ แจม่ ใสกับทกุ คน

2) ต้งั ใจสนทนา เป็นผู้พดู -และผฟู้ งั ทดี่ ี

3) เจรจาไพเราะ พดู น่าฟงั ไมน่ นิ ทาวา่ ร้ายใคร

4) สงเคราะห์เกอื้ กูล มีนา้ ใจกบั ทกุ ๆ คน

5) จงรบู้ ทบาทและหน้าทีข่ องตนเอง
และแสดงออกอยา่ งเหมาะสม อย่าแสดงจนเกนิ บทบาท

มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องมีมิตร มีสหาย มีเพื่อน จะอยู่ลำพัง
คนเดียวไม่ได้ ดังนั้นในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน/มิตรแท้
มีดังน้ี

1) มีความจริงใจต่อกัน คบหากันโดยไม่มุ่งหาประโยชน์ ไม่มี
เล่ห์เหลี่ยมในการคบหาสมาคม

2) มีความไวว้ างใจกัน การปิดบังหรอื ไม่ไว้วางใจจะทำให้คบ
หากันลำบาก และถ้ามีความไว้วางใจกันจะทำให้เกิดความเชื่อถือ
ศรทั ธาต่อกนั

3) ช่วยเหลือเก้ือกูลกัน เพื่อนกัน-มิตรกันต้องช่วยเหลือกัน
เทา่ ทีจ่ ะช่วยเหลือได้ และช่วยกันในส่งิ ทถี่ ูกตอ้ งด้วย

4) มีความปรารถนาดีต่อกัน มีมุทิตาจิตท่ีดีต่อกัน ไม่มีจิตใจ
อจิ ฉาริษยา

5) มีความใส่ใจต่อกัน รวมทั้งความเอ้ืออาทร ห่วงใย และ
เกรงใจกัน

รายวชิ า มนุษยส์ มั พันธแ์ ละการทำงานเป็นทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสรา้ งมนุษย์สมั พันธ์ 24

การสรา้ งความสมั พันธ์ที่ดีกับสงั คม/ชมุ ชน มวี ธิ กี าร ดงั น้ี
1) เข้าร่วมงานของชมุ ชน / สงั คม ตามโอกาสอันควร
2) ไม่ทำตวั ให้เป็นภาระหรอื เป็นปัญหาแก่ชุมชน / สังคม
3) เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน / สังคม และเคารพกฎ กติกา
ของสงั คม
4) ชว่ ยเหลือชมุ ชน / สงั คมเทา่ ท่ีจะทำไดต้ ามกำลังของเรา

การสรา้ งความสมั พันธท์ ดี่ ีกบั ส่งิ แวดล้อม มวี ิธีการ ดงั นี้
1) ใช้ทรัพยากรน้า ไฟ ฯลฯ อยา่ งประหยดั และค้มุ ค่า
2) ปลูกต้นไม้ เพอ่ื ชว่ ยดดู ซับคารบ์ อนไดออกไซด์
3) ลดขยะโดยการรีไซเคิล หรือหลีกเล่ียงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่
มีบรรจุภณั ฑ์มาก ๆ
4) ทะนุบำรงุ และรกั ษาสิ่งแวดล้อมใหด้ ี
5) เป็นตัวอย่างท่ีดีและแนะนำการใช้ทรัพยากร /สิ่งแวดล้อม
ใหแ้ กบ่ คุ คลอน่ื ดว้ ย
6) ทำหน้าท่ีดูแล ตรวจตราส่ิงแวดล้อมให้อยู่ในสภาพสมดุล
เม่ือพบว่ามีบุคคลหรือหน่วยงานใดท่ีทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดการ
เสยี หาย ตอ้ งแจ้งหนว่ ยงานที่มหี นา้ ทด่ี แู ลให้ทราบทนั ที

รายวชิ า มนษุ ย์สัมพันธ์และการทำงานเป็นทีมในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนษุ ย์สมั พันธ์ 25

