การ แบ่ง ยุค สมัยของวรรณคดีมีความ สำคัญ ต่อ การศึกษาประวัติวรรณคดี ใน ด้าน ใด บ้าง

ประวัติวรรณคดีไทย  

วรรณคดี แปลว่าเรื่องที่แต่งเป็นหนังสือ มีความหมายตรงกันคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษ แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความของวรรณคดีว่า หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร กล่าวว่า

๑ . เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องที่สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์ คือไม่เป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสาร ซึ่งจะชวนให้คิดวุ่นวานทางการเมืองอันเกิดเป็นเรื่องรำคาญแก่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ( เพราะคนรู้น้อยอาจจะไขว้าเขวได้ )

๒ . เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใด ๆ ก็ตามแต่ต้องให้เป็นภาษาไทยอันดี ถูกต้องตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาลหรือปัจจุบันกาลก็ได้ ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ ( เช่น ใช้ว่า ไปจับรถ แทน ไปขึ้นรถ และ มาสาย แทน มาช้า ดังนี้เป็นตัวอย่าง )

วรรณคดี คือ ความรู้สึกนึกคิดของกวี ซึ่งถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฎเป็นรูปหนังสือ มีถ้อยคำเหมาะเจาะเพราะพริ้ง เร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึก
วรรณคดี คือ หนังสือที่มีลักษณะเรียบเรียงถ้อยคำเกลี้ยงเกลาเพราะพริ้งมีรสปลุกมโนคติ ( imagination ) ให้เพลิดเพลิน เกิดกระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง ๆ เป็น
ไปตามอารมณ์ของผู้ประพันธ์บทประพันธ์ที่เป็น
วรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความเพลิดเพลิน ให้เกิดความรู้สึกนึกคิด ( imagination ) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดี
จะต้องมีรูปศิลปะ ( form )

เท่าที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่าวรรณคดี คือ เรื่องที่มีลักษณะดังนี้

๑ . ใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารไพเราะสละสลวย
๒ . ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
๓ . ยกระดับจิตใจให้สูง
๔ . ใช้เป็นแบบแผนในการแต่งได้

ร้อยกรอง คือ บทประพันธ์ที่แต่งให้มีสัมผัสของคำเชื่อมโยงกัน โดยมีคณะของคำตามหลักที่กำหนดไว้ในฉันทลักษณ์หรือตำรากลอนต่าง ๆ เช่น มีครุ ลหุ เอก โท เป็นต้น

รูปแบบของร้อยกรองวรรณคดีที่เป็นร้อยกรอง ( กาพย์กลอนของไทย ) ได้เจริญเรื่อยมา และแบ่งตามรูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้แต่งเรื่องนั้น ๆ ได้ดังนี้

๑ . คำหลวง เป็นเรื่องที่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ทรงแต่ง หรือ ทรงเกี่ยวข้องในการแต่ง ไม่จำกัดรูปแบบคำประพันธ์ แต่ต้องเป็นเรื่องที่
ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา เท่าที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ มหาชาติคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำ
หลวง และพระนลคำหลวง
๒ . คำฉันท์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์ชนิดต่าง ๆ มักมีกาพย์บางชนิดปนอยู่ด้วย เช่น สมุทรโฆษคำฉั นท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นต้น
๓ . คำโคลง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นโคลงคั้นหรือโคลงสี่สุภาพ เช่น โคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น
๔ . คำกลอน วรรณคดีที่แต่งเป็นคำกลอนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กลอนสุภาพ กลอนเสภา กลอนบทละคร กลอนหก เช่น พระอภัยมณี เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น
๕ . คำกาพย์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ เช่น กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา เป็นต้น
๖ . กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงและกาพย์ เช่น กาพย์ห่อโคลงประพาศธารทองแดง กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น
๗ . ร่ายยาว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร่ายยาว เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น
๘ . ลิลิต ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งโดยใช้โคลงและร่ายปนกัน รับสัมผัสคำแบบลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น

นอกจากแบ่งตามลักษณะคำประพันธ์แล้ว ยังแบ่งตามเนื้อเรื่อง เช่น นิราศ เพลงยาว นิทานคำกาพย์ นิทานคำกลอน คำสอน เป็นต้น

บทละคร คือ เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อการแสดงบนเวทีรูปแบบของบทละคร

