ทางสายกลาง กับการดำเนินชีวิต

ทางสายกลาง กับการดำเนินชีวิต

ทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช่ความเป็นกลางระหว่างสองฝ่าย เช่น ปกติกินเหล้า 10 แก้ว ถ้ายึดทางสายกลางก็กินเหลือ 5 แก้ว แบบนี้ไม่ใช่..

แท้จริงแล้วทางสายกลางต้องมีความถูกต้องเป็นเกณฑ์ หมายถึงความพอดีระหว่างความดี เป็นหนทางแห่งความสมดุลที่จะนำไปสู่จุดหมาย

เพราะฉะนั้นทางสายกลางก็คือจุดที่ถูกต้องเพียงจุดเดียว เหมือนการยิงธนูที่มีตรงกลางเป็นเป้าที่ถูกต้องเพียงจุดเดียว หากเบนไปจากเป้า ไม่ว่าไปทางซ้ายหรือขวา ก็คือไปไม่ถึงจุดหมาย แปลว่าไม่ใช่ทางสายกลางนั่นเอง

ในทางพระพุทธศาสนาทางสายกลาง หมายถึงการไม่ยึดถือสุดทั้ง 2 ทาง ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือหนทางหรือข้อปฏิบัติที่ไม่ตึงเกินไปจนเป็นความลำบากแก่ตน และกามสุขัลลิกานุโยค คือการไม่หย่อนเกินไปจนเป็นการพอกพูนกามกิเลส ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้ชัดเจนว่าคืออริยมรรคมีองค์ 8 และหากย่นย่อแล้วก็คือสิ่งที่เรารู้จักกันดีว่าคือ ศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง

ไตรสิกขา หรือศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งก็คือหนทางแห่งการพ้นทุกข์ โดยมี “ศีล” เป็นเครื่องข่มจิตไม่ให้เกิดกิเลส มี “สมาธิ” เป็นเครื่องข่มกิเลส และมี “ปัญญา” ที่รู้ทัน รู้แจ้ง มีเหตุและผลเพื่อสยบกิเลสทั้งหมดทั้งมวลที่ทำให้เกิดทุกข์

จริง ๆ แล้วเราสามารถนำเรื่องของทางสายกลางนี้มาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตได้ทุกรูปแบบ เพื่อให้ไม่ทุกข์และประสบความสำเร็จไปถึงจุดมุ่งหมาย อย่างการทำงาน ถ้าอยากประสบความสำเร็จก็ไม่จำเป็นต้องทำงานหนัก หามรุ่งหามค่ำหรือเครียดจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น ซึ่งไม่มีผลดีอะไรกับตัวเองเลย แท้จริงแล้วเราต้องยึดหลักสายกลาง ไม่สุดโต่งเกินไป รับผิดชอบงานที่ทำอย่างตั้งใจ แต่ก็ต้องแบ่งเวลาให้เกิดความสมดุลกับชีวิตและครอบครัวด้วย

อย่างที่บอกว่าทางสายกลางสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกอย่าง เพราะเป็นหลักที่ยึดความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ อาหารการกิน ความรัก ครอบครัว ฯลฯ แค่เรายึดความพอดี เหมาะสม และสมดุลทุกอย่างให้ดี ชีวิตเราก็จะสบาย ไม่ทุกข์และเข้าใจความเป็นไปของทุกอย่างที่เกิดขึ้นเอง..

หลักทางพระพุทธศาสนาได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่มีหลากหลายรูปแบบ มีความแตกต่างกันของการทำงาน ด้วยการนำทางสายกลางมาประยุกต์ใช้กับการ
ทำงาน ความหมายทางสายกลางในหลักทางพุทธศาสนาหมายถึง ทางที่ไม่สุดโต่งไป 2 ทาง ศัพท์ทางพระซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกทางสายกลางว่า มัชฌิมาปฏิปทา เกิดขึ้นจากเมื่อพระองค์
ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในวันอาสาฬหบูชาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ธรรมเทศนากัณฑ์นั้นชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทรงแสดงที่สุดโต่ง 2 ทางก่อนว่า ผู้ที่ต้องการศึกษา
และปฏิบัติธรรมไม่ควรที่จะเข้าไปข้องแวะ คือ
          1. กามสุขัลลิกานุโยค การประพฤติปฏิบัติตนหมกมุ่นอยู่ในเรื่องของกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ไม่ควรที่จะเข้าไปข้องแวะ
          2. อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก ไม่ควรเข้าไปข้องแวะ
          ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตามทางสายกลางโอกาสที่จะบรรลุไปสู่ความสันติสุขร่มเย็น ในทางพระจะบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ถ้าเป็นทางโลกก็จะประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิตโดยชอบ
กิจการงานก็เป็นไปได้ผลดีมีประสิทธิภาพสูง

