การนํา Blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

ปกติแล้วการโอนเงินระหว่างประเทศที่มีสกุลเงินแตกต่างกัน เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารตัวกลาง (Intermediary Bank) ซึ่งใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างนาน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและปลอดภัย แต่สำหรับในยุคดิจิทัล การโอนเงินระหว่างประเทศกำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีและสะดวกขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Blockchain นวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลางแต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมากอย่างแต่ก่อน ดังนั้น การใช้ Blockchain ในไทยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจยุคดิจิทัลได้ดีอย่างยิ่งครับ

การนํา Blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

Blockchain คืออะไร

แม้บล็อกเชน (Blockchain) จะเป็นศัพท์ใหม่ แต่น่าจะเริ่มคุ้นหูหลาย ๆ คนกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะคนที่ติดตามเทคโนโลยีและธุรกรรมยุคดิจิทัล เพราะบล็อกเชนคือเทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย (Security) และความน่าเชื่อถือ (Trust) ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศของธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) สามารถโอนโดยไม่ต้องแปลงสกุลเงินได้เลย บุคคลทั้งสองฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ แม้บุคคลทั้งสองจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน บล็อกเชนจึงเหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้กับการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือ FinTech เช่น การรับ จ่าย โอน หรือวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อตัดสินใจลงทุนบนออนไลน์ ซึ่งมีทั้งความสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว และสำคัญที่สุด คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย

Show

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐานเดียวกันก็จะอัปเดตตามไปด้วยทันที ทำให้การปลอมแปลงข้อมูลไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกคนต้องรับทราบและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกันได้ อีกทั้งไม่มีระบบล่ม และภัยใด ๆ ก็ไม่อาจทำลายอุปกรณ์ในระบบได้พร้อมกัน เช่นเดียวกับการถูกแฮ็กข้อมูล ซึ่งต้องทำการแฮ็กทุกเครื่องในฐานเดียวกันพร้อม ๆ กัน หรืออย่างน้อยต้องแฮ็กเครื่องที่ถือสำเนาให้ได้มากกว่า 51% จึงจะแฮ็กได้สำเร็จ เทคโนโลยี Blockchain จึงนับว่ายอดเยี่ยมในแง่ของเครดิต นอกจากนี้ ยังเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามารองรับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ฯลฯ ให้มีความปลอดภัยด้านข้อมูลมากยิ่งขึ้นด้วย

การนํา Blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

บล็อกเชน x กรุงศรี

Krungsri Blockchain Interledger คือ นวัตกรรม Blockchain ธนาคารไทยที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาร่วมมือกับ Ripple ในการให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Ripple ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Interledger” โดยสถาบันการเงินหรือธุรกิจที่นำ Blockchain มาใช้ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมกับ Ripple ซึ่งมีสถานะเหมือนกับ Consortium Blockchain ก่อน

  เมื่อปลายปี 2017 ทางธนาคารกรุงศรีฯ ได้ลองนำนวัตกรรม Krungsri Blockchain Interledger มาให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจ ซึ่งถือเป็นลูกค้า Blockchain รายแรกของไทย ระหว่างบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กับคู่ค้าในต่างประเทศของไออาร์พีซี ซึ่งมีผลตอบรับจากกลุ่มธุรกิจค่อนข้างดี

  กระทั่งล่าสุดทางกรุงศรีฯ ได้ประกาศถึงความสำเร็จอีกครั้ง เกี่ยวกับการนำร่องการโอนเงินระหว่างประเทศไทย-สิงคโปร์แบบเรียลไทม์ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน Interledger ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก MUFG Bank (มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนลเชียล กรุ๊ป) สถาบันการเงินใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และธนาคาร Standard Chartered ประเทศสิงคโปร์ ตลอดจนได้รับการทดสอบระบบใช้งานนานถึง 9 เดือน ผ่าน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เรียบร้อยแล้ว ว่าสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 50% ทำให้เกิดสภาพคล่องด้านธุรกรรมการเงินของกลุ่มบริษัทในเครือ ตรวจสอบง่าย รวดเร็วเพียงไม่กี่วินาที และไม่ต้องเสี่ยงกับอัตราผันผวนของค่าเงิน ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างการใช้ Blockchain ในไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

  ซึ่งในอนาคตบล็อกเชนน่าจะเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ระดับธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) และธุรกิจต่อลูกค้ากลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (B2C : Business-to-Consumer) เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงิน ตลอดจนกระบวนการถอนเงินจาก Blockchain เข้าธนาคารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง Krungsri Blockchain Interledger จะเป็นหนึ่งในบริการบล็อกเชนที่กลุ่มธุรกิจควรจับตามอง เพื่อการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างเท่าทันยุคดิจิทัล

  ขอบคุณข้อมูลจาก: aware.co.th , siamblockchain.com , blockchain.fish , techsauce.co

การนํา Blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง


การนํา Blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

โดย
คุณวรพจน์ ธาราศิริสกุล

:CTO บริษัท เจเวนเจอร์ส จำกัด
.