๑ . บทละครรำ เป็นบทละครแบบเดิมของไทย ได้แก่ บทละครเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ สังข์ทอง เป็นต้น
๒ . บทละครแบบตะวันตก ได้แก่ บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ บทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า บทละครคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา เป็นต้น

การแบ่งประเภทวรรณคดีตามเกณฑ์ต่าง ๆ วรรณคดีไทยอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้

แบ่งตามความมุ่งหมาย แยกได้ ๒ ประเภท คือ

๑ . สารคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญแต่ในขณะเดียวกันก็ใช้กลวิธีการเขียนให้เกิดความบันเทิงเป็นผลพลอยได้ไปด้วย เช่น บทความหรือความ
เรียง หนังสือสารคดี ตำรา บันทึก จดหมายเหตุ รายงาน พงศาวดาร ตำนาน ปาฐกถา คำสอน
๒ . บันเทิงคดี คือ หนังสือที่มุ่งให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านมากกว่าความรู้ แต่อย่างไรก็ดี บันเทิงคดีย่อมมีเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญแทรกอยู่ด้วยในรูปของคติ
ชีวิตและเกร็ดความรู้ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละครพูด นิทาน นิยาย

แบ่งตามลักษณะที่แต่ง แยกได้ ๒ ประเภท คือ

๑ . ร้อยแก้ว อาจแต่งเป็นสารคดีหรือบันเทิงคดี โดยมีรูปแบบต่าง ๆ
๒ . ร้อยกรอง หมายถึง ความเรียงที่ใช้ภาษาพูดตามธรรมดา แต่มีรูปแบบโดยเฉพาะและมีความไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย ร้อยกรองอาจเรียกว่า
คำประพันธ์ กาพย์กลอน หรือ กวีนิพนธ์ ก็ได้ ร้อยกรองแต่เป็นกลอน โคลง ร่ายกาพย์และฉันท์ อาจแต่งเป็นสารคดีและบันเทิงคดี ส่วนมากเป็นบันเทิง
คดี โดยอาจแบ่งรูปตามชนิดของ คำประพันธ์ หรือลักษณะของเนื้อเรื่อง

แบ่งตามลักษณะการจดบันทึก แยกได้ ๒ ประเภท คือ

๑ . วรรณคดีลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บันทึกไว้เป็นหนังสืออาจเป็นตัวจารึก ตัวเขียน หรือตัวพิมพ์ก็ได้
๒ . วรรณคดีที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่บอกเล่าจดจำสืบต่อกันมา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วรรณคดีมุขปาฐะ เช่นเพลงพื้นเมือง บทเห่
กล่อม นิทานพื้นบ้าน ปริศนาคำทาย

การแบ่งประเภทวรรณคดีดังกล่าวอาจคาบเกี่ยวกันได้ สารคดีโดยทั่วไปมักแต่งเป็นร้อยแก้วแต่อาจแต่งเป็นร้อยกรองก็ได้บันเทิงคดีอาจแต่งเป็นร้อยกรองหรือ
ร้อยแก้วก็ได้

วรรณคดีไทยแบ่งสมัยการแต่งได้ดังนี้

๑ . วรรณคดีสมัยสุโขทัย ( พ.ศ. ๑๘๐๐ – ๑๙๒๐ )
๒ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๗๒ )
๓ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ( ยุคทองของวรรณคดี พ.ศ. ๒๑๖๓ – ๒๒๓๑๔)
๔ . วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ( พ.ศ. ๒๒๙๕ – ๒๓๑๐๕ )
๕ . วรรณคดีสมัยธนบุรี ( พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕๖ )
๖ . วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. ๒๓๒๕ – ปัจจุบัน )

เนื่องจากการแต่งวรรณคดี มักจะมีส่วนสัมพันธ์กัน ประวัติศาสตร์และสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น ๆ เพราะฉะนั้นการอ่านวรรณคดีให้ได้คุณค่าอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องเรียนประวัติวรรณคดีประกอบด้วย ซึ่งต้องพิจารณาถึงประเด็นสำคัญของวรรณคดี ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑ . ผู้แต่ง รวมถึงชีวประวัติและผลงานสำคัญ
๒ . ที่มาของเรื่อง ได้แก่ เรื่องที่เป็นต้นเค้า อาจจะได้รับอิทธิพลภายในประเทศ หรือที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
๓ . ความมุ่งหมายที่แต่ง ได้แก่ ความบันดาลใจหรือความมุ่งหมายของผู้แต่งในการแต่งวรรณคดีนั้น ๆ
๔ . วิวัฒนาการและความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างวรรณคดีแต่ละสมัย
๕ . สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์ของบ้านเมืองในระยะเวลาที่แต่ง
๖ . อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคมทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยต่อมา