ทางสายกลางนั้น ได้แก่มรรคมีองค์แปด ซึ่งเรียกว่า อริยมรรค หรือ สัมมามรรค แปลว่า ทางเดินอันชอบ ได้แก่

1.สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

การนำทางสายกลางมาใช้กับการทำงานร่วมกับคนหลาย ๆ คน บางครั้งก็อาจจะเกิดปัญหาได้ เพราะแต่ละคนมีความคิด มีการกระทำ มีคำพูดที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องใช้หลักใน
การพิจารณา โดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา คือมีหลักพรหมวิหารธรรมเสริมเข้าไปด้วย พรหมวิหารธรรม คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
          เมตตา โดยเราต้องนึกถึงตัวเราเองก่อนว่า เราต้องการความสุข ต้องการพ้นทุกข์ ซึ่งความสุขนั้นคือเมตตา ปรารถนาให้ตัวเองและผู้อื่นมีความสุข ก่อนหน้านั้นคือต้องการให้ตัวเองและ
ผู้อื่นพ้นทุกข์ ตัวเราเองต้องการความสุข ต้องการพ้นทุกข์มั้ย คนอื่นเขาก็ต้องการเหมือนกับเรา ดังนั้นการพูดเริ่มตั้งแต่ความคิดก่อน ความคิดและการพูด การทำเราต้องมีเมตตา
          กรุณา การพูดเริ่มตั้งแต่ความคิดก่อน ความคิดและการพูด การกระทำเราต้องมีเมตตากรุณาต่อคนอื่น เพราะคนอื่นเขาก็ต้องการความสุข ความพ้นทุกข์เหมือนกัน
          มุทิตา พลอยยินดีต่อกัน ทุกคนมีความยินดีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ โอบอ้อมอารีย์ต่อกัน
          อุเบกขา การวางเฉย หมายความว่า เมื่อเรามี เมตตา กรุณา มุทิตาต่อเขาแล้ว บางคนนั้นคือเขาไม่เอาอะไรทั้งนั้นเลย จะไปตามแนวทางของเขาไปในทางเสีย เราก็ต้องอุเบกขาวางเฉย
เพราะเมื่อเราช่วยเขาเต็มที่แล้ว เขายังไม่ปรารถนาความสุข ความเจริญแก่ตัวเขาเอง เราก็ต้องอุเบกขา
          ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ก็จะช่วยให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา และถ้าทุกคนทำอย่างนี้ ก็จะทำให้การทำงานในองค์กรดี และจะช่วยลดทอนปัญหาความกระทบ กระทั่งกันไปได้
          และถ้าเรานำทางสายกลางมาปฏิบัติกับชีวิตประจำวัน จะทำให้เราประสบกับความสำเร็จได้ เพราะคนเราทุกคนล้วนแต่ต้องการความสุข ความเจริญ และความสันติสุข ความสำเร็จในชีวิต
เราจึงต้องทำ กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์ เราก็จะดำเนินชีวิตไปสู่ครรลองที่ถูกต้อง แต่ถ้า กาย วาจา ใจของเราไม่บริสุทธิ์

ขอบคุณข้อมูล https://www.stou.ac.th/

ทางสายกลาง กับการดำเนินชีวิต

Author: Tuemaster Admin

ทีมงานจากเว็บไซต์ติวกวดวิชาออนไลน์ที่ดีที่สุด !! สำหรับ การเรียนออนไลน์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6)