สวัสดีปีใหม่ 2020 ครับ ในปี 2019 ที่ผ่านมาเชื่อว่าพวกเราจะเคยได้ยินหลายคนพูดกันมากมายเกี่ยวกับการที่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาทำให้วิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไป หรือที่เรียกว่า Technology Disruption และเทคโนโลยีบล็อกเชน ก็เป็นหนึ่งเทคโนโลยีที่คนพูดถึงกันมากมายว่า คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนโลกของเราได้

แต่หลายๆ คนก็ยังสงสัยและยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร จะมาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรายังไง ปีใหม่นี้เลยอยากจะมาเล่าให้ฟังครับ
 

“บล็อกเชน” คือเทคโนโลยีเบื้องหลังของบิตคอยน์ (Bitcoin) เงินดิจิทัลที่โด่งดังนั่นเองครับ

“บิตคอยน์” คือเงินสกุลดิจิทัลเหรียญแรกของโลกที่ไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศใดประเทศหนึ่ง จุดสำคัญของบิตคอยน์ คือ คนเชื่อว่ามันจะไม่หายไป สามารถส่งต่อกันได้ และไม่มีใครที่จะมาแก้ไขตัวเลขในกระเป๋าดิจิทัลได้ จึงทำให้เกิดมูลค่าได้จริงตามอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งบล็อกเชนคือเทคโนโลยีที่ทำให้ความน่าเชื่อถือนี้เกิดขึ้นได้

Introduction to Blockchain

บล็อกเชน ถ้าแปลแบบตรงๆ บล็อก (Block) คือ การเก็บข้อมูลแบบนึงที่เก็บเป็นส่วนๆ และนำมาร้อยต่อกันเรื่อยๆ เหมือนโซ่คล้องกัน (Chain) โดยมีวิธีเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัย ที่ทำให้รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บ ณ เวลาใด มีการแก้ไขหรือเปล่า โดยข้อมูลทั้งหมดจะส่งและกระจายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย

ดังนั้น ข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปแล้ว จึงมีความน่าเชือถือเพราะทุกคนในเครือข่ายจะเห็นการเปลี่ยนแปลงพร้อมๆ กัน ถ้าใครอยากจะแก้ไขก็มีทางเดียวคือต้องไปแก้ในเครื่องของทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยากมากเมื่อเครือข่ายนั้นๆ ใหญ่พอ
 

ดังนั้น เมื่อเรานำเอาบล็อกเชนมาใช้ในเงินดิจิทัล โดยเก็บข้อมูลจำนวนเงินที่ทุกคนมี จำนวนการโอนทุกครั้งของทุกๆ คน เข้าไปในบล็อกแต่ละบล็อกต่อกันไปเรื่อยๆ และกระจายไปให้ทุกคนรับรู้ ก็ทำให้เงินดิจิทัลนั้นมีความโปร่งใส ปลอดภัยจากการแก้ไขโดยคนใดคนหนึ่ง และที่สำคัญเมื่อเรากระจายไปให้ทุกคนแล้ว จึงลดความเสี่ยงว่าระบบจะล่มพร้อมกันทั้งหมดทำให้ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้หายไปได้ด้วย

บิตคอยน์ ที่มีเครือข่ายทั่วโลกจากการให้ผลตอบแทนแก่คนที่เข้ามาช่วยกันในเครือข่าย จึงเป็นเงินดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถส่งเงินดิจิทัลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับใครก็ได้ในเครือข่ายในระยะเวลาอันสั้น เพียงแค่เก็บข้อมูลการโอนนั้นๆ ลงในบล็อก โดยไม่มีความจำเป็นต้องมีคนกลางอีกต่อไป

ที่สำคัญมีค่าธรรมเนียมการโอนหรือส่งเงินต่ำมากเมื่อเทียบกับการส่งเงินจริงในปัจจุบัน จากคุณสมบัติเหล่านี้นี่เองทำให้บิตคอยน์ประสบความสำเร็จในการทำให้คนทั่วโลกยอมรับ

หลังจากบิตคอยน์เกิดขึ้นพร้อมกับเทคโนโลยีบล็อกเชนที่สามารถแก้โจทย์หลายๆ ข้อที่ไม่เคยทำได้ทางเทคโนโลยีมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยของข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ความโปร่งใสของข้อมูลที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นข้อมูลเดียวกันได้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการลดคนกลาง ปัจจุบันบล็อกเชนจึงได้ถูกนำมาใช้ในหลายๆ รูปแบบ ในหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เงินดิจิทัลเพียงอย่างเดียว

บล็อกเชน ถูกใช้ในหลายอุตสาหกรรมไม่ใช่แค่วงการเงินดิจิทัล

ธุรกิจการเงิน - ซึ่งเป็นธุรกิจแรกๆ ที่บล็อคเชนถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ ตัวอย่างชัดๆ ก็คือ โครงการอินทนนท์ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะใช้บล็อกเชนมาแทนเครือข่ายบาทเน็ตที่ใช้ระหว่างธนาคาร หรือโครงการ JFIN ของทางเจมาร์ท (JMART) นำบล็อกเชนมาจัดการเรื่อง ข้อมูลลูกค้าและ Credit Score บนระบบกู้ยืมทางออนไลน์ เป็นโอกาสใหม่ของคนไทยส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันยังไม่มีทางเลือกมากนักในการรับบริการทางการเงิน ต้องไปกู้เงินนอกระบบ หรือไปจนถึงการใช้ Token ในการระดมทุนต่างๆ ทั้ง ICO IEO หรือ STO ที่ได้เคยกล่าวมาในบทความก่อนหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง : เปรียบเทียบ ICO / STO / IEO กันแบบชัดชัด!