ดร. สิทธา พินิจภูวดล กล่าวไว้ในหนังสือความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย ถึงเรื่องการศึกษาวรรณคดีในแนวประวัติ มีดังนี้

๑ . เพื่อให้ทราบต้นกำเนิดของวรรณคดีว่า วรรณคดีแต่ละเล่มเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดในสมัยใด และวรรณคดีอื่น ๆ ในสมัยนั้นมีลักษณะที่เกิดขึ้นมาอย่างเดียวกัน
หรือไม่
๒ .เพื่อให้ทราบวิวัฒนาการของสติปัญญาของชาติ พลังปัญญาของบุคคลในชาติ จะแสดงออกมาในรูปของศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งวรรณกรรมด้วย
คนจะแสดงพลังปัญญาในการนำเรื่องราวทางการเมือง การทหาร การรบพุ่งปราบปรามศัตรู และอื่น ๆ มาเรียบเรียงร้อยกรองเป็นบทเพลงหรือบทประพันธ์
แทนการเล่าเรื่องอย่างธรรมดา ๆ คนที่มีความสามารถจะหาทางออกในแนวแปลกงดงามและมีผลดี วรรณคดีที่มีแนวต่าง ๆ กันเป็นผลของการแสดงพลังปัญญา
ของบุคคลในชาติ
๓ . เพื่อให้รู้จักเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดี วรรณคดีเป็นผลงานกวี กวีในแต่ละยุคแต่ละสมัยย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่ต่างกัน มีแนวคิดต่างกัน มีเหตุการณ์ในยุค
สมัยของตนแตกต่างกันไปด้วย เช่น คนไทยในยุคสุโขทัยระยะหลังได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขอย่างเต็มที่ เอาใจใส่ในศาสนาและวรรณกรรม ศิลาจารึกในยุคนั้น
จึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนามาก เหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองหรือ ในสังคมย่อมสัมพันธ์กับเรื่องราวในวรรณคดี การศึกษาประวัติวรรณคดี จะทำให้เข้าใจ ตัว
วรรณคดี ชัดเจนยิ่งขึ้น และเข้าใจกวีว่าเหตุใดจึงแต่งวรรณคดีชนิดนั้น เช่น เหตุใดวรรณกรรมไทยในยุคปลายสุโขทัย จึงเป็นแต่ประเภทวรรณกรรมศาสนาเท่า
นั้น เป็นต้น
๔ . เพื่อให้รู้จักผู้แต่งวรรณคดี ว่ากวีคือใคร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร อะไรเป็นเหตุทำให้เขาแต่งเรื่องเช่นนั้น เช่น เราต้องการทราบประวัติชีวิตของสุนทรภู่
พยายามสืบค้นว่าสุนทรภู่มีบิดามารดา ชื่ออะไร อาชีพอะไร เกิดที่เมืองไหน ครอบครัวของสุนทรภู่มีใครบ้าง อะไรทำให้สุนทรภู่เขียนลงไปว่า อนิจจาตัวเราก็เท่า
นี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย…… สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ผู้ศึกษาวรรณคดีรู้จักวรรณคดีลึกซึ้งขึ้นทั้งสิ้น ในบางยุคสมัยผู้แต่งวรรณคดีจะเป็นคนในราชสำนักเป็นส่วนมาก
ดังที่ปรากฏอยู่ในยุคสุโขทัยเรื่อยลงมาจนถึงอยุธยา และต่อมาจนถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดีจะทำให้เราเข้าใจแนวสร้างวรรณคดีของเรา

วิวัฒนาการของวรรณคดีไทย

นับแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงราชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณคดีไทยมีลักษณะเป็นแบบฉบับที่ยึดถือสืบต่อกันมา ในรัชกาลที่ ๔ คนไทยเริ่มมีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก วิถีชีวิตจึงเปลี่ยนไปรวมถึงลักษณะของวรรณคดีของคนไทย เริ่มค้นเปลี่ยนแลงและทวีมากขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน

วรรณคดีสมัยสุโขทัย ( ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ – พ.ศ. ๑๙๒๐ )

ชาติไทยเริ่มมีประวัติเป็นหลักฐานชัดเจน เมื่อไทยได้ตั้งอาณาจักรขึ้น ณ ดินแดนสุวรรณภูมิและมีนครหลวงอยู่ที่เมืองสุโขทัย หลักฐานการตั้งอาณาจักรนั้นได้ปรากฏในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ และศิลาจารึกวัดศรีชุมหลักที่ ๒ ว่า มีพ่อเมืองไทย ๒ คน ชื่อพ่อขันบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด บุตรของพ่อขุนศรีนาวนำถมเจ้าเมืองสุโขทัย ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชของขอม พ่อเมืองทั้งสองนี้ได้รวมกำลังกันยกทัพมาตีสุโขทัย ซึ่งมีผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ขอมสมาดโขลญลำพง รักษาอยู่ เมื่อตีได้เมืองสุโขทัยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกให้พ่อขุนบางกลางหาวเป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย มีนามตามอย่างที่ขอมเคยตั้งนามเจ้าเมืองสุโขทัยแต่ก่อนว่า ศรีอินทรปติทราทิตย์ แต่เรียนในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ นับว่ากรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครองและมีเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีชื่อนางเสือง และมีพระราชโอรสด้วยกัน ๓ พระองค์ องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมีนามว่า บานเมือง และองค์เล็กมีนามว่า พระรามคำแหง เมือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา พ่อขุนบานเมืองได้ครองราชย์อยู่จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๒๒ ก็สวรรคต พระรามคำแหงพระอนุชาจึงได้รับราชสมบัติขึ้นครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา

วรรณคดีสมัยสุโขทัย มีนิทานพื้นเมืองหรือเพลงพื้นเมือง ที่ถ่ายทอดกันมาโดยความทรงจำ เรียกกันว่า วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดีที่ใช้การเล่าถ่ายทอดกันมาไม่มีการจดบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนที่นับได้ว่าเขียนเป็นตัวอักษรก็คือศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง วรรณคดีสำคัญที่สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยสุโขทัยมี ๔ เรื่อง คือ

๑ . ศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกสุโขมัย ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
๒ . ไตรภูมิพระร่วง ( ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา )
๓ . สุภาษิตพระร่วง
๔ . คำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ( นางนพมาศ )

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๐๗๒ )

ลักษณะวรรณคดีวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรมและพระมหากษัตริย์จึงมีเนื้อหาคล้ายวรรณคดีสมัยสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้น คำประพันธ์ที่ใช้มีเกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอน ส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีสำคัญในสมัยนี้ได้แก่

ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ( พระเจ้าอู่ทอง ) ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ๑๘๙๓ แต่งลิลิตโองการแช่งน้ำ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตีได้เมืองเชียงชื่น ( เชลียง ) ๒๐๑๗ แต่งลิลิตยวนพ่าย ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ฉลองวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ( ที่พิษณุโลก ) ๒๐๒๕ แต่งมหาชาติคำหลวง แต่งลิลิตพระลอ ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๑ แต่งโคลงทวาทศมาส ( สันนิษฐาน )
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชอนุชาขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๔ แต่งลิลิตยวนพ่าย ( สันนิษฐาน ) แต่งโคลงกำสรวล ( สันนิษฐาน ) แต่งลิลิตพระลอ
( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๐ แต่งโคลงหริภุญชัย ( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๑ แต่งตำราพิชัยสงคราม

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ( พ.ศ. ๒๑๖๓ – พ.ศ. ๒๒๓๑ )

กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนกลางสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี ซึ่งมีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมาย คือ

