พื้น ผิวโลก ทั้งหมด 4 ส่วน แบ่ง เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ อย่าง ละ กี่ ส่วน


โครงสร้างภายในของโลก

จากการศึกษาคลื่นแผ่นดินไหว ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งโลกออกเป็นชั้นต่าง ๆ จากผิวโลกถึงชั้นในสุดได้ 3 ชั้นใหญ่ ๆดังนี้

  1. เปลือกโลก (Crust) เป็นชั้นนอกสุดมีความหนาระหว่าง 6-35 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนาที่สุดของเปลือกโลก เรียก เปลือกโลกส่วนบน (Upper crust) มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยโปแตสเซียม อะลูมิเนียม และซิลิเกตเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชั้นไซอัล (sial) ส่วนบางที่สุดเรียกเปลือกโลก ส่วนล่าง (Lower crust) มีความหนาแน่นมากกว่าส่วนบน ประกอบด้วยแมกนีเซียม เหล็ก แคลเซียม และซิลิเกตเป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (Sima) ส่วนของเปลือกโลกภาคพื้นทวีปประกอบด้วยชั้นไซอัลและไซมา ทำให้มีความหนามากกว่าส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ซึ่งระกอบด้วยชั้นไซมาเท่านั้น
  2. แมนเทิล (Mantle) เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก มีความหนาประมาณ 2,885 กิโลเมตร มีส่วนประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กเป็นส่วนใหญ่ แมนเทิลเกือบทั้งหมดเป็นของแข็ง ยกเว้นที่ความลึกประมาณ 70-260 กิโลเมตรหรือที่เรียกว่า ชั้นแอสทีโนสเฟียร์ (Asthenosphere) ในชั้นนี้มีการหลอมละลายของหินเป็นบางส่วน
  3. แก่นโลก (Core) เป็นส่วนชั้นในสุดของโลกที่มีความหนาแน่นมาก มีรัศมียาวประมาณ 3,486 กิโลเมตร ประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิล และแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ แก่นโลกชั้นนอก (outer core) ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าหินทั่วไปถึง 5 เท่า (ความถ่วงจำเพาะมากกว่า 17) และมีความร้อนสูงถึง 4,000 องศาเซลเซียส
 

พื้น ผิวโลก ทั้งหมด 4 ส่วน แบ่ง เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ อย่าง ละ กี่ ส่วน

โครงสร้างภายในของโลก

 

ถ้ามองโลกจากดาวเทียมหรือยานอวกาศที่กำลังโคจรอยู่ในอวกาศ จะพบว่าโลกของเราเป็นสีฟ้า เนื่องจากโลกปกคลุมด้วยน้ำถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด เหนือพื้นน้ำขึ้นไปมีบรรยากาศห่อหุ้มโลก โลกประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งมีมากายหลายชนิด ส่วนบริเวณที่เราไม่สามารถสำรวจลึกลงไปได้ คือ บริเวณใต้ผิวโลก เพราะมีอุณหภูมิและความดันสูงมาก การศึกษาลักษณะโครงสร้างภายในโลกโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ และพบว่าภายในโลกมีลักษณะเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไป

พื้น ผิวโลก ทั้งหมด 4 ส่วน แบ่ง เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ อย่าง ละ กี่ ส่วน

โลก มีรูปร่างเป็นทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวดิ่งจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ประมาณ 12,711กิโลเมตร ซึ่งสั้นกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนเล็กน้อย เนื่องจากเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนประมาณ 12,755 กิโลเมตร

ลักษณะพื้นผิวนอกของโลกในที่ต่างๆ จะมีลักษณะแตกต่างกัน มีทั้งพื้นดิน พื้นน้ำ ภูเขา และป่าทึบ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีมากที่สุด ประมาณ 3 ใน 4 ส่วน หรือ 71% ของพื้นผิวโลก และเป็นพื้นดินประมาณ 1 ใน 4 ส่วน หรือ 29% ของพื้นผิวโลก

พื้น ผิวโลก ทั้งหมด 4 ส่วน แบ่ง เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ อย่าง ละ กี่ ส่วน

นักธรณีวิทยาได้แบ่งลักษณะโครงสร้างของโลกออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้ 

ชั้นต่างๆของโลก

บริเวณที่พบและความหนา

ส่วนประกอบหรือลักษณะสำคัญ

1.เปลือกโลก (Crust)

แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1.1เปลือกโลกทวีป (Continental Crust)

1.2เปลือกโลกมหาสมุทร (Oceanic Crust)

-ชั้นนอกสุดของโลก

-หนาประมาณ 5-35 กิโลเมตร

-ตั้งแต่เปลือกโลกลงไปหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร

-มีความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร

-ความหนา อุณหภูมิ ความดัน แความหนาแน่น น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับโครงสร้างชั้นอื่นๆ

-เป็นเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปและไหล่ทวีป เปลือกโลกทวีปส่วนที่หนาจะอยู่บริเวณใต้เทือกเขาสูงใหญ่

-เป็นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรต่างๆ

2.เนื้อโลก หรือ ชั้นแมนเทิล (Mantle)

แบ่งเป็น 2 ชั้น ดังนี้

2.1 เนื้อโลกตอนบน (Upper Mantle)

2.2 เนื้อโลกตอนล่าง (Lower Mantle)

-อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไปจนถึงแก่นโลก

-หนาประมาณ 2,885 กิโลเมตร

-อยู่ถัดจากผิวโลกลึกลงมาประมาณ 100-350 กิโลเมตร

-หนาประมาณ 665-695 กิโลเมตร

-อยู่ถัดจากเนื้อโลกตอนบนลึกเข้าไปด้านใน

-หนาประมาณ 2,190-2,200 กิโลเมตร

-เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิ ความดัน และความหนาแน่นสูงกว่าเปลือกโลก แต่น้อยกว่าแก่นโลก

-มีสถานะเป็นของแข็ง

-มีสารเริ่มต้นที่จะหลอมเหลวเป็นหินหลอมเหลวที่เรียกว่า แมกมา

-มีสถานะเป็นของแข็ง

3.แก่นโลก (Core)

แบ่งเป็น 2 ขั้น ดังนี้

3.1 แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core)

3.2 แก่นโลกชั้นใน (Inner Core)

-ชั้นในสุดของโลก

-หนาประมาณ 3,486 กิโลเมตร

-มีความหนาประมาณ 2,270 กิโลเมตร

-มีความหนาประมาณ 1,216 กิโลเมตร

-ส่วนใหญ่ประกอบด้วยธาตุเหล็ก(Fe)และนิเกิล(Ni)และมีความหนาแน่น ความดัน และอุณหภูมิสูงที่สุด มีทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและของเหลว (หินหนืด)

-มีลักษณะเป็นของเหลวหนืด

-มีสถานะเป็นของแข็ง