วธิ ีสร้างและรักษามนุษยส์ ัมพนั ธ์
ในการอย่รู ่วมกนั

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน หมายถึง
การสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับคนที่เราต้องอยู่ด้วยนาน ๆ เช่น อยู่
หอพกั อยทู่ ี่ทำงาน ฯลฯ พอสรุปไดด้ ังนี้

1. สรา้ งความเปน็ กนั เอง

ถ้าหากเราเป็นกันเองกับบุคคลอ่ืน เขาก็จะมีความรู้สึกเป็น
กนั เองกบั เราด้วย ก็จะอยู่ร่วมกนั ทำงานร่วมกันด้วยความสบาย
ใจ เพราะเขาจะมีเจตคติที่ดีต่อเรา มีความสบายใจท่ีจะพูดคุย
ขอรอ้ ง ขอความชว่ ยเหลือจากเรา

2. พดู จาดว้ ยความสุภาพอ่อนโยน

การพูดจาสุภาพอ่อนโยนจะทำให้ผู้อื่นสบายใจ คำพูดท่ี
ควรใช้ ไดแ้ ก่คำว่า “กรุณา… ได้โปรด… ขอบคณุ … เสียใจ…
ขอโทษ… ไม่เป็นไร…” นอกจากนี้ยังควรใช้คำตำหนิอย่าง
สุภาพ เช่น “ผมก็ทำผิดแบบน้ีเหมือนกัน คราวต่อไปก็ต้อง
ระมัดระวังใหม้ ากขน้ึ ”

รายวิชา มนษุ ย์สมั พนั ธ์และการทำงานเปน็ ทมี ในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสรา้ งมนุษย์สัมพันธ์ 26

3. แสดงความร่าเรงิ แจ่มใส มีชีวิตชวี า

การแสดงความร่าเริงแจ่มใส ทำให้คนท่ีอยู่ใกล้หรือคนท่ี
พบเห็นเกิดความสบายใจ ทำให้เราเป็นคนที่มีเสน่ห์ การแสดง
ความร่าเริงแจม่ ใสนัน้ สามารถทำได้ดงั น้ี

1) ย้ิมเมือ่ พบปะกัน หัวเราะเม่ือมีเร่อื งตลก ขำขนั
2) ร้องเพลงหรอื ฮมั เพลงเบา ๆ บ้างตามโอกาส
3) มีอารมณ์ขัน มองเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก บางคร้ัง
เลา่ เร่อื งขำขนั ให้เพอ่ื นฟงั บ้าง
4) แสดงความยินดีที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ทำหน้าบ้ึงหรือบ่น
จนหน้ารำคาญ
5) พรอ้ มทจี่ ะยม้ิ รับปญั หาและแก้ปญั หาอย่างอารมณเ์ ย็น
6) มองโลกแง่ดี ไม่วิพากษ์วิจารณ์คนอ่ืนในแง่ลบ และไม่
ทะเลาะววิ าทกับผู้อื่น

4. ไม่เอาเปรียบผู้ทอี่ ยดู่ ้วยกัน
การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขต้องไม่เอาเปรียบซ่ึงกันและ
กัน รู้จักรับและให้ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน เช่น การรับประทาน
อาหารร่วมกันถ้าเพ่ือนนำอาหารมา 2 อย่าง เราอาจจะซ้ือ
เพ่ิมเติม 1–2 อย่าง หรือเพ่ือนเคยซ้ือขนมมาให้เรา เราก็ต้องหา
โอกาสอื่นทดแทนบ้าง การอยู่ด้วยกันใช้ของร่วมกันหรือ
รบั ประทานอาหารด้วยกันควรใช้วิธีแบ่งกันจ่าย จะช่วยให้ทกุ คน
สบายใจ

รายวชิ า มนษุ ยส์ มั พันธ์และการทำงานเป็นทมี ในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนุษย์สมั พันธ์ 27