๑ . สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ. ๒๑๖๓ – ๒๑๗๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือกาพย์มหาชาติ
๒ . สมเด็จพระรานายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ
๒.๑ . สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนกลาง
๒.๒ . โคลงสุภาษิตพาลีสอนน้อง ทศรสอนพระราม ราชสวัสดิ์
๒.๓ . คำฉันท์กล่อมช้าง เข้าใจกันว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระราชนิพนธ์
๒.๔ . เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา แต่บางคนกล่าวว่าขุนหลวงสรศักดิ์ ( พระศรีสรรเพชญ์ที่ ๘ ) ทรงพระราชนิพธ์
๓ . พระมหาราชครู หนังสือที่แต่ง คือ
๓.๑ . สมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนต้น
๓.๒ . เสือโคคำฉันท์
๔ . พระโหราธิบดี หนังสือที่แต่ง คือ
๔.๑ . จินดามณี
๔.๒ . พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ
๕ . พระศรีมโหสถ หนังสือที่แต่ง คือ
๕.๑ . โคลงอักษรสามหมู่
๕.๒ . โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช
๕.๓ . กาพย์ห่อโคลง
๖ . ศรีปราชญ์ หนังสือที่แต่ง คือ
๖.๑ . อนิรุทธคำฉันท์
๖.๒ . โคลงกำสรวล
๖.๓ . โคลงเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
๗ . ขุนเทพกวี หนังสือที่แต่ง คือคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
๘. หนังสือที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง คือ
๘.๑ . ลิลิตพระลอ
๘.๒ . โคลงนิราศหริภุญชัย

ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ ( พ.ศ. ๒๑๗๐ )
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ พระเจ้าลูกยาเธอฝ่ายในสิ้นพระชนม์ พบเนื้อในพระศพเผาไม่ไหม้ เชื่อกันว่า ต้อนคุณมีการทำลายตำราไสยศาสตร์
เพราะเกรงต้องโทษ ( พ.ศ. ๒๑๗๓ ) วรรณคดีสำคัญ ๆ อาจถูกทำลายไปพร้อมกับตำราไสยศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต ๒๑๙๘
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งเสือโคคำฉันท์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระชนมายุ ครบเบญจเพส ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งสมุทรโฆษ คำฉันท์ (ตอนต้น)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ สมุทรโฆษคำฉั นท์ ต่อจากพระมหาราชครู
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์
พุทธศักราช ๒๒๐๐ ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งปัญญาสชาดก
พุทธศักราช ๒๒๐๑ พระศรีมโหสถแต่งโคลงนิราศนครสวรรค์
สมเด็จพระนารายมหาราชเสด็จประพาส เมืองนครสวรรค์ทางชลมารค ( พ.ศ. ๒๒๐๑ ) ได้ช้างเผือกมาจากเมืองนครสวรรค์พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาบรม
คเชนทรฉันทันต์ ๒๒๐๓ ขุนเทพกวีแต่งฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ( สันนิษฐาน )
พระศรีมหโหสถแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระโหราธิบดีแต่งจินดามณี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้รวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ รวมถึงพระราชพงศาวดารของพระโหราธิบดี
พุทธศักราช ๒๒๒๓ พระโหราธิบดีแต่งพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา
ศรีปราชญ์แต่งอนุรุทธ์คำฉันท์ และโคลงเบ็ดเตล็ด
พระศรีโหสถแต่งกาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสาม

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ( พ.ศ. ๒๒๗๕ – พ.ศ. ๒๓๑๐ )

กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย

๑ . พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ งานที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
๒ . เจ้าฟ้าอภัย งานที่ทรงนิพนธ์ คือโคลงนิราศ
๓ . เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร งานที่ทรงนิพนธ์ คือ
๓.๑ นันโทปนันทสูตรคำหลวง
๓.๒ พระมาลัยคำหลวง
๓.๓ กาพย์เห่เรือ
๓.๔ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
๓.๕ กาพย์ห่อโคลงนิราศ
๓.๖ บทเห่เรื่องกากี เห่สังวาส เห่ครวญ และเพลงยาว
๔ . เจ้าฟ้ากุณฑล งานที่ทรงนิพนธ์ คือดาหลัง ( อิเหนาใหญ่ )
๕ . เจ้าฟ้ามงกุฎ งานที่ทรงนิพนธ์ คืออิเหนา ( อิเหนาเล็ก )
๖ . พระมหานาควัดท่าทราย งานที่แต่ง คือ
๖.๑ ปุณโณวาทคำฉันท์
๖.๒ โคลงนิราศพระบาท
๗ . หลวงศรีปรีชา ( เซ่ง ) งานที่แต่ง คือ กลบทสิริวิบุลกิติ