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ - ในหลายๆ ประเทศ เช่น มอลต้า อังกฤษ UAE มีการนำบล็อกเชนมาเก็บข้อมูลแทนโฉนด (Land Registry) หรือการนำบล็อกเชนมาช่วยในการแบ่งการเป็นเจ้าของ (Asset Tokenization)
 

ธุรกิจโรงพยาบาล - โครงการ Medrec ของทาง MIT หรือ SimplyVital นำบล็อกเชนมาเก็บข้อมูลการรักษาของคนไข้ เพิ่มความโปร่งใส และความปลอดภัย ซึ่งในเมืองไทยก็จะมีโครงการ Block M.D. ของบริษัท Smart Contract Thailand ที่ทำเรื่องนี้ หรือ FarmaTrust การนำบล็อกเชนมาช่วยตรวจสอบที่มาของยาแต่ละชนิด ป้องกันการปลอมแปลง

ธุรกิจค้าปลีก - Wallmart ได้มีโครงการนำข้อมูลอาหารที่ขายมาเก็บเพื่อดูสายการผลิตจากโรงงานมาถึงชั้นวางของ หรือ Singapore Airline ก็ได้นำบล็อกเชนมาใช้บน loyalty point KrisFlyer เพิ่มความน่าเชื่อถือ และสามารถแลกเปลี่ยนกันได้

ธุรกิจพลังงาน - Power Ledger ธุรกิจ Startup จากออสเตรเลีย ก็ได้ขยายมาที่เมืองไทยเพื่อพัฒนาการซื้อขายพลังงานแบบ Peer to peer โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน หรือ WePower บริษัทจาก Estonia ก็ทำเรื่องคล้ายๆ กันแต่เน้นไปทางพลังงานทดแทนเป็นหลัก

ธุรกิจการศึกษา - MIT Media Lab และประเทศมอลต้า ได้มีการออกปริญญาบัตร Certificate และก็ Transcript บนเทคโนโลยีบล็อกเชนเรียบร้อยแล้ว
 

นอกจากนี้ ยังมีการใช้บล็อกเชนในอีกหลายเรื่อง เช่น การจดสิทธิบัตร การทำ eVoting การตรวจสอบ การทำดิจิทัลไอดีแทนบัตรประชาชน ซึ่งการใช้งานเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพียงบางส่วน สำหรับการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เพื่อนๆ เห็นภาพว่า บล็อกเชนได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจะค่อยๆ เข้ามาในชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ แบบที่เราไม่รู้ตัว

บทความต่อไป ผมจะสรุปแนวโน้มสำคัญของเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซีในปี2020 นะครับ
 

สวัสดีปีใหม่ 2020 ครับ.

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

การนํา Blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

Refresh


การนํา Blockchain มาในงานอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้

ข้อใดเป็นตัวอย่างการนำ Blockchain มาใช้งาน

การประยุกต์ใช้ Blockchain ยกตัวอย่างเช่น งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น การเงินโดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิมๆได้เลย ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่าย และในอุตสาหกรรมประกันภัย Blockchain จะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการประกันภัย

ธุรกิจใดสามาาถนำ Blockchain มาใช้ได้

ตัวอย่างการใช้ Blockchain ในธุรกิจการแพทย์จริง เช่น Patientory สตาร์ทอัพสายสุขภาพนำ Blockchain มาใช้ในการเก็บข้อมูลสำคัญทางการแพทย์ของผู้ป่วย หรือ Farmatrust สตาร์ทอัพจากลอนดอนที่ใช้ Blockchain ในการตรวจสอบที่มาของยาแต่ละชนิด เพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลของยา และเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

Block chain คืออะไร มีการนํามาประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง

Blockchain คือเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของ ...

เทคโนโลยีพื้นฐานของบล็อกเชนประกอบด้วยอะไรบ้าง

โดยสรุป บล็อคเชน เทคโนโลยี เป็นการบันทึกบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะ ที่มีความปลอดภัยในระดับสูง ไม่มีใครสามารถควบคุมหรือปลอมแปลงได้ ซึ่งเทคโนโลยี บล็อคเชน นี้จะประกอบไปด้วยเทคโนโลยี 3 อย่างเข้าด้วยกัน 1) การเข้ารหัสลับ 2) เครือข่ายแบบ เพียร์ ทู เพียร์ (เครือข่ายที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง) 3) โปรแกรม หรือ โปรโตคอล สำหรับการให้ ...