5. แสดงน้าใจ ควรดูแลให้ความช่วยเหลือกันโดยไม่ต้อง
รอใหผ้ ูอ้ นื่ ร้องขอ

6. ดูแลเอาใจใส่กัน เช่น ยามเม่ือเพ่ือนเจ็บป่วยก็ต้อง
ชว่ ยเหลอื ดูแลกัน

7. เป็นที่ปรับทุกข์ของเพื่อนได้ คือ ต้องเป็นที่ไว้วางใจ
เก็บความลับได้ดี แสดงความเห็นใจ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม
หรือเยาะเย้ยความผดิ พลาดของเพอ่ื น

8. เม่อื ทำผดิ ต้องยอมรับผดิ และพร้อมที่จะแก้ไข

9. มคี วามอดทนตอ่ ความบกพร่องบางอยา่ งของเพอ่ื น

10. แสดงความจริงใจต่อกัน ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เมื่อมี
เร่ืองเดือดร้อนหรือเป็นเร่ืองส่วนตัวก็ต้องเปิดเผยและไว้ใจเล่าสู่
กันฟัง และเม่ืออีกฝ่ายรับฟังจะต้องเห็นใจกันและเก็บความลับ
ของเพือ่ นไว้

รายวิชา มนุษย์สมั พนั ธ์และการทำงานเปน็ ทมี ในสำนกั งาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนษุ ย์สัมพนั ธ์ 28

ขอ้ ควรระวังในการสรา้ ง
และรักษามนษุ ย์สัมพันธ์

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์เป็นการแสดงพฤติกรรมเพื่อให้
ได้รับความรัก ความพอใจ ความเชื่อถือ ความศรัทธาและ
ร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ใหเ้ กดิ ผลสมั ฤทธ์ิและอยู่
รว่ มกนั อย่างมีความสุข ดังนั้นจงึ ควรระมดั ระวังในเร่ืองตอ่ ไปน้ี

1. ระวงั เรื่องการแสดงสีหน้า กริ ิยาท่าทาง น้าเสียงและการ
แสดงออก

2. การโต้แย้ง การถกเถยี งเพ่อื เอาชนะ
3. การตำหนิติเตียนผ้อู ื่นทง้ั ต่อหน้าและลบั หลัง
4. การพูดเรอื่ งของตนเอง การพูดโออ้ วด ยกตนข่มทา่ น
5. การพูดเพอ้ เจ้อ การพูดประชดประชัน นนิ ทาว่าร้าย
6. การไมส่ นใจฟังผู้อืน่
7. การแสดงความอิจฉา
8. การแสดงความอยากได้ ใจแคบ

รายวชิ า มนษุ ยส์ มั พันธ์และการทำงานเป็นทมี ในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนุษย์สมั พันธ์ 29

9. การแสดงความเหน็ แก่ตวั มากกว่าการเหน็ แก่ส่วนรวม

10. การแสดงความโมโหฉุนเฉยี ว

11. การแสดงการเลอื กท่รี ักมกั ทช่ี งั

12. การแสดงอำนาจเหนือผูอ้ น่ื

13. การแสดงความไมแ่ นน่ อน ลงั เล
ไม่รักษาคำพดู

14. การโยนความผิดให้ผู้อนื่

15. การแสดงความเปน็ ระเบยี บ จู้จจี้ ุกจิกเกินไป

16. การลมื นึกไปว่าผ้อู น่ื กม็ ีความสำคญั

17. การมอี คติ ลำเอียง โดยเฉพาะเชอ้ื ชาติ ศาสนา ฐานะ

18. การแสดงพฤติกรรมบางอย่างจนเคยชิน เช่น การนั่ง
เหยียดแข้งเหยียดขาต่อหน้าผู้อ่ืนจนเป็นนิสัย ชอบโยนของ ฯลฯ
อาจทำใหเ้ สียสมั พันธภาพได้

รายวิชา มนษุ ยส์ ัมพันธแ์ ละการทำงานเปน็ ทีมในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลกั การสรา้ งมนุษย์สมั พันธ์ 30

