เครื่องราชบรรณาการที่เมืองประเทศราชส่งมาถวายทุก 3 ปี เรียกว่า

เครื่องราชบรรณาการ หรือ เครื่องปัณณาการ หมายถึงสิ่งของที่ผู้มีสภาพด้อยกว่านำไปฝากผู้อื่น เพื่อความรู้สึกที่ดีต่อกัน ในความหมายทางประวัติศาสตร์ของไทย หมายถึง สิ่งที่พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองหรือเจ้าประเทศราช จัดส่งไปถวายแด่พระมหากษัตริย์อีกเมืองหนึ่งเพื่อแสดงไมตรีต่อกัน เช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี เป็นราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นต้น
อีกนัยหนึ่งเครื่องราชบรรณาการ คือ สัญลักษณ์แสดงความสวามิภักดิ์ของผู้เป็นข้าขอบเขตขัณฑสีมาต่อกษัตริย์แห่งแผ่นดินแม่ ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 แสดงให้เห็นว่าเมืองประเทศราช จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ต่อเมืองใหญ่ทุก ๆ 3 ปี นอกจากต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ก็ไม่พบบันทึกอื่นใดกล่าวถึงเครื่องราชบรรณาการ จนถึง พ.ศ. 2430 จึงได้พบข้อความใน ราชกิจจานุเบกษา กล่าวถึงเมืองประเทศราชลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ทองคำ เงิน งาช้าง หมอนสามเหลี่ยม เสื่อทองขาว
การถวายเครื่องราชบรรณาการจากเมืองประเทศราชงวดสุดท้าย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2446 และปี พ.ศ. 2447 โดยหัวเมืองประเทศราช ได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ ได้แก่
หัวเมืองแขก เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446
นครลำพูน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2446 โดยเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน

ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง หรือบุหงามาศเป็นเครื่องราชบรรณาการที่ประเทศราชของสยามต้องส่งมาถวายพระเจ้าแผ่นดินทุกๆ สามปี เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสิ่งของคารวะของเจ้านายหรือขุนนางถวายต่อพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานพระอิสริยยศหรือบรรดาศักดิ์ให้สูงขึ้น เรียกว่า "พุ่มไม้เงินพุ่มไม้ทอง"

ประเพณีการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดหรือเพราะอะไร แต่จากหนังสือสยามประเภทของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ความว่า "ราว พ.ศ. ๒๐๔๕ ในแผ่นดินพระเจ้าบรมราชามหาพุทธางกูร สยามเป็นไมตรีกับโปรตุเกส เมื่อโปรตุเกสขอกองกำลังกองทัพเรือไทยไปช่วยตีเมืองมะละกา เพราะชาวมะละกาไปทำร้ายพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เข้าไปค้าขาย กองทัพเรืออยุธยาตีเมืองมะละกาได้ พระเจ้าแผ่นดินสยามในขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตรแขกเมืองมะละกาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนพระบิดา ให้มีพระนามว่าจ้าวมะหะหมัดรัตนะรายามหาราช และให้เป็นเมืองประเทศราชถวายดอกไม้เงินทองสิ่งของเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยาตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณ"

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้ปกครองหัวเมืองประเทศราช อันได้แก่ หัวเมืองมลายู  ล้านช้าง ล้านนา เมืองเขมร และหัวเมืองกะเหรี่ยง ประเทศราชเหล่านี้จะต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องบรรณาการมาสยามทุก ๆ สามปี มูลค่าของดอกไม้เงินดอกไม้ทองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาจจะสูงถึงราว ๆ หนึ่งพันดอลลาร์สเปนเลยทีเดียว ทั้งนี้การส่งบรรณาการดังกล่าวไม่มีกฎเกณฑ์ว่ามากน้อยเพียงใดเพราะขึ้นอยู่กับผลิตผลในท้องถิ่น หรือเป็นสิ่งของที่ทางสยามแจ้งความประสงค์ไป

