ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน และ ลักษณะเชิงคุณภาพเสริม

เผยแพร่เมื่อ: 07 กันยายน 2559 สร้างเมื่อ: 05 กันยายน 2559 อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2559

ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน ที่ดีควรเป็นอย่างไร ?

ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน และ ลักษณะเชิงคุณภาพเสริม
ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน ที่ดีควรเป็นอย่างไร ?


    จากบทความที่แล้ว เราได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ ความหมายของ งบการเงิน หรือ Financial Statement (ไฟแนนซ์เชียล สเตทเมนท์) ว่า ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย งบอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น   งบแสดงฐานะการเงิน Statement Of Financial Position ( สเตทเมนท์ ออฟ ไฟแนนซ์เชียล โพซิชั่น ) ส่วนบทความนี้เราจะมาพูดถึง ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินที่ดีว่าควรเป็นอย่างไร
    งบการเงินจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ก็ต่อเมื่องบการเงินนั้น มีลักษณะเชิงคุณภาพตามที่แม่บทการบัญชีกำหนดไว้ดังนี้
    - ความเข้าใจได้
      ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ในทันทีที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลดังกล่าวภายใต้ ข้อสมมติที่ว่าผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและการบัญชี รวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว
    - ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
      ข้อมูลจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินได้นั้นต้องเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีตปัจจุบันและอนาคตรวมทั้งช่วยยืนยัน หรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้อย่างไร    
    - ความเชื่อถือได้
      ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต้องเชื่อถือได้โดยเป็นข้อมูลที่ปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญและ ความลำเอียงซึ่งประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
      1.1 การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม หมายถึง  ข้อมูลควรแสดงตามเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้วนั่นคือเป็นข้อมูลที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ ณ วันที่เสนอรายงาน
      1.2 เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ หมายถึง  ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจไม่ใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว
      1.3 ความเป็นกลาง หมายถึง  ข้อมูลที่แสดงต้องมีความเป็นกลางหรือปราศจากความลำเอียงโดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะชี้นำผู้ใช้งบการเงิน
      1.4 ความระมัดระวัง หมายถึง  การใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้งบการเงินมีความน่าเชื่อถือ
      1.5 ความครบถ้วน หมายถึง ข้อมูลในงบการเงินต้องมีความครบถ้วน โดยพิจารณาความมีนัยสำคัญและต้นทุนในการจัดทำ หมายถึง เพื่อมิให้มีความผิดพลาด หรือทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด
    - การเปรียบเทียบกันได้

    ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินในรอบระยะเวลาต่างกันของกิจการเดียวกันและงบการเงินในรอบระยะเวลาเดียวกันของกิจการแต่ละกิจการได้ แต่มิได้หมายความว่าข้อมูลต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกันตลอดไป และไม่สามารถยกเป็นข้ออ้างที่จะไม่นำมาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสมกว่ามาถือปฏิบัติ เพื่อให้ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกันได้ การเปรียบเทียบกันได้ของข้อมูลช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการนั้น รวมทั้งเปรียบเทียบแนวโน้มกับกิจการอื่นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน

     นอกจากนี้ทางบริษัท เอ็ม.ดี ซอฟต์ มีบริการติดตั้งระบบ OpenERP, บริการพัฒนา Module OpenERP รวมไปถึงการจัดอบรมการใช้งาน Odoo9 เบื้องต้น สำหรับการนำไปใช้งาน ERP ในองค์กร ท่านสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมอบรมได้ที่ ลงทะเบียนอบรม Odoo9 ค่ะ หากสนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการได้ที่ สอบถามข้อมูลบริการ ได้ค่ะ

บริการพัฒนา Module OpenERP บริการติดตั้งระบบ OpenERP บริการ Implement ระบบ ERP ด้วย Odoo


ลักษณะเชิงคุณภาพ

ลักษณะเชิงคุณภาพ ของ งบการเงิน ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบ ?

ลักษณะเชิงคุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ซึ่งประกอบด้วย
1) ความเข้าใจได้ (Understandability)
2) ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance)
ความมีนัยสำคัญ (Materiality)
3) ความเชื่อถือได้ (Reliability)
การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Faithful Presentation)
เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance Over Form)
ความเป็นกลาง (neutrality)
ความระมัดระวัง (Prudence)
ความครบถ้วน (Completeness)
4) การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability)
– ความเข้าใจได้ (Understandability) ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ในทันทีที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ ข้อมูลดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องมีข้อสมมุติว่าผู้ใช้งบการเงินมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและการบัญชี และมีความตั้งใจที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว
 –  ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ข้อมูลทางบัญชีที่มีประโยชน์จะต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของข้อมูลควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. ช่วยให้ทราบผลลัพธ์ของการตัดสินใจครั้งก่อนซึ่งสามารถนำมาใช้ในการ ตัดสินใจในอนาคต
2. ช่วยในการคาดคะเนหรือยืนยันเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3. พร้อมที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ทันต่อเวลา
–  ความเชื่อถือได้ (Reliability) ข้อมูลที่นำเสนอต้องปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญและความลำเอียง ไม่ว่าจะจงใจกระทำหรือไม่จงใจ เพื่อผู้ใช้ข้อมูลสามารถเชื่อได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของข้อมูลที่ต้องการให้แสดงหรือควรแสดง
– การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกัน หรือเปรียบเทียบระหว่างกิจการ ได้ ซึ่งทำให้ทราบ แนวโน้มของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ ดังนั้นการจัดแสดงหรือจัดประเภทรายการในรูปแบบเดียวกันจำเป็นต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ยกเว้นแต่ลักษณะการดำเนินงานของกิจการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นสาระสำคัญ

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร ?

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341

แก้ไขครั้งสุดท้าย ตุลาคม 5, 2022

 

ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน และ ลักษณะเชิงคุณภาพเสริม