ขอ้ เสนอแนะในการสรา้ ง
และรกั ษามนษุ ยส์ มั พันธ์

1. ควรระวงั ในเร่ืองสุขภาพ การมีมนษุ ยส์ ัมพันธ์
ท่ดี ีต้องเร่มิ ต้นที่สขุ ภาพดดี ้วย ถา้ บคุ คลมีสุขภาพที่ดี
หนา้ ตาก็ย้มิ แย้ม

2. ควรระงับอารมณ์ไว้ให้ได้ ไม่ว่าจะมีอารมณ์ค้างจาก
ไหนควรทง้ิ อารมณไ์ ว้ท่ีนั่น พยายามทำอารมณ์ให้แจ่มใสก่อนจะ
พดู คุยกบั ใคร

3. การปรับปรุงบุคลิกภาพภายนอกให้เหมาะสม เช่น
ปรับปรุงเร่ืองการแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับ
กาลเทศะและบุคคล ปรับปรุงเร่ืองการใช้สีหน้า ไม่บ้ึงตึง ไม่
เครยี ด ฝกึ การใช้สายตาให้ดอู ่อนโยน มเี มตตา

4. มีมารยาทในการติดต่อสัมพันธ์ คนท่ีมีมารยาทดีย่อม
เป็นบุคคลทนี่ า่ รกั ใคร่ น่านับถือ

5. ควรปรับปรุงการพูดจา ทงั้ การใช้ถ้อยสำนวน นา้ เสียง

รายวิชา มนษุ ย์สมั พนั ธแ์ ละการทำงานเป็นทีมในสำนักงาน (30216 – 2006)

องคป์ ระกอบและหลักการสร้างมนษุ ย์สมั พันธ์ 31

6. ควรรักษาสัญญา มีความรับผิดชอบต่อการพูดและการ
กระทำของตนเอง

7. ควรรูจ้ ักใหแ้ ละรบั ทีเ่ หมาะสม

8. คำนึงถงึ ความตอ้ งการของผู้อน่ื เป็นสำคัญ

9. ควรให้ความสำคัญแกผ่ ้อู ืน่ ยง่ิ กวา่ ตน

10. ยิ่งใกล้ชิดสนิทกับใครมากเท่าไรควรเกรงใจเขาให้
มากข้ึนเท่าน้ัน เพราะคนเรามักลืมรักษาน้าใจของคนที่ใกล้ชิด
เสมอ

11. ไม่ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองจนลืมนึกถึง
จติ ใจของผู้อน่ื ซง่ึ ทำใหพ้ ดู จาและแสดงทา่ ที่เห็นแกต่ ัวออกไป

รายวชิ า มนุษย์สมั พันธแ์ ละการทำงานเป็นทีมในสำนักงาน (30216 – 2006)

องค์ประกอบและหลักการสรา้ งมนุษยส์ มั พนั ธ์

บรรณานกุ รม

ผุสดี พฤกษะวนั . (2548). มนษุ ยสัมพนั ธใ์ นการท างาน. กรุงเทพฯ : พัฒนาวิชาการ.

วจิ ติ ร อาวะกลุ . (2542). เทคนิคมนษุ ยสมั พนั ธ.์ พิมพ์ครงั้ ที่ 8. กรุงเทพฯ:
โอ.เอส.พร้ินติ้ง เฮา้ ส์.

สรุ างค์ มันยานนท.์ (2542). เอกสารประกอบการสอนวชิ ามนษุ ยสัมพนั ธ.์
ราชบรุ ี: มหาวทิ ยาลัยราชภฏั หมูบ่ า้ นจอมบงึ .

NovaBizz. มนษุ ยสมั พนั ธ์ Human Relations. (ออนไลน)์
เข้าถงึ ไดจ้ ากhttps://www.novabizz.com/NovaAce/
HumanRelations.htm. (วนั ทส่ี ืบค้นขอ้ มลู : 5 สงิ หาคม 2564)

รายวชิ า มนษุ ย์สมั พนั ธแ์ ละการทำงานเป็นทมี ในสำนกั งาน (30216 – 2006)

ภาควชิ าการจดั การ
วทิ ยาลยั อาชวี ศกึ ษาปตั ตานี