ใน พ.ศ. 2435 ได้มีการปฏิรูปการปกครองยกเลิกหัวเมืองประเทศราชในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ธรรมเนียมการส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นบรรณาการจึงสิ้นสุดลงตามไปด้วย มีบันทึกไว้ว่ามีการเข้าเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2447 โดยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์  เจ้าราชภาคินัย เจ้าน้อยเลาแก้ว เจ้าน้อยสมพมิตร เจ้าน้อยเมืองชื่น และเจ้าน้อยวุฒิ วงษ์

ทั้งนี้เหตุผลในการส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ก็เพื่อแสดงการสวามิภักดิ์ และความจงรักภักดีแก่ประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่า และเป็นสัญลักษณ์แห่งความสัมพันธ์สมานฉันท์สามัคคีรักใคร่แนบแน่นต่อกัน

 ลักษณะของต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ใช้เพื่อเป็นบรรณาการในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์  ต้องจัดเป็นคู่
ทำด้วยเงินทองแท้และเงินแท้ทั้งต้น และต้องมีน้ำหนักเท่ากัน มี กิ่งก้าน กาบดอก และใบ ครบสมบูรณ์หากมีกระถางหรือแจกันรองรับ จะต้องเหมือนกันเป็นคู่กัน ความสวยงาม ประณีตขึ้นอยู่กับฝีมือเชิงช่างของเมืองนั้น ๆ

เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-th.com/gold-rate/

เมื่อสยามสถาปนาราชธานีใหม่ขึ้น ณ กรุงเทพพระมหานครแล้ว ได้จัดการปกครองหัวเมืองให้เป็นลำดับชั้นเรียงรายออกไปโดยรอบราชธานี ให้หัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นพื้นที่รับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีมหาดไทย หัวเมืองฝ่ายใต้เป็นเขตของอัครมหาเสนาบดีกลาโหม ส่วนหัวเมืองชายทะเลใกล้พระนครอยู่ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมท่า

เครื่องราชบรรณาการที่เมืองประเทศราชส่งมาถวายทุก 3 ปี เรียกว่า

ถัดออกไปอีกชั้นหนึ่งคือหัวเมืองประเทศราชที่อยู่ห่างไกล ปกครองโดยเจ้านายราชสกุลของเมืองนั้นๆ ภายใต้การกำกับของกรุงเทพฯ โดยอาจถูกเรียกเกณฑ์ผู้คนหรือสิ่งของบ้างเป็นครั้งคราว เช่น เกณฑ์กำลังทหารไปรบ และเรียกร้องเอาวัสดุก่อสร้างและเครื่องใช้ไม้สอยสำหรับงานพระเมรุ รวมทั้งยังมีภาระต้องจัดส่งเครื่องราชบรรณาการ “ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง” (บางทีเรียกกันว่า “ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง”) คือต้นไม้ทำด้วยเงินและทองคำ เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายแด่กษัตริย์ที่กรุงเทพฯ ตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ๓ ปีครั้งหนึ่ง

หัวเมืองประเทศราชเหล่านี้ ได้แก่หัวเมืองล้านนา (เชียงใหม่ ลำพูน น่าน แพร่ ฯลฯ) ทางเหนือ หัวเมืองลาว (หลวงพระบาง เวียงจันท์ จำปาสัก) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ หัวเมืองเขมร (กัมพูชา) ทางตะวันออก ส่วนทางใต้ก็มีทั้งนครศรีธรรมราช และหัวเมืองมลายู (ไทรบุรี กลันตัน ตรังกะนู และปะลิส) ในคาบสมุทรภาคใต้

ในปี ๒๓๒๙ ต้นสมัยกรุงเทพฯ กัปตันฟรานซิส ไลต์ พ่อค้านักแสวงโชคชาวอังกฤษเข้าไปบุกเบิกเกาะร้างที่ชื่อปีนัง (pulau pinang) หรือที่ไทยแปลว่า “เกาะหมาก” นอกชายฝั่งตะวันตกของไทรบุรี (หรือเกดะห์) แล้วขอ “ใช้พื้นที่” จากสุลต่านผู้ปกครอง หนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ฉบับทางการของไทยมักนับเอากรณีนี้ว่าเป็นการ “เสียดินแดน” ครั้งแรกของสมัยรัตนโกสินทร์ คือเสียให้แก่อังกฤษ

อย่างไรก็ตาม คำอธิบายนี้วางอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ว่าเกดะห์ หรือไทรบุรี เป็น “หัวเมืองประเทศราช” ที่ถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง (ภาษามลายูเรียกว่า bunga mas บุหงามาศ คือดอกไม้ทอง) ดังนั้นการที่สุลต่านรัฐเกดะห์ หรือที่ไทยแต่งตั้งให้เป็น “พระยาไทรบุรี” ยอมยกดินแดนของตน (ซึ่งขึ้นกับสยาม) ให้บริษัทอังกฤษ ย่อมถือเป็นการ “เสียดินแดน”

แต่ขณะเดียวกัน ราชวงศ์ของสุลต่านเกดะห์ (รวมถึงประวัติศาสตร์ฉบับทางการของมาเลเซียปัจจุบัน) กลับเห็นตรงกันข้าม โดยยืนยันว่าการส่งบุหงามาศนั้น มิได้เป็นสัญลักษณ์แห่งการสยบยอมต่ออำนาจ หากเป็นแต่เพียงเครื่องยืนยันในไมตรีจิตมิตรภาพอันดีที่มีระหว่างกันเท่านั้น

แล้วราชสำนักกรุงเทพฯ เอาต้นไม้เงินต้นไม้ทองเหล่านี้ไปทำอะไร ?

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (๒๔๕๔-๒๕๓๘) ผู้เชี่ยวชาญด้านไทยศึกษา เคยอธิบายไว้ในหนังสือ “ลักษณะไทย” ว่า

“พึงสังเกตว่ารอบพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์นั้นตั้งต้นไม้ทองเงินหลายต้น…พระที่นั่งนั้นสมมติว่าเป็นเขาพระสุเมรุ…การที่เมืองประเทศราชต้องส่งต้นไม้ทองเงินเข้ามาถวายนั้นเท่ากับเป็นการยอมตัวเข้ามาอยู่ในป่าหิมพานต์รอบเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของพระเป็นเจ้า แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดแห่งจิตใจอันมีความจงรักภักดี…”

และอาจด้วยเหตุถือว่าต้นไม้เงินต้นไม้ทองนั้นเป็นของมีค่า เป็นสิ่งดีพิเศษ จึงมีธรรมเนียมที่กษัตริย์จะนำไปบูชาพระด้วย เช่นในรัชกาลที่ ๒ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะสมณทูตไทยไปสืบข่าวการพระศาสนาที่ลังกา “โปรดให้จัดต้นไม้เงินทอง ๑๖ สำรับ เทียนใหญ่ธูปใหญ่ ๓๐๐ คู่ เปนของทรงพระราชอุทิศส่งไปบูชาพระทันตธาตุแลพระเจดียฐานในลังกาทวีป”

จนเดี๋ยวนี้ ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ก็มีตู้กระจกใส่ต้นไม้เงินต้นไม้ทองคู่หนึ่ง ขนาดสูงกว่าตัวคน ตั้งเป็นพุทธบูชาอยู่สองข้างบุษบกประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พร้อมป้ายว่าเป็น “ต้นไม้ทอง บรรณาการเมืองเชียงใหม่”

  • ติดตามเพจ Sarakadee Magazine
  • ติดตามผลงานเขียนของ ศรัณย์ ทองปาน

เครื่องราชบรรณาการที่เมืองประเทศราชส่งมาถวายทุก 3 ปี เรียกว่า

พ่อบ้านวัยกลางคน สนใจเรื่องเก่าๆ และคนเราที่ตายไปแล้ว

